ปัจจุบันมีเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน มีมากมายหลายอย่างที่สามารถเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตของประเภทโรงงานอุตสาหกรรม เช่น มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง ที่มีการใช้งานเกือบทุกโรงงาน ทุกรายสาขาอุตสาหกรรม ราคามอเตอร์ประสิทธิภาพสูงจะมีราคาแพงกว่ามอเตอร์ธรรมดา
การใช้พลังงานในประเทศไทยจากการประเมิน พบว่ามีศักยภาพที่จะอนุรักษ์พลังงานในส่วนของการขนส่งได้ถึง 56% สาขาอุตสาหกรรมได้ประมาณ 30% สำหรับในส่วนของที่พักอาศัยและภาคธุรกิจประมาณ 6% และ 7% ตามลำดับ เกิดจากการใช้เชื้อเพลิง 4 ประเภท คือ ก๊าซโซลีน (28%) ไฟฟ้า (23%) เชื้อเพลิงเจ็ต (15%) และ น้ำมันดีเซล (12%) จะเห็นได้ว่า 3 ใน 4 ประเภทของพลังงานนั้นเป็นแหล่งพลังงานของการขนส่ง สำหรับศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้านั้น ภาคอุตสาหกรรมจะมีศักยภาพสูงสุดที่ประมาณ 54% รองลงมาคือ ภาคธุรกิจที่ 30% และที่พักอาศัยที่ 17% ตามลำดับ |
. |
. |
จะเห็นได้ว่าการใช้พลังงานโดยรวมของไทยนั้น การขนส่งใช้มากที่สุด รองลงมาได้แก่อุตสาหกรรม เฉพาะส่วนส่วนการใช้ไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และยังมีศักยภาพในการประหยัดพลังงานสูงสุดอีกด้วย นอกจากพลังงานไฟฟ้าแล้วการใช้พลังงานโดยรวมของภาคอุตสาหกรรมยังสูงถึง หนึ่งในสาม ของการใช้พลังงานของทั้งประเทศ ดังนั้นการสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญที่จะดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี มีปัจจัยหลายอย่างที่จะสนับสนุนให้การดำเนินการนั้นประสบความสำเร็จ |
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรม |
การที่จะดำเนินการอนุรักษ์พลังงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่จะกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของปัจจัยที่มีผลต่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแต่ละประเภทไม่เท่ากัน ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ |
. |
ปัจจัยภายนอก |
1.การแข่งขันด้านราคาและคุณภาพที่รุนแรงในตลาดโลก |
ตั้งแต่การค้าของโลกธุรกิจเป็นการเปิดกว้างแบบเสรี ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการแข่งขันทางด้านคุณภาพ เพื่อให้ได้ราคาดี เนื่องด้วยเป็นกติกามาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก เมื่อผู้ผลิตสินค้ารายใดมิได้ดำเนินการให้ได้มาตรฐานแล้วจะมีผลต่อธุรกิจที่เป็นสากล อย่างเช่นการ กำหนดมาตรฐาน ISO 9000, ISO 14000 ฯลฯ ต่างก็ได้ถูกระบุตัวสินค้าก่อนส่งออกไปให้คู่ค้า จึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งนักที่เจ้าของกิจการจะต้องดำเนินการคู่ไปกับการประกอบธุรกิจ ฉะนั้น จึงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานโดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Optimization of Resource Usage) และมุ่งเน้นทางด้านคุณภาพ มีผลต่อสินค้าและราคา เนื่องจากพัฒนาทางด้านพลังงานโดยการลดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ นั้นคือ สามารถทำการผลิตสินค้าและบริการได้โดยต้นทุนที่ต่ำ และสามารถรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมไทย เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแข่งขันด้าน คุณภาพ ราคา ในการแข่งขันเสรีและมีความรุนแรงในปัจจุบัน |
. |
นั้นคือ ยิ่งเกิดแรงกดดันโลกาภิวัฒน์ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ความก้าวหน้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ ก็จะยิ่งทำให้เป็นประเด็นที่เจ้าของกิจการ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมต้องหันมาให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงาน หรือการประหยัดพลังงานให้เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อย่างเช่นการนำเทคนิคการลดต้นทุนโดยวิธีการบริหารจัดการพลังงานมาใช้ โดยอาศัยวิธีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ซึ่งสามารถพัฒนาโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น Housekeeping, Preventive Maintenance, Quality Control, Total Quality Management, Productivity Improvement, Retrofitting, Energy and production MIS, Energy related Technical and Managerial Training, and Consultancy Service พยายามหามาตรการในการหาจุดความสูญเปล่าจากการจัดการที่ดี เนื่องการจัดการและการวางแผนประสิทธิภาพของพนักงานและเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ขาดการบำรุงรักษาของเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม ของเสียที่เกิดอย่างมากในกระบวนการผลิต การขาดผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อการประหยัดหรือการอนุรักษ์พลังงานในแต่ละฝ่าย ทำให้ผลต่อการสูญเสียด้านพลังงานเกิดขึ้นและเพิ่มพูนเป็นการเสียต้นทุนที่มากขึ้น ความพยามที่จะปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เหมาะสมไม่มีขั้นตอนที่มากเกินไป กรรมวิธีผลิตที่มีการสูญเสียพลังงานสูง การหลีกเลี่ยงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้วัสดุมากเกิน ผลิตได้ยากและวัสดุที่มีราคาสูง ตลอดจน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงานที่เหมาะสมมาทดแทนเทคโนโลยีประหยัดพลังงานที่สึกหรอและมีศักยภาพต่ำ เป็นต้น |
. |
2.การพยากรณ์การเพิ่มขึ้นราคาพลังงานและความต้องการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง |
จากข้อมูลประเทศไทยใช้พลังงานมีการใช้ น้ำมัน 42% พลังงานหมุนเวียน 26% ก๊าซธรรมชาติ 17% ลิกไนต์ 9% ถ่านหินนำเข้า 3% ซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 3% ในการที่จะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต ค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นหรือไม่นั้น โดยทั่วไปจะขึ้นกับค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ามีการปรับตัวขึ้นลงตามสถานการณ์ ประกอบด้วยมาตรการของกลุ่มโอเปก ในการรวมตัวกันในการผลิตน้ำมันให้ได้มากหรือน้อย จึงส่งผลให้ค่าเอฟทีโดยรวมที่เรียกเก็บจากประชาชนในปัจจุบันอยู่ประมาณที่ 38.28 สตางค์ต่อหน่วย และยังมีปัจจัยที่ช่วยให้ค่าเอฟทีลดลง เช่น อัตราค่าเงินบาทที่แข็งตัว เงินเฟ้อได้ปรับตัวลดลง เป็นต้น |
. |
. |
การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน ที่เป็นเชื้อเพลิงที่หมดไปกับปริมาณการใช้ไม่สามารถนำมาทดแทนได้คาดว่าจะต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตจะดำเนินการและนำกลับเข้าสู่ระบบผลิตระหว่างปี 2547-2552 หลังจากนั้นกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นจะนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านและจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในประเทศ |
. |
. |
แหล่งที่มา : กระทรวงพลังงาน |
. |
ฉะนั้น การอนุรักษ์พลังงานไม่ว่าจะเป็นทั้งภาคธุรกิจ หรือแม้แต่ภาครัฐ ที่ได้ดำเนินการหลายมาตรการต่าง ๆ จากการเล็งเห็นถึงความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการเสียตอนนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของเจ้าของกิจการเองเท่านั้นแต่ยังสามารถมองไปถึงการใช้ภาพรวมของการประหยัดพลังงานของประเทศได้อีกด้วย |
. |
3.เทคโนโลยีประหยัดพลังงานในแต่ละอุตสาหกรรม |
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน (Energy Efficient Technology) มีมากมายหลายอย่างที่สามารถเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตของประเภทโรงงานอุตสาหกรรม เช่น มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง ที่มีการใช้งานเกือบทุกโรงงาน ทุกรายสาขาอุตสาหกรรม ราคามอเตอร์ประสิทธิภาพสูงจะมีราคาแพงกว่ามอเตอร์ธรรมดา ประมาณ 30 -50 % ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการผลิต บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้กับระบบแสงสว่างทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้อย่างมาก ฉนวนหุ้มท่อความเย็น เป็นอุปกรณ์ที่สามารถดำเนินการผลิตได้เอง แต่ราคายังค่อนข้างสูง คูลลิ่งทาวเวอร์แบบไม่ใช้พัดลม เป็นการเปลี่ยนคูลลิ่งทาวเวอร์แบบใช้พัดลมไฟฟ้า มาใช้คูลลิ่งทาวเวอร์แบบไม่ใช้พัดลม เป็นการลดการใช้ไฟฟ้าลง |
. |
เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมด้านเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ หาทางเลือกให้กับการประหยัดพลังงาน ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อพลังงานโดยรวมของประเทศ ที่จะมีเทคโนโลยีที่มีศักยภาพเกิดขึ้นอีกมากมายให้เราสามารถที่จะเลือกใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งการสนับสนุนการให้เกิดโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงาน การศึกษาหรือค้นคว้าวิจัยให้เกิดการคิดค้น อุปกรณ์หรือ กิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ |
. |
ปัจจัยภายใน |
1.การขยายฐานการผลิต |
การขยายตัวอย่างรวดเร็วทางภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม รวมทั้งการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการพลังงานภายในประเทศสูงขึ้นโดยตลอดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอัตราการใช้พลังงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 13 ต่อปี และมีแนวโน้มว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป ในอัตราที่สูงมากโดยมีค่า Energy Elasticity (ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นต่อ GDP) สูงถึง 1.4:1 ด้วยเหตุที่ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับแหล่งพลังงานภายในประเทศมีจำกัด จึงจำต้องอาศัยการนำเข้าเป็นจำนวนมากทำให้สัดส่วนการพึ่งพาจากต่างประเทศสูงกว่าร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับการใช้พลังงาน ทั่วทั้งประเทศคิดเป็นเงินตราต่างประเทศที่สูญเสียไปกว่าปีละ 155,000 ล้านบาท นอกจากนั้น การสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ ในประเทศไม่เพียงแต่จะใช้เงินลงทุนสูงมากเท่านั้นแต่ยังทำให้เราต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าจำนวนมหาศาล อันอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว |
. |
นอกจากนี้การวางแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางด้านพลังงาน อันจะเป็น รากฐานสำคัญในการสร้างความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ โดยพอจะสรุปประเด็นความสำคัญของพลังงานที่มีต่อศักยภาพการแข่งขันของประเทศได้ ดังนี้ |
. |
- พลังงานเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ และเป็นต้นทุนการผลิตซึ่งหากสามารถบริหารการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ต้นทุนพลังงานมีสัดส่วนที่ต่ำและเป็นการส่งเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขันแก่ภาคอุตสาหกรรม |
. |
- ประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก โดยเฉพาะในภาวะที่ราคาน้ำมันมีความผันผวนเนื่องจากความเสี่ยงในด้านสงครามระหว่างประเทศมหาอำนาจและกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ซึ่งความผันผวนดังกล่าวมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตสินค้า |
. |
- ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการใช้พลังงานถึง 36% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังไม่มีทิศทางในการบริหารที่ชัดเจน โดยภาคเอกชนส่วนใหญ่ยังละเลยในการประหยัดพลังงาน และการบริหารการผลิตที่มีประสิทธิภาพ |
. |
2.ปัญหาพื้นฐานทางเทคโนโลยีและการจัดการ |
จากการประเมินวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย จะมีปัญหาพื้นฐานที่สำคัญ ๆ ที่ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจ ในเรื่องพลังงาน ก็เช่นเดียวกัน ปัญหาด้านการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องมาจากเครื่องจักรที่มีความล้าสมัยไม่สามารถผลิตสินค้าได้ปริมาณมาก พร้อมทั้งเครื่องจักรที่มีอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมยังด้อยประสิทธิภาพ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานเพิ่มขึ้นเกือบเป็นเท่าตัว |
. |
สำหรับการจัดการยังขาดระบบที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ยังเป็นระบบแบบเก่า นั้นคือ การนำระบบที่ธุรกิจเคยดำเนินกิจการมานาน มาเป็นบรรทัดฐานในการจัดการธุรกิจในปัจจุบัน |
. |
ฉะนั้น ปัญหาพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีและการจัดการ นั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญเลยทีเดียวในการดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงาน ที่จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ |
. |
. |
3.ความร่วมมือของภาครัฐ-ภาคเอกชนและบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในระดับสูง |
ในการบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างครบวงจร โดยเน้นความร่วมมือจากบุคลากรในองค์กรทุกฝ่าย รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญเชิงลึกหลากหลายสาขา ร่วมมือกันในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นพลวัตร โดยมีแนวคิดหลักนี้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงานหรือทดแทนพลังงานอย่างชัดแจ้งและโดยตรงเท่านั้น หมายความว่าในการดำเนินนโยบายอนุรักษ์พลังงานในอดีตที่ผ่านมามักดำเนินนโยบายโดยมุ่งเน้นไปที่การประหยัดพลังงานและทดแทนพลังงานอย่างชัดแจ้ง เช่นการลดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานไฟฟ้า การหาพลังงานมาทดแทนน้ำมันและก๊าซ ทั้งที่ในความเป็นจริงหากมองภาพรวมอย่างกว้าง ๆ เราจะพบว่าการประหยัดพลังงานยังสามารถกระทำได้หลายทาง ทั้งด้านที่ไม่ชัดแจ้งหรือที่ไม่เป็นรูปธรรมและที่ชัดแจ้ง ดังนั้นหากเราสามารถขยายภาพของการประหยัดพลังงานให้กว้างขึ้น โดยการรวมเอาการประหยัดพลังงานแบบไม่ชัดแจ้งเข้าไปด้วย เช่นการเสนอให้แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้แก่ภาคเอกชน ซึ่งหากภาคเอกชนสามารถลดต้นทุนการผลิตและหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของตนได้ก็จะนำไปสู่การประหยัดพลังงานได้อย่างถาวร |
. |
. |
ดังนั้นการนำแนวทางอื่นที่เป็นการประหยัดพลังงานแบบไม่ชัดแจ้งเข้าไว้ในนโยบายด้วย ซึ่งช่วยทำให้นโยบายการประหยัดพลังงานของภาครัฐมีแนวทางที่กว้างขึ้น สามารถกระทำได้บรรลุวัตถุประสงค์ได้มากขึ้น มีหลายวัตถุประสงค์และหลายผลลัพธ์ เช่น การลดต้นทุน ขยายกำลังการผลิต ลดเวลาการผลิต ลดของเสีย เป็นต้น |
. |
เราพบว่าในการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการอนุรักษ์พลังงานของภาครัฐในอดีตที่ผ่านมามักกำหนดนโยบายไว้เพียงวัตถุประสงค์เดียวคือการประหยัดพลังงาน ทำให้ในการดำเนินนโยบายอนุรักษ์พลังงานที่ผ่านมามีลักษณะแบบอนุรักษ์นิยม นั่นคือมุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณการใช้พลังงานไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้ำมัน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของภาคเอกชน การดำเนินนโยบายแบบนี้ไม่สามารถกระตุ้นจิตสำนึกของภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมมือกับภาครัฐเพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานได้ เนื่องจากจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานของภาครัฐและเอกชนนั้นแตกต่างกัน ภาครัฐมีจุดมุ่งหมายในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมในขณะที่ภาคเอกชนมีจุดมุ่งหมายที่การสร้างกำไรสูงสุดให้แก่ตนเอง ดังนั้นการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้คือการประหยัดพลังงานจึงไม่ประสบผลสำเร็จ แต่หากรัฐปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการดำเนินนโยบายให้มีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย อาทิเช่นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตลดต่ำลง หรือการลดของเสียในการผลิตให้น้อยลง ซึ่งท้ายสุดแล้ววัตถุประสงค์เหล่านี้ต่างมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการประหยัดพลังงานของชาติและยังสามารถกระตุ้นให้ภาคเอกชนมีความสนใจเข้าร่วมโครงการของภาครัฐมากขึ้นเนื่องจากเล็งเห็นผลประโยชน์ที่ตนจะได้รับคือการได้กำไรเพิ่มขึ้นนั่นเอง เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปรับปรุงและพัฒนาการผลิตและการดำเนินธุรกิจโดยรวม หมายความว่าภาครัฐควรมีกลยุทธ์ในการดำเนินนโยบายประหยัดพลังงานอย่างแยบยลนั่นคือการสร้างแนวร่วมในการดำเนินงาน แทนที่ภาครัฐจะดำเนินนโยบายเพียงลำพัง แต่ควรทำให้นโยบายการประหยัดพลังงานให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนการดำเนินงานของภาคเอกชน นั่นหมายความว่า รัฐจะต้องสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีการวางแผนการปรับปรุงและพัฒนาการผลิตของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีความทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งหากสามารถกระทำได้สำเร็จก็จะทำให้แผนการประหยัดพลังงานของภาครัฐประสบผลสำเร็จไปด้วย |
. |
ดังนั้นหากภาคเอกชนกำหนดสิ่งเหล่านี้ไว้ในแผนการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต นั้นก็หมายความว่า นโยบายการอนุรักษ์พลังงานของภาครัฐได้รับความสนใจจากภาคเอกชนอย่างแท้จริงเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง มากกว่าการปรับปรุงการผลิตหรือเพิ่มอุปกรณ์เป็นครั้งคราว รัฐควรชี้ให้ภาคเอกชนหรือผู้ผลิตเห็นความสำคัญของการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่การดำเนินการแบบไฟไหม้ฟาง นั่นคือจะทำการประหยัดพลังงานก็ต่อเมื่อมีการรณรงค์ให้ประหยัดพลังงาน แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก หากการดำเนินนโยบายยังมีลักษณะเช่นนี้จะทำให้แนวทางการอนุรักษ์พลังงานของภาครัฐไม่สามารถทำได้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือแม้จะบรรลุวัตถุประสงค์ก็เป็นเพียงการบรรลุวัตถุประสงค์ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้วนั้นไม่อาจจะทำได้ |
. |
ดังนั้นรัฐต้องชี้ให้ภาคเอกชนเข้าใจว่าการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของภาคเอกชนนั้นต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการปรับเปลี่ยนเพียงครั้งเดียวไม่ได้หมายถึงการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างถาวร เนื่องจากเครื่องจักรเหล่านี้ต่างมีอายุการใช้งานได้ในระยะหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้แผนการลดต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องจึงควรมีการกำหนดแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ทางธุรกิจของบริษัท ในการดำเนินนโยบายภาครัฐควรมีการปลูกฝังทัศนคติเรื่องการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยแผนการพัฒนาดังกล่าวจะต้องอยู่ในแผนการดำเนินงานในระยะยาวของบริษัท โดยผู้บริหารระดับสูงจะต้องกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หรือทิศทางองค์กร อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้บริหารระดับกลางสามารถนำไปวางแผนงานเพื่อปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง และการวางนโยบายที่ชัดเจนจะเป็นสัญญาณที่สำคัญที่จะสื่อให้บุคลากรในทุกส่วนงานเห็นว่าผู้บริหารระดับสูงได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง อันจะทำให้บริษัทสามารถพัฒนายุทธศาสตร์ทางธุรกิจได้อย่างมีทิศทาง ไม่ใช่เป็นเฉพาะเรื่องทางเทคนิค แต่เกี่ยวกับความเชื่อมั่นในการลงทุน เป็นเรื่องของทัศนคติและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและวัฒนธรรมองค์กร ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงคิดว่าเรื่องการอนุรักษ์พลังงานเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเท่านั้น โดยตั้งเป้าหมายให้ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเข้ามาให้คำแนะนำในการปรับปรุงเป็นครั้งคราว ขาดความต่อเนื่อง และหลายครั้งถูกละเลย เนื่องจากขาดบุคลากรเฉพาะด้าน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วหากบุคลากรของบริษัทมีความตระหนักถึงความสำคัญ และรู้สึกถึงความรับผิดชอบด้านพลังงานแล้วบริษัทสามารถดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้เองอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่ในองค์กร ทราบถึงจุดอ่อน-จุดแข็งในการดำเนินงานเป็นอย่างดี เกิดจากความร่วมมือของบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในระดับสูง เช่น วิศวกร นักเทคโนโลยี และผู้จัดการทางเทคนิค มากกว่าเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องพลังงาน เนื่องจากในการพัฒนาให้เกิดการออกแบบกรรมวิธีการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้เกิดประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุดนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเพียงด้านเดียวย่อมไม่สามารถดำเนินงานได้ แต่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ รวมถึงบุคลากรที่เข้าใจกระบวนการดำเนินงานของบริษัทอย่างลึกซึ้งร่วมมือกันในการพัฒนา โดยอาจมีการดำเนินงานโดยใช้กรรมวิธี Concurrent Engineer หรือ Value Engineer (VE) เข้ามาช่วย โดยหลักการในการดำเนินงาน VE |
. |
โครงสร้างอย่างเป็นทางการหรือกึ่งทางการ ที่เอื้ออำนวยต่อการใช้ขีดความสามารถในองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการออกความเห็นและมีกระบวนการที่จะนำความเห็นดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้จริง โครงสร้างอย่างเป็นทางการได้แก่ การก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลเรื่องการอนุรักษ์พลังงานโดยเฉพาะ ส่วนโครงสร้างอย่างกึ่งเป็นทางการรูปแบบหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายได้แก่กิจกรรมกลุ่มย่อย TQC คือให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและนำเสนอแนวความคิดในลักษณะ Bottom-Up Suggestion |
. |
เทคนิคการจัดการพลังงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน |
Good House Keeping Program Good House Keeping Program เป็นกระบวนการหนึ่งที่ใช้ในการจัดการด้านการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ ของ Good House Keeping Program มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ |
. |
1. การมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูง |
โปรแกรมนี้ ควรอยู่ในความเอาใจใส่ของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งจะต้องมีการมอบหมายงาน และกำหนดนโยบายขอบเขตในการประหยัดพลังงานที่ดี อีกทั้งผู้บริหารต้องมีจิตสำนึกในเรื่องของการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนสามารถสร้างทีมงานอนุรักษ์พลังงานที่มีศักยภาพและขณะเดียวกัน ตลอดจนสามารถสร้างทีมงานอนุรักษ์พลังงานที่มีศักยภาพและขณะเดียวกัน ผู้บริหารจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้จัดการพลังงานหรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างฉับไว เพื่อทำให้กิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานประสบความสำเร็จ |
. |
2. นโยบายด้านพลังงาน นโยบายที่ดีควรจะครอบคลุมข้อกำหนดดังต่อไปนี้ |
- เป้าหมายและโอกาสในการประหยัด - กำหนดระยะเวลาของโครงการ - กำหนดผู้รับผิดชอบสำหรับการดำเนินการและจัดการ - กำหนดวิธีวัดผลการดำเนินกิจกรรม - การสื่อสารให้เป็นที่เข้าใจทั้งองค์กร - กำหนดโปรแกรมตรวจวิเคราะห์ - กำหนดทรัพยากรและแหล่งเงินทุน |
. |
การที่ผู้บริหารระดับสูงมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะทำโปรแกรมนี้ให้สำเร็จจะต้องทำตามนโยบาย และแนวความคิดนี้ให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก |
. |
3. การตรวจติดตามและการกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงาน |
ก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมปรับปรุงดูแลเบื้องต้น จะต้องระบุวิธีการประหยัดให้ชัดเจน อนึ่ง การติดตามข้อมูลการใช้พลังงานเป็นระยะจากบุคลากรหรืออาคารจะทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายในการประหยัดพลังงาน และผลสัมฤทธิ์จากการประหยัดพลังงาน สำหรับดัชนีการใช้พลังงานที่กำหนดขึ้นจะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการตรวจติดตาม ซึ่งจะทำให้ทราบว่าอาคารใดมีการใช้พลังงานสูงขึ้นเท่าใดและต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษหรือไม่ และข้อมูลที่ได้จากการตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานในโรงพยาบาลจะทำให้ทราบค่าสมรรถนะความแตกต่างในการใช้พลังงานของอาคาร ซึ่งอยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้าและพลังงานรวมทั้งหมด |
. |
4. การให้ความรู้ความชำนาญด้านพลังงาน |
การอธิบายรายละเอียดให้บุคลากรทุกคนได้ทราบเทคนิคในการประหยัดพลังงานนั้นจะต้องอธิบายถึงวิธีการปฏิบัติในการลดการสูญเสียพลังงาน ยกตัวอย่างให้เห็นจริงของการปฏิบัติที่ถูกต้อง แนะนำวิธีการประหยัดพลังงานที่ประหยัดค่าบำรุงรักษาโดยที่สภาพการทำงานยังคงสะดวกสบายอยู่เหมือนเดิม |
. |
ผู้จัดการพลังงานต้องจัดให้ฝ่ายผู้บริหารเป็นตัวอย่างในการประหยัดพลังงานเพื่อกระตุ้นให้บุคลากรทุกคนยอมรับและมีวินัยในการประหยัดพลังงาน |
. |
5. การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน |
แผนงานดูแลรักษาอาคารที่มีในอุตสาหกรรม โดยปกติจะมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบหรือ ผู้ตรวจติดตามทำการตรวจตราในแผนกหรือพื้นที่ที่รับผิดชอบนอกเหนือจากเวลาทำงานเพื่อรายงานข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างแผนกให้ผู้จัดการพลังงานทราบ |
. |
6. การสร้างแรงจูงใจในการประหยัดพลังงาน |
การหาข้อเท็จจริงของข้อมูลว่าสามารถประหยัดพลังงานได้เท่าไรแล้วทำการรายงานเป็นระยะ หรือมีกราฟแสดงข้อมูลที่ใช้พลังงานในแต่ละพื้นที่ การกระตุ้นให้บุคลากรทุกคนต้องทุ่มเททำแผนงานนี้ให้สัมฤทธิ์ผล แล้วนำผลการประหยัดเงินที่ได้ไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มเติม หรือเพิ่มสวัสดิการให้บุคลากร เป็นการสร้างแรงจูงใจในการประหยัดพลังงาน ซึ่งจะช่วยให้โปรแกรมนี้ประสบความสำเร็จอย่างแน่แท้ |
. |
7. การสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร |
ต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนคติในการดูแลรักษาอาคารให้ประหยัดพลังงานซึ่ง ผู้บริหาร ผู้จัดการแผนก และผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน อาจจะจัดให้บุคลากรมีการสนทนาและเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในการประหยัดพลังงาน และสร้างเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สูงขึ้น |
. |
8.การประกาศต่อสาธารณชน |
การจัดทำแผ่นป้ายโปสเตอร์รณรงค์การประหยัดพลังงานการเพิ่มประเด็นด้านการทำลายสิ่งแวดล้อมมาเป็นหัวข้อให้บุคลากรเห็นประโยชน์ในการอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนั้นควรแยกกระดานข่าวสารประหยัดพลังงานออกจากข่าวอื่น ๆ การแข่งขันให้มีการประหยัดพลังงานควรมีการให้รางวัลโดยการติด สติกเกอร์ หรือเข็มกลัด หรือของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกทั้งจัดประกวดคำขวัญ การประหยัดพลังงาน จะช่วยให้โปรแกรมดูแลรักษาอาคารที่ดีประสบความสำเร็จได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด