ชุดตัวเรือนสกรูจะมีส่วนประกอบคือ รางลำเลียง ฝาปิด ปลายรางลำเลียง แคมป์ฝาปิด อานหรือฐานรอง และสิ่งสำคัญคือการออกแบบทางเข้าและทางออกของวัสดุที่จะขนถ่าย
ธีรศักดิ์ ศรีมิตรรุ่งโรจน์
ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชุดตัวเรือนสกรู (Housing)
ชุดตัวเรือนสกรูจะมีส่วนประกอบคือ รางลำเลียง ฝาปิด ปลายรางลำเลียง แคมป์ฝาปิด อานหรือฐานรอง และสิ่งสำคัญคือการออกแบบทางเข้าและทางออกของวัสดุที่จะขนถ่าย อุปกรณ์ของชุดตัวเรือนจะมีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. รางลำเลียง (Trough)
1.1 รางแบบหน้าแปลน ประกอบด้วยการใช้เหล็กแผ่นที่บาง และมีความแข็งแรงเพียงพอสำหรับโค้งเป็นรูปตัวยู และเชื่อมยึดที่ปลายด้วยหน้าแปลนเหล็กที่แข็งแรงกว่า รางตัวยูในการสร้างรางเหล็กแบบนี้ ข้อควรระวังคือ ขณะเชื่อม เหล็กแผ่นอาจจะโค้งซึ่งจะทำให้เสียรูปทรงได้
รูปที่ 1 รางแบบหน้าแปลน
1.2 รางลำเลียงแบบปีกคู่ (Double Flanged Trough) รูปแบบเฉพาะของรางลำเลียงปีกคู่เพิ่มความแข็งแรงและความแข็งทางโครงสร้างขึ้นอย่างมากโดยปราศจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นโครงสร้างในรูปแบบดังกล่าวนี้สามารถป้องกันฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อใช้งานร่วมกับชุดครอบปีกบาร์รอน (Barron Flanged Cover) รางลำเลียงแบบปีกคู่เหมาะสมกับเครื่องมือขนถ่ายที่มีขนาดใหญ่ถึง 24 นิ้ว และมีความหนาถึง 10 มิลลิเมตร
รางลำเลียงชนิดนี้สามารถทำขึ้นจากเหล็กกล้าไร้สนิมหรือโลหะผสมอื่น ๆ ได้ หน้าแปลนส่วนปลายแบบ Nu-weld ถูกเชื่อมแบบจิก (Jig) อย่างต่อเนื่องที่ปลายของแต่ละด้านเพื่อให้แน่ใจได้ว่ามีการวางตัวอยู่ในระดับเดียวกันและมีการเชื่อมต่อที่แข็งแรง ถ้ามีความต้องการฐานรับน้ำหนัก รางลำเลียงชนิดนี้จะถูกจัดวางไว้ที่หน้าแปลนเชื่อมต่อ และสามารถใช้กับอานรับน้ำหนักรางลำเลียง (Trough Saddle) ได้
รูปที่ 2 รางลำเลียงแบบปีกคู่ (Double Flanged Trough)
1.3 รางลำเลียงปีกเหล็กฉาก (Angle Trough) จะมีการติดฉากที่ทำจากเหล็กกล้าไว้ตลอดขอบบนของรางลำเลียงเพื่อให้มีความแข็งและความแข็งแรงสูงขึ้น โดยที่จะติดตั้งฉากเหล็กกล้ากับรางลำเลียง ทุกขนาดและทุกความหนาหน้าแปลนส่วนปลายแบบ Nu-weld ถูกเชื่อมแบบจิก (Jig) อย่างต่อเนื่องที่ปลายแต่ละด้านเพื่อให้แน่ใจได้ว่ามีการวางตัวอยู่ในระดับเดียวกันและมีการเชื่อมต่อที่แข็งแรง
รางลำเลียงปีกเหล็กฉากสามารถทำขึ้นจากเหล็กกล้ารีดร้อน (Hot Rolled Steel), เหล็กกล้าไร้สนิม หรือโลหะผสมชนิดอื่น ๆ ได้ กับรางลำเลียงทุกขนาดและทุกความหนา และรางลำเลียงชนิดนี้ยังอาจนำไปชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot Dip Galvanized)
นอกจากนั้น ยังสามารถทำการปรับปรุงรางลำเลียงให้เหมาะสมได้ เช่น การเจาะรูที่ส่วนท้องราง (Perforated Bottom), การจุ่มส่วนท้องสำหรับการติดตั้งที่ถูกสุขลักษณะ, การหุ้มรางลำเลียง เพื่อให้ความร้อนหรือทำให้เย็นลง เป็นต้น
แม้ว่าโดยทั่วไป รางลำเลียงชนิดนี้ถูกติดตั้งกับฝาปิดแบบซีลไทล์ (Tile-Seal Cover) แต่ยังสามารถติดตั้งกับฝาปิดแบบอื่นได้ เช่น ฝาปิดแบบโดม (Dome), ฝาปิดแบบอกไก่ (Hip Roof) เป็นต้น ถ้ามีความต้องการฐานรับน้ำหนัก รางลำเลียงชนิดนี้จะถูกจัดว่างไว้ที่หน้าแปลนเชื่อมต่อ และสามารถใช้กับอานรับน้ำหนักรางลำเลียง (Trough Saddle) ได้
รูปที่ 3 รางลำเลียงปีกเหล็กฉาก (Angle Trough)
1.4 รางลำเลียงแบบขยายออก (Flared Trough) ถูกออกแบบเพื่อให้มีช่องว่างมาตรฐานยาวครึ่งนิ้วระหว่างเกลียวหมุน (Screw) และท้องของรางลำเลียง ด้านของรางลำเลียงที่ขยายออกเพิ่มการป้อนและการขนถ่ายวัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัสดุที่ไม่สามารถไหลแบบอิสระได้ทั้งหมด หรือวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นหรือชิ้นขนาดใหญ่ ขอบด้านบนถูกทำให้เป็นปีกเพื่อให้สามารถรองรับฝาปิดได้และหน้าแปลน
ส่วนปลายแบบ Nu-weld ถูกเชื่อมแบบจิก (Jig) อย่างต่อเนื่องที่ปลายแต่ละด้านเพื่อให้แน่ใจได้ว่ามีการวางตัวอยู่ในระดับเดียวกันและมีการเชื่อมต่อที่แข็งแรง เมื่อนำไปใช้งานในสภาวะจำเพาะ รางลำเลียงแบบขยายออกอาจสร้างจากเหล็กแข็งไร้สนิม, โลหะผสมระหว่างนิกเกิลและทองแดง (Monel) หรือโลหะผสมชนิดอื่น ๆ โดยทั่วไป ฝาครอบจะถูกยึดด้วยสลักหรือถูกติดตั้งด้วยแคมป์สปริงหรือแคมป์สกรู และอาจตกแต่งภายในแบบเรียบ หรือตกแต่งภายนอกแบบอกไก่
รูปที่ 4 รางลำเลียงแบบขยายออก (Flared Trough)
1.5 รางลำเลียงแบบท้องเปิด (Drop Bottom Trough) ถูกออกแบบให้สะดวกในการเข้าถึง เครื่องขนถ่ายแบบสกรูและภายในรางลำเลียงที่ซึ่งต้องการการทำความสะอาดบ่อยครั้งเพื่อกำจัดการเกาะติด และการปนเปื้อนหรือการสะสมของวัสดุบางชนิด รางลำเลียงประกอบด้วยส่วนท้องที่ติดด้วยบานพับซึ่ง สามารถเปิดออกได้เมื่อมีการปลดแคมป์ยึดออก ขอบของรางส่วนเปิดถูกซีลด้วยปะเก็นเมื่อส่วนเปิดถูกปิด รางลำเลียงท้องเปิดอาจมีโครงสร้างแบบปีกคู่หรือโครงสร้างแบบปีกเหล็กฉากและสามารถใช้กับฝาปิดตามที่คุณเลือกได้
รูปที่ 5 รางลำเลียงท้องเปิด (Drop Bottom Trough)
1.6 รางแบบมีปลอกหุ้มด้านนอก (Jacketed Trough) รางเหล็กแบบนี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไป มีโพลงห่อหุ้มเนื้อส่วนล่างของรางรูปตัวยูอยู่ วัตถุประสงค์ของการออกแบบก็คือใช้ในการทำให้วัสดุขนถ่ายร้อน แห้งหรือเย็นลงก็ได้ แล้วแต่เราจะบรรจุอะไรลงไปในโพลงส่วนล่าง ถ้าเราให้น้ำไหลผ่านที่โพรง ส่วนล่างก็จะให้ความร้อนแก่วัสดุที่จะขนถ่ายและทำให้แห้งขึ้นด้วย
รูปที่ 6 รางแบบมีปลอกหุ้มด้านนอก (Jacketed Trough)
1.7 รางแบบท้องรางเป็นมุมฉาก (Rectangular Trough) รางเหล็กแบบนี้สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม อาจทำจากเหล็กชิ้นเดียวหรือ 2 ชิ้นก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม สาเหตุที่สร้างเป็นรางสี่เหลี่ยมก็เพื่อที่จะใช้ขนถ่ายวัสดุที่มีความคม เพื่อให้วัสดุเหล่านั้นตกค้างอยู่ในรางเหล็ก และเมื่อขนถ่ายวัสดุ วัสดุก็จะเคลื่อนที่ไปบนวัสดุพวกเดียวกันทั้งนี้เพื่อป้องกันรางเหล็กไม่ให้สึกหรอมาก เพราะวัสดุมีคมไม่ได้เสียดสีกับรางเหล็กเลย แต่จะเคลื่อนตัวไปบนพวกเดียวกันเอง
รูปที่ 7 รางแบบท้องรางเป็นมุมฉาก (Rectangular Trough)
1.8 รางลำเลียงแบบถอดเปลี่ยนด้านข้าง (Channel Trough) ทำจากรางเหล็กกล้าม้วน หรือรางเหล็กกล้าแบบแยก รางลำเลียงชนิดนี้ถูกนำไปใช้งานกับสถานที่ที่มีปัจจัยต่อการเสียดสีหรือการกัดกร่อนที่สูงมากและต้องการการเปลี่ยนรางลำเลียงใหม่อยู่บ่อยครั้ง ท้องของรางลำเลียงถูกยึดด้วยสลักเข้ากับด้านข้างของรางเหล็กกล้า (Structural Steel Side Channel) เพื่อทำให้รางมีความแข็งแรงมากขึ้นซึ่งสามารถนำไปใช้งานกับบริเวณที่วางส่วนรับน้ำหนักของรางลำเลียง
รูปที่ 8 รางลำเลียงแบบถอดเปลี่ยนด้านข้าง (Channel Trough)
1.9 รางแบบช่องว่างแคบ (Close Clearance Trough) เป็นรางเหล็กที่มีช่องทางระหว่างใบสกรูลำเลียงกับส่วนด้านใจกลางของรางที่มีช่องว่างน้อยมาก สามารถที่จะกวาดวัสดุที่ลำเลียงในรางได้ตามกำหนด และยังช่วยไม่ให้วัสดุที่ถูกลำเลียงตกมาด้านล่างหรือหล่นถอยหลังได้น้อยที่สุด สำหรับการลำเลียงแบบนี้ได้มีการนำไปใช้กับแบบลำเลียงขึ้นแนวเอียงอีกด้วย
รูปที่ 9 รางแบบช่องว่างแคบ (Close Clearance Trough)
1.10 รางลำเลียงแบบเก็บฝุ่น (Dust Seal Trough) ถูกประกอบขึ้นจากเหล็กแท่งรูปตัว Z ขนานกับด้านบนและช่องลำเลียงที่มีขนาดเท่ากับความกว้างส่วนบน การกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดโพรงต่อเนื่องซึ่งมีหน้าแปลนปิดติดอยู่ทั้งสี่ด้านจากนั้น โพรงดังกล่าวนี้จะถูกเติมด้วยทราย, ยางที่มีลักษณะเป็นฟองน้ำหรือวัสดุที่กำลังทำการขนถ่ายเพื่อให้สามารถป้องกันฝุ่นออกสู่ภายนอกและง่ายต่อการเข้าสู่ภายในท่อลำเลียง
รูปที่ 10 รางลำเลียงเก็บฝุ่น (Dust Seal Trough)
1.11 รางแบบขอบด้านข้างสูง (High Side Trough) เป็นรางเหล็กที่มีส่วนด้านบนสูงกว่าปกติแต่มีส่วนอื่นเหมือนเดิม ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าในขณะขนถ่ายวัสดุจะเกิดการจับตัวลักษณะเป็นยางเยิ้มติดกันเป็นแพ และพองตัวขึ้นด้านบน ดังนั้นจึงต้องใช้รางแบบนี้ป้องกันไม่ให้วัสดุไหลออกนอกราง
รูปที่ 11 รางแบบขอบด้านข้างสูง (High Side Trough)
1.12 รางแบบท้องรางมีรูพรุน (Perforated Bottom Trough) รางแบบนี้บริเวณท้องรางจะเป็นรูพรุนเลยขึ้นมาถึงบริเวณด้านข้างของราง ใช้สำหรับกรองของเหลวหรือน้ำออกจากวัสดุระหว่างลำเลียง วัสดุที่ลำเลียงจะต้องมีขนาดใหญ่กว่ารูพรุนของราง
รูปที่ 12 รางแบบท้องรางมีรูพรุน (Perforated Bottom Trough)
1.13 รางแบบท้องรางเป็นปลายเรียว (Tapered Bottom Trough) รางแบบนี้ใช้ในการช่วยป้องกันไม่ให้วัสดุบางชนิด หนีออกจากรางในลักษณะลำเลียงขึ้นไปอยู่ด้านบนของสกรู ดังนั้นจึงต้องทำแบบปลายรางเป็นปลายเรียวให้ท้องรางตื้นขึ้นกว่าเดิม
รูปที่ 13 รางแบบท้องรางเป็นปลายเรียว (Tapered Bottom Trough)
1.14 รางแบบรูปทรงกลม (Tubular Trough) รางแบบนี้จะเป็นรูปทรงกระบอกรอบนอกเกลี้ยง หรือรอบนอกทรงกระบอกมีหน้าแปลนสำหรับยึดติดตั้งได้ และสามารถใช้กับงานภายนอกกลางแจ้งได้ หรือใช้กับงานลักษณะเอียงป้องกันวัสดุไหลย้อนกลับได้ด้วย
รูปที่ 14 รางแบบรูปทรงกลม (Tubular Trough)
1.15 รางแบบมีช่องว่างมาก (Wide Clearance Trough) รางแบบนี้จะมีที่ระหว่างสกรู และรางกว้างกว่าปกติ เพื่อลดปัญหาการสึกหรอเนื่องจากเวลาลำเลียงวัสดุบางอย่างจะทำให้เกิดการสึกหรอ นอกจากนี้แล้วรางแบบนี้ยังเหมาะที่จะใช้กับวัสดุที่มีการเกาะจับตัวเป็นแพ ในขณะลำเลียงจะได้การขนถ่ายวัสดุที่ดีขึ้น
รูปที่ 15 รางแบบมีช่องว่างมาก (Wide Clearance Trough)
1.16 รางแบบมีแผ่นกั้นด้านหัวราง (Trough Bulk Head) เป็นรางที่มีลักษณะเป็นชุดแผ่นป้องกันติดตั้งอยู่กั้นขวางตามรูปหน้าตัดของรางด้วยนอต หรือเชื่อมติดชุดแผ่นด้านบนนี้จะประกอบด้วยแบริ่งท้าย และชุดส่งกำลังที่ใช้กับงานลำเลียงวัสดุที่ร้อน ชุดแผ่นกั้นนี้ลักษณะคล้ายกระเป๋าหรือห้องที่กั้นให้ชุดอุปกรณ์ที่อยู่ภายในปลอดภัยจากสภาพร้อน ในทำนองเดียวกันชุดกั้นนี้ยังช่วยป้องกันยางและแบริ่งให้ปลอดภัยจากวัสดุที่มีคุณสมบัติในการขัดสีทำลายได้ด้วย
รูปที่ 16 รางแบบมีแผ่นกั้นด้านหัวราง (Trough Bulk Head)
1.17 รางแบบมีแผ่นประกบอยู่ด้านนอก (Trough Expansion Joint) รางแบบนี้จะมีส่วนประกบต่อของรางอยู่ด้านนอกความยาวเท่ากับมาตรฐาน ได้ถูกดัดแปลงสำหรับไว้ใช้กับงานขนวัสดุที่ร้อน แผ่นประกอบที่ใช้ต่อนี้จะเจาะรูลักษณะเป็นแถวยาว ยึดด้วยนอตสามารถเลื่อนตัวปรับได้
รูปที่ 17 รางแบบมีแผ่นกั้นด้านหัวราง (Trough Bulk Head)
1.18 รางแบบมีแผ่นบังคับมุม (Trough Hold-Down Angles) เป็นรางแบบมีส่วนที่ทำเป็นมุมเหลี่ยมไว้สำหรับบังคับตัวสกรูมิให้กระโดด หรือโผล่ขึ้นมาในกรณีที่ไม่มีแบริ่งแขวนรับโหลดอยู่ ซึ่งในบางครั้งอาจจะมีก้อนวัสดุหมุนอยู่ด้านในสกรู ทำให้สกรูกระโดดหรือเคลื่อนตัวขึ้นมาได้ ส่วนที่ทำเป็นมุมเหลี่ยมนี้ จะติดตลอดตามแนวยาวของรางและช่องว่างระหว่างมุมเหลี่ยมกับสกรูประมาณ ? นิ้ว
รูปที่ 18 รางแบบมีแผ่นบังคับมุม (Trough Hold-Down Angles)
1.19 รางแบบมีฉนวนป้องกัน (Insulated Trough) รางแบบมีฉนวนป้องกัน เป็นรางที่มีลักษณะถูกหุ้มห่อไว้ ใช้กับวัสดุที่ลำเลียงได้ทั้งแบบที่เป็นวัสดุร้อนหรือเย็น ชนิดของฉนวนที่จะนำมาหุ้มนั้นมีหลายแบบและมีหลายวิธีแล้วแต่จะเลือกใช้ตามความเหมาะสม
รูปที่ 19 รางแบบมีฉนวนป้องกัน (Insulated Trough)
1.20 รางแบบมีแท่งเป็นแบบวางรอง (Trough Rider Bars) มีลักษณะเป็นแท่ง ๆ วางเรียงกันสำหรับวางในราง มีลักษณะเป็นแท่งที่อาจมีขนาดกว้าง 1-1 ? นิ้ว วางอยู่บริเวณส่วนร่องโค้งอ่างรางตลอดความยาว อาจใช้ปริมาณแท่ง 2-4 แผ่น วางระยะเท่า ๆ กัน ใช้สำหรับเป็นตัวช่วยหมุนตัวสกรูในกรณีที่ไม่ใช้แบริ่งหูหิ้วไม่ให้รางเกิดการเสียหาย บางที่เราอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าขนาบเกลียว เพื่อใช้ช่วยใจการลำเลียงวัสดุที่มีคุณสมบัติเหนียวติดใบสกรูไม่ให้ติดใบสกรูได้
รูปที่ 20 รางแบบมีแท่งเป็นแบบวางรอง (Trough Rider Bars)
1.21 รางแบบมีปลอกสำหรับเปลี่ยนได้และรางแบบมีเสื้อแขวน (Trough Hanger-Pockets) ปีกหิ้วแบบมีปลอกหรือสวมเป็นชุดที่ใช้กับรางแบบที่มีลักษณะคล้ายหลอด ซึ่งปีกหิ้วแบบมีปลอกหรือสวม โดยจะติดตั้งบนรางตรงจุดแบริ่งแขวน กระเป๋านี้จะมีลักษณะคล้ายรูปตัวยูเป็นช่วงสั้นเพราะจะทำให้ทำงานได้สะดวก
รูปที่ 21 รางแบบมีปลอกสำหรับเปลี่ยนได้และรางแบบมีเสื้อแขวน
2. ฝาครอบราง (Cover)
2.1 ฝาครอบรางมีหน้าที่สำคัญดังนี้
2.1.1 ใช้ป้องกันส่วนที่เกิดการเคลื่อนไหวได้ของสกรูลำเลียง ในส่วนที่อาจจะเกิดอันตรายจากการถูกชิ้นส่วนที่หมุนของสกรูลำเลียง
2.1.2 ใช้เป็นส่วนที่ปิดกันวัสดุในการลำเลียงไม่ให้ออกมา และยังป้องกันฝุ่นละอองจากภายนอกเข้าไปข้างในตัวลำเลียงอีกด้วย แรงต้านทานวัสดุนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างของฝาจะต้องมีความแข็งแรงมั่นคง
2.1.3 ถ้าฝาครอบรางหรือตัวเรือนลำเลียงถูกเปิดหรือหลุด ก็เท่ากับการขนถ่ายถูกเปิดออกซึ่งทำให้การขนถ่ายมีประสิทธิภาพลดลงไปนั่นเอง
2.1.4 ป้ายบอกอันตรายในการทำงานและการบำรุงรักษาขั้นแรกจะต้องให้มองเห็น ทำให้หยุดคิดถึงคำเตือนเรื่องความปลอดภัยก่อน
2.1.5 ในการติดตั้งฝาครอบรางนั้นขึ้นอยู่กับระดับความสำคัญของการขนถ่าย และจุดมุ่งหมายของการใช้ฝา
2.1.6 มาตรฐานของฝาครอบรางได้จัดทำอุปกรณ์ในการติดตั้งให้สะดวกขึ้นรวมทั้งฝาครอบรางเป็นแบบพิเศษก็มีให้เลือกมากมายหลายแบบ และอีกส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นส่วน ราง และความกว้างของอ่างรางด้วย
2.1.7 ในการจัดทำอุปกรณ์ที่ใช้ติดฝาครอบนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับแนะนำให้ใช้กับแบบของลำเลียงด้วย
2.1.8 แบบรูปร่างและอุปกรณ์ติดฝาครอบขึ้นอยู่กับแบบของฝุ่นด้วย ชุดประกอบ มักจะทำเป็นสปริงรูปตัว “C” ประกอบด้วยสกรูขันแบบปากเดียว ทำให้สะดวกต่อการถอดทำความสะอาดของ อ่างราง
2.1.9 ปีกของฝาครอบจะมีลักษณะแบบยื่นออกมา และจะต้องแข็งแรงง่ายต่อการยึดจับ หรือง่ายต่อการหานอตมาจับยึดฝาครอบรางด้านบนมีไว้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าไปปะปนกับวัสดุที่เราจะขนถ่ายหรือป้องกันไม่ให้วัสดุที่เราจะขนถ่ายกระเด็นออกไปนอกรางเหล็ก ซึ่งฝาครอบรางส่วนบนของรางเหล็กนี้ สามารถแบ่งได้หลายแบบ
2.2 ฝาครอบรางแบบแบนเรียบ (Plain Cover) ฝาครอบรางแบบนี้สร้างมาจากเหล็กแผ่นธรรมดาไม่ต้องพับหรือโค้งงอวางลงไปบนขอบบนของรางตัวยู แล้วใช้ยึดให้ติดกันโดยการใช้สปริงยึดหรือใช้นอตยึด
รูปที่ 22 ฝาครอบรางแบบแบนเรียบ (Plain Cover)
2.3 ฝาครอบรางแบบมีหน้าแปลนมายึด (Flanged Cover) ฝาครอบรางแบบนี้ ที่ขอบตามด้านยาวพับเป็นมุมฉากพอดีที่จะรองรับความกว้างของรางรัวยู ใช้นอตหรือสปริงยึดก็ได้
รูปที่ 23 ฝาครอบรางแบบมีหน้าแปลนมายึด (Flanged Cover)
2.4 ฝาครอบรางแบบโค้งต่อกับหน้าแปลน (Semi-flanged Cover) ฝาครอบรางแบบนี้หน้าแปลนที่จะวางฝาครอบรางลงไปเอียงเล็กน้อยเป็นมุมประมาณ 30 องศา การยึดสามารถใช้สปริงยึดหรือนอตยึดก็ได้
รูปที่ 24 ฝาครอบรางแบบโค้งต่อกับหน้าแปลน (Semi-flanged Cover)
2.5 ฝาครอบรางกันฝุ่น (Bolted Cover) ฝาครอบรางแบบนี้จัดอยู่ในแบบเดียวกันกับฝาครอบรางแบบมีหน้าแปลนยึดแต่ประกอบเข้ากับรางในลักษณะพิเศษอีกแบบหนึ่งคือ ฝาครอบรางกันฝุ่นตรงขอบด้านยาวก็พับลงเป็นมุม 90 องศา เหมือนกันแต่ใช้กับรางเหล็กแบบรางที่ป้องกันฝุ่นเท่านั้น
รูปที่ 25 ฝาครอบรางกันฝุ่น (Bolted Cover)
2.6 ฝาครอบรางรูปครึ่งวงกลม (Dome Trough Cover) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับราง และมีปีกยืดออกมา 2 ข้าง เพื่อประกบกับรางได้สนิท และปีกที่ยึดด้วยสลักเกลียว หรือปากกาสำหรับจับวัตถุ ตอนปลายจะเป็นปีกรูปวงกลมเหมือนกับรางเป็นหน้าแปลนตรงรอยต่อตอนปลายรางจะมีชุดคั่นกลาง จะเป็นท่อดูดลมหรือกำจัดฝุ่นที่ติดอยู่กับราง ส่วนมากจะป้องกันความร้อน หรือฝุ่นวัสดุที่ฟุ้งกระจายออกมาก
รูปที่ 26 ฝาครอบรางรูปครึ่งวงกลม (Dome Trough Cover)
2.7 ฝาครอบรางครอบกันฝุ่น (Dust Seal Covers) จะมีปีกยื่นออกมาแล้วตลบปีกลงทั้ง 4 ด้าน ให้ประกบแนบสนิทพอดีกับปีกของรางด้านล่าง ความกว้างหน้าตัดฝาครอบไม่ควรยาวเกิน ? ความยาวของตาราง
รูปที่ 27 ฝาครอบรางครอบกันฝุ่น (Dust Seal Covers)
2.8 ฝาครอบรางแบบบานพับ (Hinged Covers) ฝาครอบรางแบบนี้จะเป็นแบบฝาแบนราบหรือแบบแบนรูปพิเศษก็ได้ ซึ่งด้านหนึ่งจะเป็นบานพับเป็นแนวโค้งตลอด ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นปากกาสำหรับยึดฝาครอบรางกับหน้าแปลนที่ปีกของราง เหมาะใช้งานบริเวณที่ต้องการความปลอดภัยจากการลื่นหลุดของฝาครอบ เช่น บริเวณใกล้ทางเดิน หรือบริเวณที่มีโอกาสเกิดการชนกระแทกฝาครอบให้หลุดหล่นได้โดยง่าย เป็นต้น
รูปที่ 28 ฝาครอบรางแบบบานพับ (Hinged Covers)
2.9 ฝาครอบรางแบบหลังคา (Hip Roof Cover) ฝาครอบรางแบบนี้คล้ายกับฝาครองที่มีปีกโดยทั่วไป ผิดกันตรงที่ลักษณะของฝาเป็นยอดจั่วแหลมและลาดลงมาเล็กน้อย ตรงปลายสุดยอดแหลมจะเป็นลักษณะเชื่อมปิดและช่วงต่อตรงส่วนกลางระหว่างแผ่นวัสดุสองแบบทาบปิดด้วยแผ่นโลหะแบบปกติ ฝาครอบรางแบบนี้จะใช้กับงานที่อยู่ในกลางแจ้งหรือที่มีน้ำหนักหล่นมาโดน สามารถไหลลงตามหลังคาลาดชันได้ หรือต้องการใช้งานที่มีฝาครอบแน่นหนาก็ได้
รูปที่ 29 ฝาครอบรางแบบหลังคา (Hip Roof Cover)
2.10 ฝาครอบรางแบบล้นออกมา (Overflow Cover) ฝาครอบแบบนี้มีไว้เพื่อผ่อนการไหลของวัสดุ ทำให้เกิดความปลอดภัยจากวัสดุไหลออกมาจากช่องปล่อยได้โดยตรง การไหลผ่านฝาครอบรางที่ทำแบบฝาเปิดบานพับที่ติดตามความกว้างของรางนั้นต้องใช้แรงของวัสดุดันฝาเปิด แรงนี้จะต้องตั้งบานพับ ฝาครอบรางให้พอเหมาะกับการไหลของวัสดุด้วย ฝาครอบรางนี้เป็นตะแกรงและจะต้องมีป้ายเตือนบอกถึงอันตรายไว้ด้วย
รูปที่ 30 ฝาครอบรางแบบล้นออกมา (Overflow Cover)
2.11 ฝาครอบรางแบบมีแผ่นกั้นด้านข้าง (Shroud Cover) เป็นส่วนที่นอกเหนือจากรางรูปตัวยู และยึดฝาครอบรางด้วยโบลต์ยึดด้านข้างฝาครอบสกรูลำเลียงที่ขนในแนวเอียง และสกรูตัวป้อน ข้อดีของฝาสกรูแบบนี้ก็คือ ช่วยทำให้โครงสร้างของรางแข็งแรงขึ้น และยังสามารถติดตั้งส่วนประกอบชุดแขวนได้ นอกจากนี้แล้วฝาแบบนี้ยังสามารถปิดได้ถึงขอบใบเกลียวสกรูและส่วนของอ่างรางสกรูได้ดีกว่าฝาครอบรางแบบแบนโดยทั่วไป
รูปที่ 31 ฝาครอบรางแบบมีแผ่นกั้นด้านข้าง (Shroud Cover)
2.12 ฝาครอบรางแบบเป็นตะแกรง (Grating Covers) ฝาครอบรางแบบนี้ทำจากลวดหรือเหล็กเส้นนำมาดัดเป็นตะแกรง ซึ่งเราสามารถมองตรวจสอบการทำงานของสกรูลำเลียงได้สะดวกและง่าย
รูปที่ 32 ฝาครอบรางแบบเป็นตะแกรง (Grating Covers)
2.13 ฝาครอบปีกบาร์รอน (Barron Flanged Cover) ถูกออกแบบให้ใช้งานร่วมกับราง ลำเลียงแบบปีกคู่ ฝาครอบนี้ไม่ได้ทำหน้าที่ป้องกันรางลำเลียงจากสภาวะอากาศ แต่ปะเก็น (Gasket) ที่อยู่ระหว่างฝาครอบและรางลำเลียงอีกทั้งอยู่ใต้แคลมป์บาร์รอน (Barron Clamp) ทำหน้าที่เพิ่มระดับการป้องกันสภาวะอากาศ สำหรับการป้องกันสูงขึ้น สามารถติดตัวค้ำยันให้วางซ้อนกับข้อต่อฝาครอบ หลังจากนั้นควรล็อกฝาครอบด้วยสลักหรือแคลมป์สกรู
รูปที่ 33 ฝาครอบปีกบาร์รอน (Barron Flanged Cover)
2.14 ฝาครอบแบบซีลไทต์ (Tite-Seal Cover) ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกับรางลำเลียงปีกเหล็กฉาก ฝาครอบชนิดนี้ทำหน้าที่เพิ่มการป้องกันฝุ่น ฝาปิดแบบเรียบ (Flat Cover) ถูกติดตั้งไว้อย่างหนาแน่นโดยการสร้างขอบเหล็กกล้ารูปตัว U แบบต่อเนื่องตลอดขอบของรางลำเลียงทั้งสอง การสร้างขอบรูปตัว U ดังกล่าวนี้ถูกยึดด้วยยางและซีลที่มีลักษณะเป็นฟองน้ำ แคลมป์ยึดฝาปิดที่เปิดออกได้อย่างรวดเร็วแบบซีลไทต์ทำหน้าที่ยึดชิ้นส่วนทั้งหมดไว้กับที่และนอกจากนั้นยังง่ายต่อการเข้าสู่ส่วนภายในของรางลำเลียง ปะเก็นที่ติดกับด้านล่างของแคลมป์ยึดฝาครอบทำหน้าที่ซีลรอยต่อตลอดความยาวของฝาปิด
รูปที่ 34 ฝาครอบแบบซีลไทต์ (Tite-Seal Cover)
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด