เนื้อหาวันที่ : 2011-06-20 09:37:51 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3363 views

การจัดทำรายงานภาพถ่ายความร้อนอย่างไรให้เหมือนมืออาชีพ

การจัดซื้อกล้องถ่ายภาพความร้อนส่วนใหญ่ผู้ประกอบอาจจะพิจารณาเลือกและให้ความสำคัญกลับคุณสมบัติทางเทคนิคและความสะดวกเรื่องการใช้งานจริงของกล้องถ่ายภาพความร้อนเป็นหลักแต่อาจละเลยสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้นั่นคือ โปรแกรมสนับสนุนการวิเคราะห์และจัดทำรายงาน

ยุทธพงศ์ ทัพผดุง และกิติพงศ์ รัตนวงกต
วิทยาลัยนครราชสีมา

           ปัจจุบันกล้องถ่ายภาพความร้อนได้มีการนำมาประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากราคากล้องถ่ายภาพความร้อนในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างถูกลงเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบการสามารถจัดซื้อจัดหามาใช้เองได้ ซึ่งต่างจากในอดีตที่จำเป็นต้องจ้างผู้ตรวจสอบภายนอกเข้ามาตรวจสอบอีกทั้งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และในการจัดซื้อกล้องถ่ายภาพความร้อนส่วนใหญ่ผู้ประกอบอาจจะพิจารณาเลือกและให้ความสำคัญกลับคุณสมบัติทางเทคนิคและความสะดวกเรื่องการใช้งานจริงของกล้องถ่ายภาพความร้อนเป็นหลักซึ่งก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่อาจละเลยสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามไปนั่นก็คือโปรแกรมสนับสนุนในการวิเคราะห์และจัดทำรายงาน

เพราะการที่ซื้อกล้องถ่ายภาพความร้อนที่มีคุณสมบัติทางเทคนิคที่ดีเยี่ยมแต่โปรแกรมสนับสนุนใช้งานยากซับซ้อนและมีฟังก์ชันช่วยวิเคราะห์ภาพถ่ายความร้อนน้อยก็อาจทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งานและวิเคราะห์ปัญหาไม่ถูกต้องได้ ซึ่งผลที่ตามมาอาจทำให้ใช้เวลานานในการวิเคราะห์หรือการจัดทำรายงานเพิ่มขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามการจัดทำรายงานภาพถ่ายความร้อนควรระบุส่วนที่สำคัญหรือสิ่งที่จำเป็นเบื้องต้นให้แก่ผู้รับรายงานไปดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นบทความนี้จึงได้นำเสนอแนวทางการจัดทำรายงานภาพถ่ายความร้อนที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนสามารถจัดทำรายงานได้อย่างมืออาชีพมากขึ้น

การจัดทำรายงานกล้องถ่ายภาพความร้อน
การจัดทำรายงานภาพถ่ายความร้อนนั้นโดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งการจัดทำเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. การจัดทำปกและรายงานภาพรวมของการตรวจสอบซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นเบื้องต้นดังต่อไปนี้ 
    o ปกรายงาน (ตัวอย่างดังรูปที่ 1)
        * ชื่อบริษัทหรือลูกค้าที่รับบริการ
        * วันที่ตรวจสอบ
        * บริษัทผู้ใช้บริการ
    o สรุปผลรายงาน (ตัวอย่างดังรูปที่ 2)
        * ลำดับจุดที่พบดำเนินการตรวจสอบ
        * สถานที่ตรวจสอบ (อาคาร/ห้อง/แผนก/สายการผลิต )
        * ชื่อหรือป้ายบ่งชี้ตู้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์นั้น ๆ ( MDB No.?/TR. No?/Motor No.?)
        * ระดับความเร่งด่วนเพื่อใช้วางแผนการบำรุงรักษา (Assessment Criteria)

รูปที่ 1 ตัวอย่างปกรายงาน

รูปที่ 2 ตัวอย่างสรุปผลรายงาน

2.ส่วนประกอบภายในรายงานที่จำเป็นควรมีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้ ดังแสดงในรูปที่ 3
    o ชื่อลูกค้าสำหรับตรวจสอบ
    o วัน/เวลา ที่ดำเนินการตรวจสอบ
    o วันที่จัดทำรายงาน (เพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้)
    o ชื่อผู้ตรวจสอบ
    o อาคาร/สถานที่/ห้อง/กระบวนการผลิต/ตำแหน่งหรือบริเวณที่ตรวจสอบอุปกรณ์
    o รายละเอียดอุปกรณ์ที่ตรวจสอบ/ตำแหน่งการเกิดสิ่งผิดปกติ
    o สาเหตุ (สันนิฐานจากสภาพการใช้งาน, สอบถามจากเจ้าหน้าที่, อ้างอิงตามหลักทฤษฏีและหน้าที่การใช้งานของอุปกรณ์ที่เกิดปัญหา)
    o ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไข
    o ภาพถ่ายอินฟราเรดของอุปกรณ์ที่พบปัญหา
    o ภาพถ่ายปกติของอุปกรณ์ที่พบปัญหา
    o อุณหภูมิสภาพแวดล้อมหรืออุณหภูมิใช้งานปกติเพื่อใช้อ้างอิง
    o อุณหภูมิตำแหน่งที่เกิดปัญหาของอุปกรณ์
    o อุณหภูมิความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิที่เกิดปัญหาเปรียบเทียบกับอุณหภูมิอ้างอิง
    o เตรียมช่องว่างเพื่อให้ลูกค้ากรอกรายละเอียดหลังจากการดำเนินการแก้ไข

รูปที่ 3 ตัวอย่างรายงานผลการตรวจสอบ

สรุป
          จากรายละเอียดในการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนข้างต้นผู้เขียนหวังว่าผู้ที่อยู่แวดวงการตรวจสอบระบบต่าง ๆ ในด้านวิศวกรรมและวิชาชีพอื่น ๆ สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรายงานเบื้องต้นเพื่อให้ได้รูปแบบรายงานที่สมบูรณ์อย่างมืออาชีพ เพราะเป็นที่ทราบกันในทุกวงการอยู่แล้วว่าในการที่คุณสามารถปฏิบัติงานเก่งกาจและเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพเพียงใด แต่หากรูปแบบการนำเสนอผลงานหรือการจัดทำรายงานที่ไม่เป็นมืออาชีพหรือถูกหลักตามมาตรฐานนั้น ก็อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้

ซึ่งการจัดทำรายงานผลของการตรวจสอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนก็เช่นเดียวกันถึงแม้ว่าทีมงานตรวจสอบจะเชี่ยวชาญเพียงใดหากจัดทำรายงานแล้วลูกค้าเข้าใจยากและไม่สวยงามหรือไม่เป็นไปตามที่ลูกค้าคาดหวังก็อาจจะส่งผลต่อการว่าจ้างในคราวต่อไปได้ หรือแม้แต่ในหน่วยงานตนเองก็ตาม หากนำเสนอคุณภาพรายงานที่ต่ำกว่าความหวังของผู้บังคับบัญชาแล้วก็อาจจะส่งผลต่อการพิจารณาเงินเดือนหรือการโปรโมตในตำแหน่งที่สูงขึ้นก็เป็นได้ สวัสดีครับ

เอกสารอ้างอิง
          [1] Richard A. Epperly et al. 1997. A Tool for Reliability and Safety: Predict and Prevent Equipment Failures with Thermography. Petroleum and Chemical Industry Conference. 59-68.
          [2] FLIR 2009. User’s Manual FLIR 600 Series

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด