โดย นายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท นูทานิคซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วปีแล้วปีเล่าส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทียิ่งซับซ้อนขึ้น เทคโนโลยีช่วยให้ธุรกิจกระจายตัวไปหลายพื้นที่ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกจุดที่ลูกค้าอยู่และเข้าไปใช้บริการเป็นสิ่งสำคัญ แม้จะเกิดความซับซ้อน แต่องค์กรก็ยังคงต้องผลักดันธุรกิจเดินหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกวันนี้จึงต้องเผชิญกับอุปสรรคใหญ่หลวงและสำคัญมากคือจะบริหารความซับซ้อนของระบบไอทีได้อย่างไร ระบบนิเวศไอทีกำลังพึ่งพา "คลาวด์" เพื่อให้ทำงานได้ง่ายขึ้น เกิดผลสำเร็จได้เร็ว ด้วยความคาดหวังกับต้นทุนที่จะต้องต่ำลง
ช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่นวัตกรรมมากมายก่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งเป็นทางเลือกให้ซีไอโอเลือกใช้กับระบบไอทีของตนที่มาพร้อมกับคำถามที่ว่าแล้วเทคโนโลยีไหนจะสร้างแนวทางที่จะช่วยให้องค์กรใช้งานได้ในระยะยาว รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านไอทีในอนาคตตามแผนการที่องค์กรกำลังวางแผนอยู่?
ความต้องการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) ที่เพิ่มขึ้น
การใช้พับลิกคลาวด์จะก่อให้เกิดความต้องการใช้ไฮบริดคลาวด์มากขึ้นในปี 2561 เมื่อมีการเพิ่มการใช้จ่ายด้านไอทีก็จำเป็นต้องศึกษาทางเลือกในการใช้ระบบคลาวด์มากขึ้น และยังมีกลุ่มคนที่มองหาโซลูชันที่จะช่วยให้นำไฮบริดคลาวด์มาใช้มากขึ้น เพราะองค์กรจำเป็นต้องประเมินว่าควรใช้แอปพลิเคชันใดกับคลาวด์ระบบใด ความคิดที่จะใช้แอปพลิเคชันทุกแอปบนระบบคลาวด์จะถูกแทนที่ด้วยทางเลือกทีหลากหลายขึ้น การใช้ไฮบริดคลาวด์จะช่วยให้องค์กรใช้ทางเลือกที่หลากหลายเหล่านั้นได้ แนวโน้มเหล่านี้ได้สร้างแรงกระเพื่อมในตลาดโลกแล้ว เหล่านักวิเคราะห์ต่างตะหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี องค์กรจะหันมาพิจารณาใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) เป็นอันดับแรก ๆ มากขึ้นในปี 2561 ซึ่ง HCI เป็นเทคโนโลยีที่เป็นรากฐานในการใช้ไฮบริดคลาวด์
ความคล่องตัวของแอปพลิเคชั่นเป็นปัจจัยสำคัญในการประเมินประสิทธิภาพของเทคโนโลยี
ลักษณะประการที่ 2 ของไฮบริดคลาวด์คือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ทำงานบนไฮบริดคลาวด์จะต้องมีความคล่องตัว ใช้งานเคลื่อนย้ายไปมาบนระบบคลาวด์ได้ นั่นแสดงให้เห็นว่าหนึ่งในลักษณะสำคัญที่ผู้คนประเมินประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคือการที่แอปพลิเคชันสามารถเคลื่อนย้ายการทำงานได้อย่างคล่องตัวได้ด้วยตัวแอปเอง ที่ผ่านมาแอปพลิเคชันต่าง ๆ ใช้เวอร์ชวลแมชีนเพื่อเคลื่อนย้ายและทำงานบนระบบที่แตกต่างกันได้ จากนี้ไปเราจะได้เห็นการเร่งความเร็วของเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอีก เช่น การใช้งาน คอนเทนเนอร์เพื่อช่วยในการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันทำได้ง่ายขึ้น
คอนเทนเนอร์จะช่วยทำให้แอปพลิเคชันขยายการทำงานได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น คอนเทนเนอร์จะได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างมากในปี 2561 และเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น Kubernetes จะดึงความสนใจจากผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจกับวิธีการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมบนระบบคลาวด์โดยการใช้ Kubernetes และเทคโนโลยีในลักษณะเดียวกัน
Infrastructure as a Code
แนวโน้มน่าจับตามองอันดับ 3 คือการจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน (Data-centric Infrastructure) จะใช้โค้ดเป็นตัวกำหนดการทำงานมากขึ้น นั่นหมายความว่า 'Infrastructure as Code Paradigm : IAC' หรือโครงสร้างพื้นฐานที่ควบคุมการทำงานด้วยโค้ดเริ่มเข้ามามีบทบาทแล้ว ส่งผลให้ระบบและการบริหารจัดการด้านไอทีรวมถึงแผนงานต่าง ๆ ขององค์กรจะเป็นอัตโนมัติและมีความคล่องตัว นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเขียนซอฟต์แวร์ด้วยโค้ด (Infrastructure as a Code) ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ที่เป็นไซโลทำงานได้เร็วขึ้น เรายังจะได้เห็นระบบอัตโนมัติ (Automation) ระบบบริการตนเอง (Self-service) มากขึ้น ระบบไพรเวตคลาวด์แอสอะเซอร์วิสที่ให้ผู้บริโภคได้ใช้ด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น การให้ความสำคัญกับระบบอัตโนมัติภายในดาต้าเซ็นเตอร์จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้ทีมไอทีใช้ ICA เป็นธีมในการพัฒนากลยุทธ์บริหารจัดการระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ของตน
ปัญญาประดิษฐ์
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intellgent : AI) ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา เราจะได้เห็นการใช้แมชีนเลิร์นนิ่ง (Machine Learning : ML) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของ AI มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด วิวัฒนาการของ ML จะทำให้เครื่องจักรต่าง ๆ สามารถแยกแยะและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์ในภาพรวม จากเดิมที่ใช้วิธีวิเคราะห์สาเหตุจากรูต (Root) ทั้งหมดไปเป็นระบบ Ticketing Systems ช่วยให้ทีมบริหารจัดการได้เป็นจุด ๆ ตามที่ตรวจพบตั้งแต่แรก เราเริ่มได้เห็นการควบรวมทีมงานต่าง ๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับดาต้าเซ็นเตอร์เกิดขึ้นแล้ว ทุกวันนี้เราไม่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านไฟเบอร์เหมือนกับที่เราต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านไฮเปอร์ไวเซอร์ เมื่อทีมรวมตัวกันจะเกิดการถ่ายโอนความรู้จักคิดและความชาญฉลาดของคนไปยังเครื่องจักร ซึ่งเครื่องจักรสามารถบริหารจัดการกันเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมายความว่ากระบวนทัศน์ของ ML และการวิเคราะห์พฤติกรรมที่ใช้ในการทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์จะแข็งแกร่งขึ้น ในที่สุดจะนำไปสู่การใช้งาน AI ที่มีประสิทธิภาพในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ก้าวแรกของการใช้งาน AI ก็คือ ML ที่จะทรงประสิทธิภาพมากขึ้นในปีนี้
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือแนวโน้มสำคัญ 4 เรื่องขององค์กรที่กำลัลก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงการทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์ในปี 2561 ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของทุกภาคธุรกิจ ตั้งแต่เทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภคเฉพาะรายไปจนถึงเทคโนโลยีสำหรับองค์กรทั่วโลก
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด