ชุดแขวนและแบริ่งชุดแขวนแกนเพลาสกรู มีหน้าที่เป็นส่วนรองรับตำแหน่งที่เป็นจุดอ่อนของสกรูขนถ่ายเพื่อป้องกันการแอ่นของเพลาสกรูขณะหมุนหรือทำงาน
ธีรศักดิ์ ศรีมิตรรุ่งโรจน์
theerasaks@kmutnb.ac.th
ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชุดแขวนและแบริ่งแกนเพลาสกรู (Hangers and Bearing for Screw Conveyors)
ชุดแขวนและแบริ่งชุดแขวนแกนเพลาสกรู มีหน้าที่เป็นส่วนรองรับตำแหน่งที่เป็นจุดอ่อนของสกรูขนถ่ายเพื่อป้องกันการแอ่นของเพลาสกรูขณะหมุนหรือทำงาน หรือติดตั้งไว้ตรงจุดที่จะปล่อยวัสดุออกทางช่องที่เป็นอยู่
1.1 ชุดแขวนแบบ 16B ชุดแขวนแบบนี้จะมีโครงสร้างเป็นเหล็กหล้าโดยมีความแข็งแรงที่ดีกว่าและไม่โคลงเคลงขณะมีวัสดุที่บรรจุอยู่ทั้งหมดภายในราง ชุดแขวนแบบนี้จะถูกดัดแปลงที่ดีมากต่อการใช้ในงานหนักและมีประโยชน์สำหรับกันฝุ่นละอองเข้าไปหรือทนแดดทนฝน ชุดแขวนแบบนี้จะมีการเตรียมพร้อม สำหรับการหล่อลื่นด้วยจาระบีที่ประกับเพลาที่ใช้โลหะผสม หรือประกับเพลาที่เป็นเหล็กกล้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
รูปที่ 1 ชุดแขวนแบบ 16B
1.2 ชุดแขวนแบบ 18B ชุดแขวนชนิดนี้จะมีโครงสร้างเป็นเหล็กสีเทา ชุดแขวนจะทำหน้าที่ปิดอย่างแน่นหนาโดยสลักเกลียว U ประกับเพลา และเตรียมการสำหรับการหล่อลื่นด้วยจาระบีหยอดน้ำมันให้ชุ่ม หรือเป็นเหล็กกล้า สามารถจะใช้วัสดุอื่นแทนได้เมื่อต้องการ ยกเว้นจะใช้สำหรับการหล่อลื่นที่มีการปกคลุมด้วยผงฝุ่นละอองอัดแน่น
รูปที่ 2 ชุดแขวนแบบ 18B
1.3 ชุดแขวนแบบ 19B ชุดแขวนเหล่านี้ถูกติดตั้งไว้ยังส่วนบนของมุมของรางลำเลียง (Trough Angle) ขอบที่ประกอบอยู่ภายในทำการรองรับส่วนปลายของตัวปิด (Cover) ชุดแขวนชนิดนี้มีการออกแบบให้เหมาะสมและยอมให้วัสดุเคลื่อนที่ผ่านได้อย่างอิสระ และปัจจัยสำคัญมันจะทำความสะอาดด้วยตัวมันเอง และมันจะเป็นทางเข้าที่เตรียมพร้อมสำหรับการหล่อลื่นหรือการบำรุงรักษา โดยทั่วไปพวกมันติดตั้งกับไม้ที่อิ่มตัวด้วยน้ำมัน Arguto, เหล็กแข็ง, ทองเหลือง หรือฝาปิด (Cap) ชนิดอื่น ๆ ยังสามารถติดตั้งเข้าไปได้
รูปที่ 3 ชุดแขวนแบบ 19B
1.4 ชุดแขวนแบบ 30 ถูกออกแบบสำหรับติดตั้งไว้ยังด้านข้องภายในรางลำเลียงซึ่งอยู่บนด้านที่ไม่มี การขนถ่ายวัสดุและมีการกีดขวางการไหลของวัสดุน้อยที่สุด นอกจากนั้น ยังสามารถใช้กับแบริ่งที่ทนต่อแรง เสียดทานได้เป็นอย่างดี
รูปที่ 4 ชุดแขวนแบบ 30
1.5 ชุดแขวนแบบ 70 ถูกติดตั้งเข้ากับบอลแบริ่ง (Ball Bearing) ที่มีคุณสมบัติดังนี้คือ สามารถรองรับงานหนักได้, มีการหล่อลื่นและซีลแบบถาวร และสามารถปรับตัวมันเองให้ขนานกับเพลาได้โดยที่แบริ่งดังกล่าวนี้สามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงถึง 245 องศาฟาร์เรนไฮต์ และรองรับการเปลี่ยนมุมของเพลาได้ถึง 4 องศา ชุดแขวนชนิดนี้ถูกติดตั้งไว้ภายในรางลำเลียง (Trough) และสามารถติดตั้งส่วนหล่อลื่นที่ใช้จาระบีได้ ถ้าพวกมันถูกใช้ในงานจำเพาะอย่าง
รูปที่ 5 ชุดแขวนแบบ 70
1.6 ชุดแขวนแบบ 99-A เหมาะสมกับเกลียวหมุนขนาด 6 จนถึง 24 นิ้ว และถูกออกแบบสำหรับติดตั้งไว้ภายในซึ่งอยู่ในแนวราบ นอกจากนั้น ชุดแขวนชนิดนี้อาจจะถูกติดตั้งเข้ากับโครงส่วนบนที่ผ่านการปรับเปลี่ยนรูปแบบแล้ว (Modified Top Frame) โครงส่วนบนของชุดแขวนทำจากแท่งเหล็กกล้าแบนเรียบ ส่วนที่ใช้ปรับระดับถูกร้อยผ่านส่วนปลายของส่วนประกอบไปยังส่วนที่ใช้บรรจุแบริ่งและรูร้อยนอตยึดที่อยู่ภายในโครงถูกขยายขนาดออกเพื่อให้สามารถปรับระดับได้ ชุดแขวนแบบ 99-A ถูกออกแบบสำหรับรองรับน้ำหนักที่มาก และการออกแบบรูปร่างที่เรียวบางทำให้เกิดการกีดขวางการไหลของวัสดุน้อย
รูปที่ 6 ชุดแขวนแบบ 99-A
1.7 ชุดแขวนแบบ 200A ชุดแขวนแบบที่มีสภาพปกติ ทำให้เป็นแถวเดียวกัน รูปร่างในตัวเรือนเป็นแอ่ง และใช้น้ำมันชนิดหนาในการหล่อลื่นตลับลูกปืน การปรับปรุงออกแบบอนุญาตให้การไหลผ่านของวัสดุได้ดีขึ้น สิ่งที่จำเป็นคือ การปรับปรุงให้หล่อลื่นอย่างเหมาะสม วัสดุที่ใช้ทำหูหิ้วจะหาได้คือ โลหะแบ็บบิต และบอลแบริ่ง
รูปที่ 7 ชุดแขวนแบบ 200 A
1.8 ชุดแขวนแบบ 216 มีโครงสี่เหลี่ยมเหล็กกล้าที่สร้างจากเหล็กกล้า (Formed Steel Box Frame) ซึ่งมีความแข็งแรงสูงมาก และสามารถรองรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี ชุดแขวนชนิดนี้ถูกติดตั้งภายในรางลำเลียง (Conveyor Trough) รูสำหรับยึดอุปกรณ์ถูกเจาะเป็นช่องขนานกับเครื่องขนถ่าย (Conveyors) เพื่อให้สามารถทำการปรับตำแหน่งและแนวการวางตัวได้
โดยทั่วไป ชุดแขวนเหล่านี้ถูกติดตั้งกับแบริ่งเหล็กแข็ง, แบริ่งแบ็บบิต (Babbitted Bearing ทำจากโลหะผสมระหว่างดีบุก, พลวงและทองแดง มีความสามารถต้านทานการผุกร่อนได้ดี), แบริ่งทองเหลือง, แบริ่งไม้ที่อิ่มตัวด้วยน้ำมัน หรือแบริ่งขึ้นรูป
อย่างไรก็ตาม ชุดแขวนเหล่านี้ยังสามารถติดตั้งแบริ่งเฉพาะชนิดอื่น ๆ ได้ทำจากเหล็กหล่อแข็ง หรือโลหะ ผสมบรอนด์ นอกจากนี้อาจทำจากวัสดุพิเศษชนิดอื่นอีก หูหิ้วชนิดนี้โครงสร้างด้านบนจะแข็งแรงไม่โคลงเคลง ได้ง่าย เหมาะสำหรับใช้กับงานที่หนักมาก จะมีร่องสำหรับติดตั้งด้านในของราง ชุดแขวนชนิดนี้จะต้องมีขนาดเท่ากันทั้งหมดเพื่อง่ายต่อการติดตั้ง
รูปที่ 8 ชุดแขวนแบบ 216
รูปที่ 9 แบริ่งสำหรับชุดแขวนแบบ 216
1.9 ชุดแขวนแบบ 216-D เหมาะสมในการใช้งานกับใบสกรูที่มีขนาดตั้งแต่ 6 จนถึง 24 นิ้ว ชุดแขวนแบบนี้ใช้งานร่วมกับรางลำเลียงแบบตายตัว (Rigid Trough) ที่ติดตั้งเพื่อรองรับน้ำหนักเกลียวหมุนขนาดใหญ่ การออกแบบชุดแขวนที่มีลักษณะเฉพาะนี้ ทำให้การกีดขวางการไหลของวัสดุน้อย ชุดแขวนชนิดนี้เหมาะสมกับเหล็กแข็ง, ไม้ที่อิ่มตัวด้วยน้ำมัน หรือการใส่แบริ่งที่อาจถอดเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องถอดชุดแขวนออก หรือแยกชิ้นส่วนของชุดแขวนออกจากกัน
รูปที่ 10 ชุดแขวนแบบ 216-D
1.10 ชุดแขวนแบบ 216F มีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับชุดแขวนแบบ 216 เว้นแต่ชุดแขวนเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อติดตั้งไว้ภายในรางลำเลียงแบบขยายออก (Flared Trough)
รูปที่ 11 ชุดแขวนแบบ 216F
1.11 ชุดแขวนแบบ 220 ชุดแขวนชนิดนี้รูปทรงจะเหมือนกับ ชุดแขวนแบบ 226 ผิดกันตรงรูสำหรับ ยึดด้านบนและจะต้องเป็นแนวเดียวกันเพื่อง่ายต่อการติดตั้ง ชุดแขวนชนิดนี้ไปทำด้วยเหล็กหล่อแข็ง โลหะผสมบรอนด์ ไม้ชุบชนิดแข็ง หรือแบบพิเศษที่ทำจากสแตนเลส
รูปที่ 12 ชุดแขวนแบบ 220
รูปที่ 13 แบริ่งสำหรับชุดแขวนแบบ 220
1.12 ชุดแขวนแบบ 226 เป็นชุดแขวนแบบที่ยึดติดตายตัวมีโครงสี่เหลี่ยมแข็งที่สร้างจากเหล็กกล้า และมีช่องทางไหลผ่านของวัสดุปริมาณมาก ชุดแขวนชนิดนี้ถูกติดตั้งภายในรางลำเลียง รูสำหรับยึดอุปกรณ์ถูกเจาะเป็นช่องขนานกับเครื่องขนถ่ายเพื่อให้สามารถทำการปรับตำแหน่งและแนวการวางได้ โดยทั่วไป ชุดแขวนเหล่านี้ถูกติดตั้งกับแบริ่งเหล็กแข็ง, แบริ่งแบ็บบิต, แบริ่งทองเหลือง, แบริ่งไม้ที่อิ่มตัวด้วยน้ำมัน หรือแบริ่งขึ้นรูป อย่างไรก็ตามชุดแขวนเหล่านี้ยังสามารถติดตั้งกับแบริ่งเฉพาะชนิดอื่น ๆ ได้
รูปที่ 14 ชุดแขวนแบบ 226
รูปที่ 15 แบริ่งสำหรับชุดแขวนแบบ 226
1.13 ชุดแขวนแบบ 230 ชุดแขวนชนิดนี้มีโครงสร้างอย่างเดียวกับชุดแขวนแบบ 216 เว้นแต่ ชุดแขวนประเภทนี้ถูกติดตั้งไว้ยังส่วนบนหน้าแปลนของรางลำเลียงหรือมุมของรางลำเลียง โดยทั่วไปชุดแขวนเหล่านี้ถูกติดตั้งกับแบริ่งเหล็กแข็ง, แบริ่งแบ็บบิต, แบริ่งทองเหลือง, แบริ่งไม้ที่อิ่มตัวด้วยน้ำมัน หรือแบริ่งขึ้นรูป อย่างไรก็ตามชุดแขวนเหล่านี้ยังสามารถติดตั้งกับแบริ่งเฉพาะชนิดอื่น ๆ ได้ เหล็กกล้า ไร้สนิมสามารถนำมาใช้สร้างโครงของชุดแขวนได้ด้วยเช่นกัน
รูปที่ 16 ชุดแขวนแบบ 230
รูปที่ 17 แบริ่งสำหรับชุดแขวนแบบ 230
1.14 ชุดแขวนแบบ 260 ชุดแขวนชนิดนี้รูปร่างลักษณะเป็นแบบตลับลูกปืน ในแนวตรงเหมาะสำหรับงานที่ใช้กำลังไม่มากเป็นงานที่เงียบ การเกาะติดของวัสดุอื่นมีน้อยมากเนื่องจากการหล่อลื่นของตัวมันเอง การหล่อลื่นของชุดแขวนแบบ 260 นี้ จะมีการหล่อลื่นที่เหมาะสม รูสำหรับใส่สลักเกลียวเจาะเผื่อความกว้าง ไว้ และมีรูสำหรับใช้กับชุดแขวนตลับลูกปืนใช้ต่อร่วมกัน
รูปที่ 18 ชุดแขวนแบบ 260
รูปที่ 19 แบริ่งสำหรับชุดแขวนแบบ 260
1.15 ชุดแขวนบอลแบริ่งแบบ 270 มีบอลแบริ่งที่สามารถปรับตัวมันเองให้ขนานไปกับเพลาได้ โครงชุดแขวนมีลักษณะเป็นแบบกล่องซึ่งมีตัวรองรับแบบสลักท่อสำหรับแบริ่ง แบริ่งถูกปรับระดับความยาว ให้เหมาะสมกับโครงส่วนบนของชุดแขวนโดยการปรับระดับดังกล่าวนี้ถูกกระทำจากโรงงานผลิต และแบริ่ง ถูกล็อกด้วยตัวผนึก (Sealant) และนอตสำหรับล็อก
โครงถูกออกแบบสำหรับติดตั้งภายในรางลำเลียง และถูกเจาะช่องสำหรับยึดขนานกับเครื่อง ขนถ่ายเพื่อให้สามารถทำการปรับตำแหน่งและแนวการวางตัวได้ แต่มีข้อเสียคือ การหล่อลื่นของลูกปืนจะต้องคอยดูแลอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการออกแบบนั้นจะต้องสามารถประกอบได้ง่ายสะดวก จะมีฝาปิดป้องกันฝุ่นละอองที่จะเข้าไปอุดตันรูของสลักเกลียวที่อยู่ด้านบน
รูปที่ 20 ชุดแขวนบอลแบริ่งแบบ 270
รูปที่ 21 แบริ่งสำหรับชุดแขวนแบบ 270
1.16 ชุดแขวนที่ใช้ในรางลำเลียงแบบขยาย อาจถูกสร้างขึ้นในลักษณะของชุดแขวนที่ทำขึ้นในแบบ ใด ๆ แต่จะมีความคล้ายคลึงกับชุดแขวนแบบ 226 แต่ปรับปรุงขึ้นเพื่อใช้สำหรับรางลำเลียงแบบขยาย โดยทั่วไป ชุดแขวนเหล่านี้ถูกติดตั้งกับแบริ่งเหล็กแข็ง, แบริ่งแบ็บบิต, แบริ่งทองเหลือง, แบริ่งไม้ที่อิ่มตัวด้วย น้ำมัน หรือแบริ่งขึ้นรูป อย่างไรก็ตามชุดแขวนเหล่านี้ยังสามารถติดตั้งกับแบริ่งเฉพาะชนิดอื่น ๆ ได้
รูปที่ 22 ชุดแขวนรางลำเลียงแบบขยาย
1.17 ชุดแขวนแบบ 316 มีโครงสี่เหลี่ยมที่สร้างจากเหล็กกล้าซึ่งมีความแข็งแรงสูงมาก อีกทั้งยังสามารถรองรับงานหนักได้เป็นอย่างดี ชุดแขวนชนิดนี้ถูกติดตั้งภายในรางลำเลียงและสามารถปรับตัวมันเองได้ นอกจากนี้ ชุดแขวนนี้สามารถที่จะติดตั้งไว้ในหลากหลายปฏิบัติการ ซึ่งอาจปรากฏอยู่ระหว่างเกลียวหมุนของเครื่องมือขนถ่ายและรางลำเลียง รูสำหรับยึดอุปกรณ์ถูกเจาะเป็นช่องขนานกับเครื่องมือขนถ่ายเพื่อให้สามารถปรับตำแหน่งและการวางตัวได้ โดยทั่วไปชุดแขวนเหล่านี้ถูกติดตั้งกับแบริ่ง เหล็กแข็ง, แบริ่งแบ็บบิต, แบริ่งทองเหลือง, แบริ่งไม้ที่อิ่มตัวด้วยน้ำมัน หรือแบริ่งขึ้นรูป อย่างไรก็ตาม ชุดแขวนเหล่านี้ยังสามารถติดตั้งกับแบริ่งเฉพาะชนิดอื่น ๆ ได้
รูปที่ 23 ชุดแขวนแบบ 316
1.18 ชุดแขวนแบบ 326 มีโครงแข็งที่สร้างจากเหล็กกล้าและมีช่องทางไหลผ่านของวัสดุปริมาณมาก ชุดแขวนชนิดนี้ถูกติดตั้งภายในรางลำเลียงและสามารถปรับตัวมันเองได้ นอกจากนี้ ชุดแขวนนี้สามารถที่จะติดตั้งไว้ในหลากหลายปฏิบัติการซึ่งอาจปรากฏอยู่ระหว่างเกลียวหมุนของเครื่องมือขนถ่ายและรางลำเลียง รูสำหรับยึดอุปกรณ์ถูกเจาะเป็นช่องขนานกับเครื่องขนถ่ายเพื่อให้สามารถทำการปรับตำแหน่งและแนวการวางตัวได้ โดยทั่วไป ชุดแขวนเหล่านี้ถูกติดตั้งกับแบริ่งเหล็กแข็ง, แบริ่งแบ็บบิต, แบริ่งทองเหลือง แบริ่งไม้ที่อิ่มตัวด้วยน้ำมัน หรือแบริ่งขึ้นรูป อย่างไรก็ตามชุดแขวนเหล่านี้ยังสามารถติดตั้งกับแบริ่งเฉพาะชนิดอื่น ๆ ได้
รูปที่ 24 ชุดแขวนแบบ 326
รูปที่ 25 แบริ่งสำหรับชุดแขวนแบบ 326
1.19 ชุดแขวนที่กำจัดวัสดุตกค้างด้วยอากาศ (Air Purged Hanger) ชุดแขวนแบบนี้เหมาะสำหรับในการใช้ในเครื่องขนถ่ายวัสดุที่เป็นฝุ่นผงและมีคุณสมบัติกัดกร่อนซึ่งนำไปสู่การหยุดชงักของกระบวนการขน ถ่ายและยังนำไปสู่ความเสียหายของแบบริ่งชุดแขวน (Hanger Bearing) ชุดแขวนแบบกวาดด้วยอากาศ (Air-swept Hanger) เหมาะสมกับเครื่องมือขนถ่ายที่มีขนาด 9 ถึง 24 นิ้ว ไม่ควรใช้งานชุดแขวนชนิดนี้เมื่อทำการขนถ่ายวัสดุที่ร้อน (สูงกว่า 250 องศาฟาเรนไฮต์) หรือวัสดุที่มีลักษณะเหนียวชื้น หรือเมื่อทำการขนถ่ายวัสดุที่ไม่มีคุณสมบัติกัดกร่อน
รูปที่ 26 ชุดแขวนที่กำจัดวัสดุตกค้างด้วยอากาศ (Air Purged Hanger)
1.20 ชุดแขวนแบบเกลียวหมุนกับแบริ่งแบบกวาดด้วยอากาศ (Air-swept Bearing) แนะนำให้ใช้ชุดแขวนแบบกวาดอากาศเมื่อทำการขนถ่ายวัสดุที่เป็นฝุ่นผงและวัสดุที่มีคุณสมบัติกัดกร่อนซึ่งนำไปสู่การหยุดชะงักของกระบวนการขนส่งและนำไปสู่การเสียหายของแบริ่งชุดแขวน ปัญหาของแบริ่งนี้ถูกแก้ไขโดยกระบวนการเบื้องต้นโดยใช้อากาศอัดเป่าผ่านเสื้อแบริ่ง (Bearing Housing) ที่ทำจากเหล็กเหนียว โดยที่เสื้อแบริ่งดังกล่าวนี้จะติดตั้งบอลแบริ่งที่ผ่านการซีลไว้ภายใน
รูปที่ 27 ชุดแขวนแบบเกลียวหมุนกับแบริ่งแบบกวาดด้วยอากาศ
อากาศที่ความดันประมาณ 1.25 PSI ผ่านเสื้อทางส่วนบนและผ่านไปรอบ ๆ แบริ่งและถูกขับออกที่บริเวณรอบ ๆ ข้อต่อเพลาทั้งสองด้านของเสื้อแบริ่ง ดังนั้น แบริ่งจึงถูกป้องกันจากฝุ่นและวัสดุในรางลำเลียง ตลอดเวลาการทำงาน อากาศเพียงแค่ 3 ถึง 7 คิวบิกฟุตต่อนาทีถูกใช้เพื่อทำให้แบริ่งชุดแขวนสะอาด ปราศจากฝุ่น เพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่นภายในเสื้อแบริ่ง ตัวหน่วงเวลา (Timing Relay) ทำให้อากาศไหลแบบต่อเนื่องบนแบริ่งเป็นระยะเวลา 90 นาทีหลังจากเครื่องขนถ่ายหยุดการทำงานนอกจากนั้นระบบล็อกภายในแบบไฟฟ้า (Electrical Interlock System) สามารถหยุดการทำงานเครื่องขนถ่ายได้ทันทีเมื่อการไหลของอากาศถูกรบกวน
รูปที่ 28 ชุดแขวนแบบ Air-swept Bearing ภายในรางลำเลียง
ชุดแขวนแบบกวาดด้วยอากาศเหมาะสำหรับเครื่องขนถ่ายที่มีขนาด 9 จนถึง 24 นิ้ว และไม่ใช้งาน ชุดแขวนนี้เมื่อทำการขนถ่ายวัสดุที่ร้อน (มากกว่า 250 องศาฟาร์เรนไฮต์), วัสดุที่เปียก, หรือวัสดุที่เหนียว หรือเมื่อทำการขนถ่ายวัสดุที่ไม่มีคุณสมบัติผุกร่อนในขณะที่ชุดแขวนราคาถูกจะทำให้เกิดความพึงพอใจใน งานในระหว่างการทำงาน ชุดแขวนแบบกวาดด้วยอากาศทำงานได้ค่อนข้างไม่มีปัญหา ชุดแขวนชนิดนี้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงรบกวน และช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการขนถ่ายวัสดุลงเพราะว่ามันมีสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่ำ ภาระของรางลำเลียงมากที่สุดไม่ควรเกินกว่า 15 เปอร์เซ็นต์
เอกสารอ้างอิง
1. ANSI/CEMA 350-2009, CEMA STANDARD No. 350, "SCREW CONVEYORS"
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด