แรงงานมนุษย์ (Human Resource) เป็นปัจจัยหลักของการสร้างผลิตผลและมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ซึ่งแตกต่างจากปัจจัยทรัพยากรอื่น ๆ เนื่องจากแรงงานที่มีคุณภาพจะมีศักยภาพในการเรียนรู้และเกิดทักษะที่หลากหลายซึ่งส่งผลให้เกิดผลิตภาพต่อองค์กรที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงมักเห็นว่าแรงงานจะมีการปฏิบัติงานที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน
แรงงานมนุษย์ (Human Resource) เป็นปัจจัยหลักของการสร้างผลิตผลและมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ซึ่งแตกต่างจากปัจจัยทรัพยากรอื่น ๆ ดังเช่น เครื่องจักร วัสดุ เป็นต้น เนื่องจากแรงงานที่มีคุณภาพจะมีศักยภาพในการเรียนรู้และเกิดทักษะที่หลากหลายซึ่งส่งผลให้เกิดผลิตภาพต่อองค์กรที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงมักเห็นว่าแรงงานจะมีการปฏิบัติงานที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา เช่น บางครั้งอาจจะรู้สึกว่าช้าหรือเร็วกว่าปกติ ดังนั้นจึงมีการใช้เวลามาตรฐาน (Standard Time) เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน (Labor Efficiency) โดยแสดงด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้ |
. |
. |
ดังนั้นเวลามาตรฐาน จะถูกใช้วัดการทำงานของแรงงานในสภาพแวดล้อมการทำงานปกติ นั่นคือ หากแรงงานสามารถทำงานได้เสร็จสิ้นก่อนเวลาที่กำหนดก็แสดงถึงผลิตภาพที่เหนือกว่ามาตรฐานทั่วไป โดยเฉพาะในกรณีที่ใช้แรงงานเป็นปัจจัยนำเข้าและมีตัวชี้วัดหลัก เรียกว่า ผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) ซึ่งแสดงปริมาณผลิตผลด้วย จำนวนชิ้นงาน หรือมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น สำหรับหน่วยของปัจจัยนำเข้า กับผลิตผล ต่างประเภทกันจะใช้การคิดเทียบต่อหน่วยและมักถูกใช้เป็นค่ามาตรฐานสำหรับการวางแผนหรือการคำนวณต้นทุน โดยทั่วไปการเปรียบวัดผลิตภาพจะขึ้นกับปัจจัย ดังเช่น |
. |
. |
ดัชนีชี้วัดศักยภาพ |
ปัจจุบันความสามารถในการแข่งขันได้เป็นปัจจัยหลักในการสร้างศักยภาพให้กับองค์กร โดยมีการเทียบเคียงกับองค์กรอื่นที่ดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกัน ด้วยตัวชี้วัดสำคัญ คือ มูลค่าเพิ่มจากแรงงาน หรือส่วนแบ่งแรงงานของมูลค่าเพิ่มซึ่งแสดงด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้ |
. |
. |
จากสมการดัชนีที่ 1 และ 2 ได้บ่งบอกถึงสัดส่วนค่าใช้จ่ายแรงงานที่ถูกใช้สร้างมูลค่าเพิ่ม หากสัดส่วนดังกล่าวมีค่าลดลง นั่นหมายถึง องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นด้วยผลิตภาพและการสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากปัจจัยต้นทุนทางแรงงานแล้วยังสามารถพัฒนาระดับผลิตภาพด้วยการลดค่าใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ เช่น วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ การลดข้อบกพร่องจากการทำงาน ซึ่งส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพและต้นทุนของปัจจัยนำเข้า รวมทั้งเชื่อมโยงกับการสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าและเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น |
. |
สำหรับสมการที่ 1 สามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้กับการจ่ายโบนัสด้วยการใช้ผลรวมค่าแรงงานทั้งปีและปริมาณมูลค่าเพิ่มตลอดทั้งปี โดยมุ่งแนวคิดว่าค่าจ้างและเงินเดือนจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลิตภาพ ดังนั้นหากจะขึ้นค่าจ้างและเงินเดือนก็จะต้องมีการเพิ่มทางผลิตภาพหรือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจด้วย ซึ่งต้นทุนแรงงาน จะประกอบด้วยองค์ประกอบ ส่วนแบ่งแรงงานทางมูลค่าเพิ่มและมูลค่าเพิ่ม โดยแสดงด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้ |
. |
. |
ถ้าหากผลต่างระหว่างต้นทุนแรงงานกับผลรวมค่าจ้างและเงินเดือนที่จ่ายในแต่ละปี จะแสดงในรูปของโบนัสประจำปีที่จ่ายให้กับพนักงาน ดังนี้ |
. |
ต้นทุนแรงงาน (Labor Cost) – ผลรวมค่าจ้างและเงินเดือน (Total Wage & Salary) = โบนัส (Bonus) |
โดยที่ ผลรวมค่าจ้าง & เงินเดือน = å(ค่าจ้าง & เงินเดือนตามอัตรา + ค่าล่วงเวลา) |
. |
. |
รูปที่ 1 แผนภาพการจัดสรรมูลค่าเพิ่ม |
. |
การกำหนดปริมาณแรงงานที่เหมาะสม |
โดยทั่วไปการกำหนดจำนวนแรงงานที่เหมาะสมจะใช้ข้อมูลสัดส่วนมูลค่ากระบวนการต่อแรงงาน(Processing amount per employee) และแสดงในรูปของมูลค่าเพิ่ม นั่นคือ รายได้ที่เกิดขึ้นจากแรงงานแต่ละคน |
. |
รูปที่ 2 แผนภาพองค์ประกอบต้นทุนและมูลค่าเพิ่ม |
. |
. |
รูปที่ 3 แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าการผลิตกับมูลค่ากระบวนการ |
. |
มูลค่าเพิ่ม = (ยอดขายสินค้าที่ผลิต-ค่าวัตถุดิบ-ค่าชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต-ค่าจ้างจากผู้รับเหมาภายนอก) |
มูลค่าเพิ่ม = มูลค่าการผลิต-ค่าวัสดุ-ค่าใช้จ่ายผู้รับเหมาช่วง |
หรือ มูลค่าเพิ่ม = กำไรขั้นต้น+ค่าเสื่อมราคา+ดอกเบี้ย+ค่าแรงงาน |
โดยที่ ค่าแรงงาน = เงินเดือนและค่าจ้าง+สวัสดิการ+ประกันสังคม+เงินเดือนเจ้าหน้าที่ (ยังไม่รวมโบนัส) |
. |
หากมูลค่าการผลิต (Production Amount) แทนด้วยมูลค่ายอดขาย (Sales Amount) ดังนั้นสัดส่วนมูลค่าเพิ่มจะแสดงด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้ |
. |
จากสมการที่แสดงสามารถนำมาใช้สำหรับการคำนวณหาจำนวนพนักงานที่เหมาะสมที่สุด (Optimum Number of Employees) ด้วยการใช้ข้อมูลจากงบการเงิน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ |
. |
ตัวอย่าง บริษัท ABC ผู้ประกอบการ ขนาดกลาง-ย่อม (SME) ได้ดำเนินธุรกิจการผลิต ซึ่งมียอดขายรวมทั้งปี121,904,783 บาท ค่าวัตถุดิบและผู้รับจ้างภายนอก 67,485,387 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายแรงงาน ดังนี้ |
. |
. |
Sol. หาค่าต้นทุนแรงงานรวม (Labor Cost) = เงินเดือนฝ่ายบริหาร+ค่าสวัสดิการ+ค่าประกันสังคม+สมทบกองทุนทดแทน+ค่าแรงงาน+ค่าล่วงเวลา |
. |
. |
บทบาทการวัดผลิตภาพแรงงาน |
ในสภาพการทำงานทั่วไปของแต่ละองค์กร มักเกิดความสูญเสียทางเวลาปฏิบัติงานและส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน โดยมีสาเหตุหลัก ๆ ดังเช่น การขาดงาน (Absenteeism) การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุขณะทำงาน การลางาน เป็นต้น ดังนั้นการวัดผลิตภาพทางแรงงานจึงมีบทบาทสำคัญต่อการตรวจติดตามสมรรถนะและความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน โดยเฉพาะเวลาที่สูญเสียกับกิจกรรมที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจและหาแนวทางพัฒนาผลิตภาพการทำงาน ซึ่งองค์กรมักกำหนดในรูปของนโยบายต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงาน (Voice Mail/Call Center) ความยืดหยุ่นต่อเวลาทำงาน (Flexible Time) การปรับปรุงกระบวนการทำงาน เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาเพื่อทำการจำแนกประเภทกิจกรรมและเวลาที่สูญเสียกับงานที่ไม่จำเป็นก็จะเป็นก้าวสำคัญของการปรับปรุงผลิตภาพ |
. |
. |
รูปที่ 4 แผนภาพการจำแนกสัดส่วนเวลาตามประเภทกิจกรรม |
. |
. |
รูปที่ 5 ตัวอย่างการจำแนกประเภทกิจกรรมที่สูญเปล่า |
. |
บทสรุป |
การวัดผลิตภาพแรงงานเป็นองค์ประกอบหนึ่งของของการติดตามวัดผลทั้งระดับหน่วยธุรกิจ (Business Unit Level) และฝ่ายงาน (Department's Productivity) ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารได้ทราบ ปัญหา/สภาพการดำเนินงานและพิจารณาจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนอย่างเหมาะสม รวมทั้งเป็นแนวทางปรับปรุงกระบวนการธุรกิจและการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลงทางกลยุทธ์ดำเนินงาน ดังนั้นการวัดผลิตภาพแรงงานจึงมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนการออกแบบกระบวนการธุรกิจใหม่ (Business Process Redesign) อย่างเหมาะสมอและส่งผลต่อการลดต้นทุนสินค้า/บริการลง ทำให้ระดับความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้น |
. |
เอกสารอ้างอิง |
1. โกศล ดีศีลธรรม, กลยุทธ์และกลวิธีการเพิ่มผลิตภาพ, บริษัท เอกซเปอร์เน็ท จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2546. |
2. โกศล ดีศีลธรรม, การสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ, บริษัท เอกซเปอร์เน็ท จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2546. |
3. โกศล ดีศีลธรรม, การเพิ่มผลิตภาพในงานอุตสาหกรรม, สถาบันไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์, 2546. |
4. โกศล ดีศีลธรรม, Industrial Management Techniques for Executive, บ. ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2546. |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด