โปรแกรมสำรวจสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กนี้มีชื่อว่า TL Workstation หรือ TLW ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์หาค่าสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าได้ แต่ยังสามารถวิเคราะห์หาค่าอื่น ๆ ที่จำเป็นในงานระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าได้อีกด้วย
โปรแกรมสำรวจสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กของสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
อารีย์ หวังศุภผล
โปรแกรมสำรวจสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กนี้มีชื่อว่า TL Workstation หรือ TLW ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์หาค่าสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าได้ แต่ยังสามารถวิเคราะห์หาค่าอื่น ๆ ที่จำเป็นในงานระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าได้อีกด้วย เช่น Ozone ที่เกิดขึ้น ระดับเสียงที่สามารถได้ยินได้ การรบกวนคลื่นวิทยุ เป็นต้น สำหรับการใช้งานนั้นใช้งานได้จากการป้อนข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ ลงไปเช่น Dimension ของ Tower ระยะ Span ของ Tower ขนาดสายที่ใช้และการวางตัวของสาย กระแสที่จ่ายโหลดอยู่ โปรแกรมก็จะคำนวณหาค่าต่าง ๆ ที่ต้องการออกมาได้โดยอัตโนมัติ
สถาปัตยกรรม TL Workstation
โปรแกรม TLW เป็นโปรแกรมที่มีเนื้อหาครอบคลุมสำหรับใช้ออกแบบสายส่งใหม่ และอัพเกรดสายส่งเก่าที่มีอยู่เดิม โปรแกรมนี้ประกอบด้วยโมดูลย่อยหลายส่วนคือ ACDC LINE, RNOISE และ CORRIDOOR ซึ่งสามารถใช้งานแยกเป็นอิสระหรือจะใช้ร่วมกันออกแบบงานต่าง ๆ ได้ดังนี้
- วิเคราะห์และออกแบบสายส่งให้ถูกต้องเหมาะสม
- อัพเกรดและออกแบบสายส่ง
- วิเคราะห์และออกแบบฐานราก
- วิเคราะห์ตัวนำและฉนวน
- วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง
โปรแกรม TLW ในยุคก่อนใช้งานบน MS-DOS แต่ในปัจจุบันได้อัพเกรดมาจนกระทั่งเวอร์ชัน 3.0 และใช้งานได้เต็มที่บนวินโดวส์ ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการออกแบบ และปรุงปรุงแก้ไขการออกแบบสายส่งได้เป็นอย่างดี TLW ยังมีเอกสารช่วยเหลือ (Help Documentation) เพื่อใช้ศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว ประกอบกับการแสดงผลเป็นรูปภาพสี ที่มีทั้ง 2 และ 3 มิติ ที่ทำให้เข้าใจผลลัพธ์ของการออกแบบได้ดีอีกด้วย
สเปกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้
ใน Module ACDE LINE ต้องการองค์ประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ดังนี้
- โปรเซสเซอร์ 80386 ขึ้นไป หรือที่ใช้ได้กับ PC (Compatible PC)
- RAM ว่างอย่างน้อย 4 MB พร้อมกับ Memory ใช้รัน Microsoft Windows
- Hard Disk มีบทว่างอย่างน้อย 25 MB พร้อมกับพื้นที่ดิสก์ที่ Windows ต้องการใช้รันโปรแกรม
- Microsoft Windows 3.1 หรือมาสูงกว่า
- เมาส์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ชี้จุดได้
- จอภาพ VGA หรือที่สูงกว่า
- ดิสก์ไดรฟ์ 3.5 นิ้ว
การใช้งานโมดูล ACDC LINE
โปรแกรม ACDC LINE ประกอบไปด้วยเครื่องมือสำคัญต่าง ๆ หลายอย่าง เพื่อใช้ศึกษาพฤติกรรมของปรากฏการณ์สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่เกิดจากสายส่ง AC และ DC และสายส่ง AC/DC แบบไฮบริดจ์ โปรแกรมสามารถแสดงภาพการวางตัวของสายเพื่อใช้ในการคำนวณตามที่ผู้ใช้ใส่เข้าไปและสามารถคำนวณค่าต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. แรงดันเกรเดียนต์ที่ผิวตัวนำ
2. ความสูญเสียโคโรนา
3. เสียงที่สามารถได้ยินได้
4. คลื่นรบกวนความถี่วิทยุ
5. โอโซน
6. สนามไฟฟ้า
7. ความหนาแน่นไอคอน
8. กระแสไอออน
9. ระดับความเข้มสนามไฟฟ้าที่ทำให้รู้สึกได้
10. การเชื่อมโยงไปยังวัตถุ
11. การป้องกันจากวัตถุ
12. สนามแม่เหล็ก
13. ความสามารถป้องกันเสิร์จของเพาเวอร์
14. การเลือกฉนวนบนพื้นฐานของการปนเปื้อน บนผิวฉนวน
สถาปัตยกรรม ACDC LINE
โปรแกรม ACDC LINE ประกอบไปด้วยโปรแกรมย่อยต่าง ๆ หลายโปรแกรม ซึ่งถูกนำมารวมกันกลายเป็นโปรแกรมที่สมบูรณ์เพื่อใช้คำนวณค่าต่าง ๆ ของสายส่งเหนือพื้นดิน เมื่อผู้ใช้ใส่รหัสตัวนำที่ถูกต้อง โปรแกรมจะใส่ค่าคงที่ต่างๆ ทางกายภาพให้อัตโนมัติ โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ และออกแบบสายส่ง AC, DC, สายส่งหลายวงจรหรือสายส่ง AC/DC แบบไฮบริดจ์ โดยการกำหนดระยะต่าง ๆ ของสายส่งและสายกราวด์ รวมถึงระยะห่างของเสาด้วย
ในแต่ละโครงงานโปรแกรมคำนวณสายส่งต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. สายส่ง AC คำนวณได้ถึง 12 เฟส
2. สายส่ง AC และ/หรือ DC bundles คำนวณได้ถึง 24 bundles (รวมเส้นที่มีไฟและสายกราวด์)
3. คำนวณตัวนำอิสระได้ 50 ตัวนำ
4. การวางตัวของสายส่งแบบธรรมดาและไม่ธรรมดา
เริ่มการใช้งานโปรแกรม ACDE LINE
1. เมื่อเปิดโปรแกรม TLW 3.0 ขึ้นมาที่หน้าต่าง Executive จะปรากฏโมดูลย่อยอยู่ 3 โมดูลให้ดับเบิลคลิกที่ ACDC LINE 3.0 จะได้หน้าต่างของโปรแกรมขึ้นมา
2. คลิกที่เมนู File จะปรากฏคำสั่งต่าง ๆ ขึ้นมา ถ้าต้องการสร้างงานขึ้นใหม่ให้เลือก New Project แต่ในที่นี้จะเป็นการศึกษาโปรแกรมตัวอย่าง (DEMO) ก่อนเพื่อทำความเข้าใจในการใส่ข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นเลือก Open Project เพื่อเลือกงานที่มีอยู่แล้ว
3. จะปรากฏไดอะลอกบอกซ์ Open Project ขึ้นมา ทำการเลือก DEMO 3A ในแถวบนสุดจะมีรายละเอียดของโครงงานในช่อง Description: ด้านล่างซึ่งสามารถแก้ไขได้ จากนั้นกดปุ่ม OK
4. ในไดอะลอกบอกซ์ Project Name จะมีการแสดงกรณีของโครงงานขึ้นที่กระทำอยู่และรายละเอียดของโครงงานนั้น จากนั้นคลิกปุ่ม OK
5. โปรแกรมจะแสดงไดอะลอกบอกซ์ Project Information ซึ่งมีช่องต่าง ๆ แสดงรายละเอียดของโครงงานอีกครั้งซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ ยกเว้นในช่อง Description จากนั้นกดปุ่ม Next เพื่อทำการใส่ข้อมูลต่อไป
6. ในไดอะลอกบอกซ์ General Parameters จะมีช่องของ Measurement Out ซึ่งแสดงเป็นหน่วย SI ไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งจะต้องทำการเลือกหลังจากเริ่มต้น Project ใหม่ เท่านั้น สำหรับช่อง Frequency สามรรถออกจาก drop down menu (50 และ 60 Hz) และในช่อง Case Description สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ด้วยเช่นกัน จากนั้นกดปุ่ม Next
7. จะปรากฏไดอะลอกบอกซ์ Execution Options ขึ้นมา ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ คือ Corona Calculations (Average Height), E-Field and Ion Calculation (Actual Height) , Magnetic Field Calculation ที่ใช้สามารถเลือกหัวข้อย่อยต่าง ๆ โดยคลิกในช่องว่างที่ต้องการ หัวข้อย่อยต่าง ๆ มีความหมายดังนี้
Corona Calculation (Average Height)
7.1 Surface Gradient เป็นการคำนวณค่าแรงดันเกรเดียนต์สูงสุดที่ผิวของตัวนำที่ระดับความสูงเฉลี่ย ถ้าต้องการคำนวณที่ระดับความสูงจริง ต้องใช้ E-field and Ion Plots ในการคำนวณ
7.2 Corona Loss โปรแกรมจะสร้างตารางผลรวมของความสูญเสียเนื่องจากโคโรนาของสายส่งทั้ง AC และ DC สำหรับตารางความสูญเสียของสายส่ง DC จะมีตารางแสดงสภาพอากาศพิมพ์ออกมาด้วย
7.3 Audible Noise เป็นการคำนวณเสียงที่เกิดจากสายส่ง โดยใช้วิธี EPRI-HVTRC และวิธีอื่น ๆ คือ BPA, CRIEM, EDF, ENFL และ IREQ
7.4 Ozone เป็นการคำนวณจำนวนของโอโซนที่เกิดจากตัวนำแต่ละเส้น และสามารถคำนวณการรวมตัวของโอโซนที่เพิ่มขึ้นที่อุณหภูมิสูงกว่าปกติ ที่ระดับความสูงตามที่ต้องการเหนือพื้นดินทุก ๆ ระยะทางจาก Right-of-way โอโซนที่เกิดขึ้นมีหน่วยเป็น ปอนด์/ไมล์/ชั่วโมง การวมตัวของโอโซนที่เพิ่มขึ้นมีหน่วยเป็น 1 ส่วน ต่อ 1000 ล้านส่วน ซึ่งหมายถึง โมเลกุลของโอโซน 1 โมเลกุล ต่อ โมเลกุลของก๊าซต่าง ๆ ในอากาศ 1000 ล้านโมเลกุล
7.5 Radio Noise โปรแกรมจะสร้างตามรางแยกหัวข้อ และพิมพ์ค่าเกรเดียนต์ที่ผิว และการรบกวนคลื่นตามถี่วิทยุออกมา 2 ตาราง
การรบกวนคลื่นความถี่วิทยุมีหน่วยเป็น dB alcove 1w/m2 ของตัวนำแต่ละกลุ่มที่สภาวะฝนฟ้าคะนองปานกลาง, L1 rain และ L50 rain
การรบกวนคลื่นความถี่วิทยุที่จุดต่าง ๆ หน่วยเป็น dB ที่ฝนฟ้าคะนองปานกลาง, ฝนตกหนัก (L1) และสภาวะตัวนำเปียก (L50) ซึ่งวัดระยะจากจุดกึ่งกลางสายออกไปในหน่วยของฟุตและเมตร
E-field and Ion Calculations (Actual Height)
7.6 Surface Gradient คำนวณแรงดันเกรเดียนต์สูงสุดที่ผิวตัวนำที่ระดับความสูงจริง ผลลัพธ์จะได้ในระยะกลางช่วงเสา (Midspan) และบริเวณทั่วไป ซึ่งมากกว่าผลลัพธ์จากการคำนวณในหัวข้อใหญ่ Corona Calculations ที่ใช้ความสูงเฉลี่ย
7.7 Electric field and ions without shielding objects สำหรับสายส่ง DC จะคำนวณโคโรนาอิ่มตัว, ค่าความเข้มสนามไฟฟ้า, ความหนาแน่นกระแส DC สูงสุดและความหนาแน่นไอออนสูงสุดในระยะต่าง ๆ จากจุดกึ่งกลางสาย สำหรับสายส่ง AC จะคำนวณค่า ณ จุดต่าง ๆ จากกึ่งกลางสาย เช่น ค่าความเข้มสนามไฟฟ้าสูงสุด และค่าอื่น ๆ
7.7.1 สำหรับแต่ละชุดกลุ่มตัวนำ DC ระดับของโคโรนาอิ่มตัวคำนวณบนพื้น-ฐานสภาพอากาศบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ (หนาว, เย็น และหน้าร้อนที่อบอุ่น) ตามที่ผู้ใช้สามารถระบุได้ และสามารถแสดงค่าความเข้มสนามไฟฟ้า DC สูงสุดใน 2 ลักษณะได้ คือ สนามไฟฟ้าสถิต (ไม่มีโคโรนา) และค่าอิ่มตัว (โคโรนาสูงสุด) พร้อมกับตารางเพิ่มเติมอีก 2 ตาราง คือ ค่าความหนาแน่นกระแส DC สูงสุด และความหนาแน่นไอออนสูงสุด และตารางต่อไปแสดงค่าสนาม DC และความหนาแน่นไอออนที่ระยะต่าง ๆ วัดจากจุดกึ่งกลางสายในสภาพอากาศต่าง ๆ กัน คือ อากาศร้อนปานกลาง (50 และ 95%) และฝนตก (50 และ 95%)
7.7.2 สำหรับแต่ละชุดของกลุ่มตัวนำ AC ตารางผลลัพธ์จะแสดงค่าสนามไฟฟ้า AC สูงสุด, อัตราส่วนของแกนหลักและแกนรองของวงรี, องค์ประกอบแนวตั้ง, องค์ประกอบแนวนอน และศักย์ไฟฟ้าในอากาศตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนด
7.8 Sensation Levels โปรแกรมจะคำนวณค่าความเข้มสนามไฟฟ้าที่มนุษย์รู้สึกได้ แสดงออกมาเป็นตัวเลข 0-5 ซึ่งทำให้ทราบถึงผลตอบสนองต่าง ๆ ของบุคคลที่เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมนี้ ระดับ 0 เป็นระดับความรุนแรงที่น้อย และค่าตัวเลขมาก แสดงค่าความรุนแรงที่มาก ซึ่งหมายถึงทำให้รู้สึกไม่สบายตัว
7.9 Coupling of object and Shielding of objects โปรแกรมจะสร้างผลลัพธ์ของแรงดันที่เชื่อมโยงไปยังวัตถุต่าง ๆ ในระยะ Right-of-way (ความกว้างของเขตสิทธิปลอดภัย) ซึ่งเป็นผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นกับวัตถุทั้งที่อยู่กับที่หรือเคลื่อนไหวได้โดยผู้ใช้โปรแกรมเป็นผู้กำหนดลงไป พร้อมกับต้องใส่ข้อมูลผลกระทบจากจากการป้องกันของวัตถุด้วย
Magnetic Field Calculation (Actual Height)
เป็นการคำนวณที่ระยะความสูงจริงของตัวนำโปรแกรมไม่สามรถคำนวณตามสภาพภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงได้ ความสูงของตัวนำอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะช่วงเสา ความสูงที่แท้จริงคือระยะจากพื้นดินไปจนถึงกึ่งกลางของกลุ่มตัวนำ ค่านี้เหมาะสมที่จะใช้เป็นจุดที่กำหนดตามจุดที่กำหนดเหล่านี้จะถูกนำมาคำนวณ เนื่องจากระยะหย่อนยานของสายแนวยาว (Longitudinal Location) จุดที่กำหนดเหล่านี้จะถูกนำมาคำนวณ ดังนั้นค่าที่คำนวณออกมานี้จะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับค่าที่ได้รับมาคือใกล้กับระยะกึ่งกลางเสา หรือใกล้กับทาวเวอร์
7.10 Magnetic Field ในส่วนนี้โปรแกรมจะสร้างตารางผลลัพธ์ขึ้นมา 2 ตารางด้วยกันคือ ตารางกระแสในสายของ
7.10.1 กลุ่มตัวนำ AC แสดงค่ากระแสเฟสเซอร์ (ค่าจริง), ค่าจินตภาพ และขนาดของกระแส) รวมถึงที่เกิดขึ้นที่สาย OHGW ด้วย
7.10.2 ตารางสนามแม่เหล็กที่จุดต่าง ๆ ทั้ง AC และ DC สำหรับกลุ่มตัวนำ AC จะแสดงค่าตามแกนหลักและอัตราส่วนระหว่างแกนหลักต่อแกนรอง องค์ประกอบตามแนวแกนตั้งและนอน สำหรับกลุ่มตัวนำ DC จะแสดงค่าสนามแม่เหล็ก ณ จุดต่าง ๆ ในองค์ประกอบแนวตั้งและแนวนอน หน่วยของสนามแม่เหล็กทั้งหมด คือ มิลิเกาส์
Insulation Analysis
การคำนวณนี้ครอบคลุมไปถึงความน่าจะเป็นการเกิดแฟลชโอเวอร์ของเพาเวอร์ และการเลือกฉนวนแบบต่าง ๆ บนพื้นฐานของสิ่งปนเปื้อนที่จะเกิดบนฉนวน การวิเคราะห์การป้องกันฟ้าผ่า วิเคราะห์ได้โดยใช้โปรแกรม Multiflash ใน TL Workstation
7.11 Switching Surge Performance เป็นการคำนวณค่าความน่าจะเป็นของแฟลชโอเวอร์ของเพาเวอร์ในภาวะแห้งและฝนตก และแสดงค่าแก้ไขที่เหมาะสม โปรแกรมจะสร้างตารางขึ้นมาเป็นข้อมูลอินพุตที่สำคัญที่สุดในตารางที่ 3 "CFO Data" (Critical Flashover Voltage) มีข้อมูลที่ถูกคำนวณขึ้นมาของกลุ่มตัวนำต่าง ๆ ในตารางที่ 5 "AT Mospheric CFO Correction Factors) แสดงถึงค่าแก้ไขที่เหมาะสม ใน 3 ตารางท้ายสุดประกอบไปด้วยค่า Switching Surge Performance ที่ถูกคำนวณขึ้นมา และค่าความน่าจะเป็นของแฟลชโอเวอร์ในสภาวะที่แห้งและฝนตก
7.12 Insulator Contamination แสดงผลระดับของแรงดันและการปนเปื้อนของฉนวนพร้อมกับมีข้อแนะนำชนิดของฉนวนและความยาว ในหัวข้อนี้โปรแกรมจะสร้างตารางขึ้นมา 2 ตาราง เพื่อแสดงข้อมูลระดับแรงดันกับระดับการปนเปื้อนของฉนวน และแสดงข้อมูลคำแนะนำเกี่ยวกับฉนวน
8 หลังจากนั้นจะปรากฏไดอะลอกบอกซ์ Circuit Specifications-General ขึ้นมาซึ่งใช้สำหรับใส่ข้อมูลต่าง ๆ ลงไปดังนี้
8.1 จำนวนของกลุ่มสายตัวนำ เป็นส่วนที่ผู้ใช้แก้ไขไม่ได้ค่าดีฟอลต์คือ 1-23
8.2 จำนวนของวงจร สามารถใส่ค่าได้ตั้งแต่ 1-24 ค่าดีฟอลต์เป็น 1
8.3 ขั้วหรือเฟส ข้อมูลในส่วนนี้ใช้ระบุรูปแบบของกลุ่มตัวนำและแรงดันของแต่ละเฟสของสายส่ง AC สามารถใส่ค่าได้ตั้งแต่ A-L และค่ามุมโปรแกรมจะใส่ไปโดยอัตโนมัติ
A - L = กลุ่มสายตัวนำ AC
DC = กลุ่มสายตัวนำ DC
G0 = สายกราวนด์แบบต่อเนื่อง
G1 = สายกราวนด์แยกเป็นส่วน ๆ
G2 = สาย neutral ของระบบ DC
8.4 แรงดัน ดีฟอลต์คือ 500V สำหรับสายส่ง DC ให้ใส่ขั้วของแรงดันด้วย และสายกราวด์ทุกแบบหรือสาย Neutral ของ DC ใส่ค่า 0
8.5 กระแสใช้งานปัจจุบัน ใส่ค่ากระแสพร้อมขั้วในกรณีสายส่ง DC
8.6 มุมเฟสที่ใช้งานปัจจุบัน ค่ามุมเฟสถ้าทราบหรือ โปรแกรมจะใส่ให้อัตโนมัติจากอักษร A-L
8.7 จำนวนตัวนำของวงจรย่อย สำหรับใส่ค่าจำนวนตัวนำย่อย ค่าดีฟอลต์คือ 1
8.8 กลุ่มตัวนำแบบธรรมดา ช่องข้อมูลนี้แสดงรูปแบบของกลุ่มตัวนำ (ธรรมดาและไม่ธรรมดา) ใส่ค่า Y คือ "yes" เพื่อแสดงว่าเป็นกลุ่มตัวนำปกติ และ N คือ "no" สำหรับกลุ่มตัวนำที่ไม่ธรรมดาเช่นอาจจะมีช่องว่างระหว่างตัวนำย่อยที่ไม่เท่ากัน ขนาดตัวนำไม่เท่ากัน หรือรูปแบบการวางตัวของสายไม่เหมือนกับมาตรฐาน
8.9 พิกัดแกน X เป็นตำแหน่งของกลุ่มสายตัวนำตามแนว Cross Arm
8.10 พิกัดแกน Y เป็นความสูงของสายที่ตำแหน่งทาวเวอร์
8.11 ระยะหย่อนยาน เป็นค่าแนวแกนตั้งระหว่างระยะที่น้อยที่สุดของสายกับพื้นดิน ปกติจะที่ Midspan
8.12 ระยะช่วงเสา สำหรับใส่ค่าระยะระหว่างเสา
8.13 ตำแหน่งทาวเวอร์สำหรับใส่ค่าตามแนวแกน Z ของทาวเวอร์โดยสัมพันธ์กับจุดอ้างอิงซึ่งจะเป็นจุดใดก็ได้เช่น จุดมาร์ก หน้าสถานีไฟฟ้า
9. ไดอะลอกบอกซ์ Circuit Specifications-Regular Bundles เป็นไดอะลอกบอกซ์สำหรับใส่ข้อมูลของกลุ่มสายตัวนำที่ได้กำหนดไว้ในข้อที่ 8 ในรายละเอียดต่าง ๆ ของสายเพิ่มเติม
10. ในไดอะลอกบอกซ์ Circuit Specification-Irregular Bundles สามารถใส่ค่าต่าง ๆ ของตัวนำที่ไม่อยู่ในรูปแบบธรรมดาตามที่โปรแกรมกำหนด
11. จากนั้นจะได้ไดอะลอกบอกซ์ Right-of-way Descriptions สำหรับใส่ข้อมูลความสูงของสายส่งจากระดับน้ำทะเลและค่าความต้านทานของดิน
12. ในไดอะลอกบอกซ์ Lateral Profile Specifications จะมีช่องว่างสำหรับใส่ค่าอยู่ 10 ช่อง เป็นการกำหนดการวัดค่าตามแนวแกน Z และ X โดยตามแนวแกน X นั้นจะวัดตามจุดต่างที่ผู้ใช้กำหนดเองขึ้นมาเป็นช่วง ๆ ได้ 3 ช่วง
13. ในไดอะลอกบอกซ์ Profile Probe Characteristics แสดงสภาพในการวัดของมิเตอร์ว่าติดตั้งอยู่สูงจากพื้นเท่าใดตามแนวแกนตั้ง และแกนนอน วงจรการวัดเป็นแบบ ANSI หรือ CISPR และความถี่รบกวนคลื่นวิทยุที่จะวัด
14. ไดอะลอกบอกซ์Climate/Weather Data แสดงค่าความชื้นและอุณหภูมิเป็นรายเดือนผู้ใช้สามารถเลือกได้จาก drop down menu หรือ ใส่เองได้ตามสภาพที่เกิดขึ้น และต้องใส่ข้อมูลความเร็วลมที่วิ่งผ่านแนวตั้งฉากด้วย
15. สำหรับไดอะลอกบอกซ์ Weather Model Data จะเป็นการกำหนดรายละเอียดสภาพภูมิอากาศลักษณะต่าง ๆ คือ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ฝนตกในแต่ 1 วัน จำนวนครั้งที่ฝนตกใน 1 วัน ปริมาณน้ำฝนใน 1 วัน L5 rain rate คือ ค่าปริมาณน้ำฝนที่ตกเกินกว่า 5 % ในครั้งนั้น ระยะเวลาเฉลี่ยที่หิมะตกใน 1 วัน ระยะเวลาเฉลี่ยที่หมอกลง เวลาที่เริ่มมีหมอก ในกลุ่มข้อมูล Occurrence (Percentage-must Total 100%) นั้นเป็นการเฉลี่ยค่าสภาพอากาศออกเป็นเปอร์เซ็นต์ ผลรวมต้องเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์
16. ในไดอะลอกบอกซ์ Shielding Object Descriptions จะมีข้อมูลของวัตถุอยู่ 7 ชนิดที่ป้องกันสนามไฟฟ้าและยังสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้มากถึง 15 ชนิด ผู้ใช้สามารถกำหนดมิติและตำแหน่งของวัตถุได้โดยจะคล้ายกับการกำหนดจุดพิกัดต่าง ๆ ของทาวเวอร์
17. ไดอะลอกบอกซ์ Coupled Object Descriptions บรรจุข้อมูลที่เกี่ยวโยงกับสนามไฟฟ้าที่ผู้ใช้กำหนดเองได้มีลักษณะของการใส่ข้อมูลคล้ายกับข้อที่ 16
18. ไดอะลอกบอกซ์ E-field and Ion Plots เป็นไดอะลอกบอกซ์ที่กำหนดค่าสำหรับพล็อตค่าสนามไฟฟ้าและไอออน (ในกรณีที่มีสายส่ง DC) กับวัตถุที่ป้องกันสนามไฟฟ้า
19. ในไดอะลอกบอกซ์ Surge Performance Data - Part 1 สามารถใส่ค่าต่าง ๆ ได้คือจำนวนเสาที่กำลังศึกษาอยู่ สภาพอากาศ และคุณลักษณะของสวิตชิ่งเสิร์จ
20. ไดอะลอกบอกซ์ Surge Performance Data - Part 2 ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับรูปทรงของเสา ตำแหน่งของวงแหวนโคโรนา คุณลักษณะและตำแหน่งของฉนวนหรือกลุ่มตัวนำ
21. สำหรับไดอะลอกบอกซ์สุดท้ายคือ Insulator Contamination Performance Data เป็นไดอะลอกบอกซ์สำหรับใส่ข้อมูลของฉนวนโดยข้อมูลทั้ง 3 นี้จะถูกโปรแกรมวิเคราะห์ออกมาให้เห็นถึงสมรรถภาพของฉนวนที่ใช้
การรันโปรแกรม
ก่อนที่จะรันโปรแกรมจะต้อง Save ไฟล์เสียก่อนโดยเลือก Save Project จากเมนู File แล้วจากนั้นจึงทำการรันโดยเลือก Execute Project ที่ เมนู Execute
โปรแกรมจะใช้เวลารันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนหัวข้อต่าง ๆ ที่เลือกให้โปรแกรมคำนวณ จากนั้นจึงสามารถดูผลลัพธ์ต่าง ๆ ได้จากเมนู Result ซึ่งมีคำสั่งที่ใช้ดูข้อมูล อินพุทและเอาต์พุตต่าง ๆ มากมายดังที่ได้แสดงตัวอย่างเอาต์พุตบางรูปภาพด้านล่าง
ตัวอย่างผลลัพธ์จากการ Run Program
การใช้งานในปัจจุบัน
ในปัจจุบันได้มีการใช้งานโปรแกรม ACDC LINE นี้ได้นำมาใช้งานในระบบส่งกำลังไฟฟ้าของประเทศซึ่งช่วยให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากระบบสายส่งได้หนทางหนึ่งทั้งทางด้าน AC และ DC สำหรับโมดูลอื่น ๆ ใน TL Workstation ที่ยังไม่ได้อธิบายการใช้งานนั้นยังมีประโยชน์อีกมากมายในการช่วยเหลือด้านข้อมูลต่าง ๆ ของระบบที่มีความซับซ้อมอยู่ร่วมกัน เช่น การหาค่า Radio Noise การหาผลกระทบทางไฟฟ้าจากทางเดินร่วมของสาธารณูปโภคที่เดินในเส้นทางเดียวกัน โปรดติดตามในตอนต่อไปครับ
เอกสารอ้างอิง
1. TL Workstation Program -Electric Power Research Institute (EPRI)
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด