เนื้อหาวันที่ : 2016-09-28 10:43:49 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1810 views

ผลการศึกษาชี้ “จำเป็น” ต้องเปลี่ยนแปลงการปรับแต่งสมาร์ทโฟนให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภค

รายงานวิจัยล่าสุด “Best of the Best” จาก Adobe Digital Insights (ADI) ระบุว่า ถึงแม้แทรฟฟิกสมาร์ทโฟนจะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่อัตราการมีส่วนร่วมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง และเดสก์ท็อปเป็นแพลตฟอร์มที่มักจะนำไปสู่การกระทำที่เป็นเป้าหมายหรือ Conversion มากกว่า  รายงานฉบับนี้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยรวมกับเว็บไซต์ 20% ที่ติดอันดับสูงสุด โดยพิจารณาจากดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพที่หลากหลาย  การวิเคราะห์นี้อ้างอิงข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตนจากการเยี่ยมชมเว็บไซต์ 1 แสนล้านครั้งผ่านเว็บไซต์กว่า 3,000 เว็บไซต์ในภูมิภาคเอเชียในปี 2558

รายงานนี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคไม่ต้องการเสียเวลาไปกับการท่องเว็บและต้องการประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิมบนอุปกรณ์มือถือ  ความหงุดหงิดและระยะเวลาความสนใจที่สั้นลงบ่งบอกว่าผู้บริโภคยังคงชอบที่จะสั่งซื้อสินค้า/บริการบนเดสก์ท็อปมากกว่า  ด้วยเหตุนี้ นักการตลาดจึงควรตระหนักว่าผู้บริโภคใช้สมาร์ทโฟนเพื่อติดต่อสื่อสารกับครอบครัวและเพื่อนฝูง รวมถึงแบรนด์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจผลกระทบที่เกิดจากประสบการณ์ต่อแบรนด์ในตลาด

เพื่อรับมือกับการมีส่วนร่วมที่ลดลง นักการตลาดจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปรับแต่งสมาร์ทโฟน  เพื่อรับมือกับแทรฟฟิกสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นสำหรับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม  เดสก์ท็อปยังคงถูกใช้งาน 100% เปรียบเทียบกับ 59% บนอุปกรณ์มือถือ และนั่นหมายความว่าแบรนด์ต่างๆ จำเป็นที่จะต้องสรรหาประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับลูกค้าบนโทรศัพท์มือถือ หรือออกแบบประสบการณ์ดิจิตอลที่แปลกใหม่สำหรับผู้บริโภคที่พบเจอคอนเทนต์มากมายในแต่ละวัน

การปรับปรุงการบริโภคให้ดีขึ้นไม่ใช่เป้าหมายเพียงหนึ่งเดียว หากแต่ต้องกระตุ้นการมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน  ข้อมูลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าทั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคม, อุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิงเป็นผู้นำด้วยค่าเฉลี่ย 44% และ 37% ตามลำดับ

ท้ายที่สุดแล้ว “การบริโภค” และ “การมีส่วนร่วม” คือสิ่งสำคัญ เพราะนำไปสู่การกระทำที่เป็นเป้าหมายหรือ Conversion  ข้อมูลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า Conversion บนสมาร์ทโฟนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจบ่งบอกถึงศักยภาพที่เป็นไปได้  องค์กรชั้นนำกำลังดำเนินการพัฒนาปรับปรุงอย่างจริงจัง โดยอินเดียมี Conversion บนอุปกรณ์มือถือเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น 2.2% ขณะที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ตามมาติดๆ ที่ 1.6%

เมื่อพิจารณาตามภูมิภาคและกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด เราจะมองเห็นการเติบโตที่เพิ่มขึ้นสำหรับ Conversion บนอุปกรณ์มือถือ ตัวอย่างเช่น ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) อัตรา Conversion บนสมาร์ทโฟนในธุรกิจค้าปลีกเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่แล้ว  ช่องว่างระหว่างผู้นำตลาดกับ 80% ของแบรนด์ที่เหลือเริ่มลดลงเรื่อยๆ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการตลาดในธุรกิจค้าปลีกของภูมิภาค  มีการยกระดับการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด

ข้อมูลสำคัญที่พบสำหรับภูมิภาคเอเชียคือ อัตรา Conversion บนสมาร์ทโฟนยังคงล้าหลัง เมื่อเทียบกับเดสก์ท็อป ซึ่งเน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องทำการปรับปรุงแพลตฟอร์มโมบายล์เพิ่มมากขึ้น  ญี่ปุ่นและอินเดียมีความเป็นเลิศในแง่ของอัตรา Conversion บนสมาร์ทโฟน และเป็นตัวกำหนดมาตรฐานสำหรับภูมิภาคนี้  องค์กรที่มีประสิทธิภาพระดับปานกลางในญี่ปุ่นและอินเดียมีอัตรา Conversion บนสมาร์ทโฟนสูงสุดที่ 1.5%  ส่วนองค์กร “ชั้นนำ” ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในญี่ปุ่นมีอัตรา Conversion สูงถึง 3% โดยช่องว่างระหว่างองค์กรระดับปานกลางกับองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 20 อันดับแรกเริ่มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักการตลาดของญี่ปุ่นมีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์

“เราได้จัดทำรายงานที่คล้ายกันสำหรับสหรัฐฯ และยุโรป และเราพบว่าภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีอัตรา Conversion บนอุปกรณ์มือถือสูงที่สุด” นางสาวเบคกี้ ทาสเกอร์ นักวิเคราะห์บริหารของ SDI กล่าว “องค์กรชั้นนำในประเทศเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่าอัตรา Conversion ระดับสูงบนสมาร์ทโฟนเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้”

องค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

แทรฟฟิกสมาร์ทโฟนในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี โดยอัตราเฉลี่ยแตะระดับ 37.9% ของแทรฟฟิกเว็บไซต์ทั้งหมด  องค์กรชั้นนำในญี่ปุ่นดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเหนือกว่าองค์กรทั่วไปอย่างมาก โดยอัตราแทรฟฟิกสมาร์ทโฟนเกือบถึงระดับ 60%  เกาหลีใต้อยู่อันดับรองจากญี่ปุ่น ด้วยอัตราเฉลี่ย 31.6% ตามมาด้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ 31.2%  ในปี 2558 องค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้ปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์มือถือ ดังจะเห็นได้จากปัญหาช่องว่างที่ลดลงระหว่างองค์กรระดับปานกลางกับองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 20 อันดับแรก  การเสพติดสมาร์ทโฟนโดยเฉลี่ยในเอเชีย-แปซิฟิกแซงหน้าทั้งสหรัฐฯ และยุโรปมากถึง 33.5% โดยอัตราการคลิกผ่าน (click through rate - CTR) ในหน้าค้นหาในเอเชีย-แปซิฟิกเพิ่มขึ้นที่ 12.2% รวมถึงแทรฟฟิกของโซเชียลมีเดีย

“อินเดียเป็นประเทศที่น่าสนใจ เพราะเรามักจะมองกันว่าอินเดียมีปัญหาเรื่องแบนด์วิธสำหรับการให้บริการโมบายล์ โดยทั่วไปแล้วการเยี่ยมชมเว็บไซต์ผ่านสมาร์ทโฟนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และผู้บริโภคหันไปใช้อุปกรณ์มือถือกันมากขึ้น มีบางบริษัทที่ค้นพบวิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับแบนด์วิธและเครือข่าย และใช้ประโยชน์จากการเยี่ยมชมบนสมาร์ทโฟน องค์กรชั้นนำเหล่านี้ค้นพบวิธีที่จะดึงดูดผู้บริโภคผ่านทางสมาร์ทโฟน” ทาสเกอร์ กล่าว

ประเทศ VS อุตสาหกรรม

ขณะที่แทรฟฟิกสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  แต่กลุ่มอุตสาหกรรมที่สำรวจมีการเพิ่มขึ้นแบบปีต่อปีที่คล้ายคลึงกัน  อุตสาหกรรมโทรคมนาคม, อุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิงมีความโดดเด่นในแง่ของการเยี่ยมชมผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยอัตราเฉลี่ย 44.3% และ 37% ตามลำดับ

ส่วนอุตสาหกรรมด้านการเงิน และเทคโนโลยี มีสัดส่วนเพียง 22.4% และ 16.5% ของแทรฟฟิกจากสมาร์ทโฟนตามลำดับ

คำแนะนำ

การเสพติดสมาร์ทโฟนและเดสก์ท็อปลดลงในทุกกลุ่มในปี 2558 บ่งชี้ว่าการมีส่วนร่วมประสบปัญหา ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ชนิดใดก็ตาม  ปัจจุบันลูกค้าถูกกระหน่ำด้วยทางเลือกมากมายจากบริษัทต่างๆ ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด  แล้วประสบการณ์ดิจิตอลที่ดีกว่าจะช่วยผลักดันความภักดีของลูกค้าได้อย่างไร?  นักการตลาดควรจะพึ่งพาข้อมูลวิเคราะห์ของ ADI เพื่อเป็นแนวทาง แต่ในท้ายที่สุดแล้ว แต่ละบริษัทจำเป็นต้องเจาะลึกข้อมูลเพื่อให้รับทราบข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริงเกี่ยวกับฐานลูกค้าของบริษัท เช่น บริษัทดำเนินการได้ดีในเรื่องใดบ้างและเพราะเหตุใด?  การศึกษาข้อมูลนี้ควรจะใช้ดัชนีชี้วัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมและกระทำที่เป็นเป้าหมายหรือ Conversion

การศึกษานี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความสำเร็จเท่านั้น เพราะการวิเคราะห์หาสาเหตุว่าทำไมบางบริษัทจึงดำเนินการบนเว็บไซต์อย่างไร้ประสิทธิภาพก็นับว่ามีความสำคัญอย่างมากเช่นกัน  นักการตลาดจะได้รับทราบถึงแนวโน้มการเยี่ยมชมที่ลดลงในบางเว็บเพจที่เฉพาะเจาะจง

การระบุปัญหาช่องว่างดังกล่าว การใช้แผนทดสอบเชิงกลยุทธ์ และการระบุดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ (KPI) โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่พบจะช่วยให้นักการตลาดเข้าใจกลุ่มเป้าหมายโดยรวม และสามารถเริ่มต้นปรับประสบการณ์ของลูกค้าให้เหมาะสม  ยิ่งบริษัทค้นพบหนทางที่จะดึงดูดลูกค้าได้เร็วเพียงใด ก็จะยิ่งได้รับประโยชน์จากการดำเนินการแต่เนิ่นๆ มากขึ้นเท่านั้น

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด