ปัจจุบันพลาสติกมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันมาก ดังนั้นการผลิตพลาสติกให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ต้องอาศัยการผลิตที่รวดเร็วและมีคุณภาพสูง อุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุด คือ แม่พิมพ์ และเครื่องฉีดในที่นี้จะขอแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการติดตั้งและการดูแลรักษาแม่พิมพ์ สำหรับโรงงานฉีดพลาสติกที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศ
. |
ปัจจุบันพลาสติกมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันมาก ดังนั้นการผลิตพลาสติกให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ต้องอาศัยการผลิตที่รวดเร็วและมีคุณภาพสูง อุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุด คือ แม่พิมพ์(Molud) และเครื่องฉีด(Injection Machine) ในที่นี้จะขอแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการติดตั้งและการดูแลรักษาแม่พิมพ์ สำหรับโรงงานฉีดพลาสติกที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศ |
. |
โดยทั่วไปแม่พิมพ์ฉีดแต่ละตัวจะถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครื่องฉีดพลาสติกเฉพาะรุ่น ถ้านำแม่พิมพ์ไปใช้กับเครื่องฉีดพลาสติกที่ไม่ตรงกับที่ออกแบบมา อาจทำให้มีผลกระทบและผลเสียต่อแม่พิมพ์และเครื่องฉีดพลาสติกตลอดจนชิ้นงานพลาสติกที่ฉีดออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร เช่น |
. |
|
. |
ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องฉีดให้เหมาะสมกับแม่พิมพ์หรือการออกแบบแม่พิมพ์และเครื่องจักรที่มีอยู่ จึงมีความจำเป็นและสำคัญ ในกรณีต่อไปนี้ จะเป็นการนำแม่พิมพ์มาทำการติดตั้งกับเครื่องฉีดรุ่นที่ได้ทำการออกแบบให้เหมาะสมกันแล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้ |
. |
1. การยึดแม่พิมพ์เข้ากับหน้าแปลนเครื่องฉีด ที่นิยมใช้กันทั่วไปมี 2 วิธี คือ |
1.1 วิธีขันเกลียวยึดโดยตรง กรณีนี้ผู้ออกแบบจะออกแบบรูเจาะที่แผ่นยึดแม่พิมพ์ให้ได้ระยะ และขนาดตรงกับรูเกลียวที่ใช้ยึดแม่พิมพ์บนแผ่นหน้าแปลนของเครื่องฉีด จากนั้นจึงใช้สกรูขันยึดเข้ากับหน้าแปลนของเครื่องฉีดโดยตรง วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องและดีที่สุด |
. |
1.2 วิธีขันเกลียวยึดทางอ้อม ในการออกแบบวิธีนี้ การยึดแม่พิมพ์เข้ากับเครื่องฉีดโดยอัดแผ่นกด (Clamp Plate) จะใช้ก็ต่อเมื่อไม่สามารถใช้วิธีขันเกลียวโดยตรงได้ เช่น ในกรณีที่ตำแหน่งของรูยึดเกลียวในแผ่นหน้าแปลนยึด ไม่อยู่ในตำแหน่งที่จะเจาะรูบนแผ่นแม่พิมพ์ ซึ่งอาจมีฐานโตกว่าหรือเล็กกว่า โดยทั่วไปวิธีขันเกลียวยึดทางอ้อมจะประกอบด้วยชิ้นส่วน 3 ชิ้น คือ แผ่นกด, หมอนรองและสกรู |
. |
ทั้ง 2 วิธีข้างต้นนี้ ควรใช้ระดับน้ำตั้งระดับแม่พิมพ์ ให้ได้ระดับเสียก่อน แล้วจึงทำการยึดสกรู หรือ แผ่นกด (Clamp Plate) ให้แน่นกับหน้าแปลนยึดของเครื่องฉีด |
. |
2. การติดตั้งแม่พิมพ์เข้ากับหน้าแปลนของเครื่องฉีด เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ให้เปิดแม่พิมพ์ออกโดยการเคลื่อนหน้าแปลนของเครื่องฉีดออกช้าๆ ให้ระยะของแม่พิมพ์ที่เปิดมากพอที่จะทำความสะอาดได้สะดวก |
. |
3. หยอดน้ำมันหรือทาจาระบี เล็กน้อยบริเวณ Guide Pin และ Guide Bush ทุกตัวและชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่เสียดสีกัน เพื่อเป็นการหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ |
. |
4. ตั้งระยะเปิดแม่พิมพ์ โดยทำการเคลื่อนหน้าแปลนของเครื่องฉีดออกช้า ๆ แล้วค่อยปรับระยะแม่พิมพ์เปิดสุด (Mould Opening) จนได้ระยะตามต้องการหรือสุดระยะเปิดสุด ระวังอย่าเปิดด้วยความเร็วจนเกิดการกระชากอย่างรุนแรงอาจทำให้แม่พิมพ์เสียหายได้ และถ้าเป็นแม่พิมพ์ที่มีการกระทุ้งให้ชิ้นงานตก จะต้องตั้งระยะกระทุ้งชิ้นงานที่แผ่นดันปลด (Ejector Plate) เพิ่มทีละน้อยจนชิ้นงานตกหรือจนสุดระยะดันปลดของแม่พิมพ์ |
. |
5. ทำความสะอาดด้วยสารกันสนิม โดยปกติแม่พิมพ์ที่ส่งมอบมาจะมีการพ่นน้ำยากันสนิมไว้ เราต้องใช้ผ้าสะอาดชุบทินเนอร์หรือแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด บริเวณเบ้า(Cavity)และคอร์(Core) จนสะอาดเสียก่อน |
. |
6. เริ่มทำการฉีดพลาสติก โดยเริ่มจากการฉีด Short Shot ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มจนชิ้นงานพลาสติกเข้าเต็มและได้ชิ้นงานที่เหมาะสม ในขั้นตอนการฉีด Short Shot อาจมีเศษพลาสติกค้างอยู่ต้องเช็คดูให้ดี ถ้ามีให้เอาออกให้หมดก่อนจะทำการฉีดในครั้งต่อไป หากมีเศษพลาสติกติดค้างแน่นให้ใช้ทองแดงหรืออะลูมิเนียมชนิดรีดงัดเอาออก ห้ามใช้ เหล็ก, ทองเหลือง หรือ วัสดุอื่น ๆ ที่มีความแข็งกว่าทองแดงหรืออะลูมิเนียมมางัดเด็ดขาด เพราะจะทำให้แม่พิมพ์เสียหายได้ |
. |
7. ขณะทำการผลิต หากต้องการหยุดเครื่องเป็นเวลานานกว่า 10 นาที จะต้องปิดน้ำหล่อเย็น (Cooling) ที่เข้าในแม่พิมพ์ทั้งหมด เพื่อป้องกันการเกิดสนิมขึ้นที่แม่พิมพ์ โดยเฉพาะในส่วน Cavity และ Core |
. |
การปฏิบัติหลังจากแม่พิมพ์หยุดการผลิต |
1. ก่อนหยุดการผลิตจะต้องปิดน้ำหล่อเย็นของแม่พิมพ์ทั้งหมด แล้วทำการฉีดต่อไปอีกประมาณ 10 Shots เพื่อไล่ความชื้นออกจากแม่พิมพ์ |
. |
2. เปิดแม่พิมพ์ออกใช้น้ำยากันสนิมพ่น (ควรใช้ชนิดที่เป็น Spray) ในส่วน Cavity และ Core และส่วนอื่น ๆ ที่จะป้องกันสนิม จากนั้นถอนสายน้ำออกจากแม่พิมพ์ แล้วจึงทำการยกลงจากเครื่องฉีด |
. |
3. ไล่น้ำหล่อเย็นออกจากแม่พิมพ์ โดยใช้ลมเป่าเข้าไปในรูน้ำหล่อเย็นแต่ละ Plate ที่มีระบบน้ำหล่อเย็นจนน้ำแห้ง จะช่วยลดการอุดตันของรูน้ำหล่อเย็นได้ |
. |
4. ทำการขัดสนิมบริเวณที่เห็นว่าเกิดสนิมที่ตัวแม่พิมพ์ ด้วยกระดาษทราย No. 400 และ ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด พ่นน้ำยากันสนิมโดยรอบก่อนนำไปเก็บ |
. |
5. หากแม่พิมพ์ไม่ได้ทำการผลิตเป็นเวลานาน ควรนำแม่พิมพ์มาเปิดดูภายใน Cavity และ Core อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดสนิม และน้ำยากันสนิมที่อาจหมดอายุการใช้งาน |
. |
6. เมื่อทำการผลิตครบทุก 400,000 Shots หรือตามกำหนดเวลาที่ต้องส่งแม่พิมพ์กลับไปล้าง (Overhaul) เพื่อเช็คสภาพและทำการซ่อมบำรุง(Maintenance) ในส่วนต่าง ๆ ของแม่พิมพ์ |
. |
การบำรุงรักษาแม่พิมพ์หลังการใช้งาน |
การ Overhaul แต่ละครั้งต้องเสียเวลาพอสมควร ซึ่งต้องหยุดการผลิตสินค้านั้นๆแต่เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะถ้าเราไม่ยอมเสียเวลาตรงนี้ อาจจะทำให้แม่พิมพ์เกิดความเสียหายมากกว่านี้และต้องเสียเวลาในการนำแม่พิมพ์กลับไปซ่อมเป็นระยะเวลานานกว่าการหยุดซ่อมบำรุงรักษาตามตารางกำหนด |
. |
ดังนั้น การที่จะยืดอายุแม่พิมพ์ให้ใช้งานได้ยาวนานควรจะยึดหลักการ Preventive Maintenance (PM) คือ การบำรุงรักษาก่อนการเกิดเสียหาย ซึ่งช่างผู้ดูแลควรมีความรู้และความชำนาญพอสมควรในการถอดและประกอบแม่พิมพ์ |
. |
การถอดและการตรวจเช็คแม่พิมพ์ |
การถอด มีขั้นตอนดังนี้ |
. |
1. ก่อนถอดแม่พิมพ์ควรหาภาชนะ เช่น ลังพลาสติกสำหรับใส่อุปการณ์ต่าง ๆ ของแม่พิมพ์ ที่จะถอดแล้วเขียนหมายเลขแม่พิมพ์ติดข้างลังไว้เผื่อว่ามีแม่พิมพ์หลายตัว จะได้สะดวกมากขึ้นเมื่อถอดชิ้นส่วนแล้วนำใส่ลังไว้ให้หมดทุกชิ้น ควรระวังชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกควรระมัดระวังแยกออกต่างหาก หรือใช้ผ้าห่อใว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการกระแทกอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ |
. |
2. เมื่อทำการเปิดแม่พิมพ์ออก ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งสกปรก, เศษพลาสติกตกค้างอยู่ในรูต่าง ๆ, ฝุ่นผง, สนิมหรือยังมีน้ำหล่อเย็นติดค้างอยู่หรือไม่ |
. |
3. เมื่อถอดชิ้นส่วนภายใน เช่น Core Bush, Cavity Bush ,Ejector Sleeve, Stripper Bush เป็นต้น ให้ทำความสะอาดคราบแก็ส, สนิม, ฝุ่นผงต่าง ๆ และต้องระมัดระวังขอบของงาน บริเวณที่เป็นเนื้องานให้มาก ๆ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ |
. |
4. ตรวจสอบสภาพของชิ้นส่วนต่าง ๆ ว่ามีชิ้นไหนเกิดความเสียหายหรือไม่ ถ้าเสียหายให้แก้ไขหรือทำใหม่ก่อนนำไปใช้งานต่อไป |
. |
5. ตรวจสอบ Spring ทุกตัวทุกขนาดว่ามีการแตกหักบ้างหรือไม่ในกรณีที่ Spring แตกหักอาจจะแค่ตัวเดียวก็ตามควรทำการเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด เนื่องจากคงหมดอายุการใช้งานหรือดูสภาพของ Spring ว่าถ้าใช้งานได้อีกไม่นานก็ควรเปลี่ยนใหม่ |
. |
6. ทำการขัดผิวใหม่(Repolishing)ในส่วนที่มีการขัดผิวละเอียด ตัวอย่างชิ้นงานที่จะชัดเช่น Cavity Bush, Core Bush, Out Core, Center Core เป็นต้น |
. |
7. ตรวจสอบรู Gate ในกรณีที่เป็น Pinpoint Gate ว่ามีขนาดใหญ่ขึ้นหรือไม่ มีเศษฝุ่นผงติดค้างอยู่ในรู Gate หรือไม่ |
. |
8. ขัด Sprue Runner และ Runner ใหม่ทั้งหมด ให้มีความมันเพื่อให้พลาสติกไหลเข้าได้สะดวกขึ้น |
. |
9. ตรวจสอบดูว่าระบบหล่อเย็น มีการอุดตันหรือไม่โดยการใช้ลมเป่าเข้าไปถ้าลมออกน้อยหรือเบาให้ ทำความสะอาดระบบหล่อเย็นทั้งหมด โดยการถอด Insert ออกจาก
Plate แล้วทะลวงรูน้ำที่ Plate, Core Bush, Cavity Bush หรือ Cooling Bush ทุกชิ้นส่วนที่มีระบบหล่อเย็นอยู่ |
. |
10. ตรวจสอบ O-ring หรือ V-ring ว่ายังมีสภาพดีอยู่หรือไม่ |
. |
11. ตรวจสอบ Guide Pin และ Guide Bush |
- มีรอยขีดข่วนหรือไม่ - ระยะระหว่าง Guide Pin และ Guide Bush - ความตรงและความกลม |
. |
12. ตรวจสอบ Air-vent ทุกๆจุด เช่น บริเวณ หน้า Parting Line, Taper, ปรกติถ้าเป็นพลาสติก PP จะมีร่อง Air-vent ประมาณ 0.01-0.015 มม. |
. |
เมื่อเสร็จขั้นตอนของการทำความสะอาดและซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆเรียบร้อย ก็จะมาถึงขั้นตอนการประกอบกลับคืนมีขั้นตอนการตรวจเช็ค |
. |
การตรวจเช็ค มีขั้นตอนดังนี้ |
1. เมื่อใส่ Insert ลงใน Plate ต้องทำการทดสอบน้ำทุกครั้ง เพื่อดูว่ามีน้ำรั่วหรือไม่ 2. ใส่จาระบีที่ Guide Pin และ Guide Bush หรือบริเวณที่มีการเคลื่อนที่ เช่น Slide เป็นต้น 3. ตรวจสอบว่าใส่อุปกรณ์ครบหรือไม่หรือประกอบผิดหรือเปล่า โดยดูว่าอุปกรณ์ในลังมีหลงเหลืออยู่หรือไม่และสุดท้ายควรใช้ Clamp บีบ แม่พิมพ์ให้ติดกันทุก Plate แล้วดูว่าแม่พิมพ์ปิดสนิทหรือไม่ เพียงเท่านี้คุณก็จะช่วยยืดอายุของแม่พิมพ์ของคุณได้เป็นอย่างดี |
. |
สรุป |
การติดตั้งแม่พิมพ์ฉีดบนเครื่องฉีดได้อย่างถูกต้อง จะช่วยให้ระบบการทำงานของแม่พิมพ์ฉีดและเครื่องฉีด ทำให้สมรรถนะในการทำงานสูง ยิ่งถ้ามีการบำรุงรักษาแม่พิมพ์อย่างถูกวิธีทั้งก่อนและหลังการใช้งานด้วยแล้ว ช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอย่างมาก |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด