มอเตอร์ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานอุตสาหกรรม นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต วิวัฒนาการของมอเตอร์ที่ผ่าน ๆ มานั้นอาจจะกล่าวได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก สังเกตได้จากมอเตอร์ที่ใช้ในช่วงระยะยี่สิบปี จากปี ค.ศ.1980 ถึง ค.ศ. 2000 จะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก แต่สำหรับในอนาคตข้างหน้านั้น มอเตอร์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัดเจน
มอเตอร์ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานอุตสาหกรรม นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต วิวัฒนาการของมอเตอร์ที่ผ่าน ๆ มานั้นอาจจะกล่าวได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง
|
. |
. |
รูปที่ 1 แสดงลักษณะของมอเตอร์แบบ Package Motor หรือ Integrated Motor-Drive Package |
. |
การต่อใช้งาน |
โดยปกติมอเตอร์จะต้องมีส่วนประกอบเพิ่มเติมเพื่อการใช้งาน เช่น การต่อวงจรชุดควบคุมทางไฟฟ้าและการต่อทางกล รวมถึงระบบขับเคลื่อนอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการควบคุมความเร็วรอบ หากเมื่อนำเอาส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านี้มาไว้ด้วยกันแล้วจะทำให้เกิดข้อดีตามมา เช่น ใช้พื้นที่สำหรับการติดตั้ง
|
. |
นอกจากนี้แล้ว ทั้งมอเตอร์และระบบขับเคลื่อนจะได้รับการทดสอบพร้อมกันจากทางโรงงานผู้ผลิตทำให้พารามิเตอร์ต่าง ๆ สอดคล้องกันลงตัว ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ ทำให้วิศวกรหรือผู้ใช้งานเริ่มมองเห็นแล้วว่า การเปลี่ยนจากมอเตอร์ระบบความเร็วเดียวมาเป็นปรับความเร็วหลายระดับ ทำให้เกิดข้อดีในเรื่องของการประหยัดพลังงานและได้ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น เช่น มอเตอร์พัดลมที่ทำงานที่ระดับความเร็วที่เหมาะสม นอกจากใช้พลังงาน
|
. |
ความสามารถในการปรับความเร็วรอบได้ ยังช่วยให้การเริ่มเดินมอเตอร์ไม่กระชาก จึงทำให้สายพานหรืออุปกรณ์ทางกลมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น การบำรุงรักษาก็
|
. |
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ามอเตอร์ในลักษณะดังกล่าวนี้จะมีใช้งานกันบ้างแล้วในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งมอเตอร์กระแสตรง และกระแสสลับ แต่ก็ยังมีขนาดไม่เกิน 10 แรงม้า และคาดว่าอีกไม่นานขนาดที่ใหญ่กว่านี้ก็จะได้รับการพัฒนามาใช้งานได้ ตัวอย่างของมอเตอร์ดังกล่าวที่ใช้งานนี้เช่น มอเตอร์ที่ใช้กับระบบเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล ซึ่งเป็นระบบที่มีการใช้โปรแกรมช่วยในการขับเคลื่อนและควบคุมพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของมอเตอร์ และการอินเตอร์เฟสเข้ากับระบบควบคุมที่ทันสมัย |
. |
นอกจากนี้ นักวิจัยและนักพัฒนามอเตอร์กำลังพยายามปรับปรุงในเรื่องขีดความสามารถ และความทนทานของมอเตอร์ให้ทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ทางด้านอุตสาหกรรมมอเตอร์คาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2010 ครึ่ง
|
. |
มอเตอร์กับเรื่องอัตโนมัติในการทำงาน |
เป็นที่ทราบกันแล้วว่าความเป็นอัตโนมัติที่ชาญฉลาดได้ถูกนำมาไว้ในมอเตอร์ด้วย เช่นเรื่องของเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลระหว่างส่วนที่เป็นมอเตอร์ทำงานและส่วนที่เป็นโปรแกรมควบคุม นั่นก็หมายความว่าระบบเซนเซอร์ (Sensor) และไมโครโปรเซสเซอร์ ได้ถูกนำเข้ามาเป็นส่วน
|
. |
ดังนั้น จะทำให้ระบบมีเสถียรภาพ มีการเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับสิ่งที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้โดยผู้ออกแบบจะเลือกที่จะควบคุมพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของมอเตอร์ได้ แม้ว่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ มักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอก็ตาม |
. |
ค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกส่งต่อผ่านช่องทางสื่อสารมาตรฐานเช่น RS-232 หรือระบบเครือข่ายต่าง ๆ ไปยังส่วนโปรแกรมควบคุมประเมินผลและการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ อาจจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปอย่างเช่น MATLAB หรือ Excel ก็ได้ นอกจากนี้แล้วข้อดีอีกประการของการส่งรับข้อมูลผ่านทางช่องทางหรือเครือข่าย จะทำให้เราสามารถดาวน์โหลดเอาโปรแกรมหรืออัลกอริทึมการโปรแกรมใหม่ ๆ มาวิเคราะห์และปรับปรุงการทำงานได้ด้วย เช่น โปรแกรมใช้ตรวจสอบเกี่ยวกับ ระบบแบริ่งลูกปืน อุณหภูมิของขดลวด ความถี่โรเตอร์และรีโซแนนซ์ สภาพปัจจุบันของสเตเตอร์ ความสูญเสียจากแรงเสียดทานและแรงลม เป็นต้น |
. |
รูปที่ 2 แสดงระบบของมอเตอร์ที่มีการนำเข้าสัญญาณข้อมูลจาก Sensor และใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินผลและการจำลองการทำงานเพื่อให้เกิดสภาวะการทำงานที่ดีที่สุด |
. |
ลักษณะการใช้มอเตอร์ในระบบอัตโนมัติ |
สำหรับงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอาหารหรืออุตสาหกรรมกระดาษ มักจะใช้มอเตอร์ที่สามารถส่งข้อมูลพารามิเตอร์ต่าง ๆ กลับไปยังส่วนโปรแกรม ในลักษณะงานตัวอย่าง ดังนี้ |
. |
- กรณีสภาพแวดล้อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ราคาแพงมาก หรือขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนมาก ๆ ควรจะมีการรับรู้ถึงสภาพการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ และขั้นตอนการทำงาน
- กรณีที่ต้องมีการตรวจสอบผลการทำงานอย่างละเอียด หรืองานที่ตรวจสอบผลยาก ๆ - กรณีที่มีการควบคุมระยะไกล หรือสภาพการทำงานที่เสี่ยงอันตรายต่อการเข้าใกล้ - กรณีที่ขั้นตอนการทำงานไม่ต้องการหยุดถึงแม้ว่าต้องการจะตรวจสอบ หรือการตรวจวัดพารามิเตอร์ต่าง ๆ - กรณีที่อาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ หากหยุดการทำงานเพียงเพื่อการตรวจวัด |
. |
ปัจจุบันมอเตอร์ที่ใช้ในการปรับความเร็วรอบเหล่านี้ อาจจะยังมีขีดความสามารถไม่ครบทุกอย่างดังที่ได้กล่าวมา อาจจะทำได้เพียงบางอย่าง เช่น การตรวจวัดการสั่นสะเทือน ตรวจวัดอุณหภูมิของระบบแบริ่ง หรือการตรวจสอบความเร็วรอบด้วยตัวเข้ารหัส (Encoder) ส่วนขีดความสามารถในเรื่องการตรวจวัดเพื่อการวิเคราะห์ผลในการปรับปรุงแก้ไขแบบระบบฉลาด (Intelligence) นั้นยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพัฒนา |
. |
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้มุมมองเกี่ยวกับมอเตอร์ของวิศวกรและผู้ที่ใช้งานเปลี่ยนไป หลังจากที่นักวิจัยพยายามออกแบบระบบต่าง ๆ ของมอเตอร์ให้มีความเป็นอัตโนมัติและมีขีดความสามารถมากขึ้น มีการใช้อัลกอริทึมแบบฉลาดเข้ามาวิเคราะห์ถึงสภาพการณ์ต่าง ๆ ทำให้มอเตอร์ดังกล่าวนี้ ไม่ได้ทำการตรวจสอบเพียงแค่ตัวมันเองเท่านั้น แต่ยังตรวจวัดและวิเคราะห์ได้ทั้งระบบของการทำงานทั้งหมด |
. |
ความเร็วรอบแบบไม่จำกัด
|
เทคโนโลยีเกี่ยวกับมอเตอร์แบบไม่ต้องมีลูกปืนแบริ่ง (Active Magnetic Bearing Motor) ซึ่งปัจจุบันมีใช้งานเพียงไม่กี่แห่ง สามารถสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในเรื่องของประสิทธิภาพและอายุการใช้งานได้ยาวนาน ด้วยการใช้การพยุงตัวที่แกนเพลาด้วยสนามแม่เหล็กรอบ ๆ แกนเพลา ทำให้ไม่เกิดส่วนที่สัมผัสเหมือนระบบลูกปืนแบริ่ง หรือเกิดสภาพการลอยตัวในอากาศของเพลาโดยอิสระ ควบคุมด้วยความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่เกิดแรงเสียดทานกับมอเตอร์ มีเสียงดังขณะทำงาน
|
. |
แน่นอนการควบคุมความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่รอบ ๆ แกนเพลาย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากใช้ระบบอัลกอริทึมที่ฉลาดมาออกแบบระบบควบคุม พร้อมกับการตรวจจับตำแหน่งแกนเพลาในขณะทำงานเพื่อวิเคราะห์สภาพการวางตัว ก็จะทำให้การควบคุมและการประเมินประสิทธิภาพการทำงานเป็นไปได้ เทคโนโลยีนี้ยังมีใช้งานไม่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากยังมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ในอนาคตจากการพัฒนาให้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลดลงแล้ว มอเตอร์แบบไม่ต้องมีลูกปืนแบริ่งจะได้รับความนิยมสำหรับงานทั่ว ๆ ไป |
. |
มอเตอร์ที่สร้างจากสารตัวนำยิ่งยวด |
นักฟิสิกส์ชาวดัตช์ค้นพบสารตัวนำยิ่งยวดในปี ค.ศ.1911 แต่เป็นสารตัวนำที่ต้องอยู่ภายใต้สภาวะอุณหภูมิต่ำมาก จึงยังไม่ได้รับการนำมาประยุกต์ใช้งาน จนกระทั่งเมื่อ ปี ค.ศ. 1986 จึงมีการค้นพบสารตัวนำยิ่งยวดที่สามารถใช้งานในสภาวะอุณหภูมิสูงได้ (High Temperature Superconducting: HTS) จึงนำสารดังกล่าวนี้มาพัฒนาสำหรับมอเตอร์ |
. |
ในอนาคตจะมีการนำเอามอเตอร์ที่สร้างจากตัวนำยิ่งยวด (Superconducting Motor) มาประยุกต์ใช้งานในระบบอุตสาหกรรมกันมากขึ้น เพราะว่าตัวนำยิ่งยวดจะทำให้กระแสไหลได้อย่างสะดวก ทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กมาก ขนาดของมอเตอร์จึงเล็กลงสำหรับเอาต์พุตที่เท่ากัน นักวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงตัวเลขในเรื่องของพลังงานที่มอเตอร์แบบนี้ ใช้
|
. |
จริง ๆ แล้วมอเตอร์แบบสารตัวนำยิ่งยวดนี้ ได้เริ่มนำมาทดลองใช้ครั้งแรกในเดือนมีนาคม ปี 1996 แต่ขณะนั้นยังเป็นเพียงมอเตอร์ขนาดไม่เกิน 200 แรงม้าเท่านั้น และได้ทำการวิจัยและพัฒนาต่อไปสำหรับขนาด 1,000 แรงม้า ในลักษณะของมอเตอร์กระแสสลับแบบซิงโครนัส นำไปประยุกต์ใช้งานได้ทั้งการขับปั๊มและพัดลม หรือ คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่ ๆ และการประยุกต์ใช้งานตามแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งมอเตอร์ใช้งานเหล่านี้ยังสามารถควบคุมความเร็วรอบได้ เพื่อให้การใช้พลังงานในการขับเคลื่อนอย่างเหมาะสมและเกิดการประหยัดพลังงาน |
. |
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีสารตัวนำยิ่งยวดที่นำมาประยุกต์ใช้สร้างมอเตอร์ จะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็ตาม มอเตอร์ชนิดนี้ก็ยังคงมีหลายอุปสรรคสำหรับการใช้งานทางการค้า เช่นเหตุผลหลักอย่างเรื่องของงบประมาณราคา และประสิทธิภาพของขดลวดที่นำมาสร้าง รวมถึงความน่าเชื่อถือของมอเตอร์ชนิดนี้ด้วย อย่างไรก็แล้วแต่ อุปสรรคของการพัฒนาเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้แนวคิดของการสร้างมอเตอร์ด้วยสารตัวนำยิ่งยวดให้ดีขึ้นหยุดลงได้ แต่อาจจะทำให้เกิดความล้าช้าบ้าง คาดว่าประมาณช่วงทศวรรษหน้าจะได้เห็นมอเตอร์ลักษณะนี้ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอนาคต |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด