เนื้อหาวันที่ : 2013-04-22 17:53:06 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4884 views

ความสามารถพิเศษกับการพัฒนาองค์กร

ในการพัฒนาองค์กร เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน หากเป็นช่วงสั้น ๆ มักจะเกิดขึ้นจากประเด็นทางด้านราคา และสมรรถนะของผลิตภัณฑ์

ความสามารถพิเศษกับการพัฒนาองค์กร (Core Competency of Corporation)


กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ


     ในการพัฒนาองค์กร เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน หากเป็นช่วงสั้น ๆ มักจะเกิดขึ้นจากประเด็นทางด้านราคา และสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ แต่หากจะสร้างให้เกิดขึ้นในระยะยาว จะต้องมาจากความสามารถของผู้บริหารในการรวบรวมเทคโนโลยี และทักษะในการทำงาน เพื่อให้เกิดเป็นความสามารถพิเศษ (Core Competency) ขององค์กร ในการทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ (หรือการบริการ) ที่เหนือกว่าความคาดหมาย ด้วยความเร็วกว่า และต้นทุนที่น้อยกว่าคู่แข่ง รวมถึงช่วยให้องค์กร สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วต่อโอกาสที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ในการพัฒนาองค์กร เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน หากเป็นช่วงสั้น ๆ มักจะเกิดขึ้นจากประเด็นทางด้านราคา และสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ แต่หากจะสร้างให้เกิดขึ้นในระยะยาว จะต้องมาจากความสามารถของผู้บริหารในการรวบรวมเทคโนโลยี และทักษะในการทำงาน เพื่อให้เกิดเป็นความสามารถพิเศษ (Core Competency) ขององค์กร ในการทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ (หรือการบริการ) ที่เหนือกว่าความคาดหมาย ด้วยความเร็วกว่า และต้นทุนที่น้อยกว่าคู่แข่ง รวมถึงช่วยให้องค์กร สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วต่อโอกาสที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา     ในการพัฒนาองค์กร

ในการพัฒนาองค์กร เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน หากเป็นช่วงสั้น ๆ มักจะเกิดขึ้นจากประเด็นทางด้านราคา และสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ แต่หากจะสร้างให้เกิดขึ้นในระยะยาว จะต้องมาจากความสามารถของผู้บริหารในการรวบรวมเทคโนโลยี และทักษะในการทำงาน เพื่อให้เกิดเป็นความสามารถพิเศษ (Core Competency) ขององค์กร ในการทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ (หรือการบริการ) ที่เหนือกว่าความคาดหมาย ด้วยความเร็วกว่า และต้นทุนที่น้อยกว่าคู่แข่ง รวมถึงช่วยให้องค์กร สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วต่อโอกาสที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา     ในการพัฒนาองค์กร

เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน หากเป็นช่วงสั้น ๆ มักจะเกิดขึ้นจากประเด็นทางด้านราคา และสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ แต่หากจะสร้างให้เกิดขึ้นในระยะยาว จะต้องมาจากความสามารถของผู้บริหารในการรวบรวมเทคโนโลยี และทักษะในการทำงาน เพื่อให้เกิดเป็นความสามารถพิเศษ (Core Competency) ขององค์กร ในการทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ (หรือการบริการ) ที่เหนือกว่าความคาดหมาย ด้วยความเร็วกว่า และต้นทุนที่น้อยกว่าคู่แข่ง รวมถึงช่วยให้องค์กร สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วต่อโอกาสที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

 
     คำว่า ความสามารถพิเศษ หรือ Core Competency ในเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จะหมายถึง เรื่องที่องค์กรมีความชำนาญที่สุด เป็นขีดความสามารถที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ และเป็นแกนหลักที่จะทำให้องค์กรบรรลุพันธกิจ รวมถึงทำให้ได้เปรียบในสภาพแวดล้อมของตลาด หรือการบริการขององค์กร โดยความสามารถพิเศษ มักจะเป็นสิ่งท้าทายที่คู่แข่ง หรือผู้ส่งมอบและคู่ความร่วมมืออย่างเป็นทางการลอกเลียนแบบได้ยาก และสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน


     แนวคิดเกี่ยวกับ ความสามารถพิเศษองค์กร ได้รับการอธิบายไว้อย่างชัดเจน ในบทความเรื่อง The Core Competence of the Corporation ซึ่งเขียนขึ้นโดย C.K.Prahalad และ Gary Hamel ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนกลยุทธ์ และบทความเรื่อง The Role of Core Competencies in the Corporation ของ C.K.Prahalad โดยระบุว่า ความสามารถพิเศษ (Core Competency) จะเป็นสิ่งที่องค์กรทำได้ดีที่สุด เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และเป็นแนวทางในการกำหนดกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่ทำให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน


     หากเปรียบเทียบองค์กรกับต้นไม้แล้ว ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย หรือ End Product จะเปรียบได้กับใบ ดอก หรือผลของต้นไม้ ซึ่งจะสามารถงอกงามได้อย่างเต็มที่ ก็มาจากกิ่งก้านขนาดเล็ก หรือเทียบได้กับหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ส่วนกิ่งก้านขนาดใหญ่ หรือลำต้นที่แข็งแรง สมบูรณ์ จะเปรียบได้กับผลิตภัณฑ์หลัก หรือ Core Product ขององค์กรนั่นเอง และในการที่จะทำให้กิ่งก้าน หรือลำต้นมีความสมบูรณ์ได้ จะต้องมาจากรากที่แข็งแรง

สามารถส่งน้ำและอาหารไปเลี้ยงลำต้น กิ่งก้าน ส่งต่อไปยังใบ ดอก ผล ได้อย่างเต็มที่ นั่นก็คือความสามารถพิเศษ หรือ Core Competency ขององค์กร ซึ่งบ่อยครั้งที่องค์กร มักจะเกิดความผิดพลาดในการวิเคราะห์ถึงจุดแข็งของคู่แข่ง หากพิจารณาเพียงแค่ผลิตภัณฑ์สุดท้ายของคู่แข่งเท่านั้น

 

จากรูปที่ 1 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถพิเศษ ผลิตภัณฑ์หลัก และผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย

รูปที่ 1 ความสามารถพิเศษขององค์กร


ทั้งนี้ ความสามารถพิเศษ จะเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน (Collective Learning) ในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประสานงานกันของทักษะการผลิตที่หลากหลาย และการผสมผสานกับของเทคโนโลยีต่าง ๆ อรวมไปถึงการจัดโครงสร้างการทำงาน และการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า นอกจากนั้น ความสามารถพิเศษ ยังเป็นเรื่องของการสื่อสาร การมีส่วนร่วม และความมุ่งมั่นในการทำงานทั่วทั้งขอบเขตขององค์กร โดยจะเกี่ยวข้องกับบุคลากรและหน้าที่งานทั้งหมดในองค์กร

 
     ความสามารถพิเศษ จะไม่มีลดลงเมื่อมีการนำมาใช้ ไม่เหมือนกับทรัพย์สินทางกายภาพต่าง ๆ ที่จะมีการสึกหรอตามเวลาที่ผ่านไป ความสามารถพิเศษจะมีแต่เพิ่มขึ้น เมื่อมีการนำมาใช้ และมีการแบ่งปัน รวมถึงความสามารถพิเศษ จะต้องได้รับการดูแล และปกป้องรักษา เช่นเดียวกันกับความรู้ ที่จะค่อย ๆ หายไปเมื่อไม่มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

 

การกำหนดความสามารถพิเศษ 


     ความสามารถพิเศษ จะเกิดขึ้นจากการรวมเข้าด้วยกันของทักษะในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยองค์กรในการสร้างให้เกิดประโยชน์กับลูกค้า หรือกับองค์กรเอง ทั้งนี้ ความสามารถพิเศษ จะไม่ใช่ผลิตภัณฑ์หรือการบริการเฉพาะอย่าง แต่จะมีส่วนช่วยองค์กรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการบริการนั้น ๆ รวมทั้งอธิบายถึงความสำคัญที่มีต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร เช่น Sony ประโยชน์ของลูกค้าคือความสามารถในการพกพาโดยสะดวก และความสามารถพิเศษ คือการทำให้เล็กที่สุด ในขณะที่ Federal Express ประโยชน์คือการส่งสินค้าได้ตรงเวลา และความสามารถพิเศษ คือการจัดการโลจิสติกส์


     ในการกำหนดความสามารถพิเศษ จะพิจารณาจากประเด็นที่สำคัญ 3 ส่วนประกอบด้วย

 
     1.  ความสามารถพิเศษ จะต้องสร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่หลากหลาย (เช่น ความสามารถในระบบจอภาพ จะช่วยเปิดโอกาสเข้าสู่ตลาดจอภาพโทรทัศน์ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ จอภาพแสดงผลการทำงาน จอของคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอแสดงผลในรถยนต์ เป็นต้น)


     2.  ความสามารถพิเศษ จะต้องเป็นส่วนสำคัญในการสร้างให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าจากผลิตภัณฑ์สุดท้าย (End Products)

 
     3.  ความสามารถพิเศษ จะต้องเป็นสิ่งที่คู่แข่งลอกเลียนแบบได้ยาก ซึ่งเกิดขึ้นจากการผสมผสานกันของเทคโนโลยีและทักษะในการผลิต

 
       ทั้งนี้ ความสามารถพิเศษ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อองค์กรเกิดการเรียนรู้ในการผสมผสานเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น การทำให้มีขนาดเล็ก ซึ่งเป็นความสามารถที่สำคัญของ Sony โดยการทำให้มีขนาดเล็กลงได้ จำเป็นที่จะมีเทคโนโลยีที่สำคัญเข้ามาประกอบ เช่น เทคโนโลยีทางด้าน Microprocessor แหล่งพลังงานขนาดเล็ก การจัดการพลังงานที่ดี บรรจุภัณฑ์ และการผลิต รวมไปถึงความรู้ และความเข้าใจ เกี่ยวกับการออกแบบที่สะดวกต่อผู้ใช้งาน รวมถึงความรู้ทางด้านการยศาสตร์ (Ergonomics) ด้วย

 
       ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ความสามารถพิเศษ จะไม่ใช่เพียงแค่ขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่จะเป็นการรวมเข้าด้วยกันอย่างสร้างสรรค์ (Creative Bundling) ของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่หลากหลาย ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า และการบริหารจัดการทั้งหมดเพื่อให้เกิดการผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน

รวมไปถึงกระบวนการกำกับดูแล (Governance) ภายในองค์กร (คุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างสายงาน หรือหน่วยธุรกิจ) และการเรียนรู้ร่วมกัน (Collective Learning) ในระดับงานและหน้าที่งานภายในองค์กร ซึ่งเราสามารถสรุปเป็นรูปของสมการ เพื่อให้เข้าใจง่ายได้ดังนี้

 

ความสามารถ = เทคโนโลยี x กระบวนการกำกับดูแล x การเรียนรู้ร่วมกัน

      ตัวอย่างเช่น Canon มีธุรกิจที่หลากหลาย (ผลิตภัณฑ์สุดท้าย) เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เลเซอร์พรินเตอร์ เครื่อง Fax กล้องถ่ายรูป และกล้องวีดิโอ แต่หน่วยธุรกิจทั้งหมด จะถูกทำขึ้นจากผลิตภัณฑ์หลัก (Core Product) เช่น ระบบเลนส์ ชิ้นส่วนเลเซอร์พรินเตอร์ และมอเตอร์ขนาดเล็ก ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักนี้ จะเกิดขึ้นจากความสามารถพิเศษขององค์กร เช่น ความสามารถในการทำให้เล็กลง (Miniaturization) หรือ ระบบ Mechatronic เป็นต้น

ทั้งนี้ ในแต่ละธุรกิจจะมีอัตลักษณ์ที่เป็นของตนเอง โดยจะเน้นลูกค้าและตลาดที่เป็นเฉพาะกลุ่ม แต่ทั้งหมดนั้นจะอยู่ภายใต้โครงสร้างของผลิตภัณฑ์หลัก และความสามารถพิเศษร่วมกัน


     กล่าวโดยสรุป ทั้งการทำให้ขนาดเล็กลงของ Sony การบริหารเครือข่ายของ AT&T การสะดวกต่อผู้ใช้งานของ Apple หรือการผลิตในปริมาณสูง ของ Matsushita สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างของความสามารถพิเศษขององค์กรทั้งนั้น

ผลิตภัณฑ์หลัก (Core Products) 

     ในส่วนของผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่าง ความสามารถพิเศษ (Core Competency) และผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (End Product) ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ ถือเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ Honda ที่เกิดขึ้นจากความชำนาญในการออกแบบและการพัฒนา (ความสามารถพิเศษ) นำไปสู่การสร้างให้เกิดคุณค่ากับผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย นั่นคือ รถยนต์ Honda

 
 ผลิตภัณฑ์หลัก จะเป็นการรวมตัวเข้าด้วยกันทางกายภาพของความสามารถพิเศษ เช่น คอมเพรสเซอร์ของ Matsushita หรือชิ้นส่วนเลเซอร์พรินเตอร์ของ Canon จะเป็นตัวอย่างของผลิตภัณฑ์หลัก (Core Product) ทั้งนี้ Canon ไม่ เพียงแต่จะใช้ชิ้นส่วนเลเซอร์พรินเตอร์ในธุรกิจต่าง ๆ ของ Canon แล้ว ยังมีการทำการตลาดออกไปภายนอกด้วย โดย Canon มีการแบ่งส่วนตลาดออกเป็น ส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Market Share)

เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร ส่วนแบ่งการผลิต (Manufacturing Share) เช่น ส่วนแบ่งตลาดที่เติบโตขึ้นจากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นภายใต้ตราสินค้าของลูกค้า (Private Label) และส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์หลัก (Share of Core Product) เช่น ชิ้นส่วนของเลเซอร์พรินเตอร์ให้กับองค์กรอื่น

 
     จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเป็นสาระสำคัญที่เกี่ยวกับความสามารถพิเศษ ซึ่งอธิบายไว้โดย C.K.Prahalad และ Gary Hamel ที่เห็นว่าการที่องค์กรจะสามารถพัฒนา และรักษาความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ความสามารถในการรับมือกับความท้าทายเชิงกลยุทธ์ และความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นหาและพัฒนาความสามารถพิเศษ ให้เกิดขึ้นในองค์กร รวมถึงมีการเรียนรู้ พัฒนา และปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

 

เพื่อให้สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลง และความต้องการทางธุรกิจที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง     

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด