เนื้อหาวันที่ : 2013-04-23 13:48:39 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4243 views

Parker Instrumentation: Process Control Product

Parker Hannifin เป็นบริษัทชั้นนำของโลก ที่ทำการผลิต ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงสำหรับอุปกรณ์เครื่องมือวัด เครื่องมือวิเคราะห์ และระบบควบคุมอัตโนมัติ ที่ได้รับการยอมรับ ในกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต ปิโตรเคมี, Oil and Gas, กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า และพลังงาน, กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือวิเคราะห์ชั้นนำต่าง ๆ, กลุ่มอุตสาหกรรมขนส่ง รวมทั้งอุตสาหกรรมการบิน, กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร


Parker Instrumentation   Process Control Product

        Parker Hannifin เป็นบริษัทชั้นนำของโลก  ที่ทำการผลิต ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงสำหรับอุปกรณ์เครื่องมือวัด เครื่องมือวิเคราะห์ และระบบควบคุมอัตโนมัติ ที่ได้รับการยอมรับ ในกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต ปิโตรเคมี, Oil and Gas, กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า และพลังงาน, กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือวิเคราะห์ชั้นนำต่าง ๆ, กลุ่มอุตสาหกรรมขนส่ง รวมทั้งอุตสาหกรรมการบิน, กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร
  

        Parker Hannifin มีตัวแทนจำหน่ายที่มีคุณภาพ เนื่องจากได้รับการอบรมอย่างสม่ำเสมอจากผู้เชี่ยวชาญของ Parker ซึ่งมีตัวแทนจำหน่ายกว่า 82,000 สาขาทั่วโลก ในประเทศไทย บริษัท อนาไลติคอล แอนด์ คอนโทรล เทคโนโลยี 2000 จำกัด (ACT 2000) เป็นตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Parker Instrumentation

ซึ่งทางบริษัทให้บริการจำหน่ายสินค้า ตลอดจนการจัดเก็บ Stock สินค้า เพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถมั่นใจได้ว่า จะได้รับการบริการสินค้าอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการให้คำปรึกษา แนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการออกแบบงานทางด้านวิศวกรรม ให้เหมาะสมกับงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
    

     ผลิตภัณฑ์ Parker ไม่ว่าจะเป็น ข้อต่อต่าง ๆ สำหรับระบบ Tube, วาล์วควบคุมต่าง ๆ, สาย Hose ท่อชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์เครื่องมือวัด เครื่องมือวิเคราะห์ และระบบควบคุมอัตโนมัติ ที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เช่น ChangeOver, Vent Master, R-Max และอื่น ๆ ได้ถูกออกแบบโดยใช้เทคโนโลยี Virtual Engineering Tools

ซึ่งเป็น Software ที่ใช้ในการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์เข้ามาช่วย ทำให้ Parker สามารถเป็นผู้นำทางด้านการคิดค้น และพัฒนาอุปกรณ์ที่มาตอบสนองความต้องการ และช่วยแก้ไขปัญหาของผู้ใช้งานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด  ผลิตภัณฑ์ Parker ถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงสุดกับผู้ใช้งาน ซึ่งได้รับการทดสอบ และยอมรับตามมาตรฐานสากลทั่วโลก เช่น DNV, ASME, Bureau Veritas, TUV, Lloyd’s register, SIRA ATEX, NORSOK และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน

 

 CPI Fitting แบบ Single Ferrule

บริษัท อนาไลติคอล แอนด์ คอนโทรล เทคโนโลยี 2000 จำกัด
    

นวัตกรรมล่าสุดของ Fitting แบบ Single Ferrule ที่ออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานแทนที่แบบ Double Ferrule ในปัจจุบัน

ความเป็นมาของ Fitting


    
  มาตรฐานของ Fitting ASTM A269 ถูกกำหนดขึ้นโดยประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งในสมัยนั้นการใช้งานเครื่องมือวัดและควบคุมจะใช้ข้อต่อแบบ Hydraulic และใช้ Pipe ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็ก ๆ เพื่อต่อระบบท่อเข้าด้วยกัน การนำ Tubing มาใช้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องจากน้ำหนักน้อยกว่า ใช้ข้อต่อน้อยกว่า และสามารถใช้งานได้ที่อัตราการไหลที่สูงกว่า ซึ่งหมายถึง สามารถใช้งานได้กับแรงดันที่สูงกว่า
    

            เมื่อในอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงใช้ Tubing เป็นพื้นฐานในการออกแบบจะมี Fitting อยู่ 2 ชนิด คือ Bite Type และ Compression Type (ซึ่งในยุคเริ่มแรกจะเป็น Double Ferrule) จนในที่สุดได้ขยายออกไปถึงอุตสาหกรรมทางด้าน Oil and Gas
    

            จนกระทั่งปี 1966 หรือประมาณ 30 ปีหลังจากมีการใช้งาน Double Ferrule มาเป็นระยะเวลานาน ได้พบปัญหาทั้งในการติดตั้ง การใช้งานปกติ และในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ต้องการความทนทานต่อการกัดกร่อนสูง ทำให้เกิดการคิดค้นออกแบบ Fitting แบบ Single Ferrule เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ของ Fitting แบบเดิม
    

            ในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเดิมมักจะใช้ Pipe ในการเชื่อมต่อ เพื่อใช้ในการผลิตในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ได้เปลี่ยนมาใช้ Tube แทน อันเนื่องมาจากข้อดีหลายประการ เช่น
- เครื่องมือ ค่าขนส่ง และค่าติดตั้งแรงงานที่ใช้ในการติดตั้งถูกกว่า เนื่องจาก Tube สามารถตัดหรือดัดได้ ไม่ต้องทำเกลียว มีความยาวต่อเส้นยาวกว่า น้ำหนักเบา

- การซ่อมบำรุงทำได้สะดวกรวดเร็ว

- ในด้านการใช้งาน การออกแบบทางวิศวกรรม Tube จะมีการสูญเสียความดันตรงข้อต่อต่าง ๆ น้อยกว่า มีโครงสร้างที่แข็งแรงกว่า และไม่มีการรั่วอย่างแน่นอน หากเลือกใช้ข้อต่อและมีการติดตั้งอย่างถูกต้องเหมาะสม
    

              จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้ข้อต่อสำหรับงาน Tube ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการออกแบบและติดตั้งที่เหมาะสม
    

 ในปัจจุบัน Fitting ที่มีใช้งานในอุตสาหกรรม โดยแบ่งตามลักษณะโครงสร้างของ Ferrule (ตาไก่ หรือปลอกโลหะภายใน) สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ

1. แบบ Double Ferrule ลักษณะโครงสร้างภายในจะมี Ferrule ที่ใช้ยึดติดกับ Tube จำนวน  2 ชิ้น ซึ่งดูลักษณะภายนอกได้จากรูปที่ 2 จะแสดงชิ้นส่วนของ Ferrule ที่จะเห็นว่ามีจำนวน 2 ชิ้นอย่างชัดเจน

2. แบบ Single Ferrule หรืออาจเรียกว่า CPI จะมี Ferrule เพียงชิ้นเดียว ซึ่งทำให้ดีข้อดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชนิดที่มีโครงสร้าง แบบ Double Ferrule ซึ่งจะได้อธิบายถึงข้อได้เปรียบทางด้านโครงสร้าง และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ดีกว่าต่อไป

 

  รูปที่ 2 แสดงโครงสร้างภายในข้อต่อแบบ Double Ferrule      

 

CPI Fitting (Single Ferrule) มีอะไรพิเศษ
   

        CPI Fitting เป็น Fitting ที่มีโครงสร้างแบบตาไก่ชั้นเดียว จะมีลักษณะเห็นที่เด่นชัดคือ มี NUT ที่เป็นสีดำ ในปัจจุบันผู้นำทางด้านงานอุตสาหกรรม และพลังงานทั้งในสหรัฐอเมริกา และยุโรป เช่น โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์, ผู้ผลิต Gas Turbine, อุตสาหกรรมการบิน รวมไปถึงงานในยานอวกาศ เจาะจงเลือกใช้ Fitting ชนิดนี้ และจะมีการใช้เพิ่มขึ้นอีกในงานที่มีการใช้ข้อต่อจำนวนมาก หรืองานที่มีลักษณะซับซ้อน
    

         ในบทความนี้ จะกล่าวถึงรายละเอียดของ CPI Fitting การวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ Fitting ชนิดนี้ มีบทบาทสำคัญต่อผู้ออกแบบ และกำหนดลักษณะสมบัติเฉพาะ ในอุตสาหกรรมในวงกว้าง รวมถึงทางด้านเคมี พลังงาน และปิโตรเคมี ข้อเท็จจริงที่ว่า Fitting แบบเดิมที่มีใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย จะมีลักษณะโครงสร้างที่มีตาไก่ภายในสองชิ้น

ทำให้เกิดข้อจำกัดทางด้านการสูญหายของชิ้นส่วน การใช้งานแบบผสมกัน มีจุดสัมผัสที่มากกว่า มีโอกาสเกิดรั่วที่มาจากการสั่นสะเทือนสูง และการรั่วที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว

ทำไม NUT ของ CPI Fitting จึงมีสีดำ


     
       Nut ที่มีสีดำนั้น เป็นสาร Molybdenum Disulfide: MoS2 เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของ Resin เป็นผงที่ติดอยู่ที่ผิวของ Nut โดยรอบ เพื่อเป็นการหล่อลื่น ซึ่งสามารถลดแรงเสียดสีได้มากกว่า Nut ปกติที่มี Silver Plate เป็นสารหล่อลื่นภายใน ทำให้การออกแรงขัน Nut ของ CPI น้อยกว่า Nut ทั่วไป นอกจากช่วยหล่อลื่นแล้ว คุณสมบัติของ MoS2

ยังสามารถรักษาคุณสมบัติหล่อลื่นภายใต้อุณหภูมิสูงถึง 700 ๐C (1,292 ๐F) ทนความร้อนได้มากกว่า Silver Plate ทำให้ปัญหาการติด หรือขันไม่ได้ของ Nut เมื่อใช้งานในงานที่มีอุณหภูมิสูง ๆ เช่น ในงานที่เกี่ยวข้องกับ Heat Stream, Boiler เป็นต้น

รูปที่ 3 แสดงโครงสร้างภายในข้อต่อแบบ Single Ferrule

ขบวนการทำ Suparcase? เพิ่มคุณค่าให้กับ CPI Fitting
     

    ในกระบวนการผลิตที่มีการกัดกร่อน เช่นในโรงงานกระดาษ, โรงงานไวนิลคลอไลด์ หรืองานที่ต้องใช้ในบริเวณที่มีสภาวะแวดล้อมที่มีการกัดกร่อนสูง เช่น งานบนแท่นขุดเจาะ, โรงงานบริเวณชายฝั่งทะเล ซึ่งต้องมีการเปลี่ยน Fitting บ่อยครั้ง ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ได้โดยกระบวนการผลิต Ferrule ของ CPI Fitting ที่เรียกว่า Suparcase? ซึ่งเป็นกระบวนการทำให้ตาไก่ (Ferrule) มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น และทนต่อการกัดกร่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีผลต่อโครงสร้างโมเลกุลพื้นฐานของวัสดุเดิม
      

         การ Suparcase? ใน CPI Fitting นั้นจะทำทั้งตัว Ferrule เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ว่าตัว Ferrule จะสัมผัสสารที่มากัดกร่อนจากบริเวณไหนก็ไม่มีผลทำให้ตัว Ferrule นั้นเปลี่ยนคุณสมบัติได้ (ถูกกัดกร่อน)

      จากรายงานที่ตอบกลับมาลูกค้า พบว่ายังไม่มีสัญญาณใด ๆ บ่งบอกว่า Fitting ที่ใช้จะมีการกัดกร่อย ในการใช้งานที่มีการกัดกร่อนสูง ๆ มานานกว่า 8 ปี

ทำไม Fitting แบบ Single Ferrule จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

- ไม่เกิดความผิดพลาดจากการใส่ชิ้นส่วนผิดพลาด เนื่องจากชิ้นส่วนประกอบน้อยกว่าแบบ Double Ferrule ซึ่งมีโอกาสประกอบชิ้นส่วนผิดได้สูงถึง 11 ใน 12 วิธี ยังส่งผลให้เวลาการติดตั้งน้อยลงอีกด้วย

- ไม่เกิดความผิดพลาดจากการใส่ชิ้นส่วนผิดพลาด เนื่องจากชิ้นส่วนประกอบน้อยกว่าแบบ Double Ferrule ซึ่งมีโอกาสประกอบชิ้นส่วนผิดได้สูงถึง 11 ใน 12 วิธี ยังส่งผลให้เวลาการติดตั้งน้อยลงอีกด้วย

- ลดอัตราการรั่วที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหัน เนื่องจาก Fitting แบบ Double Ferrule มีวัสดุตาไก่สองชิ้น ซึ่งมีการตอบสนองต่ออุณหภูมิที่ต่างกัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหัน ทำให้เกิดการเขยื้อนตัวที่ต่างกัน ส่งผลให้คุณสมบัติการจับยึด และป้องกันการรั่วลดลง

- ในงานที่มีการสั่นสะเทือนในระบบ เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับระบบปั้ม, ระบบส่งถ่ายต่าง ๆ CPI Fitting นั้นมีตาไก่ที่รับแรงสั่นสะเทือนเพียงตัวเดียว ทำให้มีการรับและถ่ายเทแรงสั่นแบบมีนัย ต่างกับ Fitting แบบ Double Ferrule ซึ่งมีตาไก่ 2 ตัว การรับการสั่นสะเทือนที่ต่างกันในชิ้นอุปกรณ์ ทำให้มีการถ่ายเทแรงสั่นแบบไม่มีรูปแบบ ซึ่งทำให้เกิดโอกาสที่ตาไก่จะสั่นจนหมด

คุณสมบัติการป้องกันการรั่ว หรือสั่นจนทำให้ท่อขาดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า
- ขบวนการทำ Suparcase ทำให้ทนการกัดกร่อนต่อสารเคมี มีความคงทนสูง

- ใช้ Molybdenum Disulfide เป็นสารหล่อลื่นช่วยให้ออกแรงขันน้อยลง ลดปัญหาการเกิดการติด หรือขันไม่ได้ของ Nut เมื่อใช้ในอุณหภูมิที่สูง

- สามารถใช้ติดตั้งแทน Fitting แบบ Double Ferrule ได้ทันที

- ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานในการออกแบบที่ป้องกันการกัดกร่อนจากสารเคมี และปัญหาในการติดตั้งจากผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมเคมี เช่น Dupont, DOW Chemical, ICI, BASF และอุตสาหกรรมชั้นนำอื่น ๆ อีกมากมาย

- ไม่เกิดความผิดพลาดจากการใส่ชิ้นส่วนผิดพลาด เนื่องจากชิ้นส่วนประกอบน้อยกว่าแบบ Double Ferrule ซึ่งมีโอกาสประกอบชิ้นส่วนผิดได้สูงถึง 11 ใน 12 วิธี ยังส่งผลให้เวลาการติดตั้งน้อยลงอีกด้วย

- ลดอัตราการรั่วที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหัน เนื่องจาก Fitting แบบ Double Ferrule มีวัสดุตาไก่สองชิ้น ซึ่งมีการตอบสนองต่ออุณหภูมิที่ต่างกัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหัน ทำให้เกิดการเขยื้อนตัวที่ต่างกัน ส่งผลให้คุณสมบัติการจับยึด และป้องกันการรั่วลดลง

- ในงานที่มีการสั่นสะเทือนในระบบ เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับระบบปั้ม, ระบบส่งถ่ายต่าง ๆ CPI Fitting นั้นมีตาไก่ที่รับแรงสั่นสะเทือนเพียงตัวเดียว ทำให้มีการรับและถ่ายเทแรงสั่นแบบมีนัย ต่างกับ Fitting แบบ Double Ferrule ซึ่งมีตาไก่ 2 ตัว การรับการสั่นสะเทือนที่ต่างกันในชิ้นอุปกรณ์ ทำให้มีการถ่ายเทแรงสั่นแบบไม่มีรูปแบบ ซึ่งทำให้เกิดโอกาสที่ตาไก่จะสั่นจนหมดคุณสมบัติการป้องกันการรั่ว หรือสั่นจนทำให้ท่อขาดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า

- ขบวนการทำ Suparcase ทำให้ทนการกัดกร่อนต่อสารเคมี มีความคงทนสูง

- ใช้ Molybdenum Disulfide เป็นสารหล่อลื่นช่วยให้ออกแรงขันน้อยลง ลดปัญหาการเกิดการติด หรือขันไม่ได้ของ Nut เมื่อใช้ในอุณหภูมิที่สูง

- สามารถใช้ติดตั้งแทน Fitting แบบ Double Ferrule ได้ทันที

- ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานในการออกแบบที่ป้องกันการกัดกร่อนจากสารเคมี และปัญหาในการติดตั้งจากผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมเคมี เช่น Dupont, DOW Chemical, ICI, BASF และอุตสาหกรรมชั้นนำอื่น ๆ อีกมากมาย  

Parker Phastite

 

 

                                  นวัตกรรมใหม่สำหรับข้อต่อในงานติดตั้งระบบท่อ ทดแทนการติดตั้งข้อต่อที่ใช้วิธีเชื่อม

 

 ความเป็นมา


     งานติดตั้งระบบท่อในปัจจุบันนั้น นอกจากการใช้ระบบ Compression Fitting หรือข้อต่อแบบขันอัดที่ใช้ตาไก่ ซึ่งได้กล่าวมาในหัวข้อก่อนหน้านี้แล้วนั้น การใช้ข้อต่อแบบเชื่อม และ Cone & Thread ยังเป็นที่นิยมในงานหลาย ๆ ประเภท ที่ข้อต่อแบบขันอัดไม่สามารถใช้งาน เช่นงานที่มีแรงดันสูง (มากกว่า 6,000 PSI/413 Bar)

     งานติดตั้งระบบท่อในปัจจุบันนั้น นอกจากการใช้ระบบ Compression Fitting หรือข้อต่อแบบขันอัดที่ใช้ตาไก่ ซึ่งได้กล่าวมาในหัวข้อก่อนหน้านี้แล้วนั้น การใช้ข้อต่อแบบเชื่อม และ Cone & Thread ยังเป็นที่นิยมในงานหลาย ๆ ประเภท ที่ข้อต่อแบบขันอัดไม่สามารถใช้งาน เช่นงานที่มีแรงดันสูง (มากกว่า 6,000 PSI/413 Bar)

และงานเฉพาะจุดที่ต้องการความปลอดภัยสูงเช่น งานใต้ทะเล, อากาศยาน, งานเรือเดินสมุทร, งานทางทหาร หรืองานที่เป็นจุดติดตั้งถาวร ไม่สามารถเข้าไป หรือยากต่อการบำรุงรักษา แต่อย่างไรก็ตามการใช้งานข้อต่อแบบเชื่อมหรือ Cone & Thread นั้นต้องอาศัย ช่างผู้ชำนาญ มีขั้นตอนการทำงาน และตรวจสอบมาก

                 ข้อต่อแบบ Cone & Thread                      

 

 ข้อต่อแบบเชื่อม

Parker Phastite คืออะไร   

 

 

 

 

      ด้วยเหตุที่งานเชื่อม และการทำ Cone & Thread นั้นมีขั้นตอนการทำงานที่ค่อนข้างยุ่งยาก และการติดตั้งที่ถูกต้องขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย (ฝีมือช่าง, สถานที่ทำงาน, อุปกรณ์ที่ใช้, มาตรฐานการตรวจสอบต่าง ๆ และอื่น ๆ) Parker จึงได้คิดค้นข้อต่อ Phastite และพัฒนาอุปกรณ์ โดยนำเทคโนโลยีการออกแบบ และกระบวนการผลิตโดยใช้เทคนิค Computer Aided Engineering (CAE) และ Finite Element Analysis (FEA) ทำให้ข้อต่อ Phastite เป็นข้อต่อที่ใช้งานง่ายสำหรับการติดตั้ง และมีความปลอดภัยสูง สามารถทนแรงดันได้ถึง 20,000 PSI
    

 ข้อต่อ Phastite ได้ผ่านการทดสอบคุณสมบัติหลาย ๆ อย่าง เพื่อเป็นมาตรฐาน และเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เช่น

 Gas Testing: ตามมาตราฐาน ISO 19879 การทดสอบจุด Seal ต่าง ๆ ด้วยแก๊สไนโตรเจน และ/หรือฮีเลียม ที่แรงดัน 1,500 PSI (100Bar)
  

Helium Vacuum Test: Phastite สามารถแสดงถึงความสามารถในการ Seal ที่ดี ซึ่งสามารถวัดอัตรา Leak Rate ได้ต่ำกว่า 1 x 10-9 cc Atm/sec.

Combined Pulsation and Vibration: ตามมาตรฐาน ISO 19879 และ BS 4368 ที่การทดสอบแรงสั่นสะเทือนที่ความถี่ระหว่าง 23 ถึง 47 Hz เป็นจำนวน 20 ล้านรอบ ไม่พบว่ามีรอยรั่วใด ๆ เกิดระหว่างการทดสอบ
    

 Hydrostatic Burst Test: Phastite ได้รับการทดสอบรับแรงดัน โดยผ่านถูกออกแบบให้มีค่า Safety Factor ที่ 4:1 หรือ 4 เท่าที่แรงดันทำงานสูงสุด
     และการทดสอบอื่น ๆ อีกมากมายเช่น Shock Test, Termal Cycling Test, Pull Test, Rotation Test, Fire Test, Deflection Test, etc.

 

                          รูปแสดงการทดสอบ Shock Test        

 

 

รูปแสดงการทดสอบ Vibration Test

 ยิ่งไปกว่านั้น Phastite ยังได้รับการยืนยันมาตรฐานความปลอดภัยจาก Lloyd’s Register อีกด้วย


ทำไม Parker Phastite จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
  

     ข้อต่อ Phastite เพิ่มความรวดเร็ว สะดวก และง่ายในการติดตั้งข้อต่อเมื่อเทียบกับเวลา และอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมในการเชื่อมต่อด้วยแก๊ส หรือการทำ Cone & Thread วิธีเดิม ด้วยการออกแบบมาโดยเฉพาะทำให้ขั้นตอนการทำการติดตั้งง่าย และสามารถมั่นใจได้ว่าข้อต่อที่ได้จะไม่มีการรั่วซึมเกิดขึ้น (100% Leak-Free) จึงไม่เสียเวลาในการตรวจสอบ และประกอบใหม่

อีกทั้งการอุปกรณ์ติดตั้งถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ทันที ถูกต้องและแน่นอนทุกครั้งที่ใช้ ลดปัญหาการติดตั้งไม่ถูกต้อง หรือขาดความชำนาญของผู้ติดตั้งได้

  ข้อต่อ Phastite เพิ่มความรวดเร็ว สะดวก และง่ายในการติดตั้งข้อต่อเมื่อเทียบกับเวลา และอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมในการเชื่อมต่อด้วยแก๊ส หรือการทำ Cone & Thread วิธีเดิม ด้วยการออกแบบมาโดยเฉพาะทำให้ขั้นตอนการทำการติดตั้งง่าย และสามารถมั่นใจได้ว่าข้อต่อที่ได้จะไม่มีการรั่วซึมเกิดขึ้น (100% Leak-Free)

จึงไม่เสียเวลาในการตรวจสอบ และประกอบใหม่ อีกทั้งการอุปกรณ์ติดตั้งถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ทันที ถูกต้องและแน่นอนทุกครั้งที่ใช้ ลดปัญหาการติดตั้งไม่ถูกต้อง หรือขาดความชำนาญของผู้ติดตั้ง

 กราฟแสดงถึงค่าใช้จ่ายที่ลดลงเมื่อเทียบ Phastite กับการติดตั้งแบบเชื่อม และ Cone & Thread

   ข้อดีของ Parker Phastite


- การติดตั้งที่ง่าย และรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึงนาที

- อุปกรณ์ติดตั้งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งได้ถูกต้องแรกใช้

- ไม่ต้องมีการแก้งาน หรือ Re-work ใด ๆ

- ไม่ต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม เช่น X-ray หรือ Dye-penetration

- ไม่มีค่าใช้จ่ายกับสินค้าอื่น ๆ เช่นเดียวกับงานเชื่อม เช่น ลวดเชื่อม หรือ น้ำยาหล่อลื่นต่าง ๆ

- จุดติดตั้งมีความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ดีกว่า 

- ไม่มีผลทำให้จุดติดตั้งไม่เปราะบาง เนื่องจากความร้อนจากงานเชื่อม หรือจากการทำเกลียว

- ไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงาน (No Hot  Work Permitted Required)

- ทนต่อแรงกระทำภายนอกได้ดี โดยเฉพาะแรงสั่นสะเทือนระดับสูง หรือการงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบ่อยครั้ง

- สามารถใช้ท่อที่มีความหนาน้อยกว่าได้เพื่อตอบรับแรงดันที่เท่ากัน เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงความหนาของท่อเกิดขึ้นขณะติดตั้ง จึงทำให้น้ำหนักโดยรวมของระบบน้อยลงด้วย


Pressure Regulator Valve วาล์วปรับแรงดัน


หน้าที่ของอุปกรณ์ปรับความดัน


     Pressure Regulator ทำหน้าที่ปรับความดันแก๊สจากก๊าซที่มีความดันสูงให้เป็นแก๊สที่มีความดันต่ำ และรักษาระดับความดันแก๊สให้คงที่ Pressure Regulator จะมีส่วนประกอบหลัก ๆ อธิบายได้ตามรูป 2.1 ดังนี้

 

รูปแสดงส่วนประกอบภายในของ Pressure Regulator (Parker Veriflo Regulator)

       โดยการทำงานของ Pressure Regulator นั้นจะใช้หลัก “สมดุลของแรง” (Force Balance) ซึ่งสามารถอธิบายตามภาพด้านล่างนี้

 

 

     จากรูปจะแสดงให้เห็นว่า แรงที่เกิดขึ้นจะมาจาก 3 แหล่งคือ

1. แรงที่มาจากสปริงด้านบน (Range Spring)
2. แรงที่เกิดจาก Poppet Spring
3. แรงที่มาจากแรงดันขาเข้า (Pressure Inlet)
    

           โดยแรงทั้งหมดจะมาเจอกันที่ช่องว่างภายใน Regulator (Internal Volume/Space) โดยมีแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) คอยควบคุมสมดุลอยู่ แรงที่ได้จากการกดของสปริงด้านบน (Range Spring) จะมากดต้านแรงจากตัว Poppet Spring และแรงที่มาจากแรงดันขาเข้า (Inlet Pressure) ที่ดันตัว Poppet อยู่ เพื่อให้ตัว Poppet นั้นเคลื่อนตัวออกจากที่นั่ง (Seat/Internal Seat)

ทำให้เกิดช่องว่าให้แก๊สสามารถไหลผ่านจากด้านขาเข้า ไปด้านขาออกได้ เมื่อแรงทั้งหมดนี้อยู่ในสภาวะสมดุล แรงดันขาออก (Outlet Pressure) ก็จะถูกจ่ายออกจากตัว Regulator ด้วยค่าคงที่ โดยมีแผ่นไดอะแฟรมจะคอยขยับเป็นเพื่อเป็นตัวช่วยให้แรงดันขาออกนั้นมีความราบเรียบมากขึ้น (Smooth) ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงกับแรง ๆ ทั้ง 3 แรงข้างต้น

Regulator ที่เหมาะกับงานวิเคราะห์ และควบคุมเป็นอย่างไร
    

      ถึงแม้หลักการทำงานของ Pressure Regulator จะมีพื้นฐานที่คล้ายกัน แต่การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกันทำให้ประสิทธิภาพของ Regulator นั้นต่างกัน Parker Veriflo เป็นหนึ่งในผู้ผลิต Pressure Regulator ที่มองเห็นถึงความต้องการของผู้ใช้งานในส่วนของงานผลิต ควบคุม และวิเคราะห์ ซึ่งการออกแบบในแต่ละส่วนนั้น ได้ถูกออกแบบมาเพื่อมารองรับความต้องการต่าง ๆ ดังตัวอย่างในตารางนี้

 

- หากมีข้อสงสัยในการเลือกใช้อุปกรณ์ สามารถติดต่อทางตัวแทนได้โดยตรงเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

 


ChangeOver System
 

        อุปกรณ์ที่ช่วยจัดการ การใช้งานแก๊สจากแหล่งจ่าย ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้แก๊สจากแหล่งจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง ลดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
    

 

 

 

ChangeOver ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างไร


- ช่วยจัดการเปลี่ยนแหล่งจ่ายจากแหล่งจ่ายแก๊ส สองแหล่งอย่างอัตโนมัติ ทำให้ระบบสามารถทำงานอย่างต่อเนื่องได้โดยไม่สะดุด

- ลดเวลา Downtime ให้น้อยลง ChangeOver สามารถรักษาอัตราการไหลให้คงที่ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น

- หมดปัญหาเรื่องแก๊สหมดไม่เป็นเวลา ChangeOver ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวางแผนการเปลี่ยนถ่ายถังแก๊สได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

- ตัดปัญหาเรื่องการใช้แก๊สเหลือ หรือการใช้แก๊สไม่เต็มที่จากถัง ChangeOver สามารถใช้แก๊สจากถังได้อย่างเต็มที่ก่อนที่จะเปลี่ยน

- ด้วยการออกแบบ และใช้อุปกรณ์คุณภาพภายใน ChangeOver สามารถลดปัญหาสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในตัวอุปกรณ์ หรือจากการเปลี่ยนถ่ายถังได้ดีกว่าระบบอื่น ๆ

- เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน รวมอุปกรณ์เข้าไว้ในจุดเดียว ง่ายต่อการควบคุม และดูแลของผู้ใช้งาน

     ChangeOver ทำงานอย่างไร

     


     
            ChangeOver เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยจัดการแก๊สจากแหล่งจ่ายสองแหล่งจ่าย โดยสามารถเปลี่ยนไปแหล่งจ่ายแก๊สแหล่งที่สองได้ทันทีโดยอัตโนมัติเมื่อแหล่งจ่ายแหล่งแรกหมด โดยยังสามารถรักษาระดับแรงดัน และอัตราการไหลให้คงที่ได้ และด้วยการใช้งานแก๊สอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถคาดการณ์การเปลี่ยนถังแก๊สได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
 

          อุปกรณ์ ChangeOver ถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุม และจัดการแก๊สได้ในจุดเดียว ซึ่งรวมอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ด้วยกัน ทั้งวาล์ว ปิด-เปิดที่เป็นแบบ Diaphragm วาล์วซึ่งลดการสะสมของสิ่งสกปรกในวาล์วได้ดีกว่า Ball วาล์วทั่วไป Regulator คุณภาพสูงจาก Parker Veriflo อีกทั้งตัวโครงสร้างแบบปิด ที่ช่วยป้องกันอุปกรณ์ภายในเพื่อยืดอายุการใช้งาน แต่ยังคงไว้ซึ่งความสะดวกในการบำรุงรักษาด้วยการมีช่อง Service จากด้านข้าง ซึ่งเป็นการออกแบบเฉพาะ ที่ลงตัวทั้งเรื่องการใช้งาน และความสวยงาม


 รูปแสดงตัวอย่างการติดตั้งใช้งานจริง 

Parker Vent Master

       


     อุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมแรงดันในท่อ Vent Header ในงานวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้เครื่องวิเคราะห์สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 ความเป็นมา
     

     ในการทำงานที่ถูกต้องของเครื่องวิเคราะห์ เครื่องวิเคราะห์จะต้องถูกสอบเทียบ (Calibrate) และใช้งานที่สภาวะแวดล้อมเดียวกัน โดยตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อุณหภูมิ, อัตราการไหล และแรงดัน โดยจะขึ้นอยู่กับค่าแรงดันของ Measurement Cell ซึ่งโดยปกติการสอบเทียบ เครื่องวิเคราะห์จะปล่อยของเสียออกสู่บรรยากาศ ในการเลือกปล่อยออกสู่บรรยากาศนอกจากจะสะดวกแล้ว ความดันบรรยากาศยังให้ค่าแรงดันที่ค่อนข้างคงที่ด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่า Measurement Cell จะขึ้นอยู่กับแรงดันบรรยากาศที่มีอยู่ในขณะนั้น
    

   โดยปกติในการปฏิบัติงานจริงเครื่องวิเคราะห์จะปล่อยของเสีย หรือตัวอย่างที่วิเคราะห์แล้วออกมารวมกันที่ Vent Header ซึ่ง Vent Header จะถูกต่อออกไปยังบรรยากาศ (ทั้งโดยตรง หรือผ่านทาง Flare), กลับเข้าไปยังกระบวนการ (Process) หรือเข้าไปยังเตาเผา ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการปล่อยออกที่ใด แรงดันปลายทางอาจมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น การปล่อยออก Flare นั้นในวันที่มีความกดอากาศสูง โอกาสที่แรงดันจะขึ้นถึง 20 PSI หรือมากกว่านั้น หรือที่เรียกว่าแรงดันย้อนกลับ (Back Pressure) จนทำให้เครื่องวิเคราะห์ไม่สามารถวิเคราะห์ผลได้
    

   ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแรงดันแบบไม่แน่นอนนี่เอง เป็นผลทำให้เครื่องวิเคราะห์ที่ถูกสอบเทียบมาที่แรงดันค่าคงที่ค่าหนึ่ง มีผลวิเคราะห์ที่ผิดพลาดเกิดขึ้น ทำให้เกิดผลเสียหายต่อกระบวนการผลิต และอาจส่งผลถึงการทำงานของทั้งระบบ
    

    อุปกรณ์ Vent Master จึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยทำหน้าที่ควบคุมแรงดันใน Vent Header ให้คงที่ตลอดเวลาไม่ว่าผลของแรงดันย้อนกลับ (Back Pressure) จะเปลี่ยนแปลงก็ตาม
    

     ปัจจุบัน Vent Master ในความเชื่อถือให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานในโรงงานชั้นนำทั่วโลก และเป็นที่ยอมรับในโรงงานหลายแห่งในเมืองไทยอีกด้วย
    

         Vent Master ถูกออกแบบโดยไม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้า จึงสามารถใช้งานในพื้นที่อันตรายได้ทันที

 
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
บริษัท อนาไลติคอล แอนด์ คอนโทรล เทคโนโลยี 2000 จำกัด
Head Office: 46/87 ซ.นวลจันทร์ 31 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230
โทรศัพท์ 0-2944-4748 โทรสาร 0-2944-5854
Parker Store: 267/21-22 ถ.เมืองใหม่ ต.มาบตาพุต จ.ระยอง 21150
โทรศัพท์ 0-3860-7747-8 โทรสาร 0-3860-7748
E-mail:
actc@ksc.th.com
http://www.actcom2000.com, www.parkerstorethailand.com


    

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด