ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเริ่มมีความตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากที่มีการผนวกกิจกรรมการบริหารสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ธุรกิจ ผู้ประกอบการวิสาหกิจในปัจจุบันเริ่มเชื่อว่า การพัฒนาขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของความสำเร็จทางธุรกิจ
ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเริ่มมีความตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากที่มีการผนวกกิจกรรมการบริหารสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ธุรกิจ ผู้ประกอบการวิสาหกิจในปัจจุบันเริ่มเชื่อว่า การพัฒนาขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของความสำเร็จทางธุรกิจ |
. |
องค์การที่มีขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อมที่สูงส่งจะสามารถรับมือกับข้อกำหนด กฎหมาย หรือบทบัญญัติด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดกวดขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประหยัดต้นทุนดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะต้นทุนพลังงาน และต้นทุนการบำบัดและควบคุมของเสีย ยิ่งกว่านั้น การพัฒนาขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อมยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร ทำให้องค์กรได้รับการยอมรับจากชุมชน สังคม และผู้บริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้มองประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ |
. |
ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้องค์กรทางธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนมากหันมาให้ความใสใจกับการพัฒนาขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จนเกิดเป็นกระแสนิยมที่เรียกว่า Going Green หรือกระแสนิยมในการปรับปรุงกิจกรรมทางธุรกิจให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และมีความพยายามในการสร้างภาพลักษณ์แห่งความเป็น Green Enterprise หรือ วิสาหกิจสีเขียว กันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ในความหมายของคำว่า วิสาหกิจสีเขียว ก็มีการตีความแตกต่างกันไปอย่างหลากหลาย |
. |
เช่น ในระดับทั่วไปที่เข้าใจกันก็คือ การเป็นองค์กรที่มีการบริหารสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ และมีความพยายามที่จะปรับปรุงกิจกรรมขององค์กรเพื่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลงอย่างต่อเนื่อง หรือในแง่มุมที่ลึกซึ้งขึ้นอีกระดับก็มีการตีความไว้ว่า การก้าวสู่ความเป็นวิสาหกิจสีเขียวก็คือการเป็น พลเมืองดีด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (Environment Citizenship) ซึ่งหมายถึง การมีส่วนร่วมในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสังคมส่วนรวม ทั้งโดยการลดผลกระทบ (Minimize Environmental Impact) และการเพิ่มพูนคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Enhance Environmental Quality) ของสังคมให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง |
. |
ด้วยมุมมองที่แตกต่างกันนี้ ทำให้การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความเป็น วิสาหกิจสีเขียว มีความแปลกแยกแตกต่างกันเป็นหลายทิศทาง สุดแล้วแต่ว่าผู้นำองค์กรจะมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการเป็นวิสาหกิจสีเขียวอย่างไร ดังนั้น จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่นักบริหารและสมาชิกทุกระดับในองค์กรจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นวิสาหกิจสีเขียวให้ถูกต้อง ชัดเจน และตรงกัน เพื่อให้การพัฒนาไปสู่เป้าหมายมีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพมากที่สุด |
. |
ดังนั้น ในบทความนี้ผู้เขียนจึงขอหยิบยก แนวคิดของการเป็น วิสาหกิจสีเขียว มานำเสนอ โดยจะพิจารณาในแง่ของภาระความรับผิดชอบ ว่าวิสาหกิจสีเขียวที่แท้จริงนั้นมีหน้าที่อันพึงปฏิบัติอะไร รวมถึงประเด็นด้านกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการก้าวสู่ความเป็น วิสาหกิจสีเขียว ที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ |
. |
ความรับผิดชอบของวิสาหกิจสีเขียว |
เนื่องจาก การแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่วิสาหกิจ
|
. |
1.ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร |
|
. |
2.ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน |
|
|
|
|
|
. |
3.ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของโลก |
|
|
|
. |
4.ความรับผิดชอบต่อทุนสิ่งแวดล้อม |
|
|
|
. |
5.ความรับผิดชอบในการใช้ประโยชน์จากบริการทางนิเวศ |
|
|
|
. |
บริการของระบบนิเวศ (Ecolosystem Services) หมายถึง กลไกของระบบนิเวศที่ก่อให้เกิดผลิตผลที่มนุษย์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น อาหาร อากาศบริสุทธิ์ น้ำและความชุ่มชื้น เป็นต้น และมนุษย์ทุกคนสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในบริการของระบบนิเวศอย่างเท่าเทียม |
. |
ความท้าทายสำหรับวิสาหกิจสีเขียว |
เมื่อการเป็น วิสาหกิจสีเขียว หมายถึงการแสดงความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีความลังเลว่า การเป็น วิสาหกิจสีเขียว จะเป็นการบั่นทอนขีดความสามารถทางการแข่งกันโดยภาพรวมขององค์กรหรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้ Michael E. Porter อธิบายว่า ภายใต้สภาวะกดดันจากกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้นอย่างในปัจจุบัน วิสาหกิจทั้งหลายต่างก็ถูกกดดันให้แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ ดังนั้น ธุรกิจที่สามารถแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนวัตกรรม ก็จะมีขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจที่เหนือกว่า |
. |
จากคำอธิบายนี้ Porter มองว่า การก่อมลภาวะ คือ ความด้อยประสิทธิภาพ (Pollutant = Inefficiency) และ การลดมลภาวะคือการเพิ่มประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต้องใช้ความพยายามและงบประมาณ ฉะนั้น วิธีที่จะช่วยให้การลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมเกิดผลในเชิงบวกมากที่สุดก็คือ การสร้างนวัตกรรมใหม่ ทั้งนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ฉะนั้นจึงหมายความว่า วิสาหกิจสีเขียว จะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนวัตกรรม จึงจะสามารถรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขันเอาไว้ได้ |
. |
ในการปรับปรุงขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีนวัตกรรม วิสาหกิจจำเป็นจะต้องมีการนำเอาองค์ความรู้ หลักการ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 1) และมีการติดตามผลและวัดระดับขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ วิสาหกิจควรเป็นฝ่ายริเริ่มกิจกรรมด้านการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (Proactive) แทนที่จะเป็นฝ่ายสนองนโยบาย (Reactive) เพียงอย่างเดียว |
. |
|
รูปที่ 1 ลำดับการปรับปรุงสู่ความเป็นวิสาหกิจสีเขียว |
. |
จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเป็นวิสาหกิจสีเขียว หรือวิสาหกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมนั้น มิได้หมายถึงการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายถึงเฉพาะวิสาหกิจที่มีระบบบริหารสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลเท่านั้น หากแต่หมายถึง องค์กรที่มีค่านิยมที่ชัดเจนในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม มีความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถแสดงออก |
. |
ซึ่งความรับผิดชอบดังกล่าวนั้นอย่างเป็นรูปธรรม และครบถ้วนทุกระดับ ตั้งแต่ ความรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร สิ่งแวดล้อมของชุมชน และสภาพแวดล้อมของโลก โดยมีการนำเอาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปพิจารณาประกอบในการตัดสินใจ มีการปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติในกิจกรรมหรือหน้าที่ทางธุรกิจต่าง ๆ ให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแสดงออกเหล่านี้เองที่สะท้อนภาพลักษณ์ของการเป็นวิสาหกิจสีเขียวสีเขียว อย่างแท้จริง |
. |
เอกสารอ้างอิง |
|
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด