ในยุคปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้น พนักงานมีงานล้นมือมากขึ้น ในขณะที่ต้องทำงานให้มากขึ้น ด้วยงบประมาณที่ลดลง ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัญหาของผู้ดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงพยาบาลที่ต้องพบเจอและต้องหาทางออกให้ได้เพื่อตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ พร้อมกับต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานภายในโรงพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น
ไมเคิล ซัลลิแวน ประธานฝ่ายอาคาร บริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวว่าชไนเดอร์ อิเล็คทริคได้นำเสนอโซลูชันสำหรับโรงพยาบาลผ่านแพลตฟอร์ม IoT ชื่อ EcoStruxure for Healthcare และซอฟต์แวร์ EcoStruxure Building Operation ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค (ซึ่งชื่อก่อนหน้านี้คือ StruxureWare Building Operation) ด้วยโซลูชัน Clinical Environment Optimization ใหม่นี้จะช่วยให้ผู้ดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานห้องต่าง ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยนำมาใช้ได้เต็มศักยภาพ ด้วยเทคโนโลยีนี้ปัจจุบันโรงพยาบาลไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานไปกับระบบปรับอากาศหรือระบบแสงสว่างในห้องว่างเปล่าที่ไม่มีการใช้งานอีกต่อไป
โซลูชัน Clinical Environment Optimization จะนำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานของห้องมาตั้งค่าปรับเงื่อนไขหรือสถานะการใช้ห้องได้โดยอัตโนมัติตามข้อมูลที่ลงไว้ในระบบ ADT ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับผู้ป่วย (Admission) จนกว่าผู้ป่วยจะออกจากโรงพยาบาล (Discharge) หรือการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่น (Transfer) ระบบออโตเมชันสำหรับอาคารจะจัดการเรื่องการควบคุมแสงสว่าง การควบคุมอุณหภูมิ ระบบอากาศหมุนเวียน ข้อมูลนี้จะนำมาใช้โดยอัตโนมัติ อีกทั้งยังสามารถยกเลิกคำสั่งได้ในเวลาที่ต้องการ ลดกระบวนการทำงานซ้ำซ้อน
โซลูชัน Clinical Environment Optimization ทำงานอย่างไร?
โซลูชัน Clinical Environment Optimization ผสานรวมการทำงานร่วมกับระบบเดิมที่ใช้งานอยู่ได้อย่างไม่มีปัญหา ผ่านอินเตอร์เฟซ Health Level-7 (HL7) โดย HL7 คือองค์กรที่พัฒนามาตรฐานระบบเปิดที่สนับสนุนความสามารถในการทำงานร่วมกันของระบบงานด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่มีการติดตั้งใช้งานอย่างกว้างขวางมากที่สุดในสถานดูแลสุขภาพ มาตรฐานดังกล่าวคือตัวที่อนุญาตที่ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางคลินิก เชื่อมโยงระบบอำนวยความสะดวกและระบบงานในคลินิกเข้าด้วยกัน
โซลูชัน Clinical Environment Optimization ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ โดยใช้โปรโตคอล BACnet, LONworks หรือ Modbus ซึ่งนิยมใช้สำหรับระบบออโตเมชันสำหรับอาคารและแอพพลิเคชันเพื่อการควบคุม
เคล็ดลับ 3 ประการสำหรับการทำ Optimization ได้ง่าย
1. ผสานการทำงานของระบบบริหารจัดการอาคารและระบบ ADT ของโรงพยาบาลเข้าด้วยกันเพื่อลดการใช้พลังงานในห้องผู้ป่วย รวมถึงห้องผ่าตัด และพื้นที่ในบริเวณคลินิกที่ไม่มีการใช้งาน
2. นำข้อมูลเกี่ยวกับห้องมาใช้ในการแจ้งเตือนฝ่ายดูแลความสะอาดเมื่อห้องว่างและพร้อมที่จะให้เข้ามาทำความสะอาดได้
3. นำข้อมูลเกี่ยวกับห้องมาใช้ในการแจ้งเตือนพนักงานดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกในช่วงเวลาที่ห้องว่างและพร้อมที่จะให้เข้ามาดำเนินการเรื่องการซ่อมบำรุง
เหมาะสำหรับโรงพยาบาล - ศูนย์ดูแลสุขภาพทุกขนาด
สามารถใช้ร่วมกับสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล - ศูนย์ดูแลสุขภาพทุกขนาด โดยเป็นโซลูชันที่ให้ประโยชน์สูงสุดสำหรับสภาพแวดล้อมแบบคลินิก ด้วยความสามารถดังต่อไปนี้
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันได้ที่ http://www.schneider-electric.co.th/th/work/campaign/innovation/buildings.jsp เพื่อปฏิรูปประสิทธิภาพด้านพลังงานและการดำเนินงานที่คล่องตัวให้กับโรงพยาบาล อันจะเป็นการรองรับจุดเปลี่ยนแห่งยุคดิจิทัล
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด