พัดลมไอน้ำ เหตุผลเพราะมันคืออุปกรณ์ที่มีความสามารถในการช่วยคลายความร้อนในยามอากาศร้อนอบอ้าวรูปลักษณ์ใหม่
วันนี้ พัดลมไอน้ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
จากเมื่อก่อน พอเราได้ยินคำว่า พัดลมไอน้ำ ก็แทบจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องไกลตัว เหตุผลเพราะมันคืออุปกรณ์ที่มีความสามารถในการช่วยคลายความร้อนในยามอากาศร้อนอบอ้าวรูปลักษณ์ใหม่ และดูแปลกตา จนใครหลายคนที่ได้เคยพบเห็นและได้เคยสัมผัสกับระบบการใช้งานของมันอย่างจริงจังมาแล้ว ถึงกับร้องหลุดปากว่า ว้าว ! พัดลมอะไรนี่ แปลก แต่เย็นจริง ๆ
และสำหรับวันนี้ คงไม่มีใครอาจปฏิเสธได้แล้วว่า มันเกิดอะไรขึ้นกับการพิชิตอากาศร้อนอบอ้าว ด้วยวิธีคลายความร้อน จากพัดลมไอน้ำ Masterkool เพราะเราต่างได้พบเห็นอุปกรณ์คลายความร้อนดังกล่าว กระจัดกระจายการติดตั้งไปเกือบทั่วทุกสารทิศ ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหารสไตล์ Open Air, โรงอาหารตามสถานศึกษา หรือโรงอาหารภายในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ และแม้กระทั่ง การนำไปใช้งานภายใน Line ผลิตสำหรับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่กำลังเผชิญกับปัญหาอากาศร้อนอบอ้าวจริง ๆ อีกทั้ง การจัดงานกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง เป็นต้น
ดังนั้น ฉบับนี้และต่อ ๆ ไปถือเป็นโอกาสดี ที่ทาง Masterkool ได้มีส่วนร่วมในการบำบัดอากาศให้กับสภาพแวดล้อมและสังคมเมืองไทยมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นบริษัท ฯ น้องใหม่ไฟแรงในวงการอุตสาหกรรมระบบทำความเย็นภายนอกอาคารที่สามารถนำมาผนวกรวมกันจนนำมาใช้งานได้อย่างลงตัว ด้วยการคิดค้นจนเกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของ Masterkool พัดลมไอน้ำเบอร์หนึ่งของเมืองไทย จนสามารถขยับขยายกิจการไปเปิดหน้าร้าน ด้วยการสร้างตัวแทนจำหน่ายไปยังต่างประเทศกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจแทนคนไทยด้วยกัน ที่สามารถนำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล คิดค้นและผลิตโดยคนไทยนำไปฝากให้ชาวต่างชาติได้ขายกันภายในประเทศของเขา และต่อจากนี้ไป พัดลมไอน้ำ Masterkool จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว
ด้วยเหตุเพราะ บทความในคอลัมน์นี้ และต่อ ๆ ไปนั้น เกิดจากความตั้งใจจริงเฉพาะสำหรับท่านผู้อ่านที่เคารพทุก ๆ ท่านไว้คอยติดตาม การกำเนิดระบบพัดลมไอน้ำ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับคนขี้ร้อนในช่วงประหยัดพลังงานแบบนี้ แต่เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ? เราคงต้องลองมาติดตามอ่านกันต่อ ๆ ไปเสียจะดีกว่า โดยขอเริ่มต้นจาก ที่ผ่านมา หลายท่านคงเคยพบเห็น และได้เคยสัมผัสกับพัดลมไอน้ำ หรือระบบบำบัดอากาศร้อน Masterkool กันมาบ้างจากสถานที่ต่าง ๆ หรือตามหน้าโฆษณาทางสื่อที่แพร่กระจายอยู่ในท้องตลาด และคงอาจสงสัยด้วยว่า เจ้าพัดลมไอน้ำในที่นี้ เขามีระบบการทำงานกันอย่างไร คำตอบคือ
การทำงานของอุปกรณ์หลักในระบบบำบัดอากาศร้อน Masterkool
ระบบบำบัดอากาศร้อน Masterkool โดยทั่วไปแล้ว จะใช้ปั๊ม (High Pressure Pump) ซึ่งเป็นตัวสร้างแรงดันให้กับน้ำจนเกิดแรงดันสูงผ่านสายแรงดัน (High Pressure Hose) และสามารถพ่นละอองน้ำที่มีขนาดเล็กเม็ดละเอียดออกมาจากหัวฉีด (Nozzle)
โดยละอองน้ำเม็ดละเอียดที่พ่นออกมาจากหัวฉีดนั้น จะดึงเอาความร้อนจากอากาศรอบ ๆ ตัวมาช่วยในการระเหย และจะทำให้อุณหภูมิของอากาศรอบ ๆ เขตพื้นที่นั้น ๆ มีอุณหภูมิลดลง และขณะเดียวกันระบบบำบัดอากาศร้อนของ Masterkool จะใช้พัดลมเป็นอุปกรณ์ช่วยในการนำพาและกระจายละอองน้ำเม็ดละเอียดให้ผ่านครอบคลุมการปรับอากาศ ณ บริเวณพื้นที่ ๆ ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการบำบัดอากาศร้อนจากธรรมชาติ โดยไร้สารเคมีเจือปนแต่อย่างใด
หัวใจสำคัญของการปรับสภาวะอากาศใน Masterkool
ระบบบำบัดอากาศร้อนของ Masterkool เป็นกระบวนการปรับสภาวะอากาศในลักษณะของการทำความเย็นให้กับอากาศโดย การระเหย (Evaporative Air Cooling) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ดึงเอาความร้อนมาสัมผัสออกจากอากาศ ในขณะที่น้ำเกิดการระเหย ความร้อนแฝงที่ใช้ในการระเหยตัวของน้ำ จะได้มาจากละอองน้ำด้วยกันเองและอากาศที่อยู่รอบ ๆ ข้าง
ผลที่ได้รับจากกระบวนการนี้คือ อุณหภูมิของอากาศจะเย็นตัวลง และความชื้นของอากาศจะเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามกระบวนการของ Psychometric Chart จากแผนภูมินี้สามารถแสดงให้เห็นถึงสภาวะอากาศที่ความดันบรรยากาศใช้สำหรับการออกแบบระบบปรับอากาศ
รูปที่ 1 กระบวนการทำความเย็น โดยการระเหย (Evaporative Cooling)
จากรูปที่ 1 อากาศที่มีความร้อนในสภาวะที่ 1 ผ่านเข้าสู่กระบวนการทำความย็นแบบการระเหย ซึ่งมีการฉีดพ่นละอองน้ำเข้าไปในอากาศ ละอองน้ำส่วนหนึ่งจะเกิดการระเหยตัวในระหว่างกระบวนการ โดยการดูดซึมความร้อนของกระแสอากาศ ผลที่ตามมา คือ อุณหภูมิของกระแสอากาศจะลดลง และมีความชื้นเพิ่มขึ้นในสภาวะที่ 2 กระบวนการทำความย็นแบบการระเหย จะเป็นกระบวนการที่มีลักษณะการอิ่มตัว แบบอะเดียบาติก (Adiabatic Saturation) ที่มีลักษณะของการถ่ายโอนความร้อนระหว่างอากาศกับสภาวะแวดล้อมไม่มากนัก จากรูปที่ 1 จะสังเกตเห็นได้ว่าการระเหยของน้ำจะเป็นตามเส้นอุณหภูมิกระเปาะเปียก และเส้นเอนทัลปีคงที่ โดยอุณหภูมิจะลดลงถึงจุด ๆ หนึ่งจนใกล้เคียงกับอุณหภูมิจุดน้ำค้าง
ซึ่งจุด ๆ นี้ ถ้าสเปรย์ละอองน้ำเข้าไปในอากาศอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งอุณหภูมิกระเปาะแห้งเท่ากันกับอุณหภูมิจุดน้ำค้างละอองน้ำจะเริ่มกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำ โดยที่อุณหภูมิจะไม่สามารถลดลงได้อีกเนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์มีค่าใกล้ 100 % RH เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าในระหว่างกระบวนการน้ำบางส่วนจะระเหย และผสมเข้ากับกระแสของอากาศ โดยที่ปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในอากาศจะเพิ่มขึ้นในระหว่างกระบวนการ ขณะที่อุณหภูมิของอากาศจะลดลงเพราะความร้อนแฝงที่ใช้ในการระเหยตัวของน้ำขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศที่เป็นตัวแปรหลักของประสิทธิภาพการใช้งานของระบบ
ตัวแปรสำคัญของการใช้งานในระบบพัดลมไอน้ำ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้น ถ้าถามว่าการใช้งานในระบบพัดลมไอน้ำ เพื่อให้เกิดมีประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องขึ้นอยู่กับตัวแปรสำคัญอะไร?
- อุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Dry Bulb Temperature: Db)
หมายถึง อุณหภูมิของอากาศแห้งในขณะนั้น ซึ่งโดยปกติอุณหภูมิ Db เป็นตัวบอกระดับของอุณหภูมิในสภาวะต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ โดยทั่วไป
- อุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet Bulb Temperature: Wb)
หมายถึง อุณหภูมิของอากาศที่เกี่ยวข้องกับระดับความชื้นที่จะระเหยตัว (Evaporate) ของละอองไอน้ำในอากาศขณะนั้น โดยถ้าระดับของอุณหภูมิ Wb มีมาก แสดงว่าในอากาศมีความชื้นมาก การระเหยตัวของละอองไอน้ำจะน้อย
- อุณหภูมิของการอิ่มตัว (Saturation Temperature: Sat)
หมายถึง อุณหภูมิที่ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ เรียกว่า อุณหภูมิอิ่มตัว หรืออุณหภูมิของการเดือด ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสสารหรือวัตถุ เช่น น้ำจะถึงจุดอิ่มตัวที่ 0?C และถึงจุดเดือด ที่ 100?C
- อุณหภูมิจุดน้ำค้าง (Dew Point Temperature: DP)
หมายถึง ปริมาณความชื้นสูงสุดของที่อากาศจะรับได้ เรียกว่า ความจุความชื้น (Moisture Capacity) หรืออุณหภูมิที่เริ่มมีการควบแน่น
- ค่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ (Relative Humidity: RH)
หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความชื้น หรือละอองไอน้ำ (Humidity) ที่มีอยู่จริงในขณะนั้น กับความชื้นสูงสุดที่สามารถเกิดได้ในเวลาเดียวกัน เช่น นำอากาศจำนวน 1 ลูกบาศก์เมตรมาวัดความชื้น แล้วนำสเปรย์พ่นไอน้ำเข้าไปในอากาศที่กำลังวัด จนกระทั่งอุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Db) และอุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wb) เท่ากัน นั่นหมายถึง อากาศมีความชื้นเต็มที่ (100%RH) และอุณหภูมิจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะนั้นที่สามารถบอกถึงอัตราส่วนความชื้นในขณะนั้น
- การถ่ายเทอากาศ (Ventilation) ดีเพียงพอหรือไม่ ?
ถ้าพื้นที่ในการใช้งานนั้น ๆ มีการถ่ายเทอากาศที่ดีและสะดวก โดยมีปริมาณความชื้นที่ไม่สามารถสะสมตัวจนกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้ง่าย ระบบ Masterkool ก็จะทำให้การระเหยตัวของระบบนั้น มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด
บทสรุป
จากปัจจัยการใช้งานของ ระบบพัดลมไอน้ำ Masterkool ในข้างต้นนั้น อาจดูเหมือนมีข้อจำกัดในการใช้งาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ควรต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานเป็นอย่างมาก เพราะในทางปฏิบัติระบบ Masterkool ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิความร้อนของอากาศเป็นหลักแล้ว ยังสามารถนำระบบ พัดลมไอน้ำ Masterkool ไปใช้งานได้หลากหลายประโยชน์ตาม Application ต่าง ๆ เช่น
- กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม
- ภาคการเกษตร
- การปรับสภาวะอากาศ
- การลดมลภาวะของอากาศ
- การประหยัดพลังงาน เป็นต้น
ท้ายสุดสำหรับคอลัมน์นี้ ระบบพัดลมไอน้ำ Masterkool เรายังมีข้อมูลที่มีประโยชน์ และสาระสำคัญดี ๆ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาอากาศร้อนในเมืองไทย ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของชีวิตคนเราเป็นอย่างมากในขณะนี้ มานำเสนอแก่ท่านผู้อ่านในฉบับหน้ากันต่อไป ขอให้ติดตามกันให้ได้ แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้า
กรณีถ้าท่านต้องการที่จะปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางด้านต่างๆ เช่น
- ปัญหาอากาศร้อนอบอ้าว
- ปัญหาการลดฝุ่นละอองในอากาศ
- ปัญหาการลดกลิ่น ฯลฯ
สำหรับทุก ๆ ธุรกิจ และทุก ๆ ประเภทโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ท่านสามารถติดต่อมาได้ที่
คลินิกลดความร้อน มาสเตอร์คูล
หมายเลข 0-2953-8800 (ในเวลาทำการ) และ Hotline: 0-1847-5994
เอกสารอ้างอิง
1.เอกสารการอบรมระบบปรับอากาศ และระบายอากาศ, รศ.ดร. พงษ์เจต พรหมวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
2.Carrier Air Conditioning Co., Handbook of Air Conditioning System Design, Mc Graw-Hill Book Company
3.Trane Air Condition Manual, The Trane Company
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด