เนื้อหาวันที่ : 2011-07-11 15:13:47 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5965 views

ฟังก์ชันควบคุมระดับ (Level Control Function) (ตอนจบ)

การควบคุมระดับของเหลวที่เชื่อมต่อกัน โดยทั่วไปจะมีการสันนิษฐานว่าการควบคุมระดับจะอ้างอิงถึงการควบคุมก๊าซกับของเหลว หรือไอน้ำกับของเหลวที่เชื่อมต่อกัน

ทวิช ชูเมือง

การควบคุมระดับของเหลวที่เชื่อมต่อกัน (Controlling Level Interface)
          โดยทั่วไปจะมีการสันนิษฐานว่าการควบคุมระดับจะอ้างอิงถึงการควบคุมก๊าซกับของเหลว หรือไอน้ำกับของเหลวที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งความจริงไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นทั้งหมด การเชื่อมต่อกันสามารถเกิดขึ้นระหว่างของเหลว 2 ชนิดใด ๆ ที่ผสมกันไม่ได้ เมื่อก๊าซทั้งหมดสามารถนำมาผสมกันได้ตามอัตราส่วน การควบคุมระดับที่เชื่อมต่อกันโดยปกติ จะถูกใช้ในความหมายของการเชื่อมต่อกันระหว่างของเหลว 2 ชนิดดังเช่น น้ำกับน้ำมัน

รูปที่ 6 แสดงตัวอย่างของถังที่มีปลอก (Boot) ในการแยกน้ำมัน

          จากรูปที่ 6 แสดงตัวอย่างของถังที่มีปลอก (Boot) ในการแยกน้ำมัน ถูกใช้งานในวัตถุประสงค์ 3 แบบคือ
          * ตัวแยกก๊าซกับน้ำมัน
          * ทำหน้าที่เป็น Surge Tank
          * เป็นตัวแยกน้ำ

          จริง ๆ แล้วถังในการใช้งานนี้ บางครั้งจะประกอบไปด้วยแผ่นกั้นด้านทางเข้า (Inlet Baffles) และตัวละลายน้ำแข็ง (Demister Pad) ของไหลในแต่ละสามสถานะจะต้องถูกควบคุมแยกออกจากกัน (แต่เป็นไปได้สำหรับของไหลที่มีสถานะเป็นก๊าซจะถูกปล่อยออกไปยังระบบควบคุมความดันภายนอกหรือปล่อยออกบรรยากาศ)

          ในการทำความเข้าใจฟังก์ชันตัวแยกใด ๆ ถ้าคิดในด้านขององค์ประกอบของสินค้าคงเหลือให้มีค่าคงที่ ต้องถูกควบคุมแยกออกจากกัน ก๊าซที่ไหลเข้าทั้งหมดต้องถูกทำให้สมดุลโดยก๊าซที่ไหลออก การเปลี่ยนแปลงความดันเป็นการวัดความไม่สมดุลของก๊าซ ดังนั้นการควบคุมความดันเป็นทางที่เหมาะสมของการควบคุมก๊าซด้านทางออก

          ในทางคล้ายคลึงกันระดับน้ำมันเป็นการแสดงค่าความไม่สมดุลของน้ำมันและระดับของน้ำ แสดงความไม่สมดุลของน้ำ ไม่มีกระแสการไหลทั้งสามที่อาจถูกควบคุมโดยการไหล ถึงแม้ว่ามีการควบคุมแบบ Cascade กันระหว่างระดับกับการไหล บ่อยครั้งถูกนำมาใช้ในการทำให้การไหลด้านทางออกไปยังอุปกรณ์ด้านปลายทางมีความราบเรียบ การควบคุมแบบ Cascade กันของความดันกับการไหล ไม่ถูกนำมาใช้งาน นอกจากว่าถังมีความจุใหญ่เพียงพอในการทำหน้าที่เป็น Gas Surge Drum การควบคุมแบบ Cascade กันของระดับกับการไหลของน้ำ ไม่น่าเป็นไปได้ เมื่อบางครั้งน้ำถูกระบายไปยังระบบกักเก็บที่ทำงานเหมือนกับ Surge Drum ในจำนวนของตัวแยก

รูปที่ 7 การแบ่งถังด้วยเขื่อนเล็ก ๆ

          ในบางครั้งสัดส่วนของน้ำกับน้ำมันมากพอสำหรับตัวแยกที่ปลอก ในกรณีนี้ เขื่อน (Weir) เล็ก ๆ ถูกนำมาใช้ในการแบ่งถังดังรูปที่ 7 ข้อควรระมัดระวังในการใช้งานต้องให้แน่ใจว่าจริงแล้ว เครื่องมือวัดระดับที่อ่านค่าระดับนั้นแสดงค่าการเชื่อมต่อที่แท้จริง โดยมีพื้นฐาน 2 แบบของอุปกรณ์แสดงระดับเป็นดังนี้

          *  แบบแรกเป็นการวัดระยะ การเชื่อมต่อที่แท้จริงจากจุดคงที่ อุปกรณ์ที่เป็นแบบ Ultrasonic และ Radar จะอยู่ในอุปกรณ์ประเภทนี้ ซึ่งควรจะเป็นการใช้งานทางอุดมคติของจุดประสงค์แบบนี้ ยกเว้นว่าบางครั้งในการติดตั้งมีความไม่เหมาะสมสำหรับถังที่มีความดัน นอกเหนือจากนั้นเป็นความยากในการแสดงค่าสิ่งใดที่อยู่เหนือการเชื่อมต่อ สำหรับถังที่เป็นฟองสามารถทำให้การทำงานสับสนได้

          *  แบบที่สองเป็นแบบดั้งเดิม รวมไปถึงความเกี่ยวข้องกับตัวแปรบางประเภท ดังเช่น ความหนาแน่นหรือค่าฉนวนไฟฟ้า (Dielectric Constant) บนย่านของการวัดระดับ เครื่องมือวัดแบบ Displacer, Bubble Tube, Nuclear Densitometors, Capacitance Probe, เครื่องมือวัดความดันแตกต่างและเกจวัดระดับ เป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในประเภทนี้ การวัดให้ประสบความสำเร็จจะเป็นอุปกรณ์ในการวัดระดับต้องอ่านค่าเฉพาะขอบเขตของเหลว 2 ชนิดที่เชื่อมต่อกัน สำหรับเกจวัดระดับหมายความว่า จุดต่อด้านล่างต้องอยู่ต่ำกว่าของเหลวทั้งสองและจุดต่อด้านบน ต้องอยู่เหนือกว่าจุดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานะการไหล

รูปที่ 8 แสดงสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเกจวัดระดับถูกต่อเข้ากับถังที่บรรจุด้วยไอระเหยและของเหลวสองชนิด

          สันนิษฐานว่าของเหลวมีค่า SG = 1 เป็นน้ำและของเหลวที่มีค่า SG = 0.5 บางครั้งอาจเป็น Propane ไหลเข้าถังทีละน้อย สมมุติให้เกจวัดระดับมีช่วงอ่านค่าเป็น 4 ฟุต เริ่มต้น 1 ฟุตจากด้านล่างของถัง ถ้าระดับของ Propane เพิ่มขึ้น มันจะไหลเข้าไปยังเกจวัดระดับ เมื่อของเหลวทั้งสองเพิ่มขึ้น น้ำจะเริ่มเข้าไปยังด้านล่างของเกจวัดระดับ สถานะนี้แสดงในถังรูป A ถึงจุดนี้ เกจวัดระดับจะแสดงค่าจริงของ Propane ที่อยู่ในถัง เมื่อน้ำเข้าไปยังเกจวัดระดับ ระดับของ Propane จะถูกตัด ถูกอุดให้คงที่ที่ความหนา 1 ฟุต ลอยอยู่เหนือน้ำ ระดับจะไม่ถูกส่งผ่านความสัมพันธ์ที่ชัดเจนไปยังระดับจริงในถัง สถานะนี้แสดงในถังรูป B มีเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างถังและเกจวัดระดับเป็นความดันที่จุดเดียวกัน ที่จุดเมื่อเกจวัดระดับต่อเข้ากับถัง เกจวัดระดับจริง ๆ แล้วทำตัวเหมือนมาโนมิเตอร์ในสภาวะนี้

          เมื่อระดับของ Propane เพิ่มขึ้นจนเหนือจุดต่อด้านบนมันจะไหลเข้าไปยังเกจวัดระดับและระดับการเชื่อมต่อของเหลวทั้งสองจะปรับตัวให้มีระดับเดียวกัน สถานะนี้แสดงในถังรูป C เกจวัดระดับจึงกลับมาอ่านค่าได้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเมื่อจุดต่อด้านล่างอยู่ในน้ำและจุดต่อด้านบนอยู่ใน Propane ถ้าของเหลวทั้งสองถูกถ่ายออก ดังนั้นที่จุดต่อด้านบนเป็นช่วงไอระเหย เกจวัดระดับจะอ่านค่าไม่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง

          การวิเคราะห์ที่เหมือนถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการแสดงระดับชนิดต่าง ๆ บนพื้นฐานของความหนาแน่น จะเห็นได้ว่าเครื่องมือวัดความดันแตกต่างอ่านค่าได้เพียงค่าเดียว ดังนั้นเฉพาะจำนวนค่าเดียวที่สามารถวัดได้ ถ้าเครื่องมือวัดถูกผลกระทบโดยเฉพาะของไหล 2 ชนิด สามารถยอมให้อ่านค่าระดับเชื่อมต่อระหว่างของเหลวทั้งสอง ถ้ามีมากกว่า 2 สถานะอย่างชัดเจนภายในช่วงของ 2 จุดจะให้ค่าที่อ่านได้เป็นค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของไหลทั้งหมดภายในช่วงที่วัด

          เครื่องมือวัดระดับในแบบ Nuclear และ Capacitance จะให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันในสภาวะของไหลหลาย ๆ สถานะบนพื้นฐานค่าเฉลี่ยฉนวนไฟฟ้าและการดูดซับ Nuclear

          ทำอย่างไรจึงสามารถแน่ใจได้ว่า การอ่านค่าระดับจะมีความหมาย ถ้าเกจวัดระดับไม่สามารถเชื่อถือได้ A: ไม่ใช่เกจวัดระดับซึ่งไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องในทางปฏิบัติ B: แต่ละส่วนของเกจวัดระดับต้องมีจุดต่อแยกเข้ากับถัง ดังนั้นในแต่ละของจุดต่อไม่มีสถานะลอยอยู่ระหว่างกัน นอกจาก 2 ข้อดังกล่าวแล้วต้องยอมรับความจริงว่าก่อนถึงจุดเชื่อมต่อขึ้นถึงย่านทำงานปกติ เกจวัดระดับและเครื่องมือวัดจะอ่านค่าไม่ถูกต้อง

Slug Catcher
          Slug Catcher เป็นตัวอย่างพิเศษของการแยกของไหล 3 สถานะ พบการใช้งานบ่อยครั้งในอุตสาหกรรมด้านน้ำมัน นอกเหนือจากฟังก์ชันการแยกปกติ Slug Catcher จะถูกต้องการใช้งานเหมือนกับ Surge Tank ที่สามารถทำให้การไหลเป็นช่วง ๆ มีความราบเรียบและยังรองรับการกระเพื่อมของการไหลด้านทางเข้าเป็นครั้งคราว ซึ่งถูกดำเนินการโดยใช้ตัวควบคุม 2 ตัว ต่อเข้ากับเครื่องมือวัดน้ำมันด้านข้างถังดังรูปที่ 9 ตัวควบคุมน้ำมันที่ไหลล้นมีค่ากำหนดต่ำกว่าด้านบนของแผ่นกั้น ด้วยวิธีการทำแบบนี้ การกระเพื่อมใด ๆ สามารถถูกสะสมโดยความจุขนาดใหญ่ที่เหนือแผ่นกั้น ในความเป็นจริงจะไม่เป็นเชิงเส้น การปรับตัวอัตราขยายเครื่องมือวัดเท่ากับ ความแตกต่างด้านออกหารด้วยความแตกต่างของปริมาณ (Transmitter Gain =  Output / Volume)

รูปที่ 9 ตัวควบคุมน้ำมันที่ไหลล้นมีค่ากำหนดต่ำกว่าด้านบนของแผ่นกั้น

          ตัวควบคุมด้านทางเข้าตอบสนองต่อระดับเหมือนกัน แต่มีค่ากำหนดให้ต่ำกว่าด้านบนถัง จะทำงานเฉพาะเมื่อระดับเพิ่มขึ้นถึงค่ากำหนด ซึ่งควรจะเกิดขึ้นถ้าของเหลวปริมาณใหญ่มากในสภาวะไม่ปกติ หรือถ้าเกิดความผิดปกติที่กระบวนการผลิตด้านปลายทางเป็นสาเหตุทำให้มีการเก็บสำรองไว้ใน Surge Tank ส่วนสนับสนุนควรทำงานภายใต้การควบคุมความจุ (Capacity) ถ้าส่วนสนับสนุนควบคุมความจุไม่เพียงพออาจทำให้ทำให้กระบวนการผลิตมีโอกาสหยุดทำงานที่ระดับสูงพอดี เมื่อมีความพยายามที่จะทำงานที่ค่าระดับสูงสุดโดยตลอดไป ซึ่งจะไม่ถูกพิจารณาให้เกิดขึ้นในการใช้งาน

          เป็นเรื่องปกติของตัวควบคุมระดับถูกปรับตั้งโดยใช้โหมดทำงานแบบ Proportional และ Integral โดยปกติตัวควบคุมด้านเข้าทำงานกับระดับที่ต่ำกว่าค่ากำหนดเป็นอย่างดี Reset Windup จะเกิดขึ้น เป็นปรากฏการณ์ในตัวควบคุมพยายามเพิ่มระดับไปยังค่ากำหนดโดยบังคับสัญญาณเอาต์พุตค่าสูงออกไปยังวาล์วควบคุม ลักษณะนี้จะไม่ทำงาน เมื่อวาล์วเปิดสุดแล้ว ถ้ามีการกระเพื่อมมาถึงทำให้ระดับเพิ่มขึ้นถึงค่ากำหนดและเหนือกว่านั้น ตัวควบคุมจะปิดวาล์วอย่างช้า ๆ เมื่อมีการ ”Wound Up” ในทิศทางตรงกันข้าม บางครั้งมาจาก Anti Reset Windup เป็นที่ต้องการในการป้องกัน หลักประกันการหยุดทำงานที่ระดับสูงในสถานะการณ์นี้ บางครั้งเป็นความคิดไม่ดีในการใช้งานวาล์วแบบ Equal % ในการใช้งานแบบนี้มีโอกาสในเกิดการตอบสนองช้าในความต้องการอย่างทันทีทันใด

          มีความเป็นไปได้ในการควบคุมที่วาล์วด้านทางเข้าหรือทางออกถูกควบคุมด้วยตัวควบคุมแยกส่วนตัวเดียว วิธีการนี้ทำให้สำเร็จในความต้องการฟังก์ชันของการป้องกันการหยุดทำงานที่ระดับสูง แต่มีข้อเสียที่รุนแรง ถ้าค่ากำหนดของตัวควบคุมร่วมกันทั้งด้านทางเข้าและด้านทางออกถูกกำหนดให้ต่ำกว่าด้านบนของแผ่นกั้น จะไม่ทำประโยชน์สูงสุดของความจุการกระเพื่อมของถัง เมื่อทางเข้าจะเริ่มปิดสนิทก่อนถึงด้านบนของถัง ถ้าค่ากำหนดเหนือแผ่นกั้น จะทำลายจุดประสงค์โดยอนุญาตให้การไหลของผสมกันเข้าตรงไปยังน้ำมันด้านทางออก ก่อนจะมีเวลาในการแยกตัว ดังนั้นตัวควบคุมแยกส่วนทำหน้าที่ทั้งควบคุมคุณภาพการแยกและความจุการกระเพื่อม

ระบบรักษาความดันภายในถัง (Pressurization System)
          Tank, Vessel หรือ Drum อาจต้องการระบบรักษาความดันภายในถังด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังนี้
          * พื้นผิวของเหลวในถังไหลย้อนประกอบด้วยของเหลวที่มีความสมดุลกับไอระเหย อาจจะไม่มีแรงกดเพียงพอในการทำให้เกิดแรงกดเป็นบวกในด้านทางเข้าของปั๊มที่มีความต้องการในการทำงานของปั๊มไหลย้อน (Reflux Pump) โดยไม่เกิด Cavitation การเพิ่มความสูงของถังเหนือปั๊มเป็นทางเลือกหนึ่งในการทำให้ได้ลักษณะนี้ อย่างไรก็ดีเครื่องควบแน่น (Condenser) ทำการระบายของเหลวโดยแรงโน้มถ่วง (Gravity) จึงต้องมีความสูงมาก การจัดวางรูปแบบทั้งหมดสามารถทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงมาก วิธีการอื่นเป็นการใช้ปั๊มแบบ Canned ที่จุ่มลงไปในพื้นดินซึ่งอาจจะมีราคาแพง การใช้ระบบรักษาความดันเป็นหนทางที่ไม่แพงของการเตรียมความดันที่จำเป็น

          * ของเหลวที่เก็บในถังมีการทำปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ การใช้ระบบรักษาความดันจะเป็นการป้องกันถังจากการดูดอากาศเข้า เมื่อทำการปั๊มของเหลวออกจากถังเก็บ
          * ของเหลวที่เก็บในถังมีการระเบิดเมื่อผสมกับอากาศ ระบบการไล่ด้วยความดันอาจเป็นที่ต้องการในการป้องกันลักษณะนี้
          * ถังเก็บระบายออกไปยัง Flare หรือระบบเก็บกักอื่น ๆ ระบบจ่ายก๊าซต้องจัดเตรียมให้มีการจ่ายก๊าซเท่ากับปริมาณที่ปล่อยออก เมื่ออัตราการปล่อยออกเกินกว่าอัตราการจ่ายเข้าไปหรืออีกทางหนึ่งระบบรักษาความดันภายในถังใช้สำหรับตัวสกัดการเป็นสุญญากาศ

          หนทางง่าย ๆ ในการจัดเตรียมระบบรักษาความดันโดยติดตั้งตัวปรับความดันที่ด้านจ่ายก๊าซและส่วนที่สองเป็นตัวปรับความดันอากาศที่ด้านหลังต่อเข้ากับด้านระบายออก ต้องมีความระมัดระวังในการตั้งค่าความดันที่ต้องการปรับความดันด้านหลัง ต้องกำหนดค่าไม่มากกว่าตัวปรับความดันด้านเข้าเล็กน้อย ถ้าไม่มีช่องว่างระหว่างค่ากำหนดทั้งสอง ก๊าซที่จ่ายเข้าไปจะไหลผ่านโดยตรงไปยังทางด้านระบาย ดังนั้นการตั้งค่าความดันที่ค่าเดียวกันจึงไม่มีความหมาย

          บ่อยครั้งที่มีความจำเป็นต้องติดตั้งลูปการควบคุมที่สมบูรณ์ที่รวมไปถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้
          * เครื่องมือวัดความดัน
          * ตัวควบคุม
          * วาล์วควบคุม 2 ตัว

          การจัดเตรียมดังกล่าวซึ่งจะมีข้อดีที่สามารถอนุญาตให้ผู้ปฎิบัติการเห็นค่าความดันและปรับตั้งค่ากำหนดได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้นยังสามารถจัดเตรียมสัญญาณเตือนความดันสูงหรือต่ำกว่าค่าที่กำหนด รูปที่ 10 แสดงการควบคุมระบบรักษาความดันในถังที่สมบูรณ์ จะเห็นว่าดูเหมือนง่าย ๆ แต่มีสิ่งที่ต้องระวัง 2 จุดคือ 
          * ต้องมีช่องว่างระหว่างการทำงานของวาล์วทั้งสองจึงมีเหตุผลสำหรับการแบ่งย่านการทำงานจึงไม่ใช่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์
          * ข้อสองตำแหน่งความล้มเหลวของวาล์วควบคุมต้องมีการพิจารณา เมื่อวาล์วทั้งสองมีผลกระทบที่ตรงกันข้าม อาจจะกำหนดให้ตำแหน่งความล้มเหลวของวาล์วตรงข้ามกันไปด้วย ถ้าวาล์วทั้งสองทำงานโดยมีสัญญาณควบคุมเดียวกัน

          ระบบควบคุมแบบ DCS จะอนุญาตให้เอาต์พุตของตัวควบคุมทำการขับแยกสองสัญญาณได้ สามารถตั้งคุณลักษณะในการตอบสนอง นั่นหมายความว่าเป็นไปได้ที่สัญญาณ 45 เปอร์เซ็นต์ของเอาต์พุตตัวควบคุมแรกให้กำเนิดสัญญาณ 100–0 เปอร์เซ็นต์ สำหรับวาล์วด้านทางเข้าและอีก 45 เปอร์เซ็นต์ของเอาต์พุตตัวควบคุมให้กำเนิดสัญญาณ 0–100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับวาล์วทางด้านระบายออก ในหนทางนี้ตำแหน่งความล้มเหลวของวาล์วถูกจัดให้เหมาะสมและการใช้งานที่ ในการเปิดวาล์วจึงเป็นไปไม่ได้ ช่องว่างระหว่างกลางไม่ได้เป็นสาเหตุของปัญหาสำหรับตัวควบคุมการควบรวมด้วย Windup จะทำให้เอาต์พุตเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วผ่านช่องว่าง เมื่อไรก็ตามที่มีการเบี่ยงเบนออกจากค่าที่กำหนด

รูปที่ 10 Split Range Control

          หลายผู้ผลิตและจัดจำหน่ายระบบรักษาความดันก๊าซที่สามารถคงไว้ ซึ่งการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วยตัวปรับความดันที่มีแผ่นไดอะแฟรมใหญ่ที่ต้องการขับวาล์วกับความดันต่ำเป็น 5 นิ้วน้ำ
    

รูปที่ 11 ระบบรักษาความดัน

          หลายตัวแปรถูกจัดเตรียมเพื่อให้มีรายละเอียดถูกต้องของค่ากำหนดและขนาดของตัวปรับความดันและวาล์วด้านระบายซึ่งรวมไปถึงตัวแปรเหล่านี้
          * ค่าความดันสูงสุดที่ถังยอมรับได้
          * ค่าความดันสุญญากาศที่ถังยอมรับได้
          * ความดันไอของของเหลวที่เก็บไว้
          * อัตราอากาศเข้าขึ้นอยู่กับอัตราปั๊มออก
          * อัตราอากาศออกขึ้นอยู่กับอัตราปั๊มเข้า
          * อัตราการขยายและหดตัวของไอจากความร้อน
          * พื้นที่ผิวของถังและการหุ้มฉนวน

          จากรายละเอียดของการควบคุมระดับของเหลวในถังจะเห็นได้ว่า การวัดระดับของเหลวในถังนั้นมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตที่ต้องการ ดังนั้นในการเลือกใช้ตัวควบคุมและเครื่องมือวัดก็ควรจะให้เหมาะสมกัน เพื่อให้การทำงานของถังเป็นไปตามวัดตุประสงค์ที่ต้องการและมีความปลอดภัยในการใช้งาน

เอกสารอ้างอิง
          [1] W.C. Driedger, ”Controlling Vessels and tanks”, Hydrocarbon Processing, March 2000.
          [2] Bela G. Liptak, Instrument Engineers' Handbook, Fourth Edition, Volume Two- Process Control and Optimization
          [3] ทวิช ชูเมือง, “Industrial Instrumentation Engineering and Design Part II: Instrument Engineering and Selection, Chapter 5 Level Instrument,” บริษัท ดวงกมลสมัย จำกัด, 2549, ISBN 974-933-207-5.

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด