เนื้อหาวันที่ : 2013-04-24 11:51:14 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5799 views

การป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกด้วยโปรแกรมเออร์โกโมิก (ตอนที่ 2)

เราพูดกันถึงองค์ประกอบของโปรแกรมเออร์โกโนมิก ในการป้องกันอาการบาดเจ็บหรือผิดปกติของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกอันเนื่องมาจากการทำงาน

ชื่อเรื่อง การป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกด้วยโปรแกรมเออร์โกโมิก (ตอนที่ 2)
ผู้เขียน  ศิริพร  วันฟั่น

  ในฉบับที่แล้ว เราพูดกันถึงองค์ประกอบของโปรแกรมเออร์โกโนมิก ในการป้องกันอาการบาดเจ็บหรือผิดปกติของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกอันเนื่องมาจากการทำงาน ในขั้นตอนที่ 1-3 อันได้แก่ การมองหาสัญญาณที่แสดงถึงปัญหา การจัดเตรียมขั้นตอนสำหรับปฏิบัติการป้องกัน การฝึกอบรมและให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงาน แถมพกด้วยขั้นตอนที่ 4.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบเหตุการณ์ที่แสดงว่าเกิดปัญหา จากเครื่องชี้บ่งด้านสุขภาพและการแพทย์ ไปกันแล้ว ในฉบับนี้ เราจะมาว่ากันต่อในขั้นตอนถัดไป นั่นก็คือ

การแจกแจงปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำ
   การชี้บ่งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดปัญหา WMSDs ในงานที่ทำ

- การวางลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้องในการทำงาน จะทำให้เกิดแรงกดที่ข้อต่อและกล้ามเนื้อ เช่น จะเกิดแรงกดจำนวนมากที่หมอนรองกระดูก เมื่อทำการยกหรือถือสิ่งของ ในขณะที่หลังงอหรือเอี้ยวตัว เมื่อเปรียบเทียบกับการยกในขณะหลังตรง การทำงานซ้ำ ๆ ที่ก่อให้เกิดการบิดหรือหมุนข้อมือ หัวเข่า ตะโพก หรือหัวไหล่ จะทำให้เพิ่มแรงกดที่ข้อต่อ ส่วนการทำงานในลักษณะที่เอื้อมมือขึ้นเหนือระดับหัวไหล่บ่อย ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็จะทำให้เกิดอาการยึด หรือเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

-  การใช้แรงหรือการออกกำลังอย่างมากในการทำงาน จะทำให้เกิดแรงกดที่กล้ามเนื้อเอ็น เอ็นยึด และข้อต่อ ซึ่งหากเกิดขึ้นซ้ำ ๆ หรือเป็นเวลานาน ๆ แล้วละก็ จะไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเหนื่อยล้า แต่ยังก่อให้เกิดปัญหา WMSDs ขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อผนวกเข้ากับการไม่ได้พักผ่อนหรือพักฟื้นอย่างเพียงพอ การใช้แรงหรือกำลังมากขึ้นในการทำงาน อันเป็นผลมาจากการเพิ่มน้ำหนักของวัตถุที่ต้องแบก/ยก รวมไปจนถึงการวางลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้องในการทำงาน  การเพิ่มความเร็วในการเคลื่อนไหว ประกอบกับวัตถุที่ต้องทำการแบก/ยกนั้น มีความลื่นหรือการสั่นของวัตถุ ตลอดจนการที่ต้องใช้แค่นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือในการจับวัตถุ หรือด้ามจับวัตถุที่มีขนาดเล็กและแคบ ทำให้จับได้ลำบากยิ่งขึ้น เป็นต้น

การเคลื่อนไหวในลักษณะซ้ำๆ ซึ่งนิยามของคำว่า การเคลื่อนไหวในลักษณะซ้ำ ๆ ก็คือ การทำงานที่มีวงจรของงาน น้อยกว่า 30 วินาที ยิ่งการเคลื่อนไหวในลักษณะซ้ำๆ มีความถี่สูงและนานขึ้นเพียงใด ก็จะยิ่งก่อให้เกิดการสะสมความเหนื่อยล้าในกล้ามเนื้อและเอ็นยึดมากขึ้นเพียงนั้น และจะมีอาการมากขึ้น ๆ ตามลำดับ ถ้าไม่ได้รับการพักผ่อนและพักฟื้นที่เพียงพอ หรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น การวางลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้องในการทำงาน หรือการใช้แรงมากเกินไป เป็นต้น

ระยะเวลา หมายถึงช่วงเวลาที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ  ทั้งการใช้กล้ามเนื้อในตำแหน่งเดิม หรือการเคลื่อนไหวด้วยท่วงท่าซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการเหนื่อยล้าเฉพาะแห่งหรือปวดเมื่อยทั้งร่างกายได้
สัมผัสกับแรงเครียด เช่น การใช้แรงจากท่อนแขนและนิ้วมือในการจับหูหิ้วของวัตถุที่มีขนาดเล็ก หรือการวางแขนหรือข้อมือพาดบนขอบโต๊ะทำงาน ที่มีเหลี่ยมแหลมคม จะมีผลต่อการไหลเวียนของเลือด เป็นต้น

-การสั่น เช่น การทำงานร่วมกับเครื่องมือกำลังซึ่งจะมีการสั่นของเครื่องมือเวลาใช้งาน หรือการที่ต้องยืนและนั่งในสภาวะแวดล้อมที่สั่นสะเทือน เป็นต้น

สภาวะอื่นๆ เช่น อุณหภูมิ การพักผ่อนหรือพักฟื้น จังหวะการทำงานของเครื่องจักร ความเคยชินหรือไม่คุ้นเคยกับงานที่ทำ เป็นต้น


รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำ เรียงจากซ้ายไปขวาจากบนลงล่าง

1.การวางลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง      
2.การทำงานในลักษณะเอื้อมเหนือศีรษะ    
3.การเอี้ยวตัวและการหิ้วของหนัก
4.การหมุนของข้อมือ                             
5.การสัมผัสกับแรงเครียด                           
6.การวางไหล่หรือข้อมือในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง
7.การยกของที่มีขนาดใหญ่หรือหนัก     
8.การสั่นของมือหรือแขน                            
9.การสั่นทั้งตัว


การตรวจงานที่ทำเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง
มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ
1). การเดินสังเกตความสะดวกในการทำงาน เพื่อที่จะสืบหาหรือสังเกตถึงปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่
2). การสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานหรือหัวหน้างาน เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลที่นอกเหนือไปจากการเดินสังเกตด้วยตนเอง
3). การใช้แบบฟอร์มตรวจสอบงานที่ทำเพื่อที่จะได้วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ

จาก 3 วิธีข้างต้น การใช้แบบฟอร์มตรวจสอบงานที่ทำ จะเป็นวิธีที่เป็นทางการและมีแบบแผนมากที่สุด โดยแบบฟอร์มตรวจสอบเหล่านี้ จะช่วยทำให้เราได้ข้อมูลในการวิเคราะห์ลักษณะงานที่ทำและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขเบื้องต้นได้ เช่น เคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง หรือเป็นสาเหตุของการวางลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ในการยกสิ่งของ เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 1 แบบฟอร์มตรวจสอบงานที่ทำ เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยเสี่ยงด้านเออร์โกโนมิก
กรุณากากบาทลงบน [  ] หน้าตัวเลือก " ใช่ " หรือ " ไม่ใช่ "

1.   การยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก วัตถุสิ่งของเครื่องมือในงานที่ทำโดยแรงงานคน
- มีการยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือ      [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการโค้งงอของเอวในระหว่างการยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือ   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการบิดเอวในระหว่างการยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือ    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการเกร็งของกล้ามเนื้อมากเกินไปในขณะยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือ   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการเคลื่อนไหวในลักษณะเฉียบพลันขณะที่ยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือ  [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือที่ต้องยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก มีขนาดใหญ่เกินไป    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือที่ต้องยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก มีน้ำหนักมากเกินไป    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือที่ต้องยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก ไม่มีความสมดุล    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือที่ต้องยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก มีความลื่น     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือที่ต้องยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก ไม่มีที่จับหรือหูหิ้ว    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือ ยากต่อการจับ       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีสิ่งกีดขวางต่อทัศนวิสัยในการยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือ    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีความถี่สูงในการการยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือ    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ระยะทางในการเคลื่อนย้ายวัตถุ สิ่งของ เครื่องมือไกลเกินไป     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ระยะห่างระหว่างวัตถุ สิ่งของ เครื่องมือที่ต้องยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก อยู่ในตำแหน่งที่ห่างตัวจนเกินไป [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ทางเดินมีระดับความสูง - ต่ำต่างกันมาก       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ทางเดินมีความกว้างไม่เพียงพอ        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ทางเดินไม่สะอาดและเปียก        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่มีเครื่องยนต์กลไกช่วยกรณีจำเป็น     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่มีอุปกรณ์เสริมส่วนบุคคล เช่นสายรัดหลัง ถุงมือ ช่วยในการยก-ถือ-หิ้ว-ลาก-ผลัก วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือ [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่มีการหมุนเวียนเปลี่ยนงานในแผนก       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีช่วงพักที่ไม่เพียงพอ        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้รับการฝึกอบรมในการยก -ถือ -หิ้ว -ลาก -ผลัก วัตถุ สิ่งของ เครื่องมือ   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่


2.  เครื่องมือ
- ด้ามจับเล็กหรือใหญ่เกินไป        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- รูปร่างของด้ามจับทำให้ต้องใช้แรงมากในการโค้งงอหรือบิดข้อมือ     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ด้ามจับไม่มีการป้องกันการลื่นเวลาจับ       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ด้ามจับไม่มีขนาดให้เลือกสำหรับมือที่มีขนาดแตกต่างกัน     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ด้ามจับมีแรงกดต่อฝ่ามือเวลาใช้งาน       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ต้องออกแรงที่นิ้วมากเวลาใช้งาน       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เครื่องมือไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เครื่องมือไม่มีความเหมาะสมกับงาน       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เครื่องมือมีน้ำหนักมากเกินไป        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เครื่องมือมีการสั่นมากเกินไปเวลาทำงาน       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เครื่องมือมีแรงสะท้อนกลับมากเกินไป       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เครื่องมือร้อนหรือเย็นจนเกินไป        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เครื่องมือมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน      [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่สามารถใช้มือข้างใดก็ได้ตามความถนัดในการใช้งาน     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่สามารถใส่ถุงมือเวลาทำงานได้       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เครื่องมือไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เครื่องมือไม่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถหยิบใช้ได้โดยสะดวก     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่มีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงวิธีใช้งานอย่างถูกต้อง     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่มีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงวิธีบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่มีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงวิธีการรายงานปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่


3.  ที่ทำงานคอมพิวเตอร์
- มีผู้ใช้งานทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานติดต่อกันเกินกว่า 4 ชั่วโมง/ วัน    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีผู้ปฏิบัติงานร้องเรียนจากการรู้สึกไม่สะดวกกาย (Discomfort) จากสถานที่ปฏิบัติงาน   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เก้าอี้ หรือโต๊ะทำงานไม่สามารถที่จะปรับสูง-ต่ำได้      [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เก้าอี้ไม่มีเบาะรองนั่ง         [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- พนักพิงเก้าอี้ไม่สามารถปรับเอนได้       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่มีที่พักแขน (ถ้าจำเป็น)        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- จอมอนิเตอร์ คีย์บอร์ด และที่จับยึดเอกสาร (Document holder) ไม่สามารถที่จะปรับมุมได้  [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- จอมอนิเตอร์ไม่สามารถปรับความคมชัดและความสว่างได้     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการใช้แรงมากในการกดแป้นคีย์บอร์ด       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีแสงสะท้อนเข้าตา         [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- อุณหภูมิในห้องร้อนหรือเย็นจนเกินไป       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีเสียงรบกวน         [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีอาการสั่นรอบข้าง         [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่สามารถวางแขน ขา มือ เข่า เท้าได้อย่างเป็นธรรมชาติ     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้รับการแนะนำในการวางลักษณะท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่ 


4. พื้นที่ปฏิบัติงานทั่วไป
- มีการเอื้อมมือเหนือศีรษะในการเข้าถึงวัตถุ สิ่งของ  เครื่องมือ     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ระยะทางในการเอื้อมมือเข้าถึงวัตถุเกินกว่า  20" (ประมาณ 51 cm.)    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- สำหรับงานที่นั่งทำมีระยะการเข้าถึงเครื่องมือและวัสดุเกินกว่า 15" (ประมาณ 38 cm.)   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการยืดตัวเพื่อหยิบจับวัตถุ สิ่งของ เครื่องมือ      [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการโค้งงอหรือบิดข้อมือเวลาทำงาน       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการโค้งงอหรือบิดลำตัวเวลาทำงาน       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการยืดแขนที่มากเกินไปในเวลาทำงาน       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ต้องใช้แรงที่นิ้วมากเวลาทำงาน        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่สามารถใช้มือข้างใดก็ได้ตามความถนัดในการทำงาน     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- งานต้องใช้การเคลื่อนไหวในลักษณะซ้ำๆ และมีความถี่สูง     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- งานต้องเกี่ยวข้องกับการใช้แรงมาก การเคลื่อนที่รวดเร็วและฉับพลัน    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- งานมีความถี่ในการโค้งงอของคอ หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ หรือข้อนิ้ว    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- แขนและมือต้องสัมผัสกับขอบมุมแหลมคมของพื้นผิวที่ทำงาน     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ต้องนั่งหรือยืนเป็นเวลานานๆ (มากกว่า 30 นาที โดยไม่มีการเปลี่ยนอริยาบท)    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการยกหรือก้มวางสิ่งของมากกว่า 1 ครั้ง/ นาที เป็นระยะเวลาติดต่อกันเกิน 15 นาที   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการทำงานในระดับสูงกว่าหัวไหล่       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่สามารถที่จะวางลักษณะท่าทางอย่างเป็นธรรมชาติ      [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการสั่นของร่างกายส่วนบน-ทั่วทั้งร่างกายอันเนื่องมาจากเครื่องมือ-สิ่งแวดล้อมในการทำงาน [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- โต๊ะทำงานไม่สามารถปรับสูง-ต่ำ ให้เหมาะกับผู้ปฏิบัติงาน     [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- โต๊ะทำงานมีเหลี่ยมมุมที่คม        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เก้าอี้ไม่สามารถปรับสูง-ต่ำ ให้เหมาะกับผู้ปฏิบัติงาน      [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่มีที่พักแขน เท้า เวลาจำเป็น        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- เครื่องมือและชิ้นส่วนมีน้ำหนักมากกว่า 10 ปอนด์ (ประมาณ 4.5 Kg)    [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- รองเท้าที่ใส่ไม่เหมาะสม        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่ 
- ถุงมือที่ใช้ไม่พอเหมาะกับมือ        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่ 
- พื้นที่งานไม่สะดวกต่อการเคลื่อนที่       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- พื้นที่ปฏิบัติงานทีสิ่งกีดขวางการทำงาน       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ทางเดินมีลักษณะขรุขระ ลื่น หรือ สิ่งกีดขวาง      [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่ 
- บันไดไม่มีราวกั้น         [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่ 
- พื้นที่งานมีความสกปรก        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่ 
- อุณหภูมิร้อนหรือเย็นจนเกินไป        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่ 
- ไม่มีการไหลเวียนของอากาศที่ดีพอ       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- แสงสว่างมีไม่เพียงพอ        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่ 
- มีแสงสะท้อนเข้าตา         [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่ 
- มีเสียงดังซึ่งทำให้รำคาญ โมโห หรือสูญเสียการได้ยิน      [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่ 
- ไม่มีเครื่องยนต์กลไกและอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน(กรณีที่จำเป็น)   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีจำนวนผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ        [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- มีการจัดสรรชั่วโมงทำงานและเวลาพักที่ไม่เหมาะสม      [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่มีการฝึกอบรมวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง       [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้รับการแนะนำในเรื่องการวางลักษณะท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่มีการหมุนเวียนเปลี่ยนงานโดยเฉพาะงานที่ต้องใช้แรงมาก ซ้ำๆ หรือมีความถี่สูง   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่
- ไม่มีการฝึกอบรมให้ทราบถึงสัญญาณและลักษณะอาการที่จะก่อให้เกิดปัญหา   [  ] ใช่ [  ]  ไม่ใช่

ถ้าคำตอบส่วนใหญ่ของแบบสอบถาม เป็น "ใช่" แล้วละก็แสดงว่ามีการชี้บ่งที่ค่อนข้างชัดเจนว่าที่ทำงานของเรามีปัจจัยเสี่ยงด้านเออร์โกโนมิก ที่จะส่งผลให้เกิดปัญหา WMSDs ได้ และควรมีการนำข้อมูลที่ได้จากแบบฟอร์มนี้ ไปทำการวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อไป

การวิเคราะห์งานที่ทำ
-   การวิเคราะห์งานที่ทำ จะใช้ข้อมูลที่ได้จากแบบฟอร์มข้างต้น ซึ่งทำให้เราทราบว่างานที่ทำมีปัจจัยเสี่ยงประเภทใดบ้าง จากนั้นจะแตกงานออกเป็นส่วนย่อยตามแต่ชนิดของการกระทำ อธิบาย และวัดปริมาณ/จำนวน ของปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่ในแต่ละส่วนย่อยของงาน และแจกแจงสภาวการณ์ที่จะนำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงนั้น ๆ
-  กิจกรรมหรือภาระกิจที่ทำในงาน อธิบายได้ในส่วนของ (1) เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุซึ่งใช้ในงาน (2) แผนผังพื้นที่ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและ (3) ความต้องการในงานและสภาพอากาศในงานที่ทำอยู่ ในการวิเคราะห์จะเพิ่มเติมในส่วนของ

 1). การสังเกตลักษณะการวางท่าทางของผู้ปฏิบัติงานในระหว่างการทำงาน เพื่อที่จะได้วิเคราะห์ช่วงระยะเวลาหรือวงจรของกิจกรรมในแต่ละงาน ตัวอย่างเช่น
         อัตราความเสี่ยงสูงในการเคลื่อนไหวลักษณะซ้ำ ๆ ของอวัยวะร่างกายส่วนบน เช่น
       - หัวไหล่ มากกว่า 20 ครั้งต่อนาที
       - แขนส่วนบน/ข้อศอก มากกว่า 10 ครั้งต่อนาที
       - แขนส่วนปลาย/ข้อมือ มากกว่า 10 ครั้งต่อนาที
       - นิ้ว มากกว่า 200 ครั้งต่อนาที

 2). ถ่ายรูปลักษณะการวางท่าทาง เครื่องมือ พื้นที่งาน ฯลฯ หรือวาดรูปคร่าวๆ (Illustrate) ของลักษณะงานออกมาเพื่อใช้ในการอธิบายถึงปัจจัยเสี่ยงและสภาวะการณ์ที่เสี่ยงต่อการเกิด WMSDS ในงานที่ทำ เพื่อที่ผู้ปฏิบัติงานจะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

 3). การวัดส่วนต่าง ๆ เพื่อดูความเหมาะสมขององค์ประกอบในพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น ความสูงของโต๊ะทำงาน ระยะการเข้าถึงเครื่องมือ ขนาดของด้ามจับเครื่องมือ น้ำหนักของเครื่องมือหรือชิ้นส่วน ความสั่นของเครื่องมือ และขนาดของสิ่งของที่ต้องยก เป็นต้น

 4). พิจารณาลักษณะพื้นผิวของพื้นที่งาน เช่น ความลื่น ความแข็ง และขอบมุม เป็นต้น

 5). วัดอุณหภูมิและความสั่นของพื้นที่ปฏิบัติงาน

 6). การคำนวณปริมาณด้านชีวภาพ โดยใช้การเฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหว เช่น ปริมาณการใช้แรงของกล้ามเนื้อในขณะทำงาน หรือแรงกดที่มีต่อหมอนรองกระดูกในขณะที่ยก ผลัก ลาก หรือดันสิ่งของ เป็นต้น

 7). วัดปริมาณด้านกายภาพ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกถึงพลังงานที่ต้องใช้ในการทำงาน เช่น วัดความต้องการใช้ออกซิเจน โดยการใช้ Oxygen consumption meter ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วสูงสุดไม่ควรจะเกิน 5.0 kcal/min. (เป็นเกณฑ์สำหรับชายหนุ่มที่ทำงานโดยเฉลี่ย 8 ชั่วโมง/วัน) หรือวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ในขณะทำงาน โดยใช้ Portable heart monitors ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วสูงสุดไม่ควรเกิน 110 beats/min. (เป็นเกณฑ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีสุขภาพดี) เป็นต้น

 จากข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์ทั้งหมดจะทำให้เราได้ทราบว่างานที่ทำส่วนใดบ้างมีสภาวะการณ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงอันก่อให้เกิด WMSDs ในกระบวนการทำงาน รวมทั้งทราบถึงจำนวนและชนิดของปัจจัยเสี่ยงที่เผชิญอยู่ และสามารถที่จะจัดกลุ่มแยกประเภท และเรียงลำดับอัตราความเสี่ยงของปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำ เพื่อที่จะได้เลือกใช้มาตรการควบคุมที่เหมาะสมกับชนิดและความรุนแรงของปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นต่อไป

 


รูปที่ 2 แสดงการวัดระยะที่เหมาะสมของพื้นที่ปฏิบัติงาน

 

 1. การทำงานในลักษณะนั่งทำงาน
1.1 การพิจารณาพื้นที่โต๊ะทำงาน

          งานขั้นแรกหรืองานประจำทั่วไปที่ต้องหยิบใช้เครื่องมือบ่อยๆ
- ระยะตามวิถีโค้งจากตัวผู้ปฏิบัติงาน ประมาณ 13"-17" (ประมาณ 33 - 43 cm.)
- ระยะในแนวตรงจากตัวผู้ปฏิบัติงาน ประมาณ 10" (ประมาณ 25 cm.)

          งานขั้นที่ 2 หรืองานลักษณะเฉพาะ                               
- ระยะตามวิถีโค้งจากตัวผู้ปฏิบัติงาน ประมาณ 21"- 25" (ประมาณ 53 - 64 cm.)
- ระยะในแนวตรงจากตัวผู้ปฏิบัติงาน ประมาณ 20" (ประมาณ 51 cm.) 
- ขอบเขตในแนวดิ่ง 
           - สำหรับระยะการเข้าถึงเพื่อหยิบจับวัตถุ โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 32" (ประมาณ 81 cm.)
           - แต่ในบางครั้งถ้าจำเป็นต้องยืดตัวเพื่อให้เข้าถึงวัตถุ ไม่ควรเกิน 38" (ประมาณ 97 cm.)
- เก้าอี้: สามารถที่จะปรับความสูง-ต่ำของที่นั่งและองศาของพนักพิงได้ ถ้ามีที่พักแขนและเท้าด้วยก็จะเป็นการดี พิจารณาการวัดระยะต่าง ๆ ดังแสดงในรูป


2. การทำงานในลักษณะยืน
2.1 ความสูงของชั้นวางของ  ควรที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถที่จะยืนหยิบวัตถุ และวางมือราบได้โดยสะดวกบนชั้นวางของโดยไม่ต้องเขย่งเท้า
2.2 ความสูงของโต๊ะทำงาน
- งานที่ต้องใช้ความละเอียด ควรสูงกว่าระดับข้อศอก โดยมีความสูงจากพื้น ประมาณ 37"- 43" (ประมาณ 94 - 109 cm.)
- งานที่ใช้แรงน้อยหรืองานลักษณะเบา ควรต่ำกว่าระดับข้อศอก โดยมีความสูงจากพื้น ประมาณ 34"- 37" (ประมาณ 86 - 94 cm.)
- งานที่ใช้แรงมากหรืองานหนัก ควรต่ำกว่าระดับข้อศอกประมาณ 4"- 6" โดยมีความสูงจากพื้น ประมาณ 28"- 35" (ประมาณ 71 - 89 cm.)

การจัดลำดับ ก่อน-หลัง

ตารางที่ 2 แสดงลำดับความสำคัญในการวิเคราะห์งาน และการปฏิบัติการควบคุม

ลำดับความสำคัญ และการปฏิบัติการควบคุม
เกิด MWSDs ในงานที่ทำปัจจุบัน
ไม่ปรากฏ WMSDs ในงานที่ทำปัจจุบัน แต่มีการบันทึกข้อมูลที่ผ่านมาของบริษัทระบุว่ามีปัญหา WMSDs ในงานที่ทำ
ไม่ปรากฏ MWSDs ในงานที่ทำทั้งในปัจจุบันและอดีต แต่มีข้อร้องเรียนของผู้ปฏิบัติงานและจากผลการสำรวจอาการระบุว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิด WMSDs ในงานที่ทำ
ไม่ปรากฏMWSDs ในงานที่ทำทั้งปัจจุบันและในอดีต และไม่มีข้อร้องเรียนจากผู้ปฏิบัติงาน แต่จากการตรวจงานและผลจากแบบฟอร์มตรวจงานที่ทำระบุว่ามีปัจจัยเสี่ยงสูง ที่จะเกิด WMSDs กับงานที่ทำ

ลำดับความสำคัญ สำหรับการติดตามวิเคราะห์ และปฏิบัติการควบคุม
จำเป็นเร่งด่วน
ลำดับ 2 : ระมัดระวังและใส่ใจกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ลำดับ 3 : แก้ปัญหาที่ระยะเริ่มแรก
ลำดับสุดท้าย : การป้องกันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด


การวิเคราะห์งานที่ทำ
เพื่อจัดกลุ่มและเรียงลำดับอัตราความเสี่ยงของปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำในปัจจุบัน
เพื่อจัดกลุ่ม และเรียงลำดับอัตราความเสี่ยงของปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำ โดยดูจากจำนวนหรือความรุนแรงของ WMSDs ที่ผ่านมา และจำนวนของผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเผชิญความเสี่ยง เพื่อจัดกลุ่มและเรียงลำดับอัตราความเสี่ยงของปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำ โดยดูจากความถี่ของการร้องเรียน และอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้าน WMSDs เพื่อจัดกลุ่มและเรียงลำดับอัตราความเสี่ยงของปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำ โดยดูจากปัญหาที่หนักที่สุดที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น จากการสำรวจงานที่ทำและการสังเกตุการณ์

จุดมุ่งหมายของปฏิบัติการควบคุม
มุ่งเน้นการลดอัตราความเสี่ยงที่สูงสุดของปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำในปัจจุบันโดยเชื่อมโยงกับจำนวนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
มุ่งเน้นการลดอัตราความเสี่ยงที่สูงสุดของปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำ หรือความรุนแรงสูงสุดของ ปัญหา WMSDs โดยดูจากจำนวนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากบันทึกข้อมูลที่ผ่านมา
มุ่งเน้นการลดอัตราความเสี่ยงที่สูงสุดของปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำ โดยดูจากความถี่ของการร้องเรียน และอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้าน WMSDs
มุ่งเน้นการลดอัตราความเสี่ยงที่สูงสุดของปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำสำหรับปัญหา WMSDs ก่อนการรายงานใด ๆ

เอกสารอ้างอิง
Elements of Ergonomics Programs : A primer Based on Workplace Evaluations of Musculoskeletal  Disorders by Alexander L.Cohen,Christopher C.Gjessing,Lawrence J.Fine,Bruce P.Bernard,James d.McGlothlin;U.S.Department of Health and Human Services,Public Health Service,Centers for Disease Control and Prevention,National Institute for Occupational Safety and Health.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด