ปัจจุบันในการดำเนินธุรกิจ ที่มีการแปลงทรัพยากรที่เป็นปัจจัยนำเข้า อันได้แก่ แรงงาน เงินทุนวัตถุดิบ พลังงาน เข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตผล ในรูปของสินค้าหรือบริการ ผู้ประกอบการจึงต้องคำนึงถึงผลตอบแทนหรือกำไรสูงสุด โดยมีตัวชี้วัดที่เรียกว่า ผลิตภาพ เป็นตัววัดความสามารถของธุรกิจ ที่เป็นสัดส่วนของผลิตผลเทียบกับปัจจัยนำเข้า
ปัจจุบันในการดำเนินธุรกิจ ที่มีการแปลงทรัพยากรที่เป็นปัจจัยนำเข้า (Input) อันได้แก่ แรงงาน เงินทุนวัตถุดิบ พลังงาน เข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตผล (Output) ในรูปของสินค้าหรือบริการ ผู้ประกอบการจึงต้องคำนึงถึงผลตอบแทนหรือกำไรสูงสุด โดยมีตัวชี้วัดที่เรียกว่า ผลิตภาพ (Productivity) เป็นตัววัดความสามารถของธุรกิจ ที่เป็นสัดส่วนของผลิตผลเทียบกับปัจจัยนำเข้า ดังนั้นจึงเป็นภาระกิจที่สำคัญของผู้บริหารที่ต้องหาแนวทางในการปรับปรุงเพื่อยกระดับผลิตภาพ ดังนั้นการปรับปรุงผลิตภาพจึงไม่เพียงแต่หมายถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพสูงสุด (Maximum Efficiency) แต่ยังรวมถึงประสิทธิผล (Effectiveness) ด้วย ที่เป็นการวัดผลลัพธ์ของการดำเนินงานในระยะยาว ดังความสัมพันธ์ดังนี้ |
ดังนั้นแนวทางในการปรับปรุงและยกระดับผลิตภาพ จึงสามารถดำเนินการได้สองแนวทาง คือ การลดปัจจัยนำเข้า ขณะที่เกิดผลิตผลที่คงที่ หรือ การเพิ่มผลิตผล โดยมีปัจจัยนำเข้าที่คงที่ |
ผลิตภาพกับการผลิต (Productivity & Production) |
มักมีผู้สับสนและเข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงระหว่างผลิตภาพกับการผลิต โดยความหมายที่แท้จริงของการผลิต ก็เพียงแค่ปริมาณผลิตผลโดยรวม (Total Output) ของสินค้า หรือบริการที่เกิดขึ้น แต่ผลิตภาพนั้น หมายถึง ปริมาณผลิตผลโดยรวมของสินค้า หรือ บริการ ที่เกิดขึ้นเทียบกับปริมาณหน่วยของปัจจัยนำเข้าที่ถูกใช้ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของการผลิตจึงไม่ได้หมายถึงการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ เช่น ในปี 2544 โรงงานสามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่ารวม 10 ล้านบาท โดยใช้แรงงาน 10 คน ผลิตภาพที่เกิดขึ้นต่อแรงงานในปีนี้ คือ 1 ล้านบาทแต่ในปี 2545 ได้จ้างแรงงานเพิ่มอีก 10 คน ทำให้มีผลิตผลรวมสูงขึ้นเป็น 18 ล้านบาท ผลิตภาพต่อแรงงาน คือ 900,000 บาท ซึ่งลดลงจากปีก่อน จากตัวอย่างดังกล่าวแสดงถึงผลิตภาพที่ลดลง ขณะที่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นและไม่เป็นสัดส่วนกับการเพิ่มปัจจัยนำเข้า (แรงงาน) ที่อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น วิธีการผลิต การใช้เครื่องจักรที่ไม่มีประสิทธิผล ปัญหาการจัดการ เป็นต้น |
ตัวชี้วัดผลิตภาพ |
กลยุทธ์ความสำเร็จของการปรับปรุงผลิตภาพ จะต้องมีแนวทางวัดผลที่เป็นระบบ (Systematic Approach) ทั้งในระดับมหภาค (Macro Level) และระดับจุลภาค (Micro Level) ในขั้นแรกของการวัดผลิตภาพจะต้องทำการวัดผลิตผลก่อน หลังจากนั้นจึงทำการกำหนดปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ และทำการวัดปัจจัยดังกล่าว ซึ่งการวัดผลิตผลสามารถพิจารณาและแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้ |
1. ระดับเศรษฐกิจประชาชาติชาติ (National Economy Level) คือ การวัดกิจกรรมในระบบเศรษฐกิจที่ครอบคลุมถึงการผลิต ราคาสินค้าและการจ้างงาน โดยวัดสมรรถนะโดยรวมของเศรษฐกิจ (Measure of Overall Economic Performance) ที่เป็นข้อมูลในการตัดสินใจที่จะดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ โดยมีปัจจัย ได้แก่ อัตราการว่างงาน อัตราการลงทุน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้ผู้บริหารสามารถนำมาวิเคราะห์และตัดสินใจที่จะเพิ่มหรือลดการผลิตและเป็นข้อมูลในการกำหนดอัตราการจ้างงาน ดังนั้นการวัดผลิตภาพจึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิผลในการประเมินความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่ส่งผลต่อการปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ (Standard of Living) ของประชากร ซึ่งสามารถแบ่งองค์ประกอบออกได้เป็น |
|
|
|
ในองค์ประกอบทั้ง 4 จะมีผลต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค โดยสามารถเขียนเป็นสมการทางเศรษฐกิจ ได้ดังนี้ |
|
(S – I) หมายถึง ดุลเงินออมของภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งเป็นช่องว่าง (GAP) ระหว่างเงินออมและการลงทุน (T – G) หมายถึง ดุลการคลังซึ่งเป็นผลต่างของบัญชีรายได้จากภาษีที่เรียกเก็บได้กับการใช้จ่ายของภาครัฐ ดังนั้น (S – I) + (T – G) จึงหมายถึง ดุลเงินออมของประเทศทั้งหมด |
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรในสมการที่กล่าวมาแล้ว เช่น ถ้าประชาชนเพิ่มการใช้จ่ายในการบริโภค ธุรกิจมีการลงทุนเพิ่มและการเพิ่มค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น หรือ อาจจะกำหนดนโยบายเน้นการส่งออก ทำให้เกิดการได้เปรียบดุลการค้าและส่งผลให้ประเทศมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในทางตรงกันข้ามถ้าค่า GNP ลดลงก็จะทำให้เศรษฐกิจเกิดความตึงเครียดและเกิดความไม่มีเสถียรภาพขึ้น ทำให้อัตราการการจ้างแรงงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็น ซึ่งเรียกว่าเกิดช่องว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP Gap) ในภาวะนี้ภาครัฐบาลจะดำเนินนโยบายแทรกแซงเศรษฐกิจ ดังเช่นการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มค่าใช้จ่ายเข้าสู่ระบบทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นส่งผลทำให้ตลาดมีการขยายตัวขึ้น |
|
การเติบโตของ GDP = การเติบโตผลิตภาพ + การขยายการจ้างงาน |
|
|
รูปที่ 2 แสดงระดับของผลิตภาพ |
2. ผลิตภาพระดับอุตสาหกรรม (Industry Level Productivity) ที่เป็นการวัดผลิตภาพในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น การผลิต ขนส่ง ก่อสร้าง การเงิน เป็นต้น โดยมีปัจจัยที่สำคัญคือ มูลค่าเพิ่ม (Value-added) ที่หาได้จากค่า GDP ในแต่ละอุตสาหกรรม (Idustry Sector) หารด้วยจำนวนแรงงานในแต่ละอุตสาหกรรมการผลิต ดังความสัมพันธ์ ดังนี้ |
3. ผลิตภาพระดับระหว่างองค์กร (Inter-Organization Level Productivity) ที่เป็นผลิตภาพภายในเฉพาะประเภทธุรกิจ (Business Categories) หรือตามขนาดธุรกิจ (Business Scale) อย่างเช่น ร้านอาหาร โรงแรม ค้าปลีก เป็นต้น โดยการเปรียบเทียบหรือการเบนช์มาร์ก (Benchmark) ระหว่างองค์กรในสาขาธุรกิจเดียวกัน ที่อาจวัดในเชิงปริมาณหรือผลิตผลต่อแรงงาน เช่น น้ำหนัก ปริมาตร หรือ จำนวนชิ้น แต่ในทางปฏิบัติทั่วไปมักใช้การวัดในรูปมูลค่าทางการเงิน |
4. ระดับองค์กร (Organization Level) ที่สัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับการวางแผนการจัดการ (Management Planning) และใช้เป็นดัชนีสำหรับเปรียบเทียบระหว่างเป้าหมายกับผลลัพธ์ เช่น การเพิ่มขึ้นของยอดขาย หรือ การเพิ่มสัดส่วนของดี (Yield) ของผลิตภัณฑ์ ในสายการผลิต ซึ่งแนวคิดการปรับปรุงผลิตภาพควรจะถูกประยุกต์ใช้กับทุกหน่วยงานในองค์กร เพื่อเพิ่มผลิตภาพโดยรวมที่แสดงในรูปของมูลค่าเงิน (Monetary Value) โดยมีปัจจัยที่สำคัญ คือ มูลค่าเพิ่มทางบัญชีการเงิน( Financial Accounting) และทางบัญชีบริหาร (Managerial Accounting) |
รูปที่ 3 แสดงแนวคิดของระบบการปรับปรุงผลิตภาพ |
แนวคิดมูลค่าเพิ่มทางบัญชีการเงิน |
มูลค่าเพิ่ม (Value Added) เป็นการเพิ่มความมั่งคั่ง (Wealth) ที่ถูกสร้างโดยองค์กรธุรกิจ โดยผ่านกระบวนการของการแปรรูป (Transform) ในรูปของกระบวนการผลิต (Production Process) หรือการบริการ ที่หาได้จากรายได้หักด้วยปัจจัยนำเข้าขั้นกลาง (Intermediate Input) ในรูปของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจากแหล่งภายนอก ดังตัวอย่าง ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสาร ได้จัดซื้อชิ้นส่วน เข่น แผงวงจร (PCB) ซิลิคอนชิป และทรานซิสเตอร์ จากซัพพลายเออร์ โดยมีการใช้แรงงานและเครื่องจักรในการแปรรูปวัสดุเป็นสินค้า ดังนั้นกระบวนการแปรรูปจึงเป็นส่วนที่เพิ่มมูลค่า (Value Added) ให้กับวัสดุที่ถูกจัดซื้อ ซึ่งมูลค่าเพิ่มที่ถูกสร้างโดยองค์กร จะถูกจัดสรรกลับไปยังบุคลากรที่มีส่วนในการสร้างสินค้าหรือบริการ นั่นคือมูลค่าเพิ่มจะถูกจัดสรรในรูปของค่าจ้างพนักงาน ค่าเสื่อมราคาสำหรับการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ผลกำไรให้กับองค์กร รวมทั้งภาษีและดอกเบี้ย ดังนั้นมูลค่าเพิ่มจึงสามารถคำนวณ ได้สองแนวทาง ดังนี้ |
1. วิธีการลบออก (Subtract Method) ยอดขาย = ยอดจัดซื้อวัสดุและบริการ+ มูลค่าเพิ่ม หรือ มูลค่าเพิ่ม = ยอดขาย- ยอดจัดซื้อวัสดุและบริการ |
2. วิธีการบวกเพิ่ม (Addition Method) มูลค่าเพิ่ม = ค่าจ้างแรงงาน + ค่าเสื่อมราคา + ผลกำไร + ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (ดอกเบี้ยและภาษี) |
รูปที่ 4 แสดงการจัดสรรมูลค่าเพิ่มในรูปแบบต่าง ๆ |
นอกจากนี้ยังสามารถนำแนวคิดดังกล่าว ใช้ในการตรวจวัดมูลค่าเพิ่มของกระบวนการผลิต ดังนี้ |
รูปที่ 5 แสดงองค์ประกอบต้นทุนและมูลค่าเพิ่มการผลิต |
จากความสัมพันธ์ที่ ได้แสดงในรูปของสมการและแผนภาพ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการคำนวณมูลค่าเพิ่ม ที่จัดว่าเป็นขั้นแรกของการวินิจฉัยผลิตภาพโดยรวมขององค์กร เนื่องจากมูลค่าเพิ่มมักจะแสดงถึงมาตรวัดโดยรวมของความมั่งคั่ง ที่เกิดจากผลประกอบการขององค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการทำแผนการปรับปรุงการดำเนินงานและยกระดับผลิตโดยรวมต่อไป |
การหามูลค่าเพิ่มสามารถคำนวณได้จาก งบกำไร - ขาดทุนทางบัญชีขององค์กร ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นในการแยกระบบจัดเก็บข้อมูล เพื่อตรวจติดตามผลิตภาพของมูลค่าเพิ่ม (Value Added Productivity) ยิ่งกว่านี้มูลค่าเพิ่มยังขยายแนวคิดทางบัญชีแบบดั้งเดิม (Conventional Accounting) โดยการวัดผลิตภาพช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถวิเคราะห์ผลทางการเงิน (Financial Analysis) อย่างเช่น ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) และสภาพคล่อง (Liquidity) และสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดผลิตภาพ (Productivity Indicators) ในการดำเนินงานของกิจกรมในองค์กร ที่แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ |
|
แนวคิดมูลค่าเพิ่มทางบัญชีบริหาร |
แนวคิดดังกล่าวนี้ มีพื้นฐานจาก Rucker Plan ที่วิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างการจัดการมูลค่าเพิ่มและค่าใช้จ่ายทางบุคลากรจากมุมมองของการปรับปรุงจัดการองค์กร โดยมุ่งการวิเคราะห์การจัดการมูลค่าเพิ่ม การควบคุมค่าใช้จ่ายบุคลากรสำหรับแต่ละหน่วยงานขององค์กรโดยใช้มาตรฐานมูลค่าเพิ่ม การวางแผนจัดการมูลค่าเพิ่ม และการจัดการผลลัพธ์มูลค่าเพิ่ม |
ปัจจุบันแนวคิดของผลิตภาพได้ถูกประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ระดับเศรษฐกิจประชาชาติสำหรับการเปรียบเทียบระหว่างประเทศและการวัดมาตรฐานความเป็นอยู่ (Standard of Living) ของประชากร จนถึงการปฏิบัติงานประจำวัน (Daily Work) ในสถานที่ทำงาน ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพทางกายภาพและผลิตภาพทางมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยผลิตภาพและผลิตภาพโดยรวม ซึ่งในฉบับต่อไปคงจะได้กล่าวถึงรายละเอียดมากขึ้น สำหรับฉบับนี้ขอจบเพียงแค่นี้ ก่อน |
เอกสารอ้างอิง |
1. Kurt Heinze ,Cost Management of Capital Projects, Marcel Dekker,Inc.,1996. 2. Jay Heizer, Barry Render , Operation Management, Prentice-Hall,Inc.,2001. 3. Bradley R. Schiller , Essentials of economics,McGraw-Hill, Inc. ,1993 |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด