เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น จะมีความชื้นและอุณหภูมิค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี ทำให้ภายในบ้านพักอาศัยมีความร้อนและความชื้นสะสมมาก ทำให้มีการใช้เครื่องปรับอากาศเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสบายแก่ผู้อยู่อาศัยภายในที่พักอาศัย และภาระความร้อนที่ระบบปรับอากาศต้องดึงออกจากที่พักอาศัย สามารถลดภาระความร้อนแฝงภายในที่พักอาศัยได้
เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น จะมีความชื้นและอุณหภูมิค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี ทำให้ภายในบ้านพักอาศัยมีความร้อนและความชื้นสะสมมาก ทำให้มีการใช้เครื่องปรับอากาศเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสบายแก่ผู้อยู่อาศัยภายในที่พักอาศัยและภาระความร้อนที่ระบบปรับอากาศต้องดึงออกจากที่พักอาศัย ประกอบด้วย ความร้อนสัมผัส(Sensible heat) และความร้อนแฝง(Latent heat) มีอยู่ในอากาศและอุปกรณ์ตกแต่งบ้านทั่วไป หากเราสามารถลดความชื้นของอากาศลงได้ก็จะสามารถลดภาระความร้อนแฝงภายในที่พักอาศัยได้ หมายถึงการลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบปรับอากาศลงได้ การลดความชื้นของอากาศสามารถทำได้หลายวิธี ตัวอย่าง เช่น การใช้สารดูดความชื้น แต่ปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการใช้สารดูดความชื้นคือเมื่อใช้สารดูดความชื้นจนความสามารถในการดูดความชื้นลดลงจะต้องมีการนำสารดูดความชื้นมาทำการดึงความชื้นออก หรือลดความชื้นโดยใช้วิธี ล้อความร้อน(Heat Wheel) โดยการนำเอาอากาศร้อนมาดึงความชื้นออกจากอากาศก่อนเข้าระบบปรับอากาศแต่วิธีนี้จะส่งผลให้อากาศที่ผ่านกระบวนการลดความชื้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ลดความชื้นที่จำหน่ายในท้องตลาดมีด้วยกันหลายแบบ เช่น เครื่องลดความชื้นที่ใช้ คอมเพรสเซอร์ และเครื่องลดความชื้นที่ใช้สารกึ่งตัวนำเป็นอุปกรณ์หลักในการลดความชื้น เครื่องลดความชื้นที่ใช้สารกึ่งตัวนำนั้นจะเป็นวิธีการที่สะดวกเพราะไม่มีอุปกรณ์มาก ง่ายต่อการติดตั้งและมีน้ำหนักเบา |
. |
ความชื้นสะสมที่เกิดขึ้นภายในที่พักอาศัยมักจะเกิดขึ้น เนื่องจากร่างกายมนุษย์ที่ถ่ายเทความชื้นจากร่างกายให้กับอากาศในที่พักอาศัย การคายความชื้นจากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายในที่พักอาศัย ด้วยเหตุนี้ทำให้ปริมาณความชื้นภายในอากาศเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความไม่สบายเชิงความร้อนต่อผู้พักอาศัย จากการคายความชื้นสู่อากาศภายในที่พักอาศัย ทำให้เครื่องปรับอากาศจะต้องทำการดึงความร้อนแฝงที่เกิดจากความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัยออกจากที่พักอาศัยเป็นจำนวนมาก |
. |
การลดความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัย |
การลดความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัยที่ใช้กันอย่างกว้างขวางสองวิธี คือ แบบ Passive และ Active ในรูปที่ 1 แสดงตัวอย่างการลดความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัยโดย วิธี Passive อาศัยหลักการเดียวกับการระบายอากาศแบบธรรมชาติ โดยเมื่ออากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้นก็จะทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้นในขณะเดียวกันความชื้นในอากาศก็ลอยตัวพร้อมกับอากาศไหลจากชั้นล่างของบ้านผ่านช่องเปิดผ่านขึ้นสู่ชั้นสองและไหลผ่านฝ้าเพดานขึ้นสู่ห้องใต้หลังคาและในขณะเดียวกันอากาศร้อนในห้องใต้หลังคาก็จะไหลออกผ่านช่องเปิดที่เปิดไว้บนหลังคาบ้าน |
. |
. |
รูปที่ 1 วิธีการระบายอากาศแบบธรรมชาติ |
. |
จากหลักการระบายอากาศแบบธรรมชาติเพื่อลดความชื้นสะสมนี้ จะเห็นได้ว่าในเมืองไทยมีการใช้หลักการนี้น้อยมาก เนื่องจากการเปิดช่องบนหลังคาหรือส่วนต่างๆ ของบ้านนั้นจะมีผลทำให้เกิดความไม่สวยงาม ในยุโรปบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่จะมีการเปิดช่องเปิดบนหลังคาบ้านเพื่อระบายความร้อนและความชื้นภายในที่พักอาศัย ดังแสดงในรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่าบนหลังคาบ้านมีการเปิดช่องระบายอากาศสำหรับระบายความชื้นและความร้อนจากภายในที่พักอาศัยและส่วนอื่นๆ ของบ้าน ก็มีการเปิดช่องเพื่อให้เกิดการระบายอากาศ คือ ผนังบ้านและหน้าต่างบ้าน ดังแสดงให้เห็นในรูปที่ 3 และ รูปที่ 4 การระบายอากาศแบบธรรมชาติผ่านผนังและหน้าต่างบ้าน จะมีช่องเปิดสำหรับอากาศไหลเข้าและออกจากกำแพงและหน้าต่างบ้าน ทั้งสองแบบนี้จะใช้หลักการระบายอากาศเช่นเดียวกับการระบายอากาศแบบธรรมชาติทั่วไป |
. |
. |
รูปที่ 2 บ้านพักอาศัยที่มีการระบายอากาศแบบธรรมชาติ (ที่หลังคาบ้าน) |
. |
. |
รูปที่ 3 บ้านพักอาศัยที่มีการระบายอากาศแบบธรรมชาติ (ที่ผนังบ้าน) |
. |
. |
รูปที่ 4 บ้านพักอาศัยที่มีการระบายอากาศแบบธรรมชาติ (ที่หน้าต่าง) |
. |
ส่วนการลดความชื้น วิธี Active จะเป็นการลดความชื้นโดยมีอุปกรณ์ช่วยในการลดความชื้น เช่น เครื่องลดความชื้น พัดลมสำหรับการระบายอากาศเพื่อช่วยในการลดความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัย ในรูปที่ 5 แสดงอุปกรณ์ลดความชื้นโดยใช้เทอร์โมอิเล็กตริก ซึ่งเป็นอุปกรณ์ลดความชื้นภายในที่พักอาศัย |
. |
. |
รูปที่ 5 เครื่องลดควมชื้นแบบเทอร์โมอิเล็กตริก |
. |
ในการลดความชื้นภายในที่พักอาศัย ควรทำการลดความชื้นสะสมก่อนการเปิดเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากจะทำให้การดึงความร้อนแฝงของเครื่องปรับอากาศมีค่าน้อยลง ทำให้เครื่องปรับอากาศมีการใช้พลังงานในการดึงความร้อนแฝงออกมีค่าน้อยลงด้วย แสดงให้เห็นในแผนภูมิไซโครเมตริก ในหัวข้อต่อไป |
. |
แผนภูมิไซโครเมตริก |
แผนภูมิไซโครเมตริก(Psychrometric chart) เป็นแผนภูมิที่แสดงถึงคุณสมบัติต่างๆ ของอากาศแห้งและไอน้ำ ที่เป็นส่วนผสมของอากาศ ประกอบด้วย อุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Dry bulb) เป็นแกนนอนของแผนภูมิ อุณหภูมิกระเปาะเปียก(Wet bulb) อัตราส่วนความชื้นของอากาศชื้นและอากาศแห้งเป็นคุณสมบัติในแกนตั้งของแผนภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิอิ่มตัว(Saturation temperature) ปริมาตรจำเพาะ และเอนทัลปีจำเพาะจากแผนภูมิไซโครเมตริก ในรูปที่ 6 แสดง ลักษณะการทำงานของกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยแสดงบนแผนภูมิไซโครเมติก มีกระบวนการพื้นฐานที่แสดงบนแผนภูมิไซโครเมตริก 8 กระบวนการ คือ |
. |
. |
รูปที่ 6 แผนภาพแสดงกระบวนการพื้นฐานที่เกิดบนแผนภาพไซโครเมตริก |
. |
1. กระบวนการ OA คือกระบวนการการลดความชื้น (Dehumidifying process) |
2. กระบวนการ
|
3. กระบวนการ OC คือกระบวนการการทำความเย็นโดยการสัมผัส (Sensible cooling process) |
4. กระบวนการ OD คือกระบวนการการทำความเย็นและเพิ่มความชื้น (Cooling and humidifying process) |
5. กระบวนการ OE คือ กระบวนการเพิ่มความชื้น (Humidifying) |
6. กระบวนการ OF คือกระบวนการทำความร้อนและเพิ่มความชื้น (Heating and humidifying process) |
7. กระบวนการ OG คือกระบวนการทำความร้อนสัมผัส (Sensible heating) |
8. กระบวนการ OH คือกระบวนการลดความชื้นทางเคมี (Chemical dehumidifying) |
. |
คำนวณหาค่าอัตราส่วนความชื้นของอากาศที่จุดอิ่มตัว (W) |
. |
จากการคำนวณค่าอัตราส่วนความชื้นของอากาศ สามารถหาค่าเอนทัลปีของอากาศได้จาก สมการ (5) ค่าอุณหภูมิของอากาศ T ในสมการ (5) มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส |
. |
ขั้นตอนการคำนวณ |
1. กำหนดอุณหภูมิของอากาศ ตั้งแต่ 20, 21, 22,………..,35°C |
2. เปลี่ยนแปลงความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ตั้งแต่ 10, 20, 30,……..,100% |
3. คำนวณค่าต่างๆ ตามสมการ (1) ถึง (5) |
. |
ตารางที่ 1 แสดงค่าเอนทัลปีจำเพาะของอากาศที่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ (h, kJ/kg-dry air) |
. |
จากตารางที่ 1 นำค่าเอนทัลปีจำเพาะและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการพล็อตกราฟ โดยเลือกค่าเอนทัลปีและความชื้นสัมพัทธ์ที่ อุณหภูมิของอากาศ (T) = 20, 25, 30 และ 35°C จะเห็นได้ว่าเมื่อค่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศลดลงค่าเอนทัลปีจำเพาะจะลดลงตามด้วย ทั้งนี้เนื่องจากอัตราส่วนความชื้นความชื้นของอากาศลดลง |
. |
รูปที่ 8 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทัลปีจำเพาะและความชื้นสัมพัทธ์ที่อุณหภูมิ 20, 25, 30 และ 35°C |
. |
ตัวอย่าง อากาศภายในห้องมีอุณหภูมิ 29°C ความชื้นสัมพัทธ์ 70% ถูกลดความชื้นโดยอุณหภูมิคงที่จนถึงความชื้นสัมพัทธ์ 65, 60, 55 และ 50% จงหาค่าการลดความของเอนทัลปีจำเพาะที่เกิดจากการลดความชื้น |
. |
วิธีทำ จากแผนภูมิไซโครเมตริก ที่อุณหภูมิ 29°C และ |
. |
รูปที่ 9 |
ค่าความร้อนแฝงจำเพาะที่ลดลง |
. |
จากตัวอย่างการคำนวณนำมาหาค่าเปอร์เซ็นต์การลดค่าความร้อนแฝง ดังแสดงในตารางที่ 2 |
ตารางที่ 2 เปอร์เซ็นต์การลดความร้อนแฝง |
. |
จะเห็นได้ว่าเมื่อลดความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศลง จะทำให้เปอร์เซ็นต์การลดความร้อนแฝงมีค่าเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า เมื่อทำการลดความชื้นของอากาศลงก่อนทำการเปิดเครื่องปรับอากาศ จะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานในการดึงความร้อนแฝงออกจากที่พักอาศัย |
. |
เอกสารอ้างอิง |
- Y. O. Devres, 1994, "Psychrometric Properties of Humid Air: Calculatiom Procedures," Applied Energy, pp. 1-18. |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด