เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทาง เป็นการพัฒนามาจากเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานทางเดียว ได้มีการออกแบบเครื่องอัดอากาศให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่กลับก็จะทำการอัดอากาศได้คือการอัดอากาศจะเกิดขึ้นในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ทั้งไปและกลับ
ลักษณะทั่วไป (General Features) |
เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทาง เป็นการพัฒนามาจากเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานทางเดียว กล่าวคือ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่อัดอากาศในจังหวะอัดจึงจะได้งานหนึ่งครั้ง แต่ในจังหวะที่ลูกสูบเคลื่อนที่กลับจะไม่ได้งาน ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบเครื่องอัดอากาศให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่กลับก็จะทำการอัดอากาศได้ด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการอัดอากาศจะเกิดขึ้นในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ทั้งไปและกลับนั่นเองเราจึงเรียกเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทาง |
. |
เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทาง โดยทั่ว ๆ ไปจะประกอบด้วยกระบอกสูบ (Cylinder), ตัวเรือนเครื่องสูบ (Frame), เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) และก้านสูบ (Connecting Rod) ดังรูปที่ 1, 2 แสดงเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทาง |
. |
รูปที่ 1 แสดงเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบในแนวดิ่งชนิดได้งานสองทาง |
. |
รูปที่ 2 แสดงเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบในแนวดิ่งชนิดได้งานสองทางพร้อมถังอากาศอัด |
. |
ถ้าหากว่าเราต้องการอากาศอัดในปริมาณมาก ๆ การพิจารณาเลือกใช้เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทางก็จะมีความเหมาะสมมากกว่าชนิดได้งานทางเดียว และมีรูปแบบให้เลือกอีกมากมาย อาทิ เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบซึ่งมีการทำงานหลายขั้นตอน (Multi-staging) หรืออาจจะเป็นเครื่องอัดอากาศที่มีลูกสูบหลายสูบ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบในแนวรัศมี จำนวน 4 สูบ แบบสองขั้นตอน สามารถอัดอากาศให้มีค่าความดันได้สูงถึง 100 psig (6.9 bars) ดังรูปที่ 3 แสดงเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบในแนวรัศมี จำนวน 4 สูบ โดยมีเพลาข้อเหวี่ยง 1 เพลา ถ่ายทอดกำลังงานไปยังลูกสูบต่าง ๆ ในกระบวนการอัดอากาศในขั้นตอนแรก จะใช้การอัดอากาศจากลูกสูบจำนวน 2 ลูก โดยอัดอากาศให้ได้ความดันประมาณ 26 psig (1.8 bars) และในกระบวนการอัดอากาศในขั้นตอนที่สอง ก็จะใช้การอัดอากาศจากลูกสูบจำนวน 2 ลูก ทำการอัดอากาศที่ได้จากการอัดในขั้นตอนแรก ให้ได้ความดันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 100 psig (6.9 bars) |
. |
อากาศอัดที่ได้จากการอัดในขั้นตอนแรก จะถูกระบายความร้อนโดยอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) หลังจากนั้นอากาศอัดที่ถูกระบายความร้อนออกไป ก็จะถูกส่งเข้าไปสู่กระบวนการอัดในขั้นตอนที่สองต่อไป ลักษณะการระบายความร้อนออกจากอากาศอัดที่ได้จากการอัดในขั้นตอนแรก ก่อนที่จะส่งอากาศอัดดังกล่าวไปสู่กระบวนการอัดในขั้นตอนที่สอง เราเรียกว่า การระบายความร้อนระหว่างขั้นตอน (Intercooling) |
. |
รูปที่ 3 แสดงเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบในแนวรัศมี จำนวน 4 สูบ ชนิดได้งานสองทาง |
. |
การจำแนกขนาด (
|
เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทาง จะมีขนาดใช้งานเล็กสุดตั้งแต่ 10 แรงม้า (7.5 kW) ไปจนถึงขนาดใหญ่สุดถึง 1,000 แรงม้า (750 kW) โดยให้ความดันของอากาศอัดสูงมากกว่า 1,000 psig (> 100 bars) |
. |
กรณีเป็นเครื่องอัดอากาศขนาด 1 สูบ แบบขั้นตอนเดียว จะมีขนาดประมาณ 125 แรงม้า (93 kW) จะสามารถอัดอากาศได้ความดันประมาณ 100 psig (6.9bars) |
. |
กรณีเป็นเครื่องอัดอากาศชนิดได้งานสองทาง แบบสองขั้นตอน จะมีขนาดเริ่มต้นประมาณ 75 แรงม้า (56 kW) จะสามารถอัดอากาศได้ความดันประมาณ 100 psig (6.9 bars) ดังรูปที่ 4 แสดงเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทาง การทำงานแบบสองขั้นตอน ขนาด 125 แรงม้าติดตั้งอยู่ภายในโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ |
. |
รูปที่ 4 แสดงเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทาง มีการทำงานแบบสองขั้นตอน |
. |
ลักษณะพิเศษ (Configurations) |
เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทาง โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะใช้กับงานหนักและจะต้องมีการบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ดังนั้นการระบายความร้อนออกจากระบบจึงมีความสำคัญมากซึ่งจะมีผลต่อการออกแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบสร้างให้กระบอกสูบและฝาสูบมีช่องทางน้ำเพื่อการระบายความร้อนออกจากระบบให้มากที่สุด ดังรูปที่ 5 |
. |
รูปที่ 5 แสดงการระบายความร้อนด้วยน้ำบริเวณฝาสูบและเสื้อสูบของเครื่องอัดอากาศ |
. |
เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทาง โดยทั่ว ๆ ไปจะมีส่วนของหัวอัดแยกออกมาจากส่วนของตัวเรือนเครื่องอัดอากาศ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรั่วไหลของอากาศอัดและง่ายต่อการซ่อมแซมและบำรุงรักษา ดังรูปที่ 6 |
. |
รูปที่ 6 แสดงส่วนของหัวอัดแยกออกมาจากส่วนของตัวเรือนเครื่องอัดอากาศ |
. |
การหล่อลื่น (Lubrication) |
การหล่อลื่นเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบชนิดได้งานสองทาง จะมีระบบการหล่อลื่นแบบวิดสาด (Splash System), แบบความดัน (Force–Feed System) และแบบผสม (Combination of Both) เครื่องอัดอากาศจะใช้ระบบการหล่อลื่นแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับประเภท, ขนาด และลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ |
. |
เครื่องอัดอากาศที่มีการหล่อลื่นด้วยตัวเอง (Non Lubricated Compressors) |
เครื่องอัดอากาศที่มีการหล่อลื่นด้วยตนเองหรือเครื่องอัดอากาศที่ไม่ใช้สารหล่อลื่น มีการออกแบบมาเพื่อใช้การงานที่ไม่ต้องการให้อากาศอัดมีการปนเปื้อนกับไอน้ำมัน ต้องการอากาศอัดที่มีคุณภาพสูงปราศจากสิ่งเจือปนใด ๆ มีหลักในการออกแบบคือจะออกแบบให้กระบอกสูบทำงานได้โดยไม่ต้องมีการหล่อลื่น ดังนั้นแหวนลูกสูบและชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่จึงต้องทำมาจากวัสดุชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติในการหล่อลื่นตัวเอง อาทิ การเคลือบด้วยสาร Teflon เป็นต้น |
. |
รูปที่ 7 แสดงลักษณะเครื่องอัดอากาศที่มีการหล่อลื่นด้วยตัวเองขนาดต่าง ๆ กัน |
. |
รูปที่ 8 แสดงลักษณะภายในของเครื่องอัดอากาศที่มีการหล่อลื่นด้วยตัวเอง และแหวนลูกสูบทำจากวัสดุชนิดพิเศษซึ่งมีคุณสมบัติในการหล่อลื่นตัวเอง |
*ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี |
. |
บรรณานุกรม |
Compressed Air and Gas Institute. 1989. Compressed Air and Gas Handbook. 5th. Ed. |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด