การสร้างระบบพลังงานใหม่ให้แก่มนุษยชาติโดยใช้ไฮโดรเจน แต่ยังมีความท้าทายหลายเรื่องให้บุกเบิกและค้นคว้า ได้แก่ การผลิต การเก็บ การส่งจ่าย วิธีการผลิตไฮโดรเจนมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ ปริมาณ และคุณภาพของไฮโดรเจน ความพยายามในการคิดค้นและพัฒนาวิธีการผลิตได้ให้ความสำคัญถึง เรื่องความคุ้มค่าในการลงทุนเป็นหลัก โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จากบทความเรื่อง Hydrogen Economy ที่กล่าวถึงการสร้างระบบพลังงานใหม่ให้แก่มนุษยชาติโดยใช้ไฮโดรเจน แต่ยังมีความท้าทายหลายเรื่องให้บุกเบิกและค้นคว้า ได้แก่ การผลิต การเก็บ การส่งจ่าย ในบทความนี้จึงจะกล่าวถึง เทคโนโลยีไฮโดรเจนในการทำให้วิสัยทัศน์การสร้าง Hydrogen Economy เป็นจริง |
. |
. |
เทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจน |
. |
วิธีการผลิตไฮโดรเจนมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ ปริมาณ และคุณภาพของไฮโดรเจน ความพยายามในการคิดค้นและพัฒนาวิธีการผลิตได้ให้ความสำคัญถึง เรื่องความคุ้มค่าในการลงทุนเป็นหลัก โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิธีการผลิตสามารถแบ่งได้หลัก ๆ 3 วิธี ดังนี้ |
1. Thermo-chemical Technologies 2. Electrolytic Technologies 3. Photolytic Technologies |
. |
1. Thermo-chemical Technologies |
ใช้ความร้อนและปฏิกิริยาเคมีในการแปลงไฮโดรคาร์บอน จากวัตถุดิบจำพวกชีวมวล (Biomass) เป็นไฮโดรเจน ซึ่งมีหลายวิธีได้แก่ การเผาไหม้ชีวมวลวิธีไพโรไรซีส ได้ผลผลิตเป็นของเหลวที่มีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบและแปลงเป็นไฮโดรเจน หรือใช้วิธีเผาไหม้แบบ Gasification หรือใช้วิธีการออกซิเดชันไฮโดรเจนออกจากก๊าซมีเธน เรียกว่า วิธี Steam Methane Reforming จากก๊าซธรรมชาติ |
. |
. |
2. Electrolytic Technologies |
เป็นการผลิตไฮโดรเจนโดยการใช้ไฟฟ้า (หากใช้วิธีนี้ในการผลิตไฮโดรเจนควรเน้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอา
|
. |
. |
3. Photolytic Technologies |
เป็นวิธีการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้แสงอาทิตย์แยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาใช้วิธีการ Photobiological ซึ่งใช้แสงอา
|
. |
เทคโนโลยีการส่งจ่ายไฮโดรเจน |
. |
แบ่งเป็น 2 วิธีขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ ได้แก่ 1. การสร้างท่อส่งซึ่งเหมาะกับกรณีที่มีการใช้มากในอนาคต และ 2. ใช้รถบรรทุกขนส่งไฮโดรเจนในสถานะของเหลวกรณีที่ใช้ไม่มากและตามพื้นที่ห่างไกล |
. |
. |
เทคโนโลยีการเก็บไฮโดรเจน |
. |
1. Compressed Gas Tank เป็นถังที่ได้รับการออกแบบให้ทนความดันสูง 500 Psi (35 Mpa) – 10,000 Psi (70 Mpa) ผ่านมาตรฐานการทดสอบ 2.35 เท่าของความดันออกแบบ เพื่อความปลอดภัยตามมาตรฐานยุโรป และมียังมีการพัฒนาออกแบบถังอย่างต่อเนื่องให้มีขนาดเบาและความสูญเสียต่ำ |
2. Cryogenic Liquid เป็นถังที่เก็บไฮโดรเจนในสถานะของเหลว มีฉนวนป้องกันการรั่วไหล โดยมากออกแบบเพื่อเป็นถังเก็บใช้ในยานพาหนะ |
3. การเก็บไฮโดรเจนในวัสดุ มี 3 วิธี 1. Absorption วิธีนี้ไฮโดรเจนถูกดูดซับไว้ในวัสดุ คริสตัล เมทัลไฮไดร (Crystalline Metal Hydrides) 2. Adsorption ใช้วัสดุมีรูพรุน Porous Material เพื่อให้พื้นที่ผิวมากพอสำหรับ ไฮโดรเจนเจาะและง่ายต่อการแยกไฮโดรเจนออก และ 3. Chemical Reaction ใช้ปฏิกิริยาเคมีในการผลิต เก็บและคายไฮโดรเจน จากการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิและความดัน เช่น |
. |
2 LiH + 2H2O => 2LiOH + 2 H2 หรือ NaBH4 + 2H2O + catalyst => NaBO2 + 4H2 |
. |
จากข้างต้นจะเห็นว่ามีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การส่งจ่าย และการเก็บ อย่างต่อเนื่อง คำถามก็คือเมื่อไรจะได้ใช้ไฮโดรเจนในเชิงธุรกิจ จากความก้าวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยีไฮโดรเจนทำให้มีการคาดการณ์แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว |
. |
ระยะสั้น (ภายในปี ค.ศ. 2010) ไฮโดรเจนใช้ในอุตสาหกรรมเคมี จากเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจน Thermo-Chemical Technology จาก Methane Reformer ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ไฮโดรเจนสะอาดจากเทคโนโลยีผลิตไฮโดรเจน Electrolyzer รถยนต์ต้นแบบใช้พลังงานไฮโดรเจนมีออกมาให้เห็น ส่วนระบบส่งจ่าย ก็คงยังเป็นรถบรรทุกบรรจุถังขนส่ง |
. |
ระยะกลาง (ภายในปี 2020) คาดว่าไฮโดรเจนจะได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตไฮโดรเจน เซลล์เชื้อเพลิงราคาถูกลง รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง และการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ไฮโดรเจนขนาดเล็กมีใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนด้านการผลิตจะใช้ชีวมวล มาเผาไหม้โดยวิธีไพโรไรซีส หรือ Gasification เป็นหลักเพราะได้ปริมาณมาก ส่วนระบบส่งจ่าย ก็เริ่มมีการสร้างระบบท่อส่งไปยังบางพื้นที่ ๆ มีการใช้อย่างหนาแน่น ส่วนการเก็บจะได้ถังที่มีความแข็งแรงต่อน้ำหนักดีขึ้น |
. |
ระยะยาว (หลังจากปี 2025) พลังงานไฮโดรเจนจะไปทุกหนทุกแห่ง มีการสร้าง
|
. |
. |
เอกสารอ้างอิง |
- Hydrogen Program, EERE Department of Energy |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด