ท่านที่อยู่วงการไฮดรอลิกคงจะเคยได้ยินคำว่า สเตนเนอร์ และคงรู้จักคำว่าฟิลเตอร์ อุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด ทำหน้าที่ในการกรองน้ำมันไฮดรอลิกเหมือนกัน แต่ท่านก็คงมีข้อสงสัยหรือไม่ว่า กรองทั้ง 2 แบบ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร อะไรเป็นเกณฑ์ในการเรียกชื่อ และการนำเอาไปใช้งานในระบบไฮดรอลิกอย่างไร
ท่านที่อยู่วงการไฮดรอลิกคงจะเคยได้ยินคำว่า สเตนเนอร์ มามากแล้ว และคงรู้จักคำว่าฟิลเตอร์มาก็นาน อุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด ทำหน้าที่ในการกรองน้ำมันไฮดรอลิกเหมือนกัน แต่ท่านก็คงมีข้อสงสัยหรือไม่ว่า กรองทั้ง 2 แบบ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร อะไรเป็นเกณฑ์ในการเรียกชื่อ และการนำเอาไปใช้งานในระบบไฮดรอลิกอย่างไร |
. |
สเตนเนอร์ คือ กรองหยาบ และ ฟิลเตอร์ คือ กรองละเอียด จากนิยามข้างต้นก็คงยังมีข้อสงสัยอีกว่า เมื่อใดใช้กรองหยาบเมื่อใดใช้กรองละเอียด จากที่เราทราบกันอยู่แล้วว่า หน่วยในการกำหนดขนาดรูของกรอง มีอยู่ 2 หน่วย คือ เบอร์เมช (Mesh Number : Mesh No.) และ ไมครอน (Micron : µ) ถ้าเรานำกรองมาตัดให้ได้ความกว้างและความยาว ขนาด 1 x 1 นิ้ว จากนั้นนับจำนวนลวดที่นำมาถักเป็นกรองมีจำนวนเท่ากับหรือน้อยกว่า 100 เส้น (เท่ากันทั้ง 2 ด้าน) มีค่าเท่ากับ 100 Mesh เรากำหนดกรองตัวนั้นให้เป็นกรองหยาบ และถ้าจำนวนลวดมีมากกว่า 100 เส้น เรากำหนดกรองตัวนั้นเป็นกรองละเอียด หรือถ้าเปรียบเทียบขนาดรูของกรองในหน่วยไมครอน มีเกณฑ์อยู่ว่า ถ้ารูของกรองมีขนาดเท่ากับหรือใหญ่กว่า 150µ เรากำหนดกรองตัวนั้นให้เป็นกรองหยาบ และถ้าขนาดรูกรองตัวนั้นมีขนาดเล็กกว่า 150µ เรากำหนดกรองตัวนั้นให้เป็นกรองละเอียด ดังตารางที่ 1 เปรียบเทียบด้านล่าง |
. |
ตารางที่ 1 |
. |
จากข้อมูลข้างต้น เป็นการกำหนดสเตนเนอร์และฟิลเตอร์ตามขนาดของกรอง แต่เรายังมีวิธีการกำหนดจากโครงสร้างได้อีกว่า จากสเตนเนอร์มักทำมาจากสแตนเลส ดังรูปที่ 1 เมื่อกรองอุดตันแล้วสามารถนำมาล้างแล้วใช้ใหม่ได้ ส่วนฟิลเตอร์นั้นมักจะทำมาจากเส้นใยสังเคราะห์หรือกระดาษ ดังรูปที่ 2 เมื่อกรองอุดตันแล้วจึงต้องเปลี่ยนใหม่ |
. |
รูปที่ 1 |
รูปที่ 2 |
. |
นำสเตนเนอร์และฟิลเตอร์ไปใช้งานอย่างไร |
ถ้าเราต้องการป้องกันการเกิดคาร์เตชั่นบริเวณทางดูดของปั๊มดังนี้ เราควรนำสเตนเนอร์ไปติดตั้งไว้บริเวณทางดูดของปั๊ม ดังในรูปที่ 3 |
. |
รูปที่ 3 |
ส่วนฟิลเตอร์นั้นเรานำไปติดตั้งได้หลายตำแหน่ง ถ้าเรานำไปติดตั้งก่อนเข้าตัววาล์ว ส่วนใหญ่จะเป็นวาล์วจำพวกพรอบพอร์ชั่นนอลวาล์ว (Proportion Valve)) และเซอร์โววาล์ว (Servo Valve) โดยเราอาจเรียกว่า ไมโครฟิลเตอร์ (Micro Filter) หรือเพรสเชอร์ฟิลเตอร์ (Pressure Filter) เพราะอยู่ทางด้านจ่ายของปั๊ม ดังในรูปที่ 3 เรายังนำฟิลเตอร์ไปติดตั้งบริเวณก่อนน้ำมันไหลกลับถัง ดังในรูปที่ 3 |
. |
รูปที่ 4 |
. |
รูปที่ 5 |
. |
นอกจากนี้เรายังนำฟิลเตอร์ไปติดตั้งบริเวณฝาปิดถังน้ำมันไฮดรอลิกอีกด้วย ดังนั้นถ้าเราพิจารณาตำแหน่งใช้งานของสเตนเนอร์และฟิลเตอร์ พอจะบอกได้ว่ากรองตัวนั้นเป็นชนิดใด |
. |
การนำฟิลเตอร์ที่มีขนาดเดียวกันไปใช้กับอุปกรณ์อื่นได้ทุกชนิดหรือไม่ |
ขนาดของฟิลเตอร์ที่เรานำไปใช้ในระบบไฮดรอลิกนั้น ในแต่ละขนาดเหมาะกับระบบไฮดรอลิกที่มีอุปกรณ์แตกต่างกันไป ดังตารางที่ 1 ต่อไปนี้ |
. |
ตารางที่ 2 |
. |
ตัววัดประสิทธิภาพของกรอง |
ประสิทธิภาพของกรองนั้น ดูจากค่า เบตาเอ็กซ์ (Beta Valuve : Bx) โดยที่ X คือ ขนาดของอนุภาคที่เราต้องการดักไว้ เช่น ขนาด 5 , 10 ไมครอน เป็นต้น ส่วนใหญ่เราควรเลือกใช้กรองที่มีค่า Bx ≥ 100 (absolute) หมายถึง กรองสามารถจับอนุภาคขนาด X ไว้ได้ 99 ชิ้น จากอนุภาคทั้งหมด 100 ชิ้น |
. |
ถ้านำกรองตัวดังกล่าวไปจับอนุภาคที่ใหญ่กว่าขนาด X จำนวนอนุภาคนั้นจะไม่สามารถผ่านกรองไปได้เลย จากคำแนะนำถ้า Bx ≥ 100 กรองตัวนี้จะมีประสิทธิภาพเท่าใด |
. |
เมื่อใดถึงตรวจสอบรักษาสภาพของกรอง |
ในหลักการของการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกอีกอย่างหนึ่งคือ ควรทำการตรวจสอบตามเวลาที่กำหนด มีกำหนดเวลาในการตรวจสอบสภาพกรอง ดังนี้ |
- ตรวจสอบใน 1 ชั่วโมง แรกขณะที่ระบบไฮดรอลิกเริ่มทำงาน |
- ตรวจสอบทุกๆ วัน ในช่วง 1 สัปดาห์แรกของการทำงาน |
- ตรวจสอบทุกๆ สัปดาห์ หลังผ่านสัปดาห์แรกของการทำงานมาแล้ว |
- ตรวจสอบทุกๆ เดือน หลังผ่านการทำงานมาแล้ว 100 ชั่วโมง |
. |
ตรวจสอบกรองตันหรือไม่ถ้าตันดูจากอะไร |
. |
อุปกรณ์ที่เป็นตัวบ่งชี้สภาพของกรอง มีหลายแบบดังนี้ |
1.ตัวบ่งชี้เป็นแบบกลไก แสดงผลออกมาเป็นแท่งสี เมื่อกรองตันจะแสดงสีแดงออกมา |
รูปที่ 6 |
. |
รูปที่ 7 |
. |
รูปที่ 8 |
. |
2.ตัวบ่งชี้เป็นแบบสวิตช์ความดัน (Pressure Switch) แสดงผลออกมาเป็นหลอดไฟ เมื่อ กรองตันหลอดไฟจะสว่าง |
รูปที่ 9 |
. |
รูปที่ 10 |
. |
รูปที่ 11 |
. |
รูปที่ 12 |
. |
ดังนั้นเมื่อกรองตัน เราควรทำการเปลี่ยนกรองทันที เพราะถึงแม้ว่าระบบไฮดรอลิกยังสามารถทำงานต่อไปได้ แต่น้ำมันในระบบสกปรกจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ระบบไฮดรอลิกเสียหาย |
. |
เอกสารอ้างอิง |
- Industrial Hydraulics Manual, Vicker Incorporated, 1989. |
- The Hydraulic Trainer Volume 1, Rexroth Hydraulics, 1991. |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด