เนื้อหาวันที่ : 2013-04-26 14:41:35 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2486 views

เสริมความรู้เทคโนโลยีช่างเพิ่มเขี้ยวเล็บอุตสาหกรรมไม้ของไทย

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนถือว่ามีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยอีกแขนงหนึ่งที่สามารถเรียก เม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาปีหนึ่งหลายพันล้านบาท แต่ปัจจุบันกำลังได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังตกต่ำ ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมไม้ไทยเองก็เติบโตช้าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ ด้านความรู้เบื้องต้นการใช้เครื่องมือ ด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากร เพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาหน้างานและการประหยัดพลังงาน

เสริมความรู้เทคโนโลยีช่างเพิ่มเขี้ยวเล็บอุตสาหกรรมไม้ของไทย
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี

  อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนถือว่ามีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยอีกแขนงหนึ่งที่สามารถเรียก เม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาปีหนึ่งหลายพันล้านบาท แต่ปัจจุบันกำลังได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังตกต่ำ ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมไม้ไทยเองก็เติบโตช้าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ ด้านความรู้เบื้องต้นการใช้เครื่องมือ ด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากร เพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาหน้างานและการประหยัดพลังงาน
              

  โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ภายใต้ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้ร่วมกับ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย จัดโครงการอบรม “การตั้งใบมีดและการปรับตั้งเครื่องไสสี่หน้าสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้” ให้กับผู้ประกอบการไทย ภายใต้โครงการ “พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้” 


  นายสงกรานต์ บางศรัณย์ทิพย์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไม้ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในฐานะ หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญของ มจพ. ภายใต้โครงการการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้ กล่าวถึงการจัดอบรมในครั้งนี้ว่า ผู้ประกอบการได้เรียกร้องให้จัดผู้เชี่ยวชาญมาอบรม หลังจากที่ 2 ปีก่อนหน้านี้ได้มีการจัดสัมมนาเชิงทฤษฎีให้กับผู้ประกอบการมาแล้ว ขณะที่  iTAP เองได้คำนึงถึงปัญหาฝีมือแรงงานและเทคนิคในการเตรียมงานไม้ เพราะยังขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงาน อีกทั้งการขาดแคลนบุคคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคนิค จึงจำเป็นต้องสรรหาตัวบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญมาพัฒนาด้านตัวบุคคลให้สถานประกอบการ เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านธุรกิจจนนำไปสู่การแข่งขันในอนาคต

    นายสงกรานต์ บางศรัณย์ทิพย์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไม้ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในฐานะ หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญของ มจพ. ภายใต้โครงการการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้ กล่าวถึงการจัดอบรมในครั้งนี้ว่า ผู้ประกอบการได้เรียกร้องให้จัดผู้เชี่ยวชาญมาอบรม หลังจากที่ 2 ปีก่อนหน้านี้ได้มีการจัดสัมมนาเชิงทฤษฎีให้กับผู้ประกอบการมาแล้ว ขณะที่  iTAP เองได้คำนึงถึงปัญหาฝีมือแรงงานและเทคนิคในการเตรียมงานไม้ เพราะยังขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงาน อีกทั้งการขาดแคลนบุคคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคนิค จึงจำเป็นต้องสรรหาตัวบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญมาพัฒนาด้านตัวบุคคลให้สถานประกอบการ เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านธุรกิจจนนำไปสู่การแข่งขันในอนาคต

 


อาจารย์สันทัด แสงกุล และอาจารย์จามร วสุรัตน์มณี สาธิตการติดตั้งใบมีดสำหรับงานไม้

 
  “ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไม้ไทยเติบโตมาจากครัวเรือน จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญคนใดรวบรวมเคล็ดวิชาไม้ออกมาเป็นตำราสอนอย่างจริง ๆ ทำให้ความรู้ด้านนี้ยังเป็นความลับ อุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทยจึงเติบโตช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น”นายสงกรานต์ กล่าว
  

  หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญของ มจพ. ภายใต้โครงการ ฯ เปิดเผยอีกว่า เพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น โดยการจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาส่งเสริมความรู้และเทคนิคการผลิตให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไม้ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก

   การทำงานของ iTAP จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นทีมอุตสาหกรรม ทำหน้าที่บรรยายและรวบรวมองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ทั้งทางด้านเทคนิคการผลิตและเทคนิคทางวิศวกรรมสำหรับการผลิตเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้มาเขียนเป็นตำราเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ประกอบการไปแล้ว 7 เล่ม

   ส่วนที่ 2 คือ ฝ่ายเทคนิค มี นายสันทัด แสงกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมไม้ ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษคณะวิศวกรรมไม้ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มายาวนานกว่า 30 ปี เข้ามาอบรมผู้ประกอบการ โดยมี นายจามร วสุรัตน์มณี อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไม้ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นผู้ช่วย 

   นายสันทัด แสงกุล กล่าวว่า การเปิดอบรมเป็นการปูพื้นฐานการทำงานใหม่ให้กับผู้ประกอบการ โดยยึดหลักง่าย ๆ คือ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ทรัพยากรไม้ได้อย่างคุ้มค่าที่สุดเพื่อลดต้นทุนการผลิต  

 

   จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงงานทำให้ทราบว่าผู้ประกอบการเกิดการสูญเสียไม้ในขั้นตอนการไส ขัด ตัด เจาะ มากถึง 40% โดยมีสาเหตุมาจากการการขาดความรู้ความเข้าใจ ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานจะทำงานตามความเคยชินส่งผลให้สูญเสียด้านพลังงาน เม็ดเงิน และเสียเวลาในการทำงาน   

  “ผู้ประกอบการหรือพนักงานบางคนทำงานมากว่า 10 ปี แต่เมื่อพูดถึงพื้นฐานเบื้องต้นกลับมองภาพรวมไม่ออก เพราะเรียนรู้มาแต่ส่วนยอด โดยขาดพื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้น การสอนจึงต้องเริ่มที่ปัจจัยหลักของการทำงาน คือ รู้จักใบมีด รู้จักหัวตัดรวมถึงการนำเทคนิคในการปรับเปลี่ยนองศาของใบมีดเพื่อให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่จะผลิต โดยไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องตัวใหม่ให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น” นายสันทัด กล่าว

   นายสันทัด เปิดเผยอีกว่า ความเข้าใจคุณสมบัติของใบมีดและหัวตัดเป็นหัวใจหลักต่อการทำงาน โดยเฉพาะการนำเทคนิคมาปรับใช้เพิ่มมุมการตั้งใบมีดจะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 10% ฉะนั้นการพัฒนาตัวบุคลากรภายในสถานประกอบการจึงเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนา เมื่อเกิดความเข้าใจหลักการเบื้องต้นทั้งหมด ก้าวต่อไปคือการสร้างความสัมพันธ์ขององค์ความรู้แต่ละตัวให้เป็นหนึ่งเดียว จึงจะสามารถพัฒนาเครื่องและนำไปสู่การต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้

    นายพิภพ แสนคำ หัวหน้าแผนกไสประสาน บริษัท วันเดอร์เวิร์ล โปรดักส์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ จังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า บริษัทวันเดอร์เวิร์ล ฯ เป็นบริษัทผลิตของเล่นไม้จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ มีพนักงานฝ่ายผลิตประมาณ 360 คน โดยบริษัทมีนโยบายหลักในการพัฒนาศักยภาพการทำงานของพนักงานจึงได้ส่งตัวแทนเข้ามาอบรม ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ที่ได้เข้าร่วมโครงการอบรมกับ iTAP   

  “ยอมรับหลังจากได้เข้ามาอบรมและทดลองใช้เครื่องมือทำให้รู้ว่ากว่า 10 ปี ที่ทำงานมาความรู้พื้นฐานยังไม่แน่นพอ ทำให้ไม่รู้จักคุณลักษณะของใบมีดจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาหน้างานได้ เช่น มุมการตั้งใบมีดซึ่งเป็นสาเหตุในการสูญเสีย แต่หากรู้จักนำเทคนิคมาปรับใช้ก็จะสามารถช่วยบริษัทลดการสูญเสียวัตถุดิบและพลังงานได้” นายพิภพ กล่าว

   หัวหน้าแผนกไสประสาน กล่าวอีกว่า การอบรมครั้งนี้ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อว่าสามารถนำไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ได้จริง โดยเฉพาะลดการสูญเสียเพราะที่ผ่านมาการสูญเสียมักเกิดจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้มองไม่เห็น แต่เมื่อนำเม็ดเงินมาร่วมกันจะรู้ว่าตัวเลขค่อนข้างสูง การอบรมครั้งนี้ เป็นการสะท้อนปัญหาการทำงานได้เป็นอย่างดี 

    ด้าน นายวิบูลย์ ภู่วิจิตร เจ้าของ หจก.ชัยพฤกษ์รุ่งเรือง จำหน่ายไม้แปรรูปและขึ้นโครงเฟอร์นิเจอร์ตั้งอยู่ที่ซอยประชานฤมิตร (ถนนไสไม้) บางโพ กรุงเทพฯ กล่าวว่า โรงงานของเราเป็นเอส เอ็ม อี เล็ก ๆ มีพนักงาน 16 คน เมื่อได้รับการติดต่อจาก iTAP เรื่องการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำระบบงานไสไม้ ซึ่งเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจจึงได้ตอบตกลง โดยเมื่ออาจารย์สันทัดเข้ามาเยี่ยมโรงงานก็ได้ให้คำแนะนำและชี้ให้เห็นถึงปัญหาการผลิตว่าเกิดจากสาเหตุใด จึงได้ตัดสินใจเข้าอบรมเพื่อต้องการความรู้พื้นฐานเพิ่มเติม โดยเฉพาะเทคนิคการตั้งใบมีดที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การทำงานนอกจากต้องการให้ชิ้นงานออกมาสวยและดีแล้ว งานต้องเร็ว ประหยัดกำลังคน ประหยัดค่าไฟฟ้า และสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง
 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด