ท่วมยังแก เป็นคำทักทายยอดฮิตติดปากคนไทยโดยเฉพาะชาวกรุงเทพในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจากมหาอุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในรอบหลายสิบปีของประเทศ จากวิกฤติที่นำมาซึ่งความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากมาย
การจัดการโซ่อุปทานกับการบรรเทาภัยพิบัติ
ดร.อัศม์เดช วานิชชินชัย
assadej_v@yahoo.com
ผู้อำนวยการหลักสูตร Ph.D. and MS. in Logistics and Supply Chain Management ม.ศรีปทุม ที่ปรึกษาตัวอย่างแห่งปี 2553 กระทรวงอุตสาหกรรม
โอกาสในวิกฤติกับวิกฤติในโอกาส
“ท่วมยังแก” เป็นคำทักทายยอดฮิตติดปากคนไทยโดยเฉพาะชาวกรุงเทพในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจากมหาอุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในรอบหลายสิบปีของประเทศ จากวิกฤติที่นำมาซึ่งความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากมายแล้ว สังคมไทยยังมีโอกาสได้เรียนรู้และสร้างสรรค์อะไร ๆ อีกหลายอย่าง เราได้แสดงความสามารถในการวิจัยค้นคว้านวัตกรรมแบบบ้าน ๆ ที่ใช้งานได้จริง เช่น อุปกรณ์ห่อหรือเคลื่อนย้ายรถยนต์ เสื้อชูชีพแบบต่าง ๆ ส้วมเคลื่อนที่สารพัดรุ่น รถสะเทินน้ำสะเทินบก ฯลฯ รวมถึงนวัตกรรมที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ เช่น น้ำดันน้ำ เรือดันน้ำ ฯลฯ
“ท่วมยังแก” เป็นคำทักทายยอดฮิตติดปากคนไทยโดยเฉพาะชาวกรุงเทพในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจากมหาอุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในรอบหลายสิบปีของประเทศ จากวิกฤติที่นำมาซึ่งความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากมายแล้ว สังคมไทยยังมีโอกาสได้เรียนรู้และสร้างสรรค์อะไร ๆ อีกหลายอย่าง เราได้แสดงความสามารถในการวิจัยค้นคว้านวัตกรรมแบบบ้าน ๆ ที่ใช้งานได้จริง เช่น อุปกรณ์ห่อหรือเคลื่อนย้ายรถยนต์ เสื้อชูชีพแบบต่าง ๆ ส้วมเคลื่อนที่สารพัดรุ่น รถสะเทินน้ำสะเทินบก ฯลฯ รวมถึงนวัตกรรมที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ เช่น น้ำดันน้ำ เรือดันน้ำ ฯลฯ
“ท่วมยังแก” เป็นคำทักทายยอดฮิตติดปากคนไทยโดยเฉพาะชาวกรุงเทพในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจากมหาอุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในรอบหลายสิบปีของประเทศ จากวิกฤติที่นำมาซึ่งความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากมายแล้ว สังคมไทยยังมีโอกาสได้เรียนรู้และสร้างสรรค์อะไร ๆ อีกหลายอย่าง เราได้แสดงความสามารถในการวิจัยค้นคว้านวัตกรรมแบบบ้าน ๆ ที่ใช้งานได้จริง เช่น อุปกรณ์ห่อหรือเคลื่อนย้ายรถยนต์ เสื้อชูชีพแบบต่าง ๆ ส้วมเคลื่อนที่สารพัดรุ่น รถสะเทินน้ำสะเทินบก ฯลฯ รวมถึงนวัตกรรมที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ เช่น น้ำดันน้ำ เรือดันน้ำ ฯลฯนอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ว่าเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำแห่งนี้มีความรู้เรื่องการจัดการน้ำและและจัดการภัยพิบัติน้อยกว่าที่ควรจะเป็นมาก การคาดการณ์หรือความคิดเห็นในการรับมือกับน้ำของเหล่านักวิชาการหรือผู้รับผิดชอบกับสถานการณ์นี้หลายท่านที่ออกมาแสดงทัศนะผ่านสื่อต่าง ๆ ก็ไม่ค่อยแม่นยำสักเท่าไร ทั้งนี้การจ่ายค่าเล่าเรียนให้กับครูน้ำครั้งนี้คงไม่สูญเปล่าหากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศได้นำบทเรียนที่แสนจะเจ็บปวดครั้งนี้มาล้อมคอกทบทวนเพื่อหาวิธีการป้องกันปัญหาดังกล่าวรวมถึงภัยพิบัติอื่น ๆ ไม่ให้เกิดซ้ำหรืออย่างน้อยก็บรรเทาให้มีความเสียหายน้อยที่สุด
ในการจัดการกับวิกฤติน้ำครั้งนี้มีมุมมองของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน ฯลฯ โดยส่วนตัวผมแบ่งปัญหาในครั้งนี้เป็นสองกลุ่มหลัก ได้แก่
1) ปัญหาด้านการจัดการเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Management) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบภัยหลังเกิดเหตุแล้วเป็นหลัก
2) ปัญหาด้านวิศวกรรมน้ำ (Water Engineering) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกักเก็บและระบายน้ำเป็นหลักซึ่งเป็นทั้งการป้องกันและบรรเทาปัญหา
ปัญหาทั้งสองกลุ่มมีมุมมองที่เกี่ยวข้องและสามารถใช้ศาสตร์ด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Engineering) และด้านการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) มาช่วยในการวิเคราะห์ แก้ไข หรือบรรเทาสถานการณ์ได้ ทั้งนี้การวิเคราะห์และแก้ปัญหาในระดับมหภาคของสถานการณ์ที่รุนแรงเช่นนี้ย่อมต้องการการศึกษาข้อมูลเชิงลึกแบบบูรณาการจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และต้องการองค์ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมากมายมากกว่าจะใช้เพียงแค่ความรู้สึกได้
บทความจึงเพียงใช้ทฤษฏีและหลักการที่เกี่ยวข้องอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกับการแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ครั้งนี้ในทางปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปในการทำงานจริง ว่าทำไมจะต้องจัดการกับปัญหาด้วยวิธีการนั้น ๆ และชี้ให้เห็นโอกาสในการนำศาสตร์นี้มาประยุกต์ใช้ในการจัดการกับปัญหาอุทกภัยรวมถึงภัยพิบัติอื่น ๆ ทั้งจากธรรมชาติและจากน้ำมือมนุษย์
(เช่น ภัยจากสงคราม การก่อการร้าย จลาจล ฯลฯ) ที่จะต้องเกิดขึ้นอีกในอนาคต (หลายหลักการได้ถูกนำไปปฏิบัติแล้ว) ด้วยตรรกะพื้นฐานทั่วไป โดยไม่ได้ฟันธงหรือคอนเฟิร์มความสัมฤทธิ์ผลในการนำไปปฏิบัติจริงที่จะมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น งบประมาณ การเมือง สังคม ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย
การจัดการเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Management)
ปัญหาภัยพิบัติแบบจัดหนักจากธรรมชาติลงโทษ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุ ฯลฯ มีแนวโน้มบ่อยและรุนแรงมากขึ้นทั่วโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงมีความพยายามในการนำหลักการการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเข้ามาช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบภัยมากขึ้นจนเกิดเป็นสาขาวิชาย่อยใหม่ เรียกว่า การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อมนุษยธรรมธรรม (Humanitarian Logistics and Supply Chain Management)
ปัญหาภัยพิบัติแบบจัดหนักจากธรรมชาติลงโทษ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุ ฯลฯ มีแนวโน้มบ่อยและรุนแรงมากขึ้นทั่วโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงมีความพยายามในการนำหลักการการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเข้ามาช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบภัยมากขึ้นจนเกิดเป็นสาขาวิชาย่อยใหม่ เรียกว่า การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อมนุษยธรรมธรรม (Humanitarian Logistics and Supply Chain Management)
ปัญหาภัยพิบัติแบบจัดหนักจากธรรมชาติลงโทษ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุ ฯลฯ มีแนวโน้มบ่อยและรุนแรงมากขึ้นทั่วโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงมีความพยายามในการนำหลักการการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเข้ามาช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบภัยมากขึ้นจนเกิดเป็นสาขาวิชาย่อยใหม่ เรียกว่า การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อมนุษยธรรมธรรม (Humanitarian Logistics and Supply Chain Management)ปัญหาภัยพิบัติแบบจัดหนักจากธรรมชาติลงโทษ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุ ฯลฯ มีแนวโน้มบ่อยและรุนแรงมากขึ้นทั่วโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงมีความพยายามในการนำหลักการการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเข้ามาช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบภัยมากขึ้นจนเกิดเป็นสาขาวิชาย่อยใหม่ เรียกว่า การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อมนุษยธรรมธรรม (Humanitarian Logistics and Supply Chain Management)
- Material Flow
หลักการทั่วไปของวิศวกรรมโลจิสติกส์สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อบรรเทาทุกข์จากภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ ตัวอย่างเช่น การออกแบบระบบและโครงข่ายในการจัดหา (Procurement) ทรัพยากรต่าง ๆ ที่ต้องการในการรับมือกับภัยพิบัติ เช่น ถุงยังชีพ เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ การจัดเก็บถุงยังชีพในสถานที่จัดเก็บ ณ จุดต่าง ๆ (Inventory and Warehouse Management) รวมถึงการกระจาย (Distribution) ถุงยังชีพและทรัพยากรต่าง ๆ ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแต่ละพื้นที่ด้วยวิธีการขนส่ง (Transportation) รูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วด้วยต้นทุนที่ต่ำ กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมพื้นฐานของระบบโลจิสติกส์ที่เห็นกันได้ง่ายและมีความชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วจึงไม่ขอกล่าวถึงมากนักในบทความนี้
- Information Flow
ผมได้เน้นใน [1] ว่าในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานนั้น Information Flow (หรืออุปสงค์) นั้นต้องมาก่อน Material Flow (อุปทาน) เสมอ หาก Information (อุปสงค์) ผิด Action ในการขับเคลื่อน Material (อุปทาน) ก็จะผิดตามไปด้วย ในปัญหาอุทกภัยครั้งนี้ตามหลักการของการจัดการโซ่อุปทานนั้น Action ในการขับเคลื่อนถุงยังชีพ หรือ Material ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพข้างต้นจำเป็นจะต้องมีข้อมูล หรือ Information (เช่น ฐานข้อมูลจำนวนผู้ประสบภัยในแต่ละพื้นที่) ที่ถูกต้องและครบถ้วนก่อน ตั้งแต่สถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดในปี 2553 รวมถึงครั้งล่าสุด หลายครั้งเรามักได้ยินข่าวว่าในบางพื้นที่มีผู้มีจิตอาสาแห่กันเข้าไปบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยมากจนเกินความจำเป็น (Overstock) โดยเฉพาะในกรณีที่พื้นที่นั้นเข้าถึงง่ายหรือกำลังเป็นข่าวออกโทรทัศน์อยู่ ในขณะที่บางพื้นซึ่งมักจะเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยากหรือไม่ตกเป็นข่าวกลับถูกละเลยไม่ได้รับการช่วยเหลือเท่าที่ควร (Shortage)
ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ผู้ที่ต้องการช่วยเหลือหรือบรรดาจิตอาสาทั้งหลายไม่ได้สื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ (Communication) ทำให้ไม่เห็นภาพรวมของทั้งโซ่อุปทาน จึงให้การช่วยเหลือแบบตาบอดคลำช้าง ใครใคร่ช่วยอะไร ที่ไหน อย่างไรก็ช่วยกันไป ขาดการประสานงาน (Coordination) แบ่งกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยแต่ละพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่หรือจิตอาสาซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นซัพพลายเออร์ (Supplier) แต่ละรายรีบ Action ส่งหรือบริจาค Material (หรือ Supply) ไปก่อนโดยไม่ได้รับ Information (หรือ Demand) ที่ครบถ้วนสมบูรณ์จากลูกค้า (Customer) ซึ่งก็คือผู้ประสบภัยในแต่ละพื้นที่นั่นเอง
ในเบื้องต้นปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการรวมศูนย์ข้อมูล (Data Centralization) แบบบูรณาการโดยให้ข้อมูลความต้องการความช่วยเหลือ (Demand) และทรัพยากร (Supply) ทั้งหมดในพื้นที่ต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลเดียวให้ได้มากที่สุดเพื่อให้สามารถมองภาพรวมของปัญหาทั้งหมดแบบบูรณาการได้ ศูนย์นี้ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และตัดสินใจสั่งการ (Communication) ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมกัน (Coordination) จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดในสถานการณ์เช่นนี้เข้าไปช่วยเหลือยังพื้นที่ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามความหนักเบาของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้การรวมศูนย์อาจรวมเพียงศูนย์ข้อมูล (Information) ให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกันในขณะที่สิ่งของบริจาค (Material) อาจกระจายเก็บในพื้นที่ต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้จุดบริจาคเพื่อความลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งก็ได้
การตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม หรือ ศปภ. ขึ้นมาเป็นเป็นศูนย์บัญชาการในการสั่งการแก้ปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ถือเป็นการรวมศูนย์ข้อมูลและอำนาจตามหลักการข้างต้น ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ดีกว่าการแก้ปัญหาน้ำท่วมครั้งที่ผ่าน ๆ มา และน่าจะทำให้การบริหารจัดการต่าง ๆ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่น่าเสียดายที่ในการทำงานจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น ทั้งนี้ไม่ใช่หมายความว่าหลักการดังกล่าวไม่ถูกต้อง แต่อาจเนื่องจากปัจจัยอื่นมากกว่า เช่น การใช้คนไม่เหมาะกับงาน และการขาดประสบการณ์และทักษะในการบริหารจัดการปัญหาขนาดใหญ่แบบบูรณาการ รวมถึงปัญหาทางการเมือง ฯลฯ จนถูกเด็กแนวแซวให้ความหมายของ ศปภ. ไปต่าง ๆ นานา เช่น ศูนย์ไร้ประสิทธิภาพในการป้องกันภัยน้ำท่วม ศูนย์ปกปิดข้อมูลภัยภิบัติแห่งชาติ ศูนย์ปฏิบัติการก่อภัยแห่งชาติ ฯลฯ
การให้ Information ที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ประสบภัยสามารถ Action ถูกต้องด้วย ในสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้มีผู้ประสบภัยจำนวนมากที่ไม่ได้เสียชีวิตเนื่องจากจมน้ำ หากแต่เสียชีวิตเนื่องจากการไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารหรือความรู้ที่ควรจะทราบ เช่น วิธีการระวังภัยจากไฟรั่ว ทำให้ผู้ประสบภัยปฏิบัติตนไม่ถูกต้องจนมีผู้เสียชีวิตจากการถูกไฟดูดมากกว่าร้อยราย นอกจากนี้การสื่อสารให้ข้อมูลความรู้ที่ประชาชนควรจะทราบเพื่อให้สามารถเตรียมรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป เช่น การเตือนภัยน้ำท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ล่วงหน้า ข้อควรปฏิบัติในการอพยพ ฯลฯ ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพและไม่น่าเชื่อถือเท่าที่ควรจนถูกเหน็บแนมว่าหากรัฐบาลบอกว่า “เอาอยู่” ไหม
- Partnership
ความพร้อมของทรัพยากรก็มีความสำคัญยิ่งต่อการจัดการและรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ ดังนั้นการมีทรัพยากรที่จำเป็น เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องปั่นไฟ เรือ รถ เครื่องจักรขนาดใหญ่ ยา รวมถึงสต็อกเครื่องอุปโภคบริโภค และกำลังเจ้าหน้าที่ ฯลฯ ไม่เพียงต่อการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติก็ถือเป็นปัญหาหลักอย่างหนึ่ง ทั้งนี้การเตรียมทรัพยากรดังกล่าวล่วงหน้าเพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่นาน ๆ เกิดขึ้นแบบกะทันหันไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าเช่นนี้ก็ทำให้เกิดต้นทุนการจัดเก็บสต็อกทรัพยากรนั้น ๆ (Cost) ในช่วงที่ยังไม่เกิดเหตุซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรเช่นกัน การคิดและเตรียมทรัพยากรไว้ใช้ให้เผื่อเหลือดีกว่าเผื่อขาดจึงอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด แต่พอเหตุเกิดขึ้นแล้วและเรามีทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการรับมือกับสถานการณ์ (Service Level) ก็มักจะนำมาซึ่งความทุกข์และความเสียหายอย่างมหาศาล ดังนั้นเราจะมีแนวทางในการจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างไร
การจัดการโซ่อุปทานระดับสูงนั้นเน้นเรื่องการจัดการสัมพันธภาพ (Relationship-based) มากกว่าการขนย้ายสิ่งของ (Transaction-based) หากมีการจัดการสัมพันธภาพและสร้างความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) ในโซ่อุปทานที่ดีแล้วเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นอย่างคิดไม่ถึงเราก็จะสามารถระดมขอความช่วยเหลือหรือยืมทรัพยากรต่าง ๆ ข้างต้นจาก
พันธมิตรทุกรายในโซ่อุปทานตามแนวทางของ Distributor Integration เช่น ขอความช่วยเหลือจากจังหวัดอื่น หรือแม้กระทั่งประเทศอื่นที่ไม่ได้ประสบปัญหาพร้อมกันได้ วันนี้เราเดือดร้อนเพื่อนก็มาช่วยเรา วันหน้าเพื่อนเดือดร้อนเราก็กลับไปช่วยเพื่อน ไม่ต้องไปอวดดี ยโส กลัวเรื่องการเสียศักดิ์ศรีหรือภาพลักษณ์ ในมหาอุทกภัยครั้งนี้เรามีการขอและระดมความช่วยเหลือจากจังหวัด และประเทศอื่น ๆ ในระดับหนึ่ง ในสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติในหลายประเทศก่อนหน้านี้ บางประเทศรีบประกาศขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่น ในขณะที่บางประเทศกลับปฏิเสธความช่วยเหลือที่เพื่อนหยิบยื่นให้อย่างสิ้นเชิง (ผู้นำที่ปฏิเสธความช่วยเหลือมักไม่ได้เป็นผู้ประสบภัยและร่วมเดือดร้อนกับชาวบ้าน)
การร่วมด้วยช่วยกันหรือใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource Sharing) ระหว่างสมาชิกสามารถช่วยให้ต้นทุนจัดเก็บสต็อกทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการรับมือกับภัยพิบัติต่ำลงในขณะที่มีระดับการบริการหรือความสามารถในการบรรเทาทุกข์ของพันธมิตรในโซ่อุปทานทุกรายโดยรวมสูงขึ้น
สัมพันธภาพที่ดีนำมาซึ่งความเป็นหุ้นส่วนและความไว้วางใจ (Trust) ซึ่งกันและกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโซ่อุปทาน และความไว้วางใจจะนำมาซึ่งการสื่อสารและประสานงาน (Communication & Coordination: C&C) อย่างมีประสิทธิภาพอันจะนำมาซึ่งต้นทุนที่ต่ำ (Cost) และระดับบริการที่สูง (Service Level) ฉันใด ความหวาดระแวงและขัดแย้งระหว่าง ศปภ. และ กทม. ในช่วงที่ผ่านมาก็นำมาซึ่งความด้อยประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา และผู้รับเคราะห์ก็คือประชนชนผู้ประสบภัยฉันนั้น จากสถานการณ์ที่ผ่านมาประชาชนจำนวนมากยังศรัทธาและให้ความไว้วางใจในความช่วยเหลือที่ได้รับจากหน่วยงานเอกชนบางแห่งมากกว่าภาครัฐด้วยซ้ำ
วิศวกรรมน้ำ (Water Engineering)
ปัญหาด้านวิศวกรรมน้ำซึ่งเน้นเรื่องการควบคุมปริมาณและทิศทางน้ำเป็นหลักนั้นมีความเกี่ยวข้องกับสาขาต่าง ๆ ทางวิศวกรรม เช่น วิศวกรรมแหล่งน้ำ โยธา สำรวจ เครื่องกล ฯลฯ แต่ก็ยังมีมุมมองของวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานแฝงอยู่ด้วย
ปัญหาด้านวิศวกรรมน้ำซึ่งเน้นเรื่องการควบคุมปริมาณและทิศทางน้ำเป็นหลักนั้นมีความเกี่ยวข้องกับสาขาต่าง ๆ ทางวิศวกรรม เช่น วิศวกรรมแหล่งน้ำ โยธา สำรวจ เครื่องกล ฯลฯ แต่ก็ยังมีมุมมองของวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานแฝงอยู่ด้วย
ปัญหาด้านวิศวกรรมน้ำซึ่งเน้นเรื่องการควบคุมปริมาณและทิศทางน้ำเป็นหลักนั้นมีความเกี่ยวข้องกับสาขาต่าง ๆ ทางวิศวกรรม เช่น วิศวกรรมแหล่งน้ำ โยธา สำรวจ เครื่องกล ฯลฯ แต่ก็ยังมีมุมมองของวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานแฝงอยู่ด้วยปัญหาด้านวิศวกรรมน้ำซึ่งเน้นเรื่องการควบคุมปริมาณและทิศทางน้ำเป็นหลักนั้นมีความเกี่ยวข้องกับสาขาต่าง ๆ ทางวิศวกรรม เช่น วิศวกรรมแหล่งน้ำ โยธา สำรวจ เครื่องกล ฯลฯ แต่ก็ยังมีมุมมองของวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานแฝงอยู่ด้วย
- Material Flow
มุมมองของวิศวกรรมโลจิสติกส์โดยทั่วไปเน้นเรื่องการจัดหา จัดเก็บ และจัดส่ง ในบริบทของมหาอุทกภัยครั้งนี้ น้องน้ำก็เปรียบได้กับสินค้าคงคลัง (Inventory) ที่ถูกเก็บอยู่ในคลังสินค้า (Warehouse) ซึ่งก็คือเขื่อนที่ต้องมีการรับจ่ายและเก็บสต็อกน้ำเอาไว้ในปริมาณที่เหมาะสม หากเราเก็บน้ำไว้น้อยเกินไปก็จะทำให้ระดับการบริการไม่ดี (Service Level) คือมีน้ำไม่พอใช้ ในขณะที่หากเก็บไว้มากเกินไปก็จะเกิดต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Cost) หรือน้ำท่วม ดังนั้นจึงต้องมีการพยากรณ์ (Forecasting) ปริมาณอุปทานน้ำฝนที่จะไหลเข้า (Supply หรือ Input) และอุปสงค์ความต้องการน้ำภายในประเทศ (Demand หรือ Output) เพื่อบริหารการกักและระบายน้ำจากเขื่อนในจังหวะและปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละช่วง
ปัญหาสต็อกน้ำบวมข้างต้นส่วนหนึ่งจึงเกิดจากการพยากรณ์ที่ไม่แม่นยำคิดว่าฝนจะตกน้อยเลยอยากเก็บสต็อกน้ำไว้มาก ๆ ให้เกษตรกรได้ทำการเกษตร แต่ดันงานเข้ามีพายุเข้าถล่มแบบต่อเนื่องจนฝนตกมากผิดปกติ ทำให้สต็อกน้ำล้นเขื่อนต้องระบายออกไม่ให้เขื่อนแตก (อุปทานมากกว่าอุปสงค์) ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขึ้น เมื่อสต็อกน้ำถูกปล่อยจากเขื่อนลงสู่แม่น้ำซึ่งก็คือท่อ (Pipeline) และกระจายไปสู่คูคลองต่าง ๆ
ซึ่งไม่ได้ถูกออกแบบระบบการกระจายสต็อกสินค้า (Distribution System) ไว้อย่างดี ขาดการบำรุงรักษาประตูน้ำหรือวาล์วน้ำ ขาดการลอกท่อเพื่อให้การขนส่งน้ำเป็นไปได้อย่างราบรื่น ระบบและความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำทั้งน้ำจากแม่น้ำ คู คลอง และน้ำหลากก็ไม่ได้ถูกออกแบบไว้อย่างมีประสิทธิผล ทำให้สต็อกน้ำเอ่อล้นออกมาจากระบบท่อกลายเป็นน้ำหลากไปท่วมในเขตชุมชนหรือพื้นที่เศรษฐกิจที่ไม่ประสงค์จะให้เป็นพื้นที่รองรับน้ำและถูกขังอยู่นานและมากกว่าที่ควรจะเป็น
ในด้านการจัดการน้ำนั้น ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านให้ทัศนะถึงแก้ปัญหาด้วยการสร้างสาธารณูปโภคหรือระบบในการกักหรือระบายน้ำ (Material Flow) เช่น เขื่อน พนังกั้นน้ำ ฟลัดเวย์ แก้มลิง ฯลฯ ให้มีประสิทธิผลมากขึ้นเป็นหลัก ในวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าเราควรลงทุนสร้างระบบสาธารณูปโภคดังกล่าว แต่คำถามคือต้องลงทุนในอะไร และเท่าไรจึงจะเหมาะสม เนื่องจากระบบดังกล่าวต้องการการวางแผนและลงทุนระยะยาวอย่างมหาศาลในการออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษา การตอบคำถามดังกล่าวต้องการการศึกษาแบบบูรณาการเชิงลึกจริง ๆ มากกว่าการใช้เพียงความรู้สึกในการตอบ ผมจึงไม่ขอกล่าวถึงในบทความนี้
- Information Flow
ในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานนั้น Information ต้องมาก่อน Action เสมอ [1] ดังนั้นในมุมมองของการจัดการโซ่อุปทานนั้น ก่อนจะลงทุนในสาธารณูปโภคหรือระบบควบคุมน้ำ (Material Flow) ในข้างต้น ฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ควรหันกลับมามองและให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ (Information Flow) ที่เกี่ยวข้องเชิงลึกแบบบูรณาการอย่างรอบคอบในระยะยาวให้มากขึ้นก่อน
เช่น ข้อมูลการพยากรณ์พายุและปริมาณน้ำฝนล่วงหน้า หรือระบบการเตือนภัยต่าง ๆ ว่ามีความถูกต้องแม่นยำระดับใด ระดับความสูงต่ำของพื้นที่และความสำคัญทางเศรษฐกิจของพื้นที่ในเขตต่าง ๆ เส้นทางการเดินทางของน้ำลงสู่ทะเล ฯลฯ มิฉะนั้นการลงทุนอย่างมหาศาลระดับเมกะโปรเจ็กต์ในระบบสาธารณูปโภคดังกล่าว อาจกลายเป็นการเสียค่าโง่แบบซ้ำซากดังเช่นที่ปรากฏเป็นซากหลักฐานโครงการต่าง ๆ ให้เราเห็นกันอยู่เนือง ๆ (ดอนเมืองโทลเวย์ รถ BTR แอร์พอร์ตลิ้งก์ ฯลฯ) นอกจากประชาชนจะต้องเสียเงินภาษีไปจ่ายค่าโง่หรือค่าแกล้งโง่เหล่านี้ให้กับรัฐบาลแล้วยังต้องมาเสียความรู้สึกและเจ็บใจทุกครั้งที่ผ่านไปเห็นด้วย
ทั้งนี้ผมยังรู้สึกว่าฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมักให้ความสำคัญกับสิ่งที่จับต้องได้ (Tangible) เช่น สาธารณูปโภคในการรับมือกับน้ำ (หรือ Material) มากกว่าสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangible) เช่น การพยากรณ์ สภาพอากาศหรือปริมาณน้ำ (หรือ Information) มาก คำถามเบื้องต้นที่เราไม่ค่อยได้ย้อนถามตนเองนั้นคือความแม่นยำในการพยากรณ์อุปสงค์และอุปทานน้ำในช่วงเวลาต่าง ๆ ของเรานั้นถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหนและเรารู้ล่วงหน้าได้นานแค่ไหน บ่อยครั้งที่เรามักเอาเรื่องจริงมาพูดเล่นกันว่า
“หากวันไหนพยากรณ์ว่าไม่มีฝนตก ต้องอย่าลืมเอาร่มไปด้วย แต่ถ้าวันไหนพยากรณ์ว่าฝนจะตก วันนั้นสามารถจัดงานกลางแจ้งได้!” แน่นอนว่าการพยาการณ์ก็คือการคาดการณ์ที่ไม่สามารถแม่นยำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่เราสามารถปรับปรุงให้มันมีความแม่นยำมากขึ้นและรู้ล่วงหน้าได้นานขึ้นกว่าปัจจุบัน (ประมาณ 10 วัน) ได้บ้างหรือไม่ แม้ว่าระบบเตือนภัยล่วงหน้าดังกล่าวจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้ แต่การรู้ข้อมูลล่วงหน้าก็สามารถช่วยให้สามารถเตรียมการในการระบายน้ำบางส่วนและอพยพผู้คนล่วงหน้าช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ในระดับหนึ่งเช่นเดียวกับระบบเตือนภัยสึนามิเราที่ได้ทำกันมาก่อนหน้าแล้ว แม้ว่าการปรับปรุงดังกล่าวจะต้องมีการลงทุนในเทคโนโลยีและเทคนิคในการพยากรณ์สภาพอากาศและปริมาณน้ำเช่นกัน
แต่การลงทุนดังกล่าวน่าจะคุ้มค่าและมีประโยชน์ไม่น้อยไปกว่าการลงทุนในสาธารณูปโภคระบบป้องกันน้ำท่วม เนื่องจากหากเรารู้สภาพอากาศและปริมาณน้ำล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เราจะสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ด้านการเกษตร ท่องเที่ยว ฯลฯ ได้ตลอดทั้งปีทั้งในสถานการณ์ที่มีน้ำมากผิดปกติจนท่วมและน้ำน้อยผิดปกติจนแล้ง ไม่เหมือนกับการลงทุนในสาธารณูปโภคบางอย่าง เช่น พนังกั้นน้ำหรือระบบระบายน้ำซึ่งจะใช้ประโยชน์ได้เฉพาะกรณีที่มีน้ำมากเกินไปและนาน ๆ เกิดทีเท่านั้น
ข้อคิดท้ายเรื่อง
เพราะปัญหามาปัญญาจึงมี บางประเทศดูเหมือนโชคร้ายไม่มีทรัพยากรธรรมชาติหรือสภาพอากาศที่เอื้อต่อการพัฒนามีแต่ภัยธรรมชาติแบบจัดหนักทั้งจากสึนามิ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุหิมะ ฯลฯ แต่กลับสามารถผงาดขึ้นมาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้เพราะมีทรัพยากรที่สำคัญกว่าคือคนในชาติที่ต่อสู้ไม่ก้มหัวให้กับโชคชะตา ในขณะที่หลายประเทศดูเหมือนโชคดีมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรแบบเหลือเฟือ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว มีผักมีหญ้าให้เด็ดกินประทังชีพได้โดยไม่ต้องดิ้นรนอะไรมากนัก ภัยธรรมชาติหนัก ๆ ก็แทบไม่ค่อยมี ทำให้ผู้คนในชาติเป็นเหมือนคุณหนูลูกคนรวยที่มักอ่อนแอ และเปราะบางทางสติปัญญา รอกินแต่บุญเก่าหรือทรัพยากรที่ค่อย ๆ ร่อยหรอลงไปทุกวัน
“ในชีวิตคนเราก็เช่นกันเมื่อเกิดวิกฤติขึ้นในชีวิตผู้แพ้มักเอาแต่โทษโชคชะตา ตื่นตูม เรียกหาคนมาช่วยรับผิด และนอนรอความช่วยเหลือ ในขณะที่ผู้ชนะจะพยายามเรียนรู้และต่อสู้เพื่อพลิกวิกฤติให้กลับมาเป็นโอกาส เปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดี แม้เราจะเลิกเกิดไม่ได้ แต่เราก็เลือกที่จะทำและเลือกชะตาชีวิตของเราได้” สังคมจะเจริญได้ก็ต่อเมื่อคนในสังคมเชื่อว่าคนกระทำสำคัญกว่ากรรมลิขิต
บทความอ้างอิงและอ่านเพิ่มเติม
[1] อัศม์เดช วานิชชินชัย (2554). “พลังของ Information Flow ในโซ่อุปทาน”. Industrial Technology Review. 17 (216). 98-100
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด