นครินทร์ เทียนประทีป
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ยิบอินซอย จำกัด
แม้ความท้าทายในแวดวงสาธารณสุขจะเกิดขึ้นมาอย่างยาวนานก่อนไวรัสโควิด-19 เห็นได้จากแนวโน้มด้านประชากรศาสตร์ เช่น โครงสร้างสังคมผู้สูงอายุทั่วโลก การเพิ่มขึ้นอย่างมากของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน และเบาหวาน การขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งองค์กรอนามัยโลก คาดการณ์ว่า โลกจะขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุขราว 13 ล้านคนภายในปี 2035 หรือค่าเวชภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้ความมั่นคงด้านการเงินของระบบสาธารณสุขเป็นเรื่องที่น่ากังวลเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกได้กลายเป็น disruption อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่งผลใหระบบบริการด้านสาธารณสุขทั่วโลกกำลังถูกทดสอบอย่างหนัก และโครงสร้างสังคมผู้สูงอายุทั่วโลกที่รวมถึงประเทศไทยซึ่งก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้วในปี 2564 นี้ การเปลี่ยนผ่านทางด้านเทคโนโลยีเข้าสู่ยุคดิจิทัล อาทิ ระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EHR) การจัดการกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลด้วยเอไอ หรือ แมชชีน เลิร์นนิ่ง เพื่อส่งมอบบริการที่ดีขึ้นให้กับคนไข้ หรือเพื่อประโยชน์ด้านการวิจัยของวงการการแพทย์ เป็นต้น จึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการบริการด้านสาธารณสุข โดยการก้าวข้ามความท้าทายเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างมหาศาลอีกต่อไป เพียงใช้เทคโนโลยีทุกอย่างภายใต้การบริการ หรือ Everything-as-a-service ก็จะทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้บริการด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างราบรื่น
ระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ EHR
ระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (The Electronic Health Record- EHR) อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีของวงการสาธารณสุขเข้าสู่โลกของดิจิทัล โดยเริ่มต้นจากการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย ข้อมูลในการตรวจวินิจฉัยและผลลัพธ์อื่นผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก อุปกรณ์ในห้องตรวจวินิจฉัยโรค หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ขึ้นสู่ระบบดิจิทัลเพื่อที่แพทย์และพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของผู้เข้ารับการรักษาแค่เพียงปลายนิ้ว
ปัจจุบัน ระบบ EHR รุ่นใหม่ถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ใช่แค่การปรับปรุงบริการด้านคลินิค การดำเนินงาน แต่ยังรวมถึงการส่งมอบประสบการณ์การสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย ควบคู่กับการปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลขั้นสูง ยิ่งกว่านั้นยังมีส่วนสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก การจ่ายเงินแลกบริการ (fee-for-service) ไปเป็นการดูแลแบบเน้นคุณค่า (value-based care) เพื่อเชื่อมกับกระบวนการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่สะดวกรวดเร็ว การพัฒนาขีดความสามารถของระบบ workflow ในการใช้ข้อมูลเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดความยุ่งยาก และเพิ่มการตัดสินใจที่แม่นยำในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด
สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ป่วย
วิวัฒนาการเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการดูแลผู้ป่วยด้วยแพลตฟอร์ม EHR มุ่งเน้นโครงสร้างการจัดการแบบยืดหยุ่น ขยายผลสู่การให้บริการการสาธารณสุขทางไกล (Telehealth) ที่มีการผลักดันอย่างมากก่อนการระบาดของโควิด-19 โดยต่างเห็นตรงกันว่า เป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญต่อการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบยั่งยืน โดยเป็นการทำงานผ่านแอปพลิเคชัน (App-based care) ที่ประกอบด้วย รูปแบบบริการตนเองและการเฝ้าติดตามสุขภาพแบบอัตโนมัติ การควบคุมเข้าถึงหรือเคลื่อนย้ายข้อมูลด้าน EHR ผ่านช่องทางหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆได้อย่างปลอดภัย พร้อม ๆ กับการตอบรับความต้องการของผู้ป่วยด้านความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงบริการได้สมบูรณ์ในแพลตฟอร์มเดียว
ตอบโจทย์ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น
เดิมการใช้คลาวด์สาธารณะน่าจะเป็นคำตอบสำหรับระบบจัดการข้อมูลด้านสาธารณสุขที่เต็มไปด้วย ด้วยปริมาณข้อมูลที่เติบโตชนิดคาดการณ์ไม่ได้ รวมถึงความซับซ้อนและหลากหลายของข้อมูล เช่น จากแผนกรังสีวิทยา แผนกโรคหัวใจ ภาพนิ่งจากศูนย์รักษาแผล (Wound Care Center) วิดีโอจากการศึกษาเรื่องการนอน การเดิน, ศัลยกรรม และอีกมากมาย แต่เรื่องความปลอดภัยของข้อมูล และข้อบังคับเรื่องความเป็นส่วนตัวในแต่ละประเทศ (jurisdictions) อาจทำให้การใช้คลาวด์สาธารณะเป็นเรื่องยุ่งยาก ยิ่งกว่านั้น อาจจะยิ่งผลักดันต้นทุนการเข้าถึงข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะสูงตามไปอีกด้วย
ดังนั้น การสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยในองค์กร (on-premises storage) ซึ่งทางเทคนิคอาจหมายถึงการจัดเก็บในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรเอง หรือจากการใช้บริการ co-location จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้ดีกว่า ซึ่งการจัดหาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (storage) สามารถทำได้หลายระดับขึ้นอยู่กับความต้องการในการเข้าถึงข้อมูล หรือจากวิกฤตของความต้องการใช้งาน HPE Nimble Storage Adaptive Flash Arrays เป็นทางเลือกเริ่มต้นที่เข้มแข็ง เหมาะกับทั้งการทำงานในระดับ primary และ secondary และยิ่งร่วมกับความสามารถในการวิเคราะห์จาก HPE InfoSight แล้ว ก็จะยิ่งทำให้การคาดการณ์และป้องกันปัญหาทั้งระบบของการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งกว่านั้น ความสามารถอื่นเช่น intelligent deduplication ก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บในระดับที่หาตัวจับยาก และช่วยให้ใช้การจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเต็มความจุ
นวัตกรรมการส่งมอบบริการ
แม้เป็นที่ชัดเจนว่า เทคโนโลยีมีบทบาทต่อการเพิ่มประสิทธิภาพด้านบริการสาธารณสุข แต่ก็ยังมีตัวแปรสำคัญอื่นที่ท้าทายต่อการลงทุน นั่นคือ ระยะเวลาที่ยาวนานของการจัดสรรงบประมาณและกระบวนการจัดซื้อ ซึ่งเกิดแทบทุกองค์กรสาธารณสุขทั่วไป หรือกระทั่งองค์กรสาธารณสุขที่ไม่แสวงผลกำไร (not-for-profit) ความตึงเครียดของการพัฒนาสารสนเทศด้านระบบระเบียนยาและเวชภัณฑ์ ทัศนคติของบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยี รวมถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารงานด้านสาธารณสุขที่ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้หรือไม่ ทางออกของปัญหาด้านงบประมาณ คือ การจ่ายค่าบริการตามการใช้งานจริง (Consumption-based models) ซึ่งเริ่มถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่อตอบโจทย์องค์กรในการก้าวข้ามผ่านความท้าทายเหล่านี้ ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ตั้งแต่เริ่มต้น (up-front capital) ขณะเดียวกัน ก็ได้ความคล่องตัวในการสร้างนวัตกรรมด้านดิจิทัล ด้วยค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่น้อยลงเท่ากับปริมาณที่ใช้งานจริงเท่านั้น
นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาของฟอร์เรสเตอร์ระบุถึงการนำ HPE GreenLake ไปปรับใช้ในองค์กรสาธารณสุข พบว่า มีผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ที่เพิ่มขึ้น 163% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value-NPV) ซึ่งเกิดจากการประหยัดต้นทุน สูงถึง 3.4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ประหยัดเวลาในการพัฒนาบริการสาธารณสุขเพื่อส่งต่อให้ลูกค้า (time-to-market) โดยคิดออกมาเป็นตัวเงินได้สูงถึง 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประหยัดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ได้ถึง 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และประหยัดงบด้านไอทีได้ถึง 708,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
รุกคืบบริการแบบ As-a-Service
HPE GreenLake เป็นวิธีการให้บริการแบบ Everything-As-a-Service ที่ช่วยให้ธุรกิจและองค์กรทั่วโลกนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานได้รวดเร็ว ง่าย และหลากหลายขึ้น พร้อมส่งต่อประสบการณ์ทำงานแบบคลาวด์ให้เกิดขึ้นได้ในองค์กร (on premises) พร้อมด้วยบริการดูแลจัดการชนิดเต็มรูปแบบ (fully managed) และคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง (pay-per-use) โดยผู้เชี่ยวชาญของ HPE ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขจึงไม่เพียงได้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด แต่ยังประหยัดเวลาของบุคลากรด้านสารสนเทศจากการแก้ปัญหาพื้นฐานประจำวันไปสู่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบงานได้มากขึ้น
สำหรับผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขหลายรายที่ต้องเผชิญกับการเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดของปริมาณข้อมูล และความต้องการความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่เกิดจากเทคโนโลยีด้านการแพทย์สมัยใหม่ ขณะอาวุธที่ใช้รับมือยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบเดิมนั้น เห็นชัดว่า ไม่สามารถรองรับรูปแบบการใช้งานในปัจจุบันได้มีประสิทธิภาพดังที่ต้องการ ความยืดหยุ่นแบบคลาวด์โดย HPE GreenLake จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาซึ่งการบริหารข้อมูลด้านสาธารณสุขที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างแท้จริง
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด