เซนเซอร์วัดค่าความชื้น ที่ใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรมมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ซึ่งเมื่อเราจะเลือกนำไปใช้งานต่าง ๆ กัน การมาเริ่มทำความรู้จักถึงข้อดี และข้อด้อยของเซนเซอร์แต่ละชนิดจึงน่าจะมีประโยชน์ต่อข้อมูลการวัดที่จะได้รับมากที่สุด ผู้เขียนจะขอเริ่มจากสรุปข้อกำหนดที่เราควรจะจดจำไว้ เมื่อต้องเลือกใช้เซนเซอร์วัดค่าความชื้น
เซนเซอร์วัดค่าความชื้น (Humidity Sensor) ที่ใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรมมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ Capacitive, Thermal Conductivity และ Resistive เมื่อเราจะเลือกนำไปใช้งานต่าง ๆ กัน การมาเริ่มทำความรู้จักถึงข้อดี และข้อด้อยของเซนเซอร์แต่ละชนิดจึงน่าจะมีประโยชน์ต่อข้อมูลการวัดที่จะได้รับมากที่สุด ผู้เขียนจะขอเริ่มจากสรุปข้อกำหนดที่เราควรจะจดจำไว้ เมื่อต้องเลือกใช้เซนเซอร์วัดค่าความชื้น ซึ่งได้แก่ |
. |
1. ความแม่นยำ (Accuracy) 2. ความสามารถในการวัดซ้ำ (Repeatability) 3. เสถียรภาพในช่วงเวลายาว ๆ (Stability) 4. ความสามารถในการชดเชย (Condensation) 5. ความทนทานต่อสารเคมี 6. ขนาด และรูปตัวถังของเซนเซอร์ (Size & Package) 7. ความคุ้มทุน (Cost) |
. |
เซนเซอร์วัดความชื้นแบบคาปาซิตีฟ (Capacitive Humidity Sensor) |
เซนเซอร์วัดค่าความชื้นแบบนี้วัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) มีรูปร่างหน้าตาดังแสดงในรูปที่ 1 มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม เชิงพาณิชย์ งานวิจัยหรือทดลองทางฟิสิกส์ |
. |
รูปที่ 1 เซนเซอร์วัดค่าความชื้น Capacitive รูปทรงต่าง ๆ |
. |
เซนเซอร์แบบนี้มีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยชั้นฐานแผ่นฟิล์มบางที่ทำจากโพลีเมอร์ หรือเมทัลออกไซด์ (Metal Oxide) ถูกวางอยู่ระหว่างอิเล็กโตรดทั้งสอง โดยพื้นผิวของฟิล์มบางดังกล่าวถูกเคลือบด้วยอิเล็กโตรดโลหะแบบมีรูพรุนเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและปัญหาจากแสงแดด |
. |
เซนเซอร์แบบคาปาซิตีฟสามารถตรวจจับความชื้นสัมพัทธ์ในสภาพแวดล้อมได้เกือบจะเป็นเชิงเส้น หรือมีการตอบสนองได้อย่างเป็นสัดส่วนที่ดีนั้นเอง โดยเมื่อค่าความชื้นสัมพัทธ์เปลี่ยนไป 1 เปอร์เซ็นต์ ค่าความจุไฟฟ้า (Capacitive) ก็จะเปลี่ยนไป 0.2 ถึง 0.5 pF |
. |
เซนเซอร์แบบคาปาซิตีฟถูกกำหนดให้มีคุณลักษณะเฉพาะคือค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิต่ำจึงทำให้ทำงานได้ดี แม้อุณหภูมิสูงถึง 200๐C การกลับสู่สภาวะเดิมจากสภาวะการควบแน่น และยังทนต่อไอระเหยของสารเคมีอีกด้วย ในขณะที่ช่วงเวลาการตอบสนองของเซนเซอร์คือ 30 ถึง 60 วินาที สำหรับการเปลี่ยนแปลงความชื้นในช่วง 63 เปอร์เซ็นต์ |
. |
หลายปีที่ผ่านมามีการออกแบบพัฒนาให้เซนเซอร์แบบคาปาซิตีฟที่มีช่วงของการดริฟต์ (Drift) และฮีสเตอร์รีซีส (Hysteresis) น้อยที่สุด ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตสารกึ่งตัวนำแบบใหม่มาประยุกต์ใช้ เซนเซอร์แบบคาปาซิตีฟที่ใช้แผ่นฟิล์มบางนี้ บางรุ่นมีการติดตั้งวงจรแปลงสัญญาณเข้าไว้ด้วย เพื่อช่วยสร้างเอาต์พุตแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกือบเป็นเชิงเส้นตามการเปลี่ยนแปลงของค่าความชื้น ดังในรูปที่ 2 |
. |
รูปที่ 2 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น และค่าความจุไฟฟ้า |
. |
เมื่อพูดกันถึงข้อดีของเซนเซอร์แบบคาปาซิตีฟกันมาพอสมควรแล้วตอนนี้มาพูดถึงข้อด้อย ซึ่งเริ่มจากความผิดพลาดเท่ากับ (2%RH ในช่วงการเปลี่ยนแปลงค่าความชื้น 5% ถึง 95%RH นอกจากนี้เซนเซอร์ยังถูกจำกัดความสามารถด้วยระยะระหว่างชิ้นส่วนตรวจจับความชื้นกับวงจรแปลงสัญญาณ เพราะหากไกลกันมากจะทำให้เกิดผลกระทบของค่าความจุไฟฟ้า และในทางปฏิบัติจะต้องน้อยกว่า 10 ฟุต |
. |
คุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของเซนเซอร์แบบค่าความจุก็คือ Dew Point เนื่องจากจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสัญญาณสอดคล้องกับค่าความชื้นที่เปลี่ยนไป แม้จะเปลี่ยนแปลงไปน้อย ๆ ก็ตาม และค่า Drift ต่ำ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี แต่ถ้าค่าความชื้นที่เปลี่ยนไปต่ำกว่าในระดับที่กำหนดแล้ว เซนเซอร์ก็เริ่มที่จะทำงานไม่เป็นเชิงเส้น |
. |
คุณลักษณะดังกล่าวนี้นำไปสู่การพัฒนาระบบวัด Dew Point ติดตั้งร่วมกับเซนเซอร์และอานมีระบบไมโครโปรเซสเซอร์ช่วยเก็บข้อมูลการปรับเทียบค่าเอาไว้ในหน่วยความจำ เพื่อการชดเชยค่าได้อย่างแม่นยำขึ้นด้วย |
. |
เซนเซอร์ความชื้นแบบรีซีสตีฟ (Resistive Humidity Sensor) |
เซนเซอร์ความชื้นแบบความต้านทานนี้จะวัดการเปลี่ยนแปลงอิมพีแดนซ์ไฟฟ้าของตัวกลางดูดความชื้น (Hygroscopic Medium) อย่างเช่น โพลิเมอร์ เกลือหรือสารสังเคราะห์ทั้งนี้อิมพีแดนซ์ที่เปลี่ยนจะแปรผันกับค่าความความชื้นในลักษณะของกราฟเอกซ์โปเนนเชียลกลับด้าน ดังในรูปที่ 3 |
. |
รูปที่ 3 แสดงเซนเซอร์แบบ Resistive Humidity |
. |
โครงสร้างของเซนเซอร์ Resistive ประกอบด้วยอิเล็กโตรดโลหะ 2 ส่วนวางอยู่บนฐานด้วยเทคนิคการวางแบบโฟโตรีซีส (Photo resist) อิเล็กโตรดอาจมีขดลวดพันรอบ Wire-wound Electrodes ใช้แกนเป็นพลาสติกหรือแท่งแก้วทรงกระบอกในส่วนของฐานนั้นถูกเคลือบด้วยเกลือ (Salt) หรือโพลีเมอร์ (Conductive Polymer) การทำงานของเซนเซอร์ก็คือดูดซับไอน้ำและไอออนที่แตกตัว เป็นผลให้ค่าความนำไฟฟ้าของตัวกลางเพิ่มขึ้น โดยช่วงเวลาการตอบสนองของเซนเซอร์อยู่ในช่วง 10 ถึง 30 วินาทีสำหรับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 63% โดยย่านของอิมพีแดนซ์ที่เปลี่ยนแปลงของเซนเซอร์แปรเปลี่ยน 1 kW ถึง 100 mW |
. |
เซนเซอร์แบบ Resistive จะใช้วงจรวัดแบบสมมาตร (Symmetrical) ซึ่งใช้แปล่งกำเนิดกระแสสลับกระตุ้นอย่างเช่นวงจรบริดจ์ (Bridge) และสาเหตุที่ให้ใช้กระแสตรงก็เพื่อป้องกันการเกิดขั้วศักย์ไฟฟ้าขึ้นนั่นเอง |
. |
เมื่อความต้านทานเปลี่ยนตามการเปลี่ยนของความชื้นเป็นผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรวัด กระแสงฟ้านี้จะถูกแปลงเป็นสัญญาณแรงดันกระแสตรงเพื่อการส่งผ่านไปยังวงจรขยายย่านวัด วงจรขยายแรงดัน วงจรปรับเชิงเส้นและวงจรแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลต่อไป ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ แล้วจะทำให้เซนเซอร์และ Resistive มีการตอบสนองต่ออุณหภูมิได้ดีมาก ดังแสดงความสัมพันธ์ในกราฟที่ 4 |
. |
รูปที่ 4 แสดงกราฟการตอบสนองของเซนเซอร์ชนิด Resistive |
. |
ข้อดีของเซนเซอร์แบบ Resistive ก็คือการสับเปลี่ยนได้ (Interchangeability) หมายถึงหากตัวใดเสียก็สามารถนำอีกตัวหนึ่งมาแทนได้ โดยผ่านการสอบเทียบด้วยการปรับค่าความต้านทาน ซึ่งก็ทำให้ค่าความชื้นเปลี่ยนแปลงไปไม่เกิน ±2%RH อย่างไรก็ตามหากต้องการสอบเทียบเซนเซอร์ Resistive ได้อย่างแม่นยำ ก็สามารถทำได้โดยใช้ RH Calibration Chamber หรือสอบเทียบด้วยระบบ DA ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย ข้อควรจำอย่างหนึ่งของการใช้เซนเซอร์แบบ Resistive คืออ่านอุณหภูมิใช้งาน อยู่ในช่วง -40๐C ถึง 100๐C |
. |
แม้ว่าอายุการใช้งานของเซนเซอร์อยู่ในช่วง 5 ปี แต่การใช้งานในสภาพแวดล้อมของไอระเหยของสารเคมีหรือน้ำมันก็อาจทำให้อายุการใช้งานของเซนเซอร์สั้นลงกว่านี้ ข้อบกพร่องหรือข้อด้อยอีกอย่างของเซนเซอร์ความต้านทานก็คือ การเกิดค่าเบี่ยงเบนเมื่อเกิดสภาวะควบแน่นหากใช้สารเคลือบที่ละลายน้ำได้ |
. |
เซนเซอร์แบบ Resistive จะทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีการผันแปรของอุณหภูมิไม่เกิน 10๐F หากเกินนี้ อุณหภูมิก็จะเริ่มส่งผลให้อ่านค่าความชื้นได้เพี้ยนไป อย่างไรก็ตามด้วยสาเหตุนี้เองจึงมีการเพิ่มระบบชดเชยอุณหภูมิเข้าไปด้วยเพื่อให้ความแม่นยำสูงขึ้น จากที่กล่าวมานี้คุณลักษณะที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก สามารถสับเปลี่ยนกันได้ และเสถียรภาพในช่วงเวลานาน จึงทำให้เหมาะใช้ในงานควบคุม อุปกรณ์แสดงผลในอุตสาหกรรม และใช้ในเครื่องใช้ต่าง ๆ ตามบ้าน |
. |
เซนเซอร์ความชื้นแบบ Resistive แบบหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ "
|
. |
Dunmore Type โครงสร้างประกอบไปด้วยขดลวด Palladium ที่พันอยู่รอบแกนพลาสติก และถูกเคลือบด้วยสารผสมระหว่างโพลีไวนีลแอลกอฮอล์ (Binder) และลิเธียมโปรโมด์ (Lithium Bromide) หรือลิเธียม คลอไรด์ (Lithium Chloride) การปรับระดับความเข้มข้นลิเธียมไบรไมด์หรือลิเธียมคลอไรด์จะส่งผลให้ค่าความแยกแยะ (Resolution) ของเซนเซอร์สูงขึ้นและครอบคลุมย่านการวัดความชื้น 20% - 40% RH หรืออาจะสร้างใช้ในงานที่ต้องการฟังก์ชันการควบคุมความชื้นต่ำ ๆ ระดับ 1% - 2% RH ได้ด้วย ความแม่นยำของเซนเซอร์
|
. |
การใช้งาของเซนเซอร์
|
. |
การพัฒนาล่าสุดของเซนเซอร์ความชื้นแบบ Resistive คือ การใช้เซรามิกเคลือบผิว เพื่อลดข้อจำกัดในกรณีเกิดการควบแน่นของสภาพแวดล้อมเซนเซอร์แบบนี้ประกอบไปด้วยส่วนฐานที่ทำจากเซรามิก และมีอิเล็กโตรดโลหะวางห่างกันโดยใช้กระบวนการไฟโต้รีซีส ส่วนฐานของเซรามิกจะถูกเคลือบด้วยสารผสมระหว่างโพลีเมอร์และเซรามิก ส่วนประกอบทั้งหมดของเครื่องจะถูกประกอบใช้ในตัวถังพลาสติกเพื่อป้องกันฝุ่นละออง |
. |
เซนเซอร์ความชื้นแบบ Thermal Conductivity |
เซนเซอร์แบบนี้เป็นชนิดเดียวที่วัดค่าความชื้นสมบูรณ์ โดยอาศัยการคำนวณความแตกต่างระหว่างค่าการนำความร้อนของอากาศแห้ง (Thermal Conductivity) กับการนำความร้อนของอากาศที่มีไอน้ำอยู่ โดยเมื่ออากาศหรือก๊าซแห้ง มันจะมีความสามารถที่จะรับความจุความร้อนสูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น สภาวะอากาศในทะเลทราย ซึ่งจะร้อนจัดในเวลากลางวัน แต่พอตกกลางคืนอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากสภาวะบรรยากาศแห้ง เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว อากาศที่มีความชื้นจะไม่เย็นลงอย่างรวดเร็วในตอนกลางคืนเพราะความร้อนยังแฝงอยู่ในไอน้ำของชั้นบรรยากาศ |
. |
เซนเซอร์แบบ Thermal Conductivity หรือเราอาจะเรียกเซนเซอร์ความชื้นสมบูรณ์ (Absolute Humidity Sensor) ประกอบด้วยเทอร์มิสเตอร์ 2 ตัว ต่ออยู่ในวงจรบริดจ์โดยเทอร์มิสเตอร์ตัวหนึ่งบรรจุอยู่ในแคปซูลที่มีก๊าซไนโตรเจน และเทอร์มิสเตอร์อีกตัวหนึ่งถูกวางอยู่ในบรรยากาศ ดังแสดงในรูปที่ 5 |
. |
รูปที่ 5 แสดงเซนเซอร์แบบ Thermal Conductivity |
. |
จากวงจรในรูปที่ 6 กระแสไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านเทอร์มิสเตอร์ทั้งสอง ส่งผลให้เกิดความร้อนสูงขึ้นในตัวเทอร์มิสเตอร์มากกว่า 200๐C และความร้อนที่กระจายออกจากเทอร์มิสเตอร์ในแคปซูลจะมากกว่า เทอร์มิสเตอร์ที่อยู่ในบรรยากาศ ความแตกต่างของอุณหภูมิของเทอร์มิสเตอร์ทั้งสองนี้ เป็นความต่างของการนำความร้อนของไอน้ำเทียบเก็บไนไตรเจนแห้ง ความแตกต่างของค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์จึงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความชื้นสมบูรณ์ดังในรูปที่ 6 |
. |
รูปที่ 6 ในตัวเซนเซอร์แบบ Thermal Conductivity จะมีเทอร์มิสเตอร์ที่เหมือนกัน 2 ตัวต่ออยู่ในวงจรบริดจ์ เซนเซอร์ตัวหนึ่งบรรจุอยู่ภายในก๊าซไนโตรเจนแห้ง และอีกตัวหนึ่งบรรจุอยู่ในอากาศ แรงดันในวงจรบริดจ์จะเปลี่ยนแปลงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความความชื้นสัมบูรณ์ |
. |
นอกจากจะใช้วงจรบริดจ์แล้วยังมีการใช้เครือข่ายความต้านทานเพื่อสร้างแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้เท่ากับย่านความชื้น 0-130 G/m3ที่อุณหภูมิ 60๐C |
. |
การสอบเทียบเซนเซอร์แบบนี้จะใช้การวางเซนเซอร์ในอากาศหรือไนโตรเจนที่ไม่มีความชื้นจากนั้นจะทำการปรับให้เอาต์พุตเป็นศูนย์ |
. |
เซนเซอร์แบบ Thermal Conductivity มีความทนทานสูงและทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงถึง 300๐C และยังทนต่อไอระเหยสารเคมีได้เป็นอย่างดีจากคุณสมบัติที่ดีของวัสดุโครงสร้างเครื่องที่ไม่มีปฏิกิริยาทางสารเคมี เช่นแก้ว สารกึ่งตัวนำ ที่ใช้สร้างเทอร์มิสเตอร์พลาสติกทนอุณหภูมิสูงหรืออะลูมิเนียม |
. |
โดยทั่วไปแล้วจะมีการใช้เซนเซอร์แบบ Thermal Conductivity ในงานอุตสาหกรรมอบผ้าทั้งแบบที่ใช้ไมโครเวฟ หรือแบบที่ใช้ไอน้ำ รวมทั้งอุตสาหกรรมอบไม้ อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ และการผลิตสารเคมีต่าง ๆ ทั้งนี้เซนเซอร์แบบนี้มีความแยกแยะที่ดีกว่าเซนเซอร์แบบอื่น ที่ระดับอุณหภูมิสูงกว่า 200๐F นอกจากนี้ก็อาจมีการใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำระดับ +3g/m3 ซึ่งเมื่อแปลงไปเป็นค่าความชื้นจะได้เท่ากับ ±5%RH ที่ 40๐C และ ±0.5% RH ที่ 100๐C |
. |
เทคโนโลยีปัจจุบันของเซนเซอร์วัดค่าความชื้น |
เซนเซอร์วัดค่าความชื้นแบบดิจิตอล |
เซนเซอร์รุ่น SHT11 ของ SENSIRION เป็นเซนเซอร์ขนาดเล็กจิ่วเมื่อเทียบกับขนาดหัวไม้ขีดไฟ และเป็นเซนเซอร์ตรวจจับความชื้นสัมพัทธ์แบบดิจิตอลที่วัดค่าอุณหภูมิได้ด้วย โดยมีจุดเด่นต่าง ๆ ดังนี้ |
. |
- เอาท์พุตแบบดิจิตอล - เสถียรภาพสูงมาก - ไม่ต้องมีวงจรใดมาเชื่อมต่อเพิ่มเติมอีก - ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำมาก - มีตัวถังให้เลือกเป็นแบบ Surface
- มีระบบปิดเครื่องอัตโนมัติ - สามารถเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรเลอร์ได้ |
. |
รูปที่ 7 แสดงหน้าตาของเซนเซอร์ SH11 |
. |
เซนเซอร์ SHT11 เหมาะสมกับงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การสร้างเครื่องมือวัดความชื้น/อุณหภูมิ, ดาต้าลอกเกอร์ (Data Logger), เครื่องปรับอากาศ, ระบบวัดความชื้นในรถยนต์ และในงานทางการแพทย์ และงานวิจัย |
. |
เซนเซอร์วัดค่าความชื้นด้วยแสงอินฟราเรด |
การทำงานของเซนเซอร์วัดความชื้นแบบอินฟราเรดอาศัยผลของการดูดซับแสงอินฟาเรดของก๊าซ โดยตัวเซนเซอร์ประกอบไปด้วยแหล่งกำเนิดแสง (Light Source), ตัวกรอง (Filter) และตัวตรวจจับแสง (Photo Detector) ทั้งนี้การทำงานของเซนเซอร์มีส่วนคล้ายกับสเปกโตรสโคป (Spectroscope) |
. |
รูปที่ 8 โครงสร้างของเซนเซอร์วัดความชื้นแบบอินฟราเรด 1. แหล่งกำเนิดแสง, 2. ตัวกรองแสง, 3. ตัวตรวจจับแสง |
. |
บทสรุป |
การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำ อย่างเช่น การวางฟิล์มบาง, การฉีดไอออน และการเคลือบผิวเซรามิก/ซิลิคอน ก็ช่วยเกิดความเป็นไปได้ที่จะสร้างให้เกิดเซนเซอร์ที่มีความแม่นยำสูง พร้อมทั้งความพิเศษในเรื่องของการต้านทานฝุ่นละออง และสารเคมี แต่ราคาจะต้องไม่สูงจนเกินไป |
. |
เซนเซอร์ความชื้นแต่ละชนิดที่กล่าวมานี้มีจุดเด่นเฉพาะตัวต่าง ๆ กัน ไม่มีเซนเซอร์ชนิดใดที่เหมาะกับงานทุก ๆ แบบ เซนเซอร์ความชื้นแบบ Resistive มีจุดเด่นที่สุดในเรื่องของการสับเปลี่ยนกันได้เหมาะกับงานตรวจจับในระยะไกล ด้วยราคาที่ถูกที่สุด ในขณะที่เซนเซอร์แบบ Capacitive นั้นให้ย่านการวัดค่าความชื้นที่กว้าง และมีข้อดีในเรื่องของการชดเชยอุณหภูมิ สุดท้ายคือเซนเซอร์ Thermal Conductivity นั้นเหมาะกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ฝุ่นละออง หรือสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด