ปั้นจั่นกับการใช้สัญญาณมือ
ปั้นจั่นกับการใช้สัญญาณมือ
ศิริพร วันฟั่น
ปั้นจั่นหรือเครน ถือเป็นเครื่องจักรสำคัญที่ขาดไม่ได้ไปเสียแล้วในงานก่อสร้าง ตลอดจนงานอุตสาหกรรมหลากชนิด ทั้งในโรงงานผลิต-ประกอบรถยนต์ ธุรกิจขนส่ง คลังสินค้า ท่าเรือ เป็นต้น แต่สิ่งไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นมากขึ้นเป็นเงาตามตัวก็คือ อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ปั้นจั่น ทำให้มีผู้เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และบ่อยครั้งที่อุบัติเหตุดังกล่าว เกิดขึ้นเพียงเพราะปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมปั้นจั่น และผู้ให้สัญญาณด้านล่าง ดังนั้นทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงได้กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปติดไว้ที่จุดปฏิบัติงาน ในตำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ก็เพื่อลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารนั่นเอง
โดยสัญญาณมือที่กำหนดไว้ในท้ายประกาศฉบับดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
ปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่นหอสูง (ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่)
ประเภท รถปั้นจั่น และเรือปั้นจั่น (ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่)
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมนำสัญญาณมือเหล่านี้ไปอบรมให้ความรู้กับพนักงานผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น เพื่อให้ได้รับทราบ และนำไปปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน “เพื่ออุบัติเหตุเป็นศูนย์” นั่นเอง
เอกสารอ้างอิง
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด