สัญลักษณ์จะช่วยให้อ่านและทำความเข้าใจวงจรไฮดรอลิกได้ง่ายขึ้น และทำให้การออกแบบการทำงานของวงจรระบบไฮดรอลิกได้อย่างถูกต้อง รวมถึงใช้ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกได้อย่างรวดเร็วและประหยัดเวลามากขึ้น อุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิกมีจำนวนค่อนข้างมากและอุปกรณ์ส่วนใหญ่ของระบบไฮดรอลิกมีทำงานค่อนข้างซับซ้อน
สัญลักษณ์อุปกรณ์ของระบบไฮดรอลิก เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในระบบไฮดรอลิก เนื่องจากสัญลักษณ์จะช่วยให้อ่านและทำความเข้าใจวงจรไฮดรอลิกได้ง่ายขึ้น และทำให้การออกแบบการทำงานของวงจรระบบไฮดรอลิกได้อย่างถูกต้อง รวมถึงใช้ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกได้อย่างรวดเร็วและประหยัดเวลามากขึ้น อุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิกมีจำนวนค่อนข้างมากและอุปกรณ์ส่วนใหญ่ของระบบไฮดรอลิกมีทำงานค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นจึงทำให้สัญลักษณ์อุปกรณ์ไฮดรอลิกจึงมีความสำคัญมากขึ้นตามมา ในบทความนี้ขอกล่าวถึงสัญลักษณ์อุปกรณ์ที่สำคัญๆ เช่น อุปกรณ์ทำงาน อุปกรณ์ควบคุม อุปกรณ์ต้นกำลัง อุปกรณ์ท่อและข้อต่อ วิธีการบังคับให้อุปกรณ์ทำงาน และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการทำงานของระบบไฮดรอลิก เป็นต้น |
. |
สัญลักษณ์อุปกรณ์ทำงาน |
. |
1. สัญลักษณ์กระบอกสูบไฮดรอลิก กระบอกสูบจะทำงานในลักษณะการเคลื่อนที่เชิงเส้นตรง(Linear motion) สัญลักษณ์ของกระบอกสูบจะมีส่วนประกอบของกระบอกสูบคือ กระบอกสูบ ลูกสูบ และก้านสูบ จากรูปที่ 1 สัญลักษณ์กระบอกสูบไฮดรอลิกจะประกอบด้วย กระบอกสูบแบบทำงานทางเดียวอาจใช้แทนอุปกรณ์ทำงานแบบไดอะแฟรมหรือเชิงเส้นอื่นๆ ได้ กระบอกสูบแบบทำงานสองทางมีก้านสูบเดียว กระบอกสูบแบบทำงานสองทางมีสองก้านสูบ กระบอกสูบแบบมีชุดกันกระแทกอยู่ภายใน กระบอกสูบมีชุดกันกระแทกปรับค่าได้ กระบอกสูบแบบทำงานสองทางก้านสูบขนาดใหญ่ เป็นต้น |
. |
รูปที่ 1 สัญลักษณ์กระบอกสูบไฮดรอลิก |
. |
2.สัญลักษณ์มอเตอร์ไฮดรอลิก มอเตอร์ไฮดรอลิกเป็นอุปกรณ์การทำงานในระบบไฮดรอลิกแบบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กันโครงสร้างโดยทั่วไปก็คล้ายคลึงกับปั๊มไฮดรอลิกแตกต่างกันที่การทำงานคือ ปั๊มไฮดรอลิกจะเปลี่ยนพลังงานจลน์ในน้ำมันที่ได้รับจากวาล์วหรือปั๊มในระบบให้เป็นพลังงานกลด้วยการหมุน สัญลักษณ์ของมอเตอร์ไฮดรอลิกจะคล้ายๆ กับปั๊ม คือ มีลักษณะเป็นวงกลม มีลูกศรทึบแสดงทิศทางการไหลของน้ำมัน เนื่องจากสัญลักษณ์ของมอเตอร์ไฮดรอลิกคล้ายคลึงกับปั๊มไฮดรอลิกมากนี้เอง ทำให้บางคนเข้าใจผิดได้โดยง่าย ดังนั้นจึงต้องสังเกตความแตกต่างให้ดีคือ ทิศทางการไหลของน้ำมันที่เข้ามอเตอร์ไฮดรอลิก จะเปลี่ยนพลังงานจลน์ของน้ำมันให้เป็นแรงบิดจากการเคลื่อนที่แบบหมุน จุดที่สำคัญที่แสดงให้เห็นทิศทางการไหลของน้ำมันก็คือ ลูกศรทึบ ซึ่งหัวลูกศรทึบในสัญลักษณ์ของมอเตอร์ไฮดรอลิกนั้นจะมีทิศทางแตกต่างกับของปั๊มไฮดรอลิก จากรูปสัญลักษณ์มอเตอร์ไฮดรอลิกจะประกอบด้วย มอเตอร์แบบมีทิศทางการไหลทางเดียวที่มีลูกศรทึบ 1 ตัว และมีทิศทางการไหลได้สองทางที่มีลูกศรทึบ 2 ตัว มอเตอร์ไฮดรอลิกแบบปรับค่าอัตราการไหลได้ จะเพิ่มเส้นลูกศรพาดผ่านสัญลักษณ์มอเตอร์ไฮดรอลิก มอเตอร์ไฮดรอลิกแบบปรับค่าอัตราการไหลไม่ได้ |
. |
รูปที่ 2 สัญลักษณ์มอเตอร์ไฮดรอลิก |
. |
สัญลักษณ์อุปกรณ์ควบคุม |
อุปกรณ์ควบคุมหรือเรียกว่าวาล์วเป็นอุปกรณ์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของระบบไฮดรอลิก โดยทำหน้าที่ควบคุมการไหล ความดัน และทิศทาง เพื่อให้ระบบทำงานได้ตามความต้องการ |
. |
1. อุปกรณ์ควบคุมการไหล อุปกรณ์ควบคุมการไหลแบบง่ายๆ ชนิดที่นิยมใช้กันมากคือ แบบประตู(gate) และแบบโกลบ การควบคุมอัตราการไหลของวาล์วแบบนี้ควบคุมได้ไม่แน่นอนเท่าที่ควรดังนั้นหากต้องการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่ผ่านวาล์วได้อย่างแม่นยำจึงจำเป็นต้องใช้วาล์วควบคุมอัตราการไหลแบบปรับอัตราการไหลได้ จากรูปที่ 3 สัญลักษณ์อุปกรณ์ควบคุมการไหลประกอบด้วย อุปกรณ์ควบคุมการไหล อุปกรณ์ควบคุมการไหลทางเดียว อุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลปรับช่องคอคอดไม่ได้ อุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลที่สามารถปรับช่องคอคอดได้ อุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลที่ปรับช่องคอคอดได้มีวาล์วกันกลับแต่ไม่มีการชดเชย อุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลแบบช่องคอคอดได้ มีวาล์วกันกลับ และมีชุดชดเชยอุณหภูมิและความดัน เป็นต้น |
. |
รูปที่ 3 อุปกรณ์ควบคุมการไหล |
. |
2. อุปกรณ์ควบคุมความดัน อุปกรณ์ควบคุมความดันลักษณะนี้จะแทนสัญลักษณ์ด้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 รูป เป็นอุปกรณ์ที่ให้น้ำมันไหลผ่านหรือปิดกั้นเอาไว้ ลักษณะของอุปกรณ์ควบคุมความดัน มีอุปกรณ์ควบคุมความดันชนิดระบายความดัน อุปกรณ์ควบคุมความดันชนิดจัดอันดับการไหล และอุปกรณ์ควบคุมความดันชนิดลดโหลดหรือปลดความดัน เป็นต้น |
. |
รูปที่ 4 อุปกรณ์ควบคุมความดัน |
. |
4. อุปกรณ์ควบคุมทิศทาง อุปกรณ์ควบคุมทิศทางมีสัญลักษณ์ของวาล์วแบบทำงานหลายตำแหน่ง จะแทนด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัสหลายรูป ทั้งนี้อาจจะมีสี่เหลี่ยมตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป ซึ่งสี่เหลี่ยมแต่ละรูปจะหมายถึงตำแหน่งของวาล์ว และภายในตำแหน่งจะมีทิศทางการไหลผ่านของน้ำมัน จะแสดงด้วยเส้นลูกศรภายในสี่เหลี่ยม จากรูปที่ 5สัญลักษณ์อุปกรณ์ควบคุมทิศทางประกอบด้วย อุปกรณ์ควบคุมทิศทางการไหล 2 ตำแหน่ง 3 ทิศทาง อุปกรณ์ควบคุมทิศทางการไหล 2 ตำแหน่ง 4 ทิศทางในตำแหน่งปกติ อุปกรณ์ควบคุมทิศทางการไหลแบบ 3 ตำแหน่ง 4 รู 4 ทิศทาง ตำแหน่งกลางปิดหมด อุปกรณ์ควบคุมทิศทางการไหลแบบ 3 ตำแหน่ง 4 รู 4 ทิศทาง ตำแหน่งกลางไหลถึงกันทั้งหมด เป็นต้น |
รูปที่ 5 อุปกรณ์ควบคุมทิศทาง |
. |
สัญลักษณ์ปั๊มไฮดรอลิก |
ปั๊มไฮดรอลิก เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนอัตราการไหลของน้ำมันในระบบไฮดรอลิก ให้มีอัตราการไหลเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยได้รับกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าผ่านเพลาขับมาหมุนปั๊ม จากรูปที่ 6 สัญลักษณ์ปั๊มจะประกอบด้วย ปั๊มแบบอัตราการไหลคงที่มีทิศทางการไหลทางเดียว ปั๊มแบบอัตราการไหลคงที่มีทิศทางการไหลสองทาง ปั๊มแบบปรับอัตราการไหลได้ ปั๊มแบบปรับอัตราการไหลได้แบบค่อนข้างสมบูรณ์ ปั๊มแบบทิศทางการไหลสองทางปรับอัตราการไหลได้ ปั๊มแบบสมบูรณ์ที่มีทิศทางการไหลสองทาง ปรับอัตราการไหลได้ และเพลาขับปั๊มหมุนได้สองทาง เป็นต้น |
. |
รูปที่ 6 สัญลักษณ์ปั๊มไฮดรอลิก |
. |
สัญลักษณ์อุปกรณ์ท่อและข้อต่อ |
อุปกรณ์ท่อและข้อต่อมีหน้าที่เพื่อให้น้ำมันสามารถไหลผ่านเข้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ มีผลทำให้ระบบไฮดรอลิกสามารถทำงานได้ตามความต้องการ จากรูปที่ 7 สัญลักษณ์อุปกรณ์ท่อและข้อต่อจะประกอบด้วย ท่อใช้งาน ท่อควบคุม ท่อระบายน้ำมัน จุดต่อร่วม ท่อไฮดรอลิกแบบหักงอได้ ท่อใช้งานต่อกัน ท่อใช้งานคร่อมกัน ทิศทางการไหลของน้ำมันไหลทางเดียวเท่านั้น ทิศทางการไหลของน้ำมันไหลได้ทั้งสองทาง ท่ออยู่ต่ำกว่าระดับของน้ำมันในถัง ปลายท่ออยู่เหนือกว่าระดับของน้ำมันในถัง ปลายท่อถูกอุด และจุดท่อระบายร่วม เป็นต้น |
. |
รูปที่ 7 สัญลักษณ์อุปกรณ์ท่อและข้อต่อ |
. |
สัญลักษณ์วิธีการบังคับให้อุปกรณ์ทำงาน |
วิธีการเปลี่ยนตำแหน่งการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมทิศทางนั้น มีการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน คือการควบคุมแบบธรรมดาด้วยแรงจากคน การควบคุมแบบทางกล การควบคุมด้วยไฟฟ้าและการควบคุมด้วยลม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของการนำไปใช้งานที่แตกต่างกันออกไป จากรูปสัญลักษณ์วิธีการบังคับให้อุปกรณ์ทำงาน จะประกอบด้วย การบังคับแบบร่องยึดให้ค้างตำแหน่ง การบังคับให้วาล์วทำงานแบบธรรมดาด้วนแรงคน การบังคับแบบลูกกลิ้ง การบังคับโดยใช้ความดันท่อควบคุม การบังคับแบบปุ่มกด การบังคับแบบคันโยกมือ การบังคับแบบคันเหยียบ การบังคับแบบเดือย การบังคับแบบโซลินอยด์ การบังคับแบบใช้เซอร์โวและการบังคับแบบร่วม เป็นต้น |
. |
รูปที่ 8 สัญลักษณ์วิธีการบังคับให้อุปกรณ์ทำงาน |
. |
สัญลักษณ์อุปกรณ์ที่ช่วยการทำงานในระบบไฮดรอลิก |
อุปกรณ์ที่ช่วยในการทำงานของระบบไฮดรอลิกยังมีอยู่อีกมากมายหลายอย่าง เช่น ถังพักน้ำมัน ถังสะสมความดัน เกจวัดความดัน กรองน้ำมัน เป็นต้น จากรูปที่ 9 สัญลักษณ์อุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการทำงานของระบบไฮดรอลิกจะประกอบด้วย สัญลักษณ์เส้นกรอบอุปกรณ์ สัญลักษณ์ถังพักน้ำมันแบบเปิดและแบบปิด สัญลักษณ์เกจวัดความดัน สัญลักษณ์เกจวัดอุณหภูมิ สัญลักษณ์อุปกรณ์วัดอัตราการไหล สัญลักษณ์มอเตอร์ไฟฟ้า สัญลักษณ์ถังสะสมความดัน สัญลักษณ์กรองน้ำมัน สัญลักษณ์ตัวเพิ่มความร้อน สัญลักษณ์ระบายความร้อน และสวิตช์ความดัน เป็นต้น |
. |
รูปที่ 9 สัญลักษณ์อุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการทำงานของระบบไฮดรอลิก |
. |
สรุป |
สัญลักษณ์ระบบไฮดรอลิกที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้ในระบบไฮดรอลิกที่ใช้งานทั่วไปเท่านั้น ในการอ่านวงจรไฮดรอลิกแต่ละวงจร อาจจะมีสัญลักษณ์ที่ท่านอาจจะไม่เคยเห็นอีกมาก ดังนั้นในการอ่านวงจรไฮดรอลิก จะต้องใช้ประสบการณ์ในการเรียนรู้สัญลักษณ์ให้มาก และรวมถึงจะต้องรู้หลักการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดอย่างถูกต้องชัดเจน จึงจะทำการออกแบบวงจรไฮดรอลิกได้อย่างถูกต้องต่อไปได้ |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด