การผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานความร้อนโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งมีอยู่มากกว่าครึ่งหนึ่งของโรงไฟฟ้าทั้งหมดทั่วโลกเลยทีเดียว แต่สำหรับในประเทศไทยมีการใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงอยู่บ้าง คุณสมบัติของถ่านหินนั้นไม่ค่อยคงที่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่แหล่งถ่านหินนั้นถูกขุดขึ้นมาใช้
1.บทนำ |
การผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานความร้อนโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งมีอยู่มากกว่าครึ่งหนึ่งของโรงไฟฟ้าทั้งหมดทั่วโลกเลยทีเดียว แต่สำหรับในประเทศไทยมีการใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงอยู่บ้าง คุณสมบัติของถ่านหินนั้นไม่ค่อยคงที่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่แหล่งถ่านหินนั้นถูกขุดขึ้นมาใช้ ในบางครั้งถ่านหินจากแหล่งเดียวกันแต่อยู่ในระดับความลึกที่แตกต่างกันก็อาจมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันได้เช่นกัน คุณภาพของถ่านหินที่แตกต่างกันนั้น ได้แก่ คุณสมบัติทางเคมี ค่าความร้อนของถ่านหิน และขี้เถ้าที่เหลือจากการเผาไหม้ คุณสมบัติของขี้เถ้าที่เหลือจากการเผาไหม้นั้นยังขึ้นอยู่กับ การทำงานของหม้อไอน้ำ, ขบวนการสันดาป, ปริมาณอากาศที่ใช้ในการสันดาปอีกด้วย จากเหตุผลข้างต้นทำให้ขี้เถ้าที่ได้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปทั้งส่วนประกอบทางเคมี ขนาดและปริมาณของขี้เถ้า ระบบที่ใช้สำหรับการขนถ่ายขี้เถ้านั้นจะต้องสามารถขนถ่ายขี้เถ้าที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบระบบขนถ่ายขี้เถ้าที่ไม่สมบูรณ์อาจเป็นเหตุให้การทำงานของโรงไฟฟ้าหยุดชะงักลงได้ |
. |
2.การเกิดขี้เถ้าจากการเผาไหม้ |
ถ่านหินจะอยู่ในรูปของ ถ่านหินที่ถูกบดจนมีขนาดเหมาะกับการเผาไหม้และในระหว่างการเผาไหม้จะเกิดเปลวของเถ้าถ่านกระเด็นกระดอนอยู่ภายในเตาเผา ซึ่งบางครั้งเถ้าถ่านเหล่านี้จะหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงแล้วรวมตัวกันเป็นตะกรัน(Slag)เมื่อรวมตัวกันมากขึ้นตะกรันเหล่านี้จะเป็นตัวต้านทานการถ่ายเทความร้อนทำให้ประสิทธิภาพของหม้อน้ำลดลง การป้องกันการรวมตัวกันของขี้เถ้าเป็นตะกรันทำได้โดยใช้พัดลมเป่าให้ตะกรันหลุดออกไป จากนั้นขี้เถ้าขนาดใหญ่จะตกลงไปสู่ถังเก็บขี้เถ้าที่อยู่ด้านล่าง ซึ่งเรียกว่า “Furnace Bottom Ash” (FBA) ส่วนขี้เถ้าที่มีขนาดเล็กจะลอยไปกับก๊าซร้อน (Flue gas) จะถูกอุปกรณ์ดักฝุ่นกักเก็บไว้ก่อนที่จะปล่อยก๊าซร้อนทิ้งทางปล่องควัน ขี้เถ้าที่ลอยไปกับอากาศร้อนนี้เรียกว่า “Palverised Fuel Ash” (PFA) หรือเถ้าลอย |
. |
. |
รูปที่ 1 เส้นทางการไหลของก๊าซ (flue gas) |
. |
ปริมาณโดยประมาณของขี้เถ้าขนาดใหญ่ (FBA) จะมีประมาณ 8 -15% ส่วนที่เถ้าลอย (PFA) จะมีประมาณ 85-90% ซึ่ง เถ้าลอย จะถูกกักเก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ตามเส้นทางการไหลของก๊าซร้อนในปริมาณคือ |
- Economizer (อุปกรณ์อุ่นน้ำเลี้ยง) 5-12% |
- Air heater (อุปกรณ์อุ่นอากาศ) 2-3% |
- EP (อุปกรณ์เก็บฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต) 70-85% |
ปริมาณเถ้าลอยและเส้นทางเดินของก๊าซร้อน (flue gas) ได้แสดงไว้ในรูปที่ 1 |
. |
ปริมาณของขี้เถ้านั้นจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของถ่านหิน, ขบวนการสันดาปในหม้อน้ำ และตัวแปรอื่นที่กล่าวไว้ข้างต้น ขบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จะเป็นผลให้เกิดสารคาร์บอนที่ไม่ถูกเผาไหม้ในขี้เถ้าขึ้นโดยที่คาร์บอนที่อยู่ในขี้เถ้าจะทำให้ขี้เถ้ามีสีดำ ถ่านหินที่ดีจะมีปริมาณขี้เถ้า 6-8% ในขณะที่ถ่านหินคุณภาพต่ำจะมีปริมาณขี้เถ้าสูงถึง 45% ทีเดียว |
. |
3.1 คุณสมบัติทางเคมี ส่วนประกอบทางเคมีที่สำคัญของขี้เถ้าได้แก่ |
ซึ่งซิลิกอนออกไซด์อาจมีปริมาณสูงถึง 65% ในขณะที่อะลูมิเนียมออกไซด์จะมีค่าอยู่ระหว่าง 15-30% ซึ่งส่วนประกอบทั้ง 2 นี้ มีคุณสมบัติที่มีความแข็งคม โดยมีความคมสูงถึง 8 โมห์สเกล (8 Mhos scale hardness) ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ขี้เถ้าเป็นวัสดุที่แข็งคม และจะทำให้วัสดุที่สัมผัสกับขี้เถ้าเกิดการสึกหรอขึ้นได้ ส่วนประกอบของขี้เถ้า โดยประมาณได้แสดงไว้ดังตารางที่ 1 |
. |
. |
3.2 ขนาดและอุณหภูมิของขี้เถ้า ขนาดของเถ้าลอย (PFA) ที่ถูกดักไว้ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ จะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป โดยขนาดของขี้เถ้าที่ถูกดักไว้ที่อุปกรณ์จะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ จากต้นทางไปยังปลายทางที่ปล่อยควันดังรูปที่ 1 ฝุ่นที่ถูกดักไว้ที่ตัวดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (EP) จะมีปริมาณ ประมาณ 70-85% ซึ่งจากที่กล่าวมาคุณสมบัติของถ่านหินที่แตกต่างกันไป ทำให้ขนาดของขี้เถ้าแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นในตารางที่ 2 เป็นขนาดของขี้เถ้าโดยประมาณ ซึ่งขนาดเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามคุณสมบัติของถ่านหินและขบวนการเผาไหม้ที่แตกต่างกันไป |
. |
. |
ตารางที่ 2 ขนาดและอุณหภูมิของขี้เถ้าลอย |
. |
3.3 รูปร่างและความหนาแน่น ขี้เถ้าที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ในหม้อน้ำ โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นวงที่มีผิวลื่นเหมือนกระจก และจากการใช้กล้องขยายดังรูปที่ 2 พบว่ารูปร่างของขี้เถ้านั้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการหลอมเหลวและรวมตัวกันของขี้เถ้า |
. |
. |
รูปที่ 2 ลักษณะของขี้เถ้า |
. |
ในกรณีที่วัสดุที่จะขนถ่ายโดยระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นความหนาแน่นที่ปรากฏ (Bulk Density) ของวัสดุก็จะมีค่าที่แตกต่างกันไปด้วย ความหนาแน่นที่ปรากฏจะเป็นตัวกำหนดขนาดของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลม ส่วนความหนาแน่นจริง (Particle Density) ของวัสดุจะมีอิทธิพลต่อความเร็วที่แตกต่างกันของความเร็วลมและความเร็ววัสดุ (Slip Velocity) ในระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลม โดยส่วนมากแล้วขี้เถ้าจะมีความหนาแน่นที่ปรากฏประมาณ 720 kg/m3 และมีความหนาแน่นจริง 1800 kg/m3 |
. |
3.4 ถังเก็บสะสมขี้เถ้า ขี้เถ้าจากการเผาไหม้ปริมาณ 75% จะถูกดักเก็บไว้ได้ด้วยตัวเก็บฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต โดยที่ลักษณะของถังเก็บสะสมขี้เถ้าที่เก็บไว้ได้นั้น จะมีหลายตำแหน่งตามตัวเก็บฝุ่น ตัวอย่างเช่น ตัวเก็บฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตมี 6 ส่วน ในแต่ละส่วนจะมีถังเก็บฝุ่น จำนวน 8 ใบ ซึ่งมีทิศทางการไหลของก๊าซดังรูปที่ 3 |
. |
ในส่วนแรกของถังเก็บวัสดุจะสามารถเก็บฝุ่นไว้ได้มากที่สุดคือจะสามารถเก็บฝุ่นไว้ได้ 70-80% ของฝุ่นที่เก็บไว้ได้ด้วยตัวดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต สำหรับในส่วนที่ 2 ถึง 6 จะเก็บฝุ่นไว้ได้น้อยลงตามสัดส่วนไป ในกรณีที่ส่วนที่ 1 ของตัวดักฝุ่นเสียหายไม่สามารถทำงานได้ ส่วนที่ 2 จะต้องสามารถเก็บกักฝุ่นขี้เถ้าไว้ได้ในปริมาณที่ส่วนที่ 1 เก็บไว้ได้เช่นกัน ขนาดของถังเก็บสะสมขี้เถ้าจะต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะเก็บฝุ่นขี้เถ้าได้อย่างน้อย 24 ชั่วโมงการทำงาน การออกแบบระบบขนถ่ายขี้เถ้าจะต้องพิจารณาปริมาณขี้เถ้าที่ถูกเก็บสะสมไว้ในแต่ละส่วนของตัวดักฝุ่นขี้เถ้าด้วย |
. |
. |
รูปที่ 3 ถังเก็บสะสมขี้เถ้า |
. |
ทิศทางการขนถ่ายขี้เถ้าที่เก็บสะสมในถังเก็บขี้เถ้าสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ คือ ในทิศทางขนานกับการไหลของแก๊สและในทิศทางตั้งฉากกับการไหลของก๊าซ การขนถ่ายในทิศทางขนานกับการไหลของก๊าซจะทำให้ขี้เถ้าที่เก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆ ของตัวเก็บฝุ่น ในแต่ละส่วนนั้นจะมีขนาดวัสดุที่แตกต่างกันไปจึงทำให้วัสดุมีการผสมกันของวัสดุที่มีขนาดแตกต่างกัน ส่วนการขนถ่ายในทิศทางตั้งฉากกับการไหลของก๊าซ จะทำให้ขี้เถ้าที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เนื่องจากเป็นวัสดุที่ถูกกักเก็บไว้โดยตัวดักฝุ่นในส่วนเดียวกัน ทั้งนี้การขนถ่ายขี้เถ้าจะขึ้นอยู่กับการนำขี้เถ้าไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น ขี้เถ้าที่มีความละเอียดมากอาจจะถูกนำไปผสมกับปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นการออกแบบระบบขนถ่ายขี้เถ้าจะต้องพิจารณาการนำขี้เถ้าไปใช้งานต่อไปด้วย |
. |
4 . การเลือกใช้อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ |
การเลือกใช้อุปกรณ์ขนถ่ายขี้เถ้านั้นจะต้องคำนึงถึง คุณสมบัติของขี้เถ้า, ปริมาณขี้เถ้า และการนำไปใช้งาน ซึ่งอุปกรณ์ขนถ่ายนั้น อาจใช้อุปกรณ์ขนถ่ายทางกล, การขนถ่ายด้วยของเหลวหรือการขนถ่ายด้วยลม อธิบายในรายละเอียดต่อไป |
. |
4.1 การขนถ่ายด้วยของเหลว (Hydraulic Conveyor) การขนถ่ายขี้เถ้าด้วยของเหลวนั้น เป็นการขนถ่ายที่สามารถขนได้ระยะทางไกลมาก อาจมีระยะทางขนถ่ายสูงหลายกิโลเมตรเลยทีเดียว |
. |
ขั้นตอนการขนถ่ายวัสดุโดยใช้ของเหลว ขี้เถ้าจากถังเก็บขี้เถ้าจะถูกนำมาผสมกับน้ำ จากนั้นจะถูกปั๊มน้ำพาขี้เถ้าที่อยู่ในรูปของโคลน (slurry) ส่งผ่านช่องทางเปิดไปยังบ่อเก็บ จากบ่อเก็บจะทำการขนไปยังบ่อเก็บขนาดใหญ่อีกทีหนึ่ง การขนถ่ายด้วยน้ำนั้นควรให้มีความเข้มข้นของขี้เถ้าสูง อาจสูงถึง 70% เพื่อให้ประหยัดน้ำและพลังงานที่ใช้ขน |
. |
การขนถ่ายขี้เถ้าด้วยของเหลวนี้จะทำให้เกิดมลภาวะที่บ่อเก็บขี้เถ้า อีกทั้งยังทำให้การใช้ประโยชน์จากขี้เถ้าลดลงเนื่องจากการนำขี้เถ้าไปใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ขี้เถ้าที่อยู่ในสภาพแห้งอีกด้วย |
. |
4.2 ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลม (Pneumatic Conveyor) ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมเป็นระบบที่มีความเหมาะสมสำหรับการขนถ่ายวัสดุที่แห้งและไหลได้ง่ายรวมไปถึงขี้เถ้าด้วย ระบบจะประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ |
1. แหล่งจ่ายลม |
2. ตัวป้อนวัสดุ |
3. ท่อขนถ่ายวัสดุ |
4. ตัวแยกวัสดุกับอากาศ |
. |
|
. |
รูปที่ 4 ส่วนประกอบของระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลม |
. |
การขนถ่ายวัสดุด้วยลมนั้นเราสามารถแบ่งตามลักษณะการไหลของวัสดุได้เป็น 2 แบบ คือ การไหลแบบเบาบาง และการไหลแบบหนาแน่น ลักษณะการไหลของวัสดุเป็นดังรูปที่ 5 |
. |
รูปที่ 5 การไหลแบบเบาบาง และการไหลแบบหนาแน่น |
. |
การแบ่งลักษณะการไหลของวัสดุในระบบนั้น เราจะใช้ความเร็วลมต่ำสุดในการพาวัสดุไปได้ในท่อตามแนวระดับ (Saltation velocity) เป็นตัวแบ่งคือ ถ้ามีความเร็วลมสูงกว่า Saltation velocity การไหลจะเป็นแบบเบาบาง แต่ถ้าความเร็วลมต่ำกว่า Saltation velocity จะเป็นการไหลแบบหนาแน่น ดังรูปที่ 6 |
. |
รูปที่ 6 ความเร็วลมในการไหลของระบบ |
. |
เรายังสามารถใช้อัตราส่วนระหว่างมวลวัสดุและมวลของอากาศที่ไหลในระบบ เพื่อบ่งบอกชนิดของการไหลของวัสดุได้โดยที่ |
. |
ms = อัตราไหลของวัสดุ |
ma = อัตราไหลของอากาศ |
. |
ตัวจ่ายวัสดุในระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบ ดังนั้นประสิทธิภาพในการจ่ายวัสดุเข้าไปในระบบได้ที่ความดันสูงๆ จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ระบบขนถ่ายวัสดุมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากรูปที่ 7 จะเป็นชนิดของการขนถ่าย และขีดจำกัดต่างๆ ของระบบ เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกใช้ต่อไป จากรูปที่ 7 ตัวอย่างเช่น ระบบสุญญากาศ(Suction) สามารถขนถ่ายวัสดุโดยมีความดันไม่เกิน –0.5 บาร์ ระยะทางขนถ่ายสูงสุด 100 เมตร อัตราการขนถ่ายสูงสุดประมาณ 100 ตัน/ชม. โดยมีมวลวัสดุ/มวลอากาศที่ไหลในระบบไม่เกิน 20 เท่า ข้อมูลต่างๆ ในรูปที่ 7 นี้เป็นข้อมูลโดยประมาณทั่วๆ ไป ตัวเลขบางค่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ |
. |
. |
รูปที่ 7 ข้อจำกัดของระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมแบบต่าง ๆ |
. |
สำหรับพลังงานที่ใช้สำหรับการขนถ่ายวัสดุด้วยตัวจ่ายวัสดุแบบต่างๆ นั้น สามารถดูได้จากรูปที่ 8 จากรูปการใช้ตัวจ่ายวัสดุแบบ Jet feeder จะใช้พลังงานในการขนวัสดุ 4-5 kWh/(ton x 100 m.) ในขณะที่ตัวจ่ายวัสดุแบบ Pressure vessel จะใช้พลังงานในการขนวัสดุเพียง 4-5 kWh/(ton x 100 m.) เท่านั้น ซึ่งการใช้ Jet feeder จะใช้พลังลานสูงกว่าการใช้ Pressure vessel 4-5 เท่าเลยทีเดียว |
. |
. |
รูปที่ 8 พลังงานที่ใช้สำหรับการขนถ่ายวัสดุแบบต่างๆ |
. |
การพัฒนาระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมในปัจจุบันทำให้ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าระบบขนถ่ายวัสดุทางกล (Mechanical Conveyor) จากเดิมที่ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมแบบเบาบาง ทำให้วัสดุแตกหักระหว่างการขนรวมไปถึงการสึกหรอของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเนื่องมาจากการชนของวัสดุที่มีความคมกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้องอ เป็นจุดที่มีการสึกหรอเร็วที่สุดจุดหนึ่ง ในปัจจุบันการขนถ่ายวัสดุด้วยลมที่มีการไหลของวัสดุแบบหนาแน่น จะทำให้อัตราการขนถ่ายวัสดุได้สูง โดยใช้ความเร็วลมต่ำ ทำให้การสึกหรอของอุปกรณ์และการแตกหักของวัสดุลดลง จึงทำให้ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมเป็นทางเลือกที่ดีในการใช้งานสำหรับการขนถ่ายวัสดุชนิดต่างๆ โดยไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา |
. |
5.ปัญหาและการแก้ไข |
ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมเป็นระบบขนถ่ายวัสดุที่อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เช่นเดียวกับระบบขนถ่ายวัสดุชนิดอื่นๆ ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ได้แก่ การอุกตันของวัสดุภายในท่อขนถ่าย, การสึกหรอของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ และการเริ่มขนถ่ายวัสดุ หรือ การหยุดขนถ่ายวัสดุในขณะที่ระบบไฟฟ้าเกิดขัดข้อง ดังนั้นผู้ออกแบบระบบจึงควรหาวิธีป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังต่อไปนี้ |
. |
5.1 การอุดตันของวัสดุภายในท่อขนถ่ายวัสดุ (Pipeline blockage) ปัญหาหนึ่งที่มักพบเจอกับระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลม ก็คือ การอุดตันของวัสดุภายในท่อขนถ่ายวัสดุ อาจเกิดจากสาเหตุของการออกแบบระบบที่เลือกใช้ขนาดท่อขนถ่ายวัสดุที่ไม่เหมาะสม, การเลือกขนาดของความดันและอัตราการไหลของลมที่ไม่เหมาะสมกับระยะทางขนถ่ายวัสดุ และการเลือกใช้ความเร็วลมที่จุดจ่ายวัสดุที่ต่ำเกินไป โดยที่ ขี้เถ้าหยาบจากอุปกรณ์อุ่นน้ำเลี้ยง (Economizer) สามารถใช้การขนถ่ายแบบเบาบาง(Dilute phase) โดยใช้ความเร็วลมไม่ต่ำกว่า 13 m/sec. ขึ้นไป และมีอัตราส่วนมวลวัสดุต่อมวลของอากาศที่ไหลในระบบไม่เกิน 15 เท่า ส่วนขี้เถ้าจากอุปกรณ์ดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (ESP)ควรใช้การไหลแบบหนาแน่น (Dense phase) โดยความเร็วขนถ่ายไม่ต่ำกว่า 3 m/sec. และและมีอัตราส่วนมวลวัสดุต่อมวลของอากาศที่ไหลในระบบไม่เกิน 100 เท่า ซึ่งจะมีความดันสูญเสียประมาณ 20 mbar/m. การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดขี้เถ้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและต้องใช้ความเร็วในการขนถ่ายสูงขึ้นด้วย |
. |
5.2 การสึกหรอของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ (Erosion of plant components) ขี้เถ้ามีส่วนประกอบหลัก คือ Silica และ Alumina มีคุณสมบัติแข็งคม ดังนั้นการออกแบบระบบจะต้องใช้ความเร็วขนถ่ายต่ำเพื่อลดการสึกหรอที่จะเกิดขึ้นรวมไปถึง การใช้อุปกรณ์ที่ผลิตจากวัสดุที่ทนทานต่อการสึกหรอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้องอ และวาล์วเปลี่ยนทิศทาง (Diverter valve) |
. |
เอกสารอ้างอิง |
1. Harder, J. Dry Ash Handling System for Advanced Coal-Fire Boilers, Bulk Solid Handling, pp.13-14 Vol.17, No.1, January/March 1997. |
2. Mill,David.,Argarval,V.K. , Pneumatic Conveying System, Trans Tech Publications, Germany 2001. |
3. Milton N.Kraus. Pheumatic Conveying of Bulk Materials, the Romald Press Company 1968. |
4. H.A.Stoess, Jr. Pneumatic Conveying, John Wiley & Sons,
|
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด