คุณปลวัชร นาคะโยธิน ผู้จัดการฝ่ายขายผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ระดับมืออาชีพ บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด
การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในบ้านเรา ปัจจุบันยังขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ประกอบการที่เป็นเอสเอ็มอี โดยประเมินกันว่าสัดส่วนของเอสเอ็มอี มี GDP สูงถึง 40% เมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศ และมีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่องขึ้นทุกปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้เกิดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่หรือกลุ่มสตาร์ทอัพ รวมถึงการผลักดันสินค้าประเภทโอทอปในประเทศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้แพคเกจจิ้ง มีความจำเป็นอย่างมากในการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้านั้นๆ เครื่องพิมพ์ฉลาก (Label Printer) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในขั้นตอนของกระบวนการผลิตสินค้าและเครื่องพิมพ์ฉลากของเอปสัน เป็นโซลูชั่นที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการโรงพิมพ์ สามารถรองรับความต้องการของสินค้าเอสเอ็มอี หรือสินค้าโอทอปได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งในเรื่องคุณภาพและปริมาณการพิมพ์
ภายในงาน LabelExpo Southeast Asia 2018 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10–12 พ.ค.2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและงานประชุม ไบเทค ที่ผ่านมา เอปสันยังได้จัดแสดง เครื่องพิมพ์ฉลากระบบดิจิทัล Epson SurePress L-4533AW ขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เอปสันเป็นเพียงแบรนด์เดียว ที่มีไลน์สินค้าในกลุ่มเครื่องพิมพ์ฉลากที่ครบครันทุกความต้องการของตลาดที่สุดในขณะนี้
คุณปลวัชร นาคะโยธิน ผู้จัดการฝ่ายขายผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ระดับมืออาชีพ บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้เกียรติพูดคุยถึงสถานการณ์งานพิมพ์ในบ้านเราว่า “ปัจจุบันมีระบบการพิมพ์อยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ ระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ทและระบบการพิมพ์แบบดิจิทัลอิงค์เจ็ท โดยสัดส่วนของทั้งสองระบบเมื่อเทียบกันดูเหมือนว่าระบบการพิมพ์แบบดิจิทัลอิงค์เจ็ทจะมีสัดส่วนที่น้อยกว่าอยู่หลายเท่าตัว แต่เมื่อมองย้อนกลับไปสัก 3-4 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของระบบการพิมพ์แบบดิจิทัลอิงค์เจ็ทมีตัวเลขสูงถึง 7-8% แต่ปีนี้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 12-13% ในขณะที่ระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ทเดิมเติบโตได้เพียง 2-3% เท่านั้น แต่มาร์เก็ตแชร์ยังคงสูงอยู่ที่ประมาณ 80% ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวเราประเมินกันว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ระบบงานพิมพ์แบบดิจิทัลอิงค์เจ็ท จะสามารถเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดของระบบออฟเซ็ทเดิมได้ไม่ยากนัก”
ส่องศักยภาพของระบบการพิมพ์แบบดิจิทัลอิงค์เจ็ท สู่ความทัดเทียมกับระบบออฟเซ็ท
สำหรับปัจจัยสนับสนุนในประเด็นดังกล่าว คุณปลวัชร กล่าวว่า “ระบบการพิมพ์ดิจิทัลอิงค์เจ็ทในอดีตมีข้อจำกัดหลายอย่างเมื่อเทียบกับระบบออฟเซ็ทปัจจุบัน ทั้งในเรื่องของคุณภาพและความเร็วของงานพิมพ์หรือแม้แต่ต้นทุนที่สูงกว่า ระบบการพิมพ์แบบดิจิทัลอิงค์เจ็ทในอดีตจึงถูกใช้อยู่ในกลุ่มโฮมยูสเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันของระบบการพิมพ์แบบดิจิทัลอิงค์เจ็ทได้ถูกพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด รวมทั้งในส่วนของเอปสันเอง ก็ได้มีการริเริ่มพัฒนาระบบนี้มากว่า 10 ปี ตั้งแต่ยังเป็นเครื่องพิมพ์แบบดอทเมทริกซ์ แล้วขยับขึ้นมาเป็นดิจิทัลอิงค์เจ็ท พัฒนาจนก้าวข้ามขีดข้อจำกัดดังกล่าว สามารถทำให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้เทียบเคียงกับระบบออฟเซ็ทในปัจจุบัน”
“นอกจากนี้ ระบบการพิมพ์แบบดิจิทัลอิงค์เจ็ทยังมีข้อได้เปรียบกว่าในเรื่องของการที่ไม่ต้องทำการปรับตั้งเครื่องพิมพ์ และไม่ต้องทำฟิล์มและทำเพลทเหมือนกับระบบออฟเซ็ท สามารถแก้ไขไฟล์งานก่อนพิมพ์จริงได้ หากต้องการตรวจสอบความถูกต้องของงานก็เพียงแต่พิมพ์ตัวอย่างงานลงบนกระดาษแล้วตรวจสอบความถูกต้อง ขั้นตอนจึงไม่ยุ่งยาก ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี้ระบบการพิมพ์แบบดิจิทัลอิงค์เจ็ทก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณงานพิมพ์ โดยเราคำนวณปริมาณเหมาะสมอยู่ที่ไม่เกิน 10,000 หน้าต่อ 1 ชิ้นงาน ซึ่งจำนวนนี้จะคุ้มค่ากับต้นทุน แต่ถ้าหากเกินจากจำนวนนี้ เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทเพราะจะตอบโจทย์เรื่องต้นทุนการพิมพ์กว่า เนื่องจากระบบนี้จะมีต้นทุนเริ่มต้นในเรื่องของการทำฟิล์มและเพลทแค่ครั้งแรก ถ้าพิมพ์งานในปริมาณมาก ต้นทุนต่อหน้าก็จะถูกกว่าระบบการพิมพ์แบบดิจิทัลอิงค์เจ็ทที่มีต้นทุนเท่ากันทุกหน้างานพิมพ์”
ตอบโจทย์ลูกค้า เพื่อเสริมทัพธุรกิจการพิมพ์
คุณปลวัชร กล่าวว่า “ในอดีต โรงพิมพ์หรือเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ทเดิมนั้น จำเป็นต้องพึ่งพาลูกค้างานพิมพ์ในปริมาณมาก เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ หรือ หนังสือพิมพ์ แต่ปัจจุบันความนิยมในสื่อรูปแบบนี้ได้ถูกลดทอนความสำคัญลงไป จากกระแสของสื่อดิจิทัลปัจจุบันที่เข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณงานของโรงพิมพ์ลดน้อยลงไปมาก จึงจำเป็นต้องหาตลาดใหม่ๆ เข้ามาทดแทน ซึ่งก็คือกลุ่มลูกค้าที่มีปริมาณงานไม่มาก (Short Run) นั่นเอง แต่ครั้นจะพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ทเดิมที่มีอยู่แล้วก็สามารถทำได้ แต่อย่างที่บอกคือโรงพิมพ์มีต้นทุนเริ่มต้นทั้งในเรื่องของค่าฟิล์มและค่าเพลท ลูกค้าก็จะได้งานในราคาแพง จะพิมพ์ปริมาณน้อยก็ไม่คุ้ม ซึ่งก็ไม่เป็นผลดีต่อลูกค้า ดังนั้นการพิมพ์ด้วยระบบการพิมพ์แบบดิจิทัลอิงค์เจ็ท จึงเป็น โซลูชั่นที่ตอบโจทย์ ทั้งกับเจ้าของโรงพิมพ์และลูกค้ามากที่สุดในขณะนี้”
“นอกจากลูกค้าในกลุ่มของโรงพิมพ์และเจ้าของของธุรกิจขนาดใหญ่แล้ว ก็ยังมีลูกค้าในกลุ่มของอุตสาหกรรมที่เป็นเอสเอ็มอี หรือผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์และต้องการพิมพ์ฉลากสินค้าเพื่อทำแพคเกจจิ้ง ซึ่งแต่เดิมอาจจะใช้วิธีการจ้างผลิตกับโรงพิมพ์โดยตรงหรือใช้บริการผ่านบริษัทเอเจนซี่ แต่เมื่อกิจการมีความเจริญเติบโตหรือมีปริมาณงานพิมพ์ที่มากขึ้น ต้องการความสะดวกรวดเร็ว หรืองานออกแบบที่เป็นยูนีค ก็อาจจะพิจารณาลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์ด้วยตนเอง ซึ่งการใช้งานก็ไม่ยุ่งยากใช้จำนวนคนดูแลเพียงแค่ 1-2 คน กระบวนการทำงานก็อาศัยซอฟต์แวร์จัดการและการออกแบบงานเท่านั้น หรือแม้แต่หากมีเครื่องพิมพ์ของตนเองแล้ว ก็ยังสามารถใช้ในการรับจ้างผลิตให้กับลูกค้าเจ้าอื่นได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อีกด้วย” คุณปลวัชร กล่าวเสริม
เปิดตัวเครื่องพิมพ์ฉลากระบบดิจิทัล SurePress L-4533AW เติมเต็มไลน์สินค้ากลุ่มอุตสาหกรรม
ภายในงาน LabelExpo Southeast Asia 2018 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10–12 พ.ค. 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและงานประชุม ไบเทค ที่ผ่านมา เอปสันได้มีการเปิดตัว เครื่องพิมพ์ฉลากระบบดิจิทัล Epson SurePress L-4533AW ขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ขณะนี้เอปสันเป็นเพียงแบรนด์เดียวที่มีไลน์สินค้าในกลุ่มเครื่องพิมพ์ฉลากที่ครบครันทุกความต้องการของตลาดที่สุด
Epson SurePress L-4533AW เป็นเครื่องพิมพ์ที่ถูกพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานให้มีศักยภาพใกล้เคียงกับเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท เพื่อรุกตลาดอุตสาหกรรมทางด้านการพิมพ์เชิงพาณิชย์อย่างเต็มตัว สำหรับคุณสมบัติเด่นของเครื่องอยู่ที่ความสามารถรองรับการพิมพ์บนวัสดุที่หลากหลาย ทั้งกระดาษแบบธรรมดาหรือกระดาษที่มีการเคลือบผิว เช่น กระดาษกึ่งมันกึ่งด้าน กระดาษอาร์ตมัน กระดาษมัน ฟิล์ม หรือฟิล์มใส มีช่วงโทนสีกว้างกว่าเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ท 6 สี เพิ่มมูลค่าให้กับงานพิมพ์ด้วยหมึกสีพิเศษ คือ สีส้ม สีเขียว และสีขาว ได้รับ Pantone® Certification โดยสามารถครอบคลุมโทนสี 91% เมื่อเทียบกับ Pantoner Solid Coated Colors สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิมพ์งานได้รวดเร็วที่ความเร็ว 8 เมตร/นาที มีหน้ากว้างอยู่ที่ 31-90 เซนติเมตร ลดขั้นตอนการเตรียมพิมพ์และไม่ต้องใช้คนดูแลตลอดเวลา ง่ายต่อการบำรุงรักษา ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน และสามารถเข้าใจการทำงานของเครื่องได้ทั้งหมดด้วยคอร์สการฝึกอบรมระยะสั้น (4 วัน)
นอกจากนี้ตัวเครื่องยังใช้ไฟฟ้าเพียงแค่ 850 วัตต์ ทำให้ประหยัดพลังงาน อีกทั้งยังมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เนื่องจากเทคโนโลยีหมึกของเอปสัน (Surepress AQ Inks) ได้ถูกพัฒนาให้มีการยึดเกาะที่ดี ทำให้ไม่สิ้นเปลืองหมึก ไม่ใช้สารเคมี เพลทหรือฟิล์ม ทำให้ไม่มีการปล่อยน้ำเสียและสารซักล้างลงสู่ธรรมชาติ
สำหรับการทำตลาดเครื่องพิมพ์รุ่นนี้ คุณปลวัชร กล่าวว่า “ในช่วงแรกจะยังเป็นการทดลองทำตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางหรือเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าในกลุ่มโรงพิมพ์หรือกลุ่มเอสเอ็มอีไปก่อน เนื่องจากมองว่าสินค้ายังมีราคาค่อนข้างสูง และเทคโนโลยีเครื่องก็ยังไม่สามารถทดแทนระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ทได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากความเร็วในการพิมพ์ยังไม่เร็วเท่า จึงอยู่ระหว่างกึ่งกลางที่ลูกค้าจะตัดสินใจเลือกลงทุน เพื่อความเหมาะสมกับการใช้งานของเขาได้”
เครื่องพิมพ์ฉลาก (Label Printer) ของเอปสัน ครอบคลุมทุกความต้องการของตลาด
เมื่อกล่าวถึงพรินเตอร์อิงค์เจ็ท ผู้คนก็จะคุ้นเคยกับพรินเตอร์ที่ใช้กันภายในบ้านเรือนหรือสำนักงาน เป็นอิงค์เจ็ท A3-A4 ซึ่งใช้พิมพ์เอกสารและรูปภาพทั่วไป แต่เอปสันมีกลุ่มสินค้าอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า เครื่องพิมพ์ฉลาก (Label Printer) ซึ่งเป็นกลุ่มที่คนทั่วไปจะไม่ค่อยนึกภาพของเอปสันสักเท่าไร คุณปลวัชร กล่าวว่า “เราสร้างกลุ่มสินค้านี้ขึ้นมาสัก 4-5 ปีที่ผ่านมา โดยให้นิยามผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนซื้อมาเพื่อใช้ในการผลิตผลงานออกมาแบบ Made to order หรือ Customize แต่ละชิ้นของผลงานได้เอง”
โดยเครื่องพิมพ์ฉลากของเอปสัน ปัจจุบันมีอยู่ 3 กลุ่มคือ
“สำหรับการเลือกเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นนั้น ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน หรือตามขนาดของธุรกิจ หากงานมีปริมาณไม่มากก็เลือกใช้เครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก แต่หากมีปริมาณงานเข้ามามาก ก็เลือกใช้ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถสอดคล้องกับสภาพธุรกิจ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาเลือกเครื่องพิมพ์จากผู้ผลิตที่มีเทคโนโลยีและความน่าเชื่อถือ สามารถให้คำแนะนำ หรือมีทีมงานคอยบริการหลังการขาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ลูกค้าใช้งานเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน” คุณปลวัชร กล่าวทิ้งท้าย
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ www.epson.co.th และ www.facebook.com/EpsonThailand
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด