ๆ วิธีการที่ใช้ในการวัดอนุภาคจุลสารจะมีความแตกต่างกันในการบ่งบอกถึงขนาดอนุภาคที่สามารถวัดได้ สำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือวัดคุณสมบัติของอนุภาคที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกันแต่จะยกมากล่าวเฉพาะบางชนิดที่สำคัญมีการใช้อย่างแพร่หลายและบางอุปกรณ์อยู่ระหว่างการวิจัยพัฒนา
อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ขนาดอนุภาค โดยเครื่องมือที่ออกแบบสำหรับการวัดขนาดของอนุภาคที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์โดยทั่วไปจะมีวิธีการวัดที่แตกต่างกัน วิธีการและเครื่องมือสำหรับการวัดขนาดอนุภาคได้มีการกล่าวถึงในหลายงานวิจัย อาทิเช่น [1, 2, 3, 4, 5] และอื่น ๆ วิธีการที่ใช้ในการวัดอนุภาคจุลสารจะมีความแตกต่างกันในการบ่งบอกถึงขนาดอนุภาคที่สามารถวัดได้ สำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือวัดคุณสมบัติของอนุภาคที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกันแต่จะยกมากล่าวเฉพาะบางชนิดที่สำคัญมีการใช้อย่างแพร่หลายและบางอุปกรณ์อยู่ระหว่างการวิจัยพัฒนา ได้แก่ |
. |
1. Differential Mobility Analyzer |
Differential Mobility Analyzer (DMA) หรือเรียกว่าเครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนตัวทางไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการความสามารถในการเคลื่อนที่ของอนุภาคภายใต้สนามไฟฟ้า คือ เมื่ออนุภาคที่มีประจุเป็นลบหรือบวกผ่านเข้ามาในสนามไฟฟ้า จะทำให้อนุภาคที่เป็นบวกเคลื่อนที่โค้งเข้าหาขั้วลบและอนุภาคที่เป็นลบจะเคลื่อนที่โค้งเข้าหาขั้วบวก DMA เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแยกขนาดของอนุภาคที่กระจายอยู่ในอากาศ |
. |
มีลักษณะโครงสร้าง และการทำงานแสดงไว้ดังรูป 1 เป็นทรงกระบอกแกนร่วม (Two Concentric Cylinders) ทรงกระบอกด้านในเป็นขั้วบวกและทรงกระบอกด้านนอกเป็นขั้วกราวด์ ดังนั้นเมื่อจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับขั้วบวกหรือทรงกระบอกด้านในจะทำให้เกิดสนามไฟฟ้าตรงบริเวณช่องว่างระหว่างทรงกระบอก ในการทำงานจะเริ่มต้นด้วยการอัดประจุลบให้กับอนุภาคตัวอย่าง |
. |
ดังนั้นเมื่ออนุภาคเคลื่อนที่เข้ามาในสนามไฟฟ้าดังรูปที่ 1 จะเคลื่อนที่โค้งเข้าหาขั้วบวกซึ่งอยู่ตรงกลาง อนุภาคที่มีขนาดที่เหมาะสม (d*) กับแรงของสนามไฟฟ้าที่กระทำต่ออนุภาคก็จะเคลื่อนที่เข้าช่องเก็บตัวอย่างซึ่งต่อกับเครื่องนับจำนวนอนุภาค ส่วนอนุภาคที่มีขนาดเล็ก (d < d*) จะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วบวกเร็ว ตกกระทบที่ผิวขั้วบวกก่อนที่จะถึงช่องเก็บตัวอย่าง และอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ (d > d*) จะเคลื่อนที่ด้วยความเฉื่อยของตัวอนุภาคเองผ่านช่องเก็บตัวอย่างออกไปพร้อมกับอากาศสะอาด |
. |
การคัดขนาดอนุภาคจะทำได้โดยการปรับแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับขั้วบวกทำให้แรงทางไฟฟ้าที่กระทำต่ออนุภาคเปลี่ยนไปดังนั้นอนุภาคที่ผ่านเข้าช่องเก็บตัวอย่างจะมีขนาดที่ต่าง ๆ กัน แปรผันตามแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับขั้วบวก ซึ่งสามารถนำข้อมูลมาประมวลผลเป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดและจำนวนของอนุภาคได้ ซึ่งเรียกว่า กราฟของการกระจายขนาดของอนุภาค |
. |
. |
2. Electrical Aerosol Spectrometer (EAS) |
Electrical Aerosol Spectrometer (EAS) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการวัดแบบหลายช่องขนานไปพร้อมกัน (Multi-Channel หรือ Parallel) สำหรับการวัดที่มีความรวดเร็วของช่วงขนาดไม่แน่นอน (Unstable Size Spectrum) ของอนุภาคในช่วงขนาดตั้งแต่ 10 นาโนเมตร ถึง 10 ไมโครเมตร ซึ่งได้พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยตาร์ตู ประเทศเอสโตรเนีย [6] ลักษณะโครงสร้างและการทำงานของ EAS แสดงไว้ในรูปที่ 2 EAS ถูกออกแบบสำหรับการวัดขนาดอนุภาคในบรรยากาศ |
. |
ดังนั้นการออกแบบทั้งหมดและหลักการทำงานของ EAS จะมีลักษณะโครงสร้างและการทำงานคล้ายกับ DMA โดยใช้หลักการการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้า (Electrical Mobility) ใช้ทรงกระบอกแกนร่วมและจ่ายแรงดันไฟฟ้าแรงสูงแบบกระแสตรงให้กับขั้วด้านในและด้านนอกของทรงกระบอกเพื่อสร้างสนามไฟฟ้า การแยกคัดขนาดอนุภาคใน EAS จะขึ้นอยู่กับการแยกคัดการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน |
. |
อนุภาคที่ถูกประจุเข้าไปในเครื่องวิเคราะห์ EAS ใกล้แกนกลาง และอนุภาคเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งเข้าหาทรงกระบอกด้านนอกและตกกระทบลงบนวงแหวนหัววัด (Electrode Ring) โดยวงแหวนหัววัดจะติดที่ผิวด้านในของทรงกระบอกด้านนอกใช้ในการวัดกระแสไฟฟ้าที่ตกกระทบและสะสมบนวงแหวน ความเข้มข้นเชิงจำนวนของอนุภาคจะสามารถหาได้โดยการวัดกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการสะสมของอนุภาคที่มีประจุอยู่แล้วโดยใช้เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าอิเล็กโตรมิเตอร์ และแปลงค่าสัญญาณของกระแสไฟฟ้าที่ได้เป็นจำนวนของอนุภาคสำหรับขนาดนั้น ๆ |
. |
EAS ประกอบด้วยเครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนตัวสองส่วนที่ต่างกัน ซึ่งจะทำงานคู่ขนานกัน การอัดประจุของอนุภาคจะทำโดยผ่านการอัดประจุไอออนขั้วเดี่ยว (Unipolar Ion Charging) การอัดประจุแบบแพร่ (Diffusion Charging) สำหรับเครื่องวิเคราะห์ D-analyzer และการอัดประจุแบบสนาม (Field Charging) สำหรับเครื่องวิเคราะห์ E-analyzer กระแสสัญญาณจากแต่ละเครื่องวิเคราะห์จะถูกบันทึกพร้อม ๆ กันและประมวลผลข้อมูล (Data Processing) |
. |
โดยการใช้วิธีการคิดแบบ Error-correcting Algorithm ใน EAS มีการติดตั้งอิเล็กโตรดไว้ประมาณ 12 ชั้น มีช่องขนาด 10, 18, 32, 56, 100, 180, 320, 560, 1000, 1800, 3200, 5600, 10000 นาโนเมตร ตามลำดับ ในแต่ละชั้นจะวางอยู่ในระยะตกกระทบที่ต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของอนุภาค ย่านความเข้มข้นเชิงจำนวนอนุภาคที่สามารถวัดได้จาก 102–105 อนุภาคต่อลูกบาศก์เซนติเมตร สำหรับช่องขนาดที่ต่ำกว่า 100 นาโนเมตร และ 101–104 อนุภาค ต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร |
. |
ในช่องขนาดจาก 100–1000 นาโนเมตร เวลาที่ใช้ในการวัดจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของอนุภาค แต่จะมีค่าน้อยที่สุดคือ 4 วินาที เครื่อง EAS ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยตาร์ตู มีขนาด 440 ´ 490 ´ |
. |
3. Bipolar Charge Aerosol Classifier |
Bipolar Charge Aerosol Classifier (BCAC) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดการกระจายการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้าของอนุภาค (Electrical Mobility Distribution) โดยใช้หลักการของเครื่องตกตะกอนแบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator Technique) ซึ่งได้พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยบรูเนล ประเทศอังกฤษ [7] ลักษณะการทำงานของ BCAC แสดงไว้ในรูปที่ 3 |
อุปกรณ์นี้จะประกอบด้วยส่วนตกตะตอนที่มีลักษณะโครงสร้างที่เป็นทรงกระบอกแกนร่วม 5 อันมาต่อกันแล้วคั่นด้วยฉนวนไฟฟ้าและจ่ายไฟฟ้าแรงสูงให้กับขั้วทรงกระบอกด้านใน โดยหลักการทำงานและโครงสร้างการทำงานของอุปกรณ์นี้จะมีลักษณะเหมือนกับ EAS แต่จะต่างกันตรงที่ BCAC ไม่ใช้วงแหวนหัววัดแต่ใช้เป็นลักษณะทรงกระบอกมาต่อกันหลายอันในแต่ละอันจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง |
. |
โดยในแต่ละทรงกระบอกจะจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับขั้วด้านในของทรงกระบอกไม่เท่ากันโดยมีการเพิ่มขึ้นของแรงดันไฟฟ้าเป็นขั้นๆ เป็นแบบโพลีโนเมียล ในการวัด อันดับแรกจะทำการอัดประจุให้กับอนุภาคตัวอย่างด้วยวิธีการอัดประจุแบบสองขั้ว (ฺBipolar Charging) อนุภาคที่ได้รับการอัดประจุจะเคลื่อนเข้าไปในส่วนการตกตะกอน (Precipitator Section) โดยอนุภาคที่มีประจุลบจะถูกดึงเข้าอิเล็กโตรดแกนกลางสะสมตัวอยู่บนเส้นลวด |
. |
ส่วนอนุภาคที่มีประจุบวกจะถูกผลักออกไปตกกระทบและสะสมตัวอยู่บนอิเล็กโตรดของผนังด้านในของทรงกระบอกด้านนอก ประจุจะถูกวัดโดยอิเล็กโตรมิเตอร์ร่วมกับสแกนเนอร์การ์ดกระแสต่ำหลายช่องวัด อุปกรณ์ทั้งหมดถูกต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมโดยโปรแกรมจากการป้อนข้อมูลแบบอัตโนมัติและมีการวิเคราะห์ข้อมูลทดลองสำหรับใช้แสดงผลแบบกราฟิก |
. |
4. Scanning Mobility Particle Sizer |
. |
Scanning Mobility Particle Sizer (SMPS) ยังเป็นที่รู้จักในชื่อว่า Scanning Differential Mobility Analyzer (SDMA) ทำงานบนหลักการของการแยกคัดการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้า เหมือนกับ DMA และถูกใช้เพื่อวัดการกระจายขนาดอนุภาคเชิงจำนวน (Number-weighted Size Distribution) ลักษณะโครงสร้างและการทำงานของ SMPS แสดงไว้ในรูปที่ 4 มีลักษณะการทำงานคือ อนุภาคตัวอย่างอันดับแรกจะถูกผ่านเข้าไปใน Single-stage Inertial Impactor เพื่อคัดแยกอนุภาคใหญ่นอกเหนือย่านวัดออก |
. |
ต่อจากนั้นอนุภาคจะผ่านเข้าไปใน Bipolar Ion Neutralizer เพื่อทำให้ระดับประจุของอนุภาคมีการกระจายประจุแบบสมดุล Boltzmann Equilibrium จากนั้นอนุภาคที่ได้รับการอัดประจุจะผ่านเข้าไปในเครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนตัวทางไฟฟ้าใกล้อิเล็กโตรดด้านนอก ซึ่งประกอบด้วยทรงกระบอกแกนร่วมที่อิเล็กโตรดแกนกลางจ่ายไฟฟ้าแรงสูงขั้วบวกและด้านนอกเป็นขั้วกราวด์ (0 ถึง 10,000 VDC) การไหลแบบราบเรียบของอากาศสะอาด (ปกติที่อัตราส่วน 10:1 กับอัตราการไหลของอนุภาค) จะผ่านเข้าไปใน DMA ใกล้อิเล็กโตรดแกนกลาง สนามไฟฟ้าภายใน DMA จะมีอิทธิพลต่อวิถีโค้งการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุ อนุภาคที่มีประจุบวกจะถูกผลักออกไปและถูกสะสมตัวอยู่บนผนังอิเล็กโตรดด้านนอก |
. |
ส่วนอนุภาคที่มีประจุลบจะถูกดึงเข้าหาแกนกลางที่อัตราที่ต่างกันจะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้าของแต่ละอนุภาค อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่เหมาะสม (d*) ผ่านเข้าไปในช่องเก็บในอิเล็กโตรดแกนกลาง อนุภาคเหล่านี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเหมือนกันการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้าที่สม่ำเสมอ เมื่อถูกแยกคัดในเทอมของการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้า จากนั้นอนุภาคในช่วงขนาดนี้จะถูกส่งไปยังเครื่องนับจำนวนอนุภาค (Condensation Particle Counter: CPC) เพื่อวัดจำนวนความเข้มข้นของอนุภาค |
. |
ซึ่งรายละเอียดของเครื่องนับจำนวนอนุภาคจะอธิบายในหัวข้อต่อไป อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้าที่แตกต่างจะถูกสะสมตัวอยู่บนแกนกลาง (dp < d*) หรือ ออกผ่านไปข้างล่างของ SMPS (dp > d*) โดยการปรับเปลี่ยนค่าความเข้มสนามไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง (หรือ “Scanning”) แรงดันแกนกลางจะเลือกอนุภาคของการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน การกระจายขนาดอนุภาคทั้งหมดสามารถที่จะวัดได้แม่นยำที่ความละเอียดสูง |
. |
บริษัท TSI แห่ง Minnesota ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ผลิต SMPS ออกมาหลายรูปแบบที่แตกต่างกันที่ครอบคลุมย่านขนาดจาก 3–150 นาโนเมตร และ 7–1000 นาโนเมตร ด้วยย่านความเข้มข้นจำนวนอนุภาคโดยประมาณจาก 104–109 อนุภาค ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และสามารถที่จะวัดการกระจายขนาดอนุภาคในเวลา 30 วินาที แต่โดยปกติจะมากกว่าคือ 60–120 วินาที SMPS เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวัดการกระจายขนาดอนุภาค และถูกพิจารณาเป็นมาตรฐานเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ |
. |
ขณะที่ SMPS เหมาะสำหรับการวัดในห้องทดลอง มันไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในภาคสนามเนื่องจากมันใหญ่ หนัก และในการทำงานมันจะต่อใช้งานร่วมกับเครื่องนับอนุภาค ซึ่งอาจจะมีแนวโน้มทำให้เกิดการชำรุดเสียหายได้หากไม่ระวังเป็นพิเศษ SMPS โดยปกติแล้วจะมีราคาจำหน่ายโดยประมาณที่ 70,000–100,000 เหรียญสหรัฐ |
. |
5. Condensation Particle Counter |
เครื่องนับจำนวนอนุภาคแบบการควบแน่น (Condensation Particle Counter: CPC) โดยทั่วไปถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวัดความเข้มข้นเชิงจำนวนของอนุภาครวมทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงขนาดอนุภาค ดังนั้นมันจึงไม่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับขนาดอนุภาค ลักษณะโครงสร้างของ CPC แสดงไว้ในรูปที่ 5 ขณะที่อนุภาคตัวอย่างเข้าไปใน CPC จะมีการเปลี่ยนสัญญาณเป็นความร้อนจ่ายให้กับอ่างแอลกอฮอล์จนทำให้แอลกอฮอล์กลายเป็นไอลอยผ่านขึ้นไปยังท่อควบแน่น |
. |
ไอระเหยแอลกอฮอล์จะเกาะตัวลงบนอนุภาคและควบแน่นเป็นหยดอิ่มตัวซึ่งมีขนาดประมาณ 12 ไมโครเมตร หยดของอนุภาคที่มีแอลกอฮอล์ควบแน่นอยู่จะถูกส่งให้เคลื่อนที่ผ่านลำแสงเลเซอร์ และใช้อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณการกระจายของแสงเพื่อนำไปแปลงค่าเป็นจำนวนของอนุภาคต่อไป ตัวอย่าง CPC ที่นิยมมากคือโมเดล TSI 3025A สามารถตรวจสอบอนุภาคได้เล็กถึง 3 นาโนเมตร ที่ความเข้มข้นจำนวนถึง 105 อนุภาค ต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร
|
. |
ด้วยการตอบสนองเวลา 1 วินาที และโมเดล 3022A สามารถวัดอนุภาคได้เล็กถึง 7 นาโนเมตร ที่ความเข้มข้นจำนวนถึง 107 อนุภาค ต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร ด้วยเวลาการตอบสนอง 12 วินาที CPC โมเดล 3022A จะมีราคาโดยประมาณ 40,000 เหรียญสหรัฐ |
. |
6. Electrical Low Pressure Impactor |
Electrical Low Pressure Impactor (ELPI) คือ Automated Multi-stage Impactor เป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดการกระจายขนาดอนุภาคในเวลาที่สั้นกว่า SMPS [10] ลักษณะโครงสร้างของ ELPI แสดงไว้ในรูปที่ 6 ELPI ใช้ Impactor 12 ขั้น ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการ “ตัด” ขนาดที่ 8.4, 5.3, 3.2, 2.0, 1.3, 0.81, 0.51, 0.33, 0.21, 0.14, 0.081, 0.042 ไมโครเมตร ตามลำดับ |
. |
โดยอันดับแรกอนุภาคที่เข้ามาจะได้รับการอัดประจุจาก Unipolar Corona Charger อนุภาคที่ได้รับการประจุแล้วจะเคลื่อนที่เข้าไปในส่วนของ Impactor การทำงานของส่วนนี้จะอาศัยความเฉื่อยในการคัดขนาดของอนุภาค โดยในแต่ละชั้นจะให้อนุภาคตัวอย่างที่ต้องการวัดไหลผ่านเข้าช่องเล็ก ๆ เพื่อเร่งความเร็วของกระแสการไหลของอากาศ และวางแผ่นแบนขวางตรงทางออก |
. |
ซึ่งทำให้อนุภาคที่มีขนาดใหญ่หรือมีความเฉื่อยมากตกกระทบกับผิวของแผนแบน ไม่สามารถเคลื่อนที่อ้อมผ่านแผ่นแบนได้ ส่วนอนุภาคที่มีขนาดเล็กหรือมีความเฉื่อยน้อยจะสามารถเคลื่อนที่อ้อมแผ่นแบนไปได้ ในการวัดการกระจายของขนาดอนุภาคนั้นจะทำการวัดกระแสไฟฟ้าจากแผ่นแบนที่เกิดจากการตกกระทบและสะสมตัวของอนุภาคที่มีประจุบนแผ่นแบนด้วยเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าอิเล็กโตรมิเตอร์ โดยในแต่ละชั้นจะให้กระแสไฟฟ้าที่แตกต่างกัน เมื่อนำกระแสไฟฟ้าที่ได้ไปแปลงค่าจะได้ค่าของน้ำหนักของอนุภาคในช่วงขนาดนั้น ๆ |
. |
โดยปกติแล้ว ELPI ถูกพัฒนาเป็นอุปกรณ์สำหรับการวัดอนุภาคในไอเสียในงานอุตสาหกรรม และปล่องควันของโรงไฟฟ้า ดังนั้น ย่านขนาด และความละเอียดของเครื่องมือจะไม่ค่อยดี เหมาะสำหรับการวัดอนุภาคจุลสารของท่อไอเสียของการเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์ ELPI สามารถวัดขนาดอนุภาคที่มีความเข้มข้นเชิงจำนวนในย่านโดยประมาณจาก 102–107 อนุภาค ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ในเวลาภายใน 5 วินาที เครื่อง ELPI ของบริษัท Dekati ประเทศฟินแลนด์ สามารถวัดขนาดอนุภาคอยู่ในช่วงขนาด 30 นาโนเมตร ถึง 10 ไมโครเมตร และสามารถที่จะขยายย่านวัดได้ต่ำถึง 7 นาโนเมตร มีขนาด 570 ´ 400 ´ |
. |
7. NanoMet |
NanoMet แสดงไว้ในรูปที่ 7 เป็นเครื่องมือที่ถูกเผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งให้ข้อมูลตอบสนองค่อนข้างเร็วเกี่ยวกับคุณสมบัติพื้นผิวของอนุภาค [18] NanoMet ประกอบด้วยสองส่วนแยกออกจากกันแต่ช่องวัดจะเหมือนกันทุกอย่างซึ่งจะทำงานพร้อมกัน ในทั้งสองช่องวัดการไหลของอนุภาคที่เข้ามาจะถูกอัดประจุ สองช่องวัดจะแตกต่างกันตรงที่วิธีการอัดประจุให้กับอนุภาค ในกรณีของช่องวัดแรกจะใช้วิธีการ |
. |
ขณะที่ในช่องวัดที่สองจะใช้หลอด Excimer เพื่อให้การอัดประจุแบบ Pho
|
. |
สัมประสิทธิ์ของวัสดุนี้จะขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของวัสดุพื้นผิวของอนุภาคและจะบ่งบอกชนิดของแหล่งที่มาของอนุภาคที่แตกต่างกัน เช่น อนุภาคจากไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซล อนุภาคจากควันบุหรี่ สารพิษ และอื่น ๆ ดังนั้น NanoMet สามารถจำแนกได้ทั้งคุณสมบัติพื้นผิวทั่วไปของอนุภาค และ การเปลี่ยนแปลงภายในคุณสมบัติพื้นผิวของอนุภาคที่รู้ชนิดมาก่อน NanoMet ยังสามารถวัดค่าสัมบูรณ์ของ Active Surface Area ทั้งหมดของอนุภาคได้ ระบบของ NanoMet สามารถวัดอนุภาคในช่วงขนาดโดยประมาณจาก 10 นาโนเมตร ถึง 1 ไมโครเมตร ด้วยเวลาประมาณ 1 วินาที NanoMet ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันจะมีราคาประมาณ 65,000 เหรียญสหรัฐ |
. |
. |
บทสรุป |
เครื่องวัดขนาดอนุภาคเป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นในการศึกษาคุณสมบัติและลักษณะทางกายภาพของอนุภาคเครื่องมือระดับสูงที่ใช้วิเคราะห์อนุภาคมีหลายชนิดและหลายแบบที่นิยมกัน ได้แก่ Differential Mobility Analyzer, Electrical Aerosol Spectrometer, Bipolar Charge Aerosol Classifier, Scanning Mobility Particle Sizer, Condensation Particle Counter, Electrical Low Pressure Impactor และ NanoMet เป็นต้น |
ในบทความนี้เป็นสรุปรายงานผลสถานภาพเทคโนโลยีและแนวทางในการศึกษาถึงหลักการทำงานและโครงสร้างของเครื่องวิเคราะห์ขนาดอนุภาคในปัจจุบัน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญและสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเครื่องวิเคราะห์อนุภาคขนาดเล็กต่อไปได้ |
เอกสารอ้างอิง |
1. Davies, R. Rapid response instrumentation for particle size analysis, part 2. American Laboratory. January. (1974): 73. 2. Jaenicke, R. Methods for determination of aerosol properties. in Fine Particles: Aerosol Generation, Measurement, Sampling and Analysis. (edited by Liu, B. Y. H.). Academic Press. 3. Fuchs, N. A. Methods for determining aerosol concentration. Aerosol Science and Technology. 5 (1986): 123-143. 4. Sinclair, D. Measurement of nanometer aerosol. Aerosol Science and Technology. 5 (1986): 187-204. 5. Schmidt-Ott, A. New developments in aerosol characterization from the physical point of view. Particle System & System Characterization. 8 (1991): 35. 6. Tammet, H., Mirme, A. and Tamm, E. Electrical aerosol spectrometer of
7. Kulon, J., Malyan, B. and Balachandran, B. The bipolar charge aerosol classifier. IEEE Trans. Industrial Application. 4 (2001): 2241-2248. 8. Rosell-Llompart, J., Loscertales,
9. Wang, S. C. and Flagan, R. C. Scanning electrical mobility spectrometer. Journal of Aerosol Science. 20 (1989): 1485-1488. 10. Keskinen, J., Pietarinen, K. and Lehtimaki, M. Electrical low pressure impactor. Journal of Aerosol Science. 23 (1992): 353-360. 11. Kasper, M., Matter, U. and Burtscher, H. NanoMet: online characterization of nanoparticle size and composition. SAE paper no. 2001-01-1998, (2000). |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด