ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จธุรกิจภาคบริการคือความสามารถตอบสนองการให้บริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าซึ่งลูกค้าทุกคนต่างคาดหวังที่จะได้รับความสะดวก ความรวดเร็ว และความถูกต้องจากบริการที่ได้รับ ด้วยเหตุนี้แนวคิดผลิตภาพกระบวนการจึงเป็นปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จให้กับธุรกิจ สำหรับการดำเนินกิจกรรมประจำวันประกอบด้วยกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน
ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จธุรกิจภาคบริการคือความสามารถตอบสนองการให้บริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าซึ่งลูกค้าทุกคนต่างคาดหวังที่จะได้รับความสะดวก ความรวดเร็ว และความถูกต้องจากบริการที่ได้รับ ด้วยเหตุนี้แนวคิดผลิตภาพกระบวนการจึงเป็นปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จให้กับธุรกิจ สำหรับการดำเนินกิจกรรมประจำวันประกอบด้วยกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน |
. |
ดังนั้นการบริหารกระบวนการจึงมุ่งจำแนกระหว่างกิจกรรมที่สร้างคุณค่าเพิ่มและกิจกรรมที่สร้างความสูญเพื่อปรับปรุงผลิตภาพการดำเนินงาน โดยเฉพาะการลดช่วงเวลานำการออกตัวบริการใหม่และลดรอบเวลาดำเนินธุรกรรม ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้ถูกใช้ประเมินผลิตภาพและระบุแนวทางปรับปรุงกระบวนการ รวมทั้งต้นทุนธุรกรรมซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการทำงาน คุณภาพงาน เวลาที่ใช้แต่ละกิจกรรมและผลิตผลจากกระบวนการ (Output) ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงต้องดำเนินการจำแนกความสูญเปล่าที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดผลิตภาพ นั่นคือ P, Q, C, D, S, M ซึ่งแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้ |
. |
. |
ดังนั้นการวิเคราะห์กระบวนการจึงสนับสนุนให้บุคลากรเข้าใจรายละเอียดกิจกรรมไคเซ็น (Kaizen) เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับกระบวนการ โดยเฉพาะการอธิบายถึงสิ่งที่องค์กรควรทำและแนวทางติดตามการดำเนินงาน ซึ่งได้มีบทบาทสนับสนุนการปรับรูปแบบการดำเนินงานประจำวันสู่รูปแบบที่มุ่งเป้าหมายเพื่อสร้างแบบแผนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผล |
. |
เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า การปรับโครงสร้างองค์กร การออกแบบกระบวนการทำงาน ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ ลดรอบเวลาทำงาน ความมีส่วนร่วมพนักงานและดำเนินกิจกรรมไคเซ็น เป็นต้น ผลการวิเคราะห์ได้ถูกใช้จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการมุ่งขจัดความสูญเปล่าในกิจกรรมที่ซ้ำซ้อน โดยรายรับหรือผลตอบแทนจากการดำเนินงานจะต้องไม่น้อยกว่าต้นทุนค่าใช้จ่าย |
. |
รูปที่ 1 ตัวอย่างกระบวนการธุรกรรม |
. |
ส่วนหน่วยงานภาครัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานส่วนกลางหรือท้องถิ่นก็มุ่งสร้างประสิทธิผลกระบวนการบริหารโดยเฉพาะงบประมาณที่ต้องจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเป้าหมายการวิเคราะห์กิจกรรมจึงได้มุ่งปรับปรุงผลิตภาพกระบวนการด้วยการเทียบเคียงผลการดำเนินงานและต้นทุนค่าใช้จ่ายจากผู้เป็นเลิศในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเดียวกัน ด้วยเหตุนี้การปรับปรุงผลิตภาพจึงต้องจำแนกกิจกรรมเป็นงานย่อยและจัดโครงสร้างระบบงานใหม่ โดยผลลัพธ์กิจกรรมแรกจะเป็นอินพุตในกระบวนการถัดไป |
. |
ซึ่งข้อมูลหลักที่ใช้วิเคราะห์ประกอบด้วยจำนวนหน่วยงานภายในองค์กร (
|
. |
. |
ดังนั้นการวิเคราะห์กระบวนการจึงได้เน้นประสิทธิผลของระบบเป็นสำคัญด้วยการติดตามผลการดำเนินงาน เช่น คุณภาพผลิตผล เวลาหรือความสามารถส่งมอบได้ตามกำหนดและการบริหารความเปลี่ยนแปลง (Change Management) ซึ่งทรัพยากรที่สนับสนุนการดำเนินงานควรจัดสรรในช่วงวิเคราะห์กิจกรรมและหากผลการวิเคราะห์ไม่สามารถสะท้อนรูปแบบการดำเนินงานก็คงไม่สามารถดำเนินโครงการไคเซ็นได้ ด้วยเหตุนี้การวิเคราะห์ผลิตภาพกระบวนการจึงต้องใช้ข้อมูลที่มีความถูกต้องซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ |
. |
รูปที่ 2 จำแนกกิจกรรมในกระบวนการธุรกิจ |
. |
ด้วยเหตุนี้แนวคิดปรับปรุงกระบวนการไหลของงาน (Redesign the Workflow) ประกอบด้วย |
|
. |
รูปที่ 3 จำแนกรายละเอียดกระบวนการตามลำดับชั้น |
. |
|
. |
รูปที่ 4 ตัวอย่างการกำหนดรหัสเพื่อจัดเก็บ |
. |
|
|
รูปที่ 5 ปรับรอบเวลาทำงานให้เกิดความสมดุล |
|
|
ช่วงที่เศรษฐกิจเกิดการขยายตัว ได้ผลักดันให้ธนาคารและสถาบันการเงินต้องเร่งปรับปรุงกระบวนการให้บริการด้วยการปรับลดรอบเวลาทำงาน (Cycle Time) ให้สอดรับกับอุปสงค์หรือความต้องการรับบริการของลูกค้า ดังนั้นธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำหลายแห่งจึงได้ศึกษาปัญหากระบวนการให้บริการด้วยการระบุความต้องการหลักของลูกค้าและลำดับความสำคัญของปัญหา |
. |
หลังจากนั้นจึงได้ดำเนินการติดตามวัดผลในกระบวนการหลักที่ระบุไว้ช่วงแรก เช่น ข้อมูลรอบเวลาทำงาน ความผิดพลาดระบบธุรกรรม เพื่อใช้ข้อมูลเหล่านี้วิเคราะห์จำแนกสาเหตุหลักและกำหนดแนวทางปรับปรุงกระบวนการ รวมทั้งจัดทำมาตรฐานการทำงานเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง ซึ่งผลลัพธ์จากโครงการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจได้ส่งผลให้สถาบันการเงินสามารถลดรอบเวลาทำงานซึ่งทำให้ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลารอคอยนานเพื่อรับบริการและสามารถลดต้นทุนธุรกรรมที่เกิดจากความผิดพลาดการทำงานลดลง |
. |
ส่วนประเด็นปัญหาหนึ่งที่มักพบในระบบธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ คือ ความไร้ประสิทธิภาพกระบวนการโอนเงิน จึงทำให้เกิดความล่าช้าและส่งผลให้ต้นทุนธุรกรรมการโอนเงินของธนาคารสูงขึ้นซึ่งทำให้ธนาคารต้องผลักภาระต้นทุนดังกล่าวให้ลูกค้าแบกรับภาระค่าธรรมเนียมการโอนเงินและส่งผลให้ให้ลูกค้าเกิดความไม่พึงพอใจจากบริการที่ได้รับ ดังนั้นธนาคารชั้นนำหลายแห่งจึงได้ศึกษารายละเอียดปัญหาเพื่อปรับปรุงกระบวนการโอนเงิน |
. |
นอกจากนี้ยังได้ลงทุนติดตั้งระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์หรือ CRM เพื่อเก็บข้อมูลประวัติและคำร้องเรียนจากลูกค้า (Customer’s Complaints) ซึ่งใช้เป็นฐานข้อมูลปรับปรุงระบบการให้บริการจึงทำให้ธนาคารสามารถลดความผิดพลาดและความล่าช้าจากกระบวนการโอนเงิน โดยเฉพาะต้นทุนธุรกรรมโอนเงินที่ลดลงอย่างมากได้ส่งผลให้ธนาคารบางแห่งยกเลิกค่าธรรมเนียมและทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในบริการที่ได้รับ |
. |
รูปที่ 6 ระบบ CRM สนับสนุนกระบวนการธุรกรรม |
. |
ปัจจุบันธุรกิจโทรคมนาคมทั้งในส่วนผู้จำหน่ายอุปกรณ์และผู้ให้บริการได้เกิดสภาวะแข่งขันอย่างรุนแรงเนื่องจากกฎระเบียบที่เปิดโอกาสให้ผู้ดำเนินการรายใหม่สามารถเข้าสู่ธุรกิจนี้ ดังนั้นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าวแห่ง
|
. |
รวมทั้งให้ข้อมูลทางเทคนิคและใบเสนอราคากับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว แต่จากผลการศึกษาผลิตภาพพบว่าพนักงานขายขององค์กรผู้ให้บริการได้สูญเสียเวลาในกิจกรรมที่ไม่สร้างคุณค่ากว่า 50% โดยเฉพาะเวลาที่ใช้เดินทางและการประชุม ผลการวิเคราะห์สามารถจำแนกปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสูญเปล่า ดังเช่น ความซับซ้อนเส้นทาง ระยะการเดินทางเพื่อเข้าพบลูกค้า ทักษะการบริหารเวลา |
. |
ซึ่งหลังได้รับทราบสาเหตุความสูญเปล่าแล้วจึงดำเนินการจัดตั้งทีมงานคอลเซนเตอร์ (
|
. |
นอกจากนี้ยังปรับรอบระยะเวลาการเก็บหนี้เพื่อให้เกิดสภาพคล่องกระแสเงินสดด้วยการสร้างฐานข้อมูลสนับสนุนกระบวนการตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อและดำเนินการเรียกเก็บเงินจากลูกค้าตามรอบเวลา โดยทั่วไปการเรียกเก็บเงินมีรอบระยะเวลาการเก็บหนี้ประมาณ 4 เดือน แต่หากสามารถลดรอบเวลาติดตามเรียกเก็บเงินจากลูกค้าก็จะส่งผลให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ย) และต้นทุนธุรกรรมการเงินลดลง |
. |
สรุป |
การมุ่งสู่องค์กรที่เป็นเลิศจะต้องมีการคิดอย่างเป็นระบบและมอบหมายให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมไคเซ็นเพื่อขจัดลดความสูญเปล่าจากความซ้ำซ้อนในกระบวนการทำงานที่ส่งผลให้เกิดต้นทุนและรอบเวลาทำงานสูงขึ้น โดยศึกษาแนวทางจากผู้ปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ต้องมีการควบคุมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่ากิจกรรมและกระบวนการธุรกิจดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่การสร้างผลิตภาพและคุณค่าเพิ่มที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด