หลาย ๆ คนยังไม่แน่ใจ ว่าอะไรบ้างที่ส่งผลต่อความเสียหายกับตัวมอเตอร์ไฟฟ้า เช่น ความร้อนในบริเวณที่ติดตั้งมอเตอร์, ความชื้นในอากาศ, ระบบการหล่อลื่นที่ไม่เหมาะสม แรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้มอเตอร์ผิดปกติ รวมทั้งสภาวะที่ผิดปกติของโหลดที่ต่ออยู่กับมอเตอร์ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลต่ออายุการใช้งานของมอเตอร์ได้เช่นเดียวกับสาเหตุอื่น ๆ ที่เราเคยทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
มอเตอร์ไฟฟ้าควรที่จะทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ในเมื่อยังไม่ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนใหม่ หรือหมดอายุการใช้งาน แต่ทั้งนี้ อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องซ่อมมอเตอร์ไฟฟ้าอยู่บ่อย ๆ หรือต้องเปลี่ยนมอเตอร์ตัวใหม่มาแทนก่อนเวลาอันควร ? |
. |
หลาย ๆ คนยังไม่แน่ใจ ว่าอะไรบ้างที่ส่งผลต่อความเสียหายกับตัวมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้การป้องกันความเสียหายทำได้ไม่ดีเพียงพอ สาเหตุบางอย่างเช่น ความร้อนในบริเวณที่ติดตั้งมอเตอร์, ความชื้นในอากาศ, ระบบการหล่อลื่นที่ไม่เหมาะสม, แรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้มอเตอร์ผิดปกติ รวมทั้งสภาวะที่ผิดปกติของโหลดที่ต่ออยู่กับมอเตอร์ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลต่ออายุการใช้งานของมอเตอร์ได้เช่นเดียวกับสาเหตุอื่น ๆ ที่เราเคยทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว |
. |
สาเหตุที่ทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าเสียหาย |
ในขณะที่มอเตอร์ไฟฟ้ากำลังทำงานอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน ขดลวดทองแดงในตัวมอเตอร์จะมีความร้อนสูง และความร้อนจะถ่ายเทมายังตัวโครงของมอเตอร์ด้วย อย่างไรก็ตาม การออกแบบสร้างมอเตอร์ได้มีการคำนึงถึงปัญหาด้านความร้อนเอาไว้ด้วยแล้ว โดยกำหนดเป็นมาตรฐานเอาไว้ กล่าวคือมาตรฐานระดับความหนาของชั้นฉนวนที่เคลือบขดลวดทองแดง แต่หากความร้อนสูงกว่าพิกัดที่กำหนดไว้ ความสามารถในการเป็นฉนวนก็จะเสื่อมลง อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังอาจทำให้จาระบีละลาย หรือเกิดเบรกดาวน์ในน้ำมัน เป็นสาเหตุให้ตลับลูกปืนมอเตอร์ชำรุดได้ในทันที |
. |
จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ก็ถือเป็นสาเหตุแรกที่ทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าเสียหายได้ ซึ่งก็คืออุณหภูมิสูงนั่นเอง และโดยหลักการแล้วอุณหภูมิสูงผิดปกติเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้ |
- การขับโหลดเกินพิกัดที่ทำได้ (Overloading) |
- การสตาร์ทมอเตอร์บ่อยเกินไป |
- อุณหภูมิของอากาศโดยรอบมีค่าสูง |
- แรงดันอินพุตต่ำ หรือเกิดสภาวะแรงดันไม่สมดุล |
- การเดินเครื่องมอเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ |
- การระบายอากาศไม่ดีพอ |
. |
นอกจากความร้อนแล้ว สาเหตุต่อไปก็คือ ความชื้นในอากาศ (Humidity) ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าหลาย ๆ คนยังไม่เคยคาดคิดว่าจะส่งผลต่อการเสียของมอเตอร์ แต่ถ้าเรามาลองคิดดูว่า หากมอเตอร์ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน และถูกจัดเก็บไว้ในห้องที่มีความชื้นสูง ความชื้นจะทำลายคุณสมบัติการเป็นฉนวนของวานิช รวมทั้งวัสดุฉนวนอื่น ๆ ในตัวมอเตอร์ นอกจากนี้ความชื้นก็อาจทำให้ตลับลูกปืนเสียหายได้ ทั้งนี้หากว่าหยดน้ำเข้าไปผสมกับอนุภาคของฝุ่นผงสกปรกที่ปลิวอยู่ในอากาศ ยังอาจสร้างปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติการนำไฟฟ้าได้อีกด้วย |
. |
เมื่อรู้ถึงปัญหาจากความชื้นแล้ว การจัดเก็บมอเตอร์ไฟฟ้าที่ยังไม่ได้ใช้งานก็ควรให้ความสนใจเรื่องของความชื้นในอากาศด้วยก็จะเป็นการดี อย่างไรก็ตามหากมีมอเตอร์ที่เคยเก็บไว้ในห้องที่มีความชื้นสูงเป็นเวลานาน ๆ ก็ควรเดินเครื่องเปล่าเป็นเวลาสัก 1-2 ชั่วโมง ก่อนที่จะนำไปขับโหลด ทั้งนี้เพื่อเป็นการอุ่นเครื่อง และไล่ความชื้นต่าง ๆ ออกไป หรือถ้าจะให้แน่ใจก็อาจใช้เมกะ
|
. |
การหล่อลื่นที่ไม่เหมาะสม ถือได้ว่าเป็นอีกสาเหตุ
|
. |
ปัญหาเกี่ยวกับระบบการหล่อลื่นที่ไม่เหมาะสมสามารถป้องกันได้ โดยทำความเข้าใจว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแต่ละประเภท แต่ละผู้ผลิตนั้นต่างมีข้อกำหนดในการนำเอาระบบหล่อลื่นมาใส่ในมอเตอร์ ที่แตกต่างกัน หรือถ้าจะนำเอาระบบหล่อลื่นเดิมออกไปก็ควรติดต่อกับบริษัทผู้ผลิตมอเตอร์ และผู้ผลิตตลับลูกปืน จะช่วยลดปัญหาในส่วนนี้ได้ |
. |
แรงดันไฟฟ้าผิดปกติ ความผิดปกติของสัญญาณไฟฟ้ามักจะทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกับมอเตอร์ไฟฟ้า ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส หรือ 3 เฟส กำลังไฟฟ้าในอุดมคติควรจะมีลักษณะเป็นสัญญาณรูปคลื่นไซน์ (Sine Wave) ในแต่ละเฟสที่พิกัดแรงดัน และพิกัดความถี่ไฟฟ้า ในหัวข้อของสาเหตุอันเนื่องมาจากความผิดปกติของแรงดันไฟที่ป้อนให้มอเตอร์นี้อาจเกิดขึ้นได้หลายลักษณะดังนี้ |
. |
ฮาร์มอนิก (Harmonic) |
เป็นความผิดปกติในเรื่องของความถี่ปะปนอยู่ในระบบ ซึ่งไม่ใช่ความถี่พื้นฐาน (Fundamental Frequency) และแต่ละฮาร์มอนิกส์จะทำให้มอเตอร์ไฟฟ้ามีความร้อนสูง และประสิทธิภาพการทำงานลดลง |
. |
แรงดันเกินพิกัด (Over Voltage) |
แรงดันเกินพิกัดเพียงเล็ก
|
. |
แรงดันต่ำกว่าพิกัด(Under Voltage) |
เมื่อแรงดันที่ป้อนให้มอเตอร์ต่ำกว่าปกติ ย่อมส่งผลให้กระแสไฟฟ้าในมอเตอร์สูงขึ้น และสูงมากจนทำให้ขดลวดทองแดงร้อนขึ้น ดังนั้นเองประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์จะลดลง ทั้งนี้ NEMA กำหนดไว้ว่าไม่ควรต่ำกว่า 90% ของพิกัด |
. |
แรงดันไม่สมดุล (Voltage Unbalance) |
รูปคลื่นแรงดันไฟฟ้าในแต่ละเฟสไม่สมดุล เป็นสาเหตุให้มอเตอร์ไฟฟ้าร้อน และลดประสิทธิภาพการทำงานลง ทั้งนี้ NEMA กำหนดไว้ว่ามอเตอร์ไฟฟ้าไม่ควรต่ออยู่กับระบบที่เกิดแรงดันไม่สมดุลเกิน 5% |
. |
แรงดันพุ่ง(Voltage Spikes) |
หรือแรงดันสูงชั่วขณะ เกิดจากการสับสวิตซ์ของอุปกรณ์ หรือวงจรประเภทตัวเก็บประจุ ถูกตัด/ต่อเข้าในวงจรไฟฟ้าหลัก หรือเกิดจากสัญญาณรบกวนจากระบบแสงสว่าง หรือเกิดคลื่นแทรกจากเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง ลักษณะของแรงดันพุ่ง จะเป็นแรงดันสูงมากในช่วงเวลาสั้น ๆ เป็นผลให้เกิดการลัดวงจรระหว่างรอบของขดลวดในมอเตอร์ (Turn-to-Turn) กรณีนี้เองจะทำให้มอเตอร์เสียหายได้ |
. |
แรงดันมีความถี่ต่ำกว่าปกติ |
หากความถี่ของแรงดันไฟป้อนมอเตอร์ต่ำกว่าปกติจะส่งผลโดยตรงต่อแรงบิดของมอเตอร์ |
. |
สิ่งสกปรกในตัวมอเตอร์ (Contamination) สิ่งสกปรก หรือฝุ่นผง อาจไม่ได้มาจากภายนอกตัวมอเตอร์เท่านั้น เพราะสิ่งสกปรกที่ทำความเสียหายให้กับมอเตอร์อาจมาจาก ความสึกหรอซึ่งเกิดจากการเสียดสีในตัวมอเตอร์, สนิมกัดกร่อนในตัวมอเตอร์ และเกิดจากความร้อนสูงภายใน |
. |
|
รูปที่ 2 แสดงการทำความสะอาดขดลวดมอเตอร์ด้วยการพ่น Dry Ice และภาพล่าง หลังจากการทำความสะอาดแล้ว |
. |
อนุภาคของสิ่งสกปรกที่ลอยอยู่ในอากาศ มีความสามารถเป็นตัวกัดเซาะ ดังนั้นในขณะที่มอเตอร์ทำงานอยู่ อากาศที่ไหลเวียนในตัวมอเตอร์จะนำพาเอาอนุภาคกัดเซาะไปกัดกินชั้นของวานิชที่เคลือบลวดทองแดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นอนุภาคประเภทเกลือ หรือถ่านหิน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า จะทำให้คุณสมบัติของฉนวนเสื่อมลง และหากมีความชื้นมาเกี่ยวข้องด้วยก็จะทำให้เกิดการสะสมของชั้นฝุ่นสกปรก ทำให้ระบบการระบายความร้อนในตัวมอเตอร์ทำได้ไม่ดี และนำไปสู่ปัญหาเรื่องของความร้อนสูงได้ต่อไป |
. |
ภาระทางกลของมอเตอร์ผิดปกติ สภาวะทางกลที่ผิดปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ และเกิดในหลายลักษณะ แต่ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นความเครียดที่เกิดกับตลับลูกปืน ซึงนำไปสู่การทำให้เกิดความไม่สมดุลของเพลามอเตอร์ หรือหากตัวโครงของมอเตอร์ถู
|
- การเชื่อมต่อเพลาขับโหลดที่ไม่ได้ศูนย์ (Misaligned Coupling) |
- การรัดสายพานระหว่างเพลาที่ตึงเกินไป |
- การยึดตัวมอเตอร์ติดกับฐานวางไม่มั่นคง หรือไม่ได้สมดุล |
- การเลือกใช้ตลับลูกปืนไม่เหมาะกับงาน เป็นต้น |
. |
ซ่อมหรือเปลี่ยน ถ้ามอเตอร์เสีย? |
จากที่ได้กล่าวถึงสาเหตุหลาย ๆ อย่างที่ทำให้มอเตอร์เสียไปแล้ว ในหัวข้อนี้จะขอกล่าวถึงหลักการเบื้องต้น สำหรับช่วยการพิจารณาว่าเราควรจะซ่อมมอเตอร์ที่เสีย หรือควรเปลี่ยนเป็นมอเตอร์ตัวใหม่ดี คำตอบที่ว่าจะซ่อม หรือจะเปลี่ยนตัวใหม่ดีนั้น วิศวกรไฟฟ้าอาจตัดสินใจจากการพิจารณาว่าค่าซ่อมนั้นถูกกว่าการซื้อมอเตอร์ตัวใหม่ จะอย่างไรก็ตามกับปัญหานี้ ผู้เขียนมีข้อพิจารณามาฝากเพื่อช่วยการตัดสินใจดังนี้ |
- ต้นทุนค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของการซ่อม และต้นทุนของการซื้อใหม่ |
- ประสิทธิภาพที่จะกลับมาของมอเตอร์ที่ซ่อม กับประสิทธิภาพของมอเตอร์ตัวใหม่ |
- ความสามารถในการหามอเตอร์ตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่าได้ |
- มูลค่าซาก (Salvage Value) ของมอเตอร์ตัวเก่า |
- เวลาที่ต้องเสียไปในการรอซ่อมมอเตอร์ที่เสีย |
. |
นอกจากนี้แล้วยังมีสูตรคำนวณเบื้องต้นเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานต่อปีจากการเปลี่ยนไปใช้มอเตอร์ตัวใหม่ แทนการซ่อม ดังนี้ |
kW (ที่ประหยัดได้) = hp x L x 0.746 x (1/Eex–1/En) |
โดยที่ hp = แรงม้าที่เนมเพลต (Name Plate) ของมอเตอร์ |
L = ภาระ เป็นเปอร์เซ็นต์ของภาระที่พิกัด |
Eex = ประสิทธิภาพเป็นเปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ตัวเก่าที่ซ่อมมาแล้ว |
En = ประสิทธิภาพเป็นเปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ตัวใหม่ |
และ มูลค่าที่การประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าต่อปี = (kW ที่ประหยัดได้ x 12 x Demand Charge ต่อเดือน) + (kW ที่ประหยัดได้ x ชั่วโมงการทำงานต่อปี x kWhr ที่พิกัด) |
. |
นอกจากสูตรคำนวณที่แสดงไว้ข้างต้นนี้แล้ว ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ความสามารถสูงที่จะช่วยเราคำนวณ เพื่อเปรียบเทียบระหว่างการซ่อม หรือเปลี่ยนมอเตอร์ตัวใหม่ว่าอย่างไหนจะเหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด ซอฟต์แวร์ดังกล่าวชื่อว่า MotorMaster+ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.motor.doe.gov |
. |
เอกสารอ้างอิง |
Motor Repair Tech Brief, Office of Industrial Technologies, energy efficiency and Renewable: US Department of Energy |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด