เนื้อหาวันที่ : 2013-04-24 10:03:08 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4728 views

UPS และการนำไปประยุกต์ใช้งาน

เครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่อง (Uninterruptible Power Supply) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า UPS นั้น เป็นอุปกรณ์สำหรับจ่ายพลังงานไฟฟ้าประเภทหนึ่ง โดยไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับสำหรับจ่ายให้กับอุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป เพียงแต่มีความพิเศษอยู่ที่ว่าในกรณีไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเกิดขัดข้อง UPS ที่ว่านี้จะยังสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ขาดช่วง ในสมัยก่อนนั้นเราใช้ UPS เพียงเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับปรับปรุงคุณภาพทางไฟฟ้าให้เป็นไปตามที่ต้องการ โดยจะใช้กับอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญและต้องการความเสถียรภาพของไฟฟ้าสูง เช่น ระบบคอมพิวเตอร์, ระบบควบคุม, เครื่องมือแพทย์, เครื่องวัด, เครื่องทดสอบต่าง ๆ รวมถึงระบบเครื่องเสียงใหญ่ ๆ แต่ในปัจจุบัน เนื่องจากอัตราการเติบโตของเทคโนโลยีที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้มีความต้องการใช้ UPS มากขึ้น ประกอบกับสภาวะการแข่งขันในตลาดที่มีมากขึ้นส่งผลให้ราคาของ UPS เฉลี่ยในปัจจุบันไม่สูงมากนัก UPS จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และได้ถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

UPS และการนำไปประยุกต์ใช้งาน
อมร สุวรรณชัยสกุล 

วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสำรองไฟฟ้า บริษัท ไซท์ เพรพพาเรชั่น แมเนจเมนท์ จำกัด
amorns@sitem.co.th

    เครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่อง (Uninterruptible Power Supply) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า UPS นั้น เป็นอุปกรณ์สำหรับจ่ายพลังงานไฟฟ้าประเภทหนึ่ง โดยไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับสำหรับจ่ายให้กับอุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป เพียงแต่มีความพิเศษอยู่ที่ว่าในกรณีไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเกิดขัดข้อง UPS ที่ว่านี้จะยังสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ขาดช่วง

     ในสมัยก่อนนั้นเราใช้ UPS เพียงเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับปรับปรุงคุณภาพทางไฟฟ้าให้เป็นไปตามที่ต้องการ โดยจะใช้กับอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญและต้องการความเสถียรภาพของไฟฟ้าสูง เช่น ระบบคอมพิวเตอร์, ระบบควบคุม, เครื่องมือแพทย์, เครื่องวัด, เครื่องทดสอบต่าง ๆ รวมถึงระบบเครื่องเสียงใหญ่ ๆ

     แต่ในปัจจุบัน เนื่องจากอัตราการเติบโตของเทคโนโลยีที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้มีความต้องการใช้ UPS มากขึ้น ประกอบกับสภาวะการแข่งขันในตลาดที่มีมากขึ้นส่งผลให้ราคาของ UPS เฉลี่ยในปัจจุบันไม่สูงมากนัก UPS จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และได้ถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น


คำนิยามและคุณสมบัติทางเทคนิคพื้นฐานเกี่ยวกับ UPS

          • Power Rating
                       
           การเรียกขนาดของ UPS เราจะเรียกตามพิกัดกำลังไฟฟ้าที่ UPS นั้น ๆ สามารถผลิตออกมาได้ โดยมีหน่วยเป็น VA (Volt-Ampere) ซึ่งโดยทั่วไปเราจะเห็นได้ตั้งแต่ขนาด 500 VA สำหรับใช้กับ PC ทั่ว ๆ ไป จนกระทั่งขนาดมากกว่า 100,000 VA สำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
                 

          • Power Factor (P.F.)

            ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์หรือค่าตัวประกอบกำลังทางไฟฟ้า จะเป็นตัวบอกประสิทธิภาพและความสามารถในการรองรับ Load ประเภทต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ร่วมกับ UPS ซึ่งปกติอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างชนิดกันก็จะมีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่ง UPS ปกติทั่วไปจะมีค่า Output Power Factor เท่ากับ 0.8 ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อการรองรับ Load หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเกือบทุกประเภท ซึ่งรวมถึงระบบคอมพิวเตอร์, ระบบควบคุม หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้
              

            • Backup Time

            หรือระยะเวลาการสำรองไฟของ UPS หลังเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้อง ซึ่งค่าดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนให้มากหรือน้อยได้ตามความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานแต่ละประเภท ซึ่งโดยปกติผู้ผลิตทั่วไปจะออกแบบให้ UPS มีระยะเวลาการสำรองไฟ (ที่สภาวะ Load เต็มพิกัด) อยู่ในช่วงระหว่าง 5-20 นาที นั่นหมายความว่าหากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นำมาเชื่อมต่อกับ UPS มีจำนวนน้อยลงหรือกินไฟน้อยลง ระยะเวลาในการสำรองไฟก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

      ระบบไฟฟ้าที่ใช้งานทั่วไปในประเทศไทย  จะมีอยู่ 2 ระบบคือ

         1. ระบบไฟฟ้า 1 Phase (220 V, 50 Hz) เหมือนไฟฟ้าที่ใช้กันตามบ้านทั่วไป

         2. ระบบไฟฟ้า 3 Phase (380 V, 50 Hz) ซึ่งจะใช้กับไฟฟ้าในอาคารขนาดใหญ่หรือตามโรงงานอุตสาหกรรม
 
         ซึ่ง UPS ที่ใช้กันในปัจจุบัน ก็มีให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการทั้งที่รองรับระบบไฟฟ้าแบบ 1 Phase (220 V, 50 Hz) และแบบ 3 Phase (380 V, 50 Hz) ดังนี้ 
         
      - UPS แบบที่รับไฟด้านเข้าแบบ 1 Phase (220 V, 50 Hz)/ผลิตไฟฟ้าออกมาเป็น 1 Phase (220 V, 50 Hz) ปกติจะมีตั้งแต่ขนาด 500VA – 20,000 VA (20 kVA)
    
      - UPS แบบที่รับไฟด้านเข้าแบบ 3 Phase (380 V, 50 Hz)/ผลิตไฟฟ้าออกมาเป็น 1 Phase (220 V, 50 Hz) ปกติจะมีตั้งแต่ขนาด 10,000 VA (10 kVA) – 100,000 VA (100 kVA)

      - UPS แบบที่รับไฟด้านเข้าแบบ 3 Phase (380 V, 50 Hz)/ผลิตไฟฟ้าออกมาเป็น 3 Phase (380 V, 50 Hz) ปกติจะมีตั้งแต่ขนาด 10,000 VA (10 kVA) – 800,000 VA (800 kVA)

 การแบ่งประเภทของ UPS

     เครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่อง หรือ UPS ในอุดมคตินั้น นอกจากจะต้องสำรองไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องในกรณีที่เกิดไฟฟ้าขัดข้อง แล้ว ยังจะต้องสามารถผลิตไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูงมาก ๆ ออกมาได้ กล่าวคือ ขนาดแรงดันไฟฟ้า (Voltage) และความถี่ (Frequency) ที่ UPS ผลิตออกมาจะต้องตรงตามที่ต้องการ (1 Phase/220V/50Hz หรือ 3 Phase/380V/50Hz) รวมทั้งมีความเสถียรภาพของไฟฟ้าสูง คือมีความผิดเพี้ยนจากขนาดปกติน้อยที่สุด ในทุก ๆ สภาวะการทำงานของเครื่อง
           
       ดังนั้นการแบ่งประเภทของ UPS ในปัจจุบัน จึงแบ่งออกตามสมรรถนะในการทำงานของ UPS นั้น ๆ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานยุโรป และสากล EN 50091-3/IEC 62040-3 ซึ่งแบ่ง UPS ออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. VFD Class (Voltage and Frequency Dependent)
              
     หรือในชื่อเดิมที่คุ้นเคยกันคือ “OFF-LINE” UPS โดยลักษณะของไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจาก UPS VFD Class นี้ จะขึ้นกับคุณภาพของไฟฟ้าจากการไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่ ทั้งในเรื่องแรงดันไฟฟ้าและความถี่ กล่าวคือ ถ้าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเกิดผิดเพี้ยนไปจากปกติ ก็จะส่งผลให้ไฟฟ้าที่ UPS ผลิตออกมาผิดเพี้ยนไปด้วย
   ซึ่ง UPS ประเภทนี้ เหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์ทั่ว ๆ ไปที่ไม่ต้องการคุณภาพไฟฟ้าที่สูงมากนัก และเหมาะสำหรับใช้ในบริเวณที่ได้รับไฟฟ้าจากการไฟฟ้าที่ค่อนข้างเสถียร และเกิดปัญหาไม่บ่อยมากนัก

2. VI Class (Voltage Independent)
      
      หรือที่เดิมเคยเรียกกันว่า “Line Interactive” UPS ซึ่ง UPS VI Class นี้จะแตกต่างจาก UPS VFD Class ตรงที่ลักษณะของไฟฟ้าที่ผลิตออกมา จะขึ้นกับคุณภาพของไฟฟ้าจากการไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่ เฉพาะในเรื่องของความถี่เท่านั้น กล่าวคือ ถ้าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเกิดผิดเพี้ยนไปจากปกติ จะส่งผลให้ความถี่ทางไฟฟ้าที่ UPS ผลิตออกมาผิดเพี้ยนไปด้วย แต่จะไม่เป็นผลกับขนาดแรงดันไฟฟ้าที่ผลิตออกมาแต่อย่างใด
UPS ประเภทนี้ เหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องการคุณภาพไฟฟ้าที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องของแรงดันไฟฟ้า และใช้ในบริเวณที่ได้รับไฟฟ้าจากการไฟฟ้าที่ค่อนข้างเสถียร และเกิดปัญหาไม่บ่อยมากนักเช่นกัน


3. VFI Class (Voltage and Frequency Independent)

      หรือเดิมคุ้นเคยกันในชื่อของ True on-line หรือ Double Conversion ซึ่งคุณภาพของไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจาก UPS ประเภท VFI Class นี้ ถือว่าสมบูรณ์ที่สุด โดยไฟฟ้าที่ UPS ผลิตออกมานั้นจะมีแรงดันและความถี่ทางไฟฟ้าคงที่ตลอดเวลา แม้ว่าสภาพของไฟฟ้าจากการไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่จะเป็นอย่างไรก็ตาม
UPS ประเภทนี้จึงเหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องการคุณภาพและเสถียรภาพของไฟฟ้าที่สูงมาก ๆ หรือใช้ในบริเวณที่พบปัญหาบ่อยในเรื่องคุณภาพไฟฟ้าจากการไฟฟ้า

แนวคิดในการออกแบบเพื่อการต่อขนานเครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่อง (UPS) 

           หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการนำ UPS หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อเพื่อทำงานร่วมกัน (Parallel Connect) แต่รู้หรือไม่ว่าการนำ UPS มาเชื่อมต่อแบบ Parallel นี้ มีผลดีต่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อด้วยอย่างไรบ้าง ?
 วัตถุประสงค์ในการใช้งาน UPS โดยนำมาเชื่อมต่อแบบขนานกันนั้น สามารถทำได้ 2 กรณีโดยแบ่งออกตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานและประเภทของการใช้งานนั้น ๆ คือ

           หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการนำ UPS หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อเพื่อทำงานร่วมกัน (Parallel Connect) แต่รู้หรือไม่ว่าการนำ UPS มาเชื่อมต่อแบบ Parallel นี้ มีผลดีต่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อด้วยอย่างไรบ้าง ? วัตถุประสงค์ในการใช้งาน UPS โดยนำมาเชื่อมต่อแบบขนานกันนั้น สามารถทำได้ 2 กรณีโดยแบ่งออกตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานและประเภทของการใช้งานนั้น ๆ คือ

           หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการนำ UPS หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อเพื่อทำงานร่วมกัน (Parallel Connect) แต่รู้หรือไม่ว่าการนำ UPS มาเชื่อมต่อแบบ Parallel นี้ มีผลดีต่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อด้วยอย่างไรบ้าง ? วัตถุประสงค์ในการใช้งาน UPS โดยนำมาเชื่อมต่อแบบขนานกันนั้น สามารถทำได้ 2 กรณีโดยแบ่งออกตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานและประเภทของการใช้งานนั้น ๆ คือ

     1. การเชื่อมต่อแบบขนานกันเพื่อเพิ่มขนาดพิกัดกำลังของเครื่องสำรองไฟฟ้า (Expansion Capacity)
                  
     การเชื่อมต่อชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่มี UPS เดิมใช้อยู่แล้ว แต่เนื่องด้วยภาระไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ที่ใช้งานนั้นเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกินพิกัดกำลังไฟฟ้าของ UPS เดิม จึงจำเป็นต้องติดตั้ง UPS ในขนาดพิกัดกำลังที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีของ UPS ในปัจจุบันสามารถติดตั้ง UPS รุ่นเดียวกันเพิ่ม โดยให้ทำงานร่วมกับ UPS ที่ติดตั้งอยู่เดิมได้ทันที โดยไม่มีผลกระทบในเรื่องคุณภาพของไฟฟ้าที่จ่ายออกมา อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความไม่สอดคล้องกันของเฟสทางไฟฟ้าที่ออกมาจาก UPS ทั้งสองเครื่อง (Phase Synchronization) อีกด้วย

     2. การเชื่อมต่อแบบขนานกันเพื่อเพิ่มความเสถียรภาพของระบบ (Parallel Redundancy)

    วิธีการออกแบบเพื่อเชื่อมต่อเครื่องสำรองไฟฟ้าประเภทนี้ จะพบได้มากในศูนย์ข้อมูล, ศูนย์คอมพิวเตอร์, ห้องควบคุมระบบ หรือการติดตั้งใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมาก ๆ เนื่องจากการเชื่อมต่อแบบ Parallel Redundancy นี้ มีความเสถียรภาพของระบบสูงมาก ๆ (Reliability > 99%) ซึ่งสามารถรองรับการทำงานของอุปกรณ์ได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในกรณี UPS เครื่องใดเครื่องหนึ่งที่ใช้งานอยู่เกิดมีปัญหา หรือจำเป็นต้องหยุดระบบ UPS เพื่อการซ่อมบำรุง

 

   (a) สภาวะการทำงานปกติ โดยกำหนดให้ UPS ทั้งสองเครื่องจะแบ่งจ่ายไฟฟ้าสูงสุดที่เครื่องละ 50% ของพิกัด UPS แต่ละเครื่อง

 

     (b) สภาวะการทำงานที่ UPS เครื่องใดเครื่องหนึ่งชำรุด หรือต้องการหยุดระบบเพื่อตรวจเช็ค,

      ซ่อมบำรุง เครื่องที่เหลือจะรองรับการจ่ายไฟฟ้าที่ 100% Load โดยอัตโนมัติทันที

  รูปแสดงลักษณะการเชื่อมต่อแบบขนานกันเพื่อเพิ่มความเสถียรภาพของระบบ (Parallel Redundancy)

 

 

(c) สภาวะการทำงานปกติ โดยกำหนดให้ UPS ทั้งสองเครื่องจะแบ่งจ่ายไฟฟ้าสูงสุดเต็มพิกัดของเครื่อง UPS แต่ละเครื่อง

 รูปแสดงลักษณะการเชื่อมต่อแบบขนานกันเพื่อเพิ่มขนาดพิกัดกำลังของเครื่องสำรองไฟฟ้า (Expansion Capacity)

                ในเรื่องของจำนวนเครื่อง UPS ที่จะนำมาเชื่อมต่อร่วมกันนั้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบและความเหมาะสมในแต่ละประเภทงาน แต่โดยปกติจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้ 
                       
         - Parallel Redundancy with 2 x N Concept
          
                 ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ UPS 10 kVA รวมกันจำนวน 2 เครื่อง สำหรับจ่ายให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จะทำการออกแบบและติดตั้ง UPS สำหรับกรณีนี้ทั้งหมด จำนวน 2 x 2 = 4 เครื่อง (เพื่อรองรับกรณี UPS เกิดปัญหาหรือต้องการหยุดระบบเพื่อตรวจสอบพร้อมกันทั้ง 2 เครื่อง)

         - Parallel Redundancy with N + 1 Concept

                 ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ UPS 10 kVA รวมกันจำนวน 2 เครื่อง สำหรับจ่ายให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จะทำการออกแบบและติดตั้ง UPS สำหรับกรณีนี้ทั้งหมด จำนวน 2 + 1 = 3 เครื่อง (เพื่อรองรับกรณี UPS เครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดปัญหาหรือต้องการหยุดระบบเพื่อตรวจสอบ)

             เทคโนโลยีสำหรับ UPS ในปัจจุบัน ออกแบบให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อแบบขนานกันได้ทั้งกรณีในเครื่องเครื่องเดียวกัน เพียงการนำเครื่อง UPS ในรุ่นและในขนาดพิกัดกำลังที่เท่ากันมาเชื่อมต่อกันโดยจะมี Communication Board สำหรับการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องที่ขนานกัน เพื่อให้คุณภาพไฟฟ้าที่จ่ายออกมาจาก UPS ทั้งสองเครื่องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันมี UPS บางผลิตภัณฑ์ได้พัฒนาให้สามารถรองรับการทำงานแบบต่อขนานกันได้หลายเครื่อง และยังสามารถเชื่อมต่อกันได้ในพิกัดกำลังที่แตกต่างกันอีกด้วย

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด