การเผาไหม้ของไฮโดรเจนสามารถเผาได้ในภาวะปกติที่มีออกซิเจนหรืออากาศ โดยความร้อนที่ได้จากการสันดาปนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการให้ความร้อน การทำอาหาร หรือใช้กับเทอร์ไบน์ หม้อน้ำ รวมทั้งเครื่องยนต์สันดาปภายใน
สิริชนก จันทร์ใบ |
. |
. |
การเผาไหม้ไฮโดรเจน |
การเผาไหม้ของไฮโดรเจนสามารถเผาได้ในภาวะปกติที่มีออกซิเจนหรืออากาศ โดยความร้อนที่ได้จากการสันดาปนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการให้ความร้อน การทำอาหาร หรือใช้กับเทอร์ไบน์ หม้อน้ำ รวมทั้งเครื่องยนต์สันดาปภายใน |
. |
* เทคโนโลยีการสันดาป (เผาไหม้) |
เนื่องจากไฮโดรเจนเผาไหม้ได้ที่อุณหภูมิสูงเท่านั้น จึงทำให้เกิด NOx (น๊อค) ในปริมาณมากถ้าใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบและสันดาปด้วยกระบวนการปกติ |
. |
ดังนั้นคงจะดีไม่น้อยถ้าสามารถปรับลดอุณหภูมิในการเผาไหม้ให้ต่ำลงได้ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา การปรับให้อุณหภูมิในการเผาไหม้ต่ำลงได้จะทำให้ปริมาณ NOx ที่จะเกิดขึ้นน้อยลงตามไปด้วย ดังนั้นส่วนมากหัวเผาชนิดที่ผลิต NOx ในปริมาณต่ำเมื่อเผาไหม้ไฮโดรเจนจะเป็นหัวเผาแบบ Diffusion (แบบแทรกซึมและแพร่กระจายของอากาศ) ยกตัวอย่างเช่น หลักการของเตา Primus [Nytek, 2000] |
. |
แต่ถ้าจะใช้วิธีการธรรมดาโดยไม่ปรับแต่งหัวเผาจะต้องเติมปริมาณก๊าซไฮโดรเจนบริสุทธิ์เข้าไปในก๊าซธรรมชาติถึง 15% [Hart, 1997] |
. |
* เครื่องยนต์ไฮโดรเจน |
ในทศวรรษที่ 1920 Rudolf Erren ได้ทำการศึกษาและทดลองจุดระเบิดไฮโดรเจนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายใน และได้พัฒนาวิธีการแปรรูปพลังงานไฮโดรเจนจนในที่สุดได้เป็น “เครื่องยนต์ Erren” |
. |
ดูเหมือนว่า Erren และทีมงานได้เปลี่ยนรถยนต์กว่า 1,000 ถึง 3,000 คัน รถบัส และรถบรรทุก ไปใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งต่อมาในยุค 1970 Roger Billings ในสหรัฐอเมริกาที่ขณะนั้นอายุเพียง 16 ปี ได้ดัดแปลงรถ Ford โมเดล A ไปใช้พลังงานไฮโดรเจน [Hart 1997] |
. |
โดย Billings ได้พัฒนาเครื่องยนต์ขึ้นจากหลักการของ Erren ต่อมาเขาและ Frank Lynch ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทรับปรึกษาด้านเครื่องยนต์ไฮโดรเจน จนสุดท้ายบริษัทได้เปลี่ยนไปเป็น Hydrogen Components, Inc. (HCI) ในนามของบริษัท HCI ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบหัวฉีดพิเศษเพื่อใช้ในการดัดแปลงให้เป็นรถยนต์ไฮโดรเจน |
. |
เช่น รถ Mazda รุ่นเครื่องยนต์เวงเกิล (Wankel Motor) รถบ้านของ Winnebago RV ซึ่งอาศัยพลังงานไฮโดรเจนทั้งในการทำอาหาร การให้ความอบอุ่น ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการใช้ไฮโดรเจนกับอุปกรณ์บางตัวที่ใช้ทำงานในเหมืองแร่ ที่กล่าวมาข้างต้นมีเครื่องยนต์บางตัวให้ค่าประสิทธิภาพถึง 42% และในอนาคตอันใกล้นี้อาจจะกลายเป็นทางเลือกที่ถูกกว่าการใช้เครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซลก็เป็นได้ |
. |
แต่บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง BMW ก็ไม่ยอมน้อยหน้าเร่งพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปด้วยไฮโดรเจนเช่นกัน สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เช่นเพื่อการผลิตไฟฟ้าและความร้อนจากก๊าซธรรมชาติ สามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฮโดรเจนได้ไม่ยากนัก |
. |
* เทอร์ไบน์ |
ปัจจุบันนี้มีโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน (IGCC) หลายแห่งที่ใช้ไฮโดรเจนปริมาณมากเป็นเชื้อเพลิง และอาศัยกระบวนการ “แก๊สซิฟิเคชั่น” หรือการเผาไหม้ถ่านหินให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเพียงบางส่วน |
. |
ห้องเผาไหม้ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการแปลงถ่านหินเป็น “Syngas” (Synthesis Gas: ก๊าซสังเคราะห์ มีส่วนผสมของไฮโดรเจนและคาร์บอนมอนอกไซด์) เหมาะกับเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของไฮโดรเจนอยู่ในปริมาณสูง การนำไฮโดรเจนไปใช้กับเทอร์ไบน์ได้ผ่านการทดลองใช้จริงจากหลายบริษัทแล้ว แต่ที่เด่น ๆ คือ GE ซึ่งผลที่ได้พบว่ามีราคาถูกกว่าเซลล์เชื้อเพลิง ทำให้เทอร์ไบน์เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ |
. |
ในประเทศนอร์เวย์ Norsk Hydro’s หรือ Hydrokraft ผลิตไฟฟ้าด้วยเทอร์ไบน์ไฮโดรเจน แต่ทั้งนี้ต้องมีกระบวนการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ซับซ้อนและยุ่งยากทีเดียว ซึ่งวิธีการกำจัดจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป |
. |
* ไฮบริด |
เป็นระบบผสมระหว่างการใช้เทอร์ไบน์ร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิงแข็ง ทำให้ประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าสูงขึ้นไปถึง 80% ภายใต้ภาวะการทำงานที่เหมาะสม |
. |
ลำพังเพียงแค่เซลล์เชื้อเพลิงเองจะให้ค่าประสิทธิภาพได้เพียงแค่ 60% สำหรับส่วนที่เหลือหายไปกับการให้คุณภาพความร้อนที่ต่ำ รวมทั้งเซลล์เชื้อเพลิงเองก็มีขีดจำกัดในการสันดาปเชื้อเพลิง จึงเหลือเชื้อเพลิงบางส่วนที่ยังเผาไหม้ไม่หมดค้างอยู่ในไอเสีย แต่ก็สามารถนำไปใช้ต่อกับแก๊สเทอร์ไบน์ได้ แต่จะก่อให้เกิด NOx ขึ้น เว้นเสียแต่ว่าจะเติมออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าไปผสมด้วย |
. |
ไมโครเทอร์ไบน์ SOFC ขนาด 220 kW เป็นระบบไฮบริดระบบแรกที่ผลิตขึ้นโดยบริษัท Siemens Westinghouse และติดตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California in Irvine) ให้ประสิทธิภาพถึง 52 -53% ส่วนระบบขนาด 550 kW กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา |
. |
การบรรจุและจัดเก็บไฮโดรเจน |
ถ้าต้องใช้ไฮโดรเจนในปริมาณมาก ๆ แล้ว การบรรจุและการจัดเก็บจะเป็นเงื่อนไขสำคัญ เช่นในยานยนต์ที่ต้องใช้เนื้อที่มากเพื่อจะจัดเก็บก๊าซไฮโดรเจนให้ได้มากพอสำหรับการเดินทางให้เป็นระยะทางเท่ากับรถยนต์เบนซิน |
. |
ประเด็นสำคัญในการบรรจุจัดเก็บไฮโดรเจนให้ได้ประสิทธิภาพดี คือการบรรจุต้องทำได้อย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนในการดำเนินการที่ต่ำ แต่ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะเน้นไปที่การจัดเก็บไฮโดรเจนในยวดยานเป็นหลัก |
. |
ไฮโดรเจนเป็นสารที่ให้พลังงานสูงมากต่อหน่วยน้ำหนัก ซึ่งก็เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ไฮโดรเจนถูกเลือกไปใช้กับยานอวกาศและเหมาะอย่างยิ่งกับการเดินทางทางอากาศ แต่ในทางกลับกันสัดส่วนพลังงานต่อปริมาตรกลับต่ำมาก ทำให้การบรรจุหรือจัดเก็บไฮโดรเจนกลายเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเทียบกับการบรรจุน้ำมันเบนซินที่เป็นของเหลว |
. |
ทางด้านองค์กรการพลังงานของสหรัฐอเมริกา ได้สรุปเป็นตัวเลขออกมาว่าถ้ารถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงต้องวิ่งเป็นระยะทาง 560 กิโลเมตร จะต้องบรรจุไฮโดรเจนให้ได้สัดส่วนความหนาแน่นต่อน้ำหนัก 6.5% หรือ 62 kg ไฮโดรเจนในหนึ่งลูกบาศก์เมตร |
. |
การจัดเก็บไฮโดรเจนมีด้วยกัน 3 ทางเลือก |
. |
* การบีบอัดไฮโดรเจน |
. |
สำหรับระบบภาคพื้นที่ติดตั้งอยู่กับที่ ประเด็นเรื่องน้ำหนักและขนาดของถังคงไม่ใช่ส่วนสำคัญ ดังนั้นถังเหล็กกล้าน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่สำหรับยานยนต์มักจะประสบปัญหาเรื่องถังเก็บความดันมีน้ำหนักมากและมีขนาดใหญ่ ทำให้ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกิดวิวัฒนาการการพัฒนาถังวัสดุคอมโพสิสขึ้นอย่างกว้างขวาง |
. |
ซึ่งสามารถเก็บความดันได้ถึง 350 บาร์ และมีขนาดความจุไฮโดรเจนที่ 10-12% ของน้ำหนักถังบรรจุ จึงลดปัญหาเรื่องน้ำหนักของถังจุลงไปได้ [DOE, 2000] ทั้งนี้ยังมีความต้องการลดขนาดถังบรรจุให้เล็กลงไปอีก ซึ่งทำได้ด้วยการสร้างถังจุให้เก็บความดันสูงถึง 700 บาร์ โดยถังคอมโพสิสน้ำหนักเบานี้สามารถออกแบบให้มีรูปร่างเหมาะแก่การใช้สอยเนื้อที่ภายในรถได้ดีกว่าถังทรงกระบอกปกติ |
. |
สำหรับระบบที่ต้องใช้อิเล็กโตรไลเซอร์ความดันสูงต้องอาศัยคอมเพรสเซอร์พิเศษเพื่อสร้างความดันให้กับไฮโดรเจนก่อนป้อนเข้าสู่อิเล็กโตรไลเซอร์ ซึ่งถ้ามีการวางระบบที่ดีสามารถลดขั้นตอนการสร้างความดันให้กับก๊าซได้ จะช่วยให้ทั้งระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
. |
ตารางที่ 2 ตารางเปรียบเทียบขนาดถังบรรจุเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ซึ่งอ้างอิงจากขนาดรถแบบเดียวกันและระยะทางที่วิ่งได้เท่ากัน |
. |
* ไฮโดรเจนเหลว |
ไฮโดรเจนจะอยู่ในสภาพของเหลว “Liquid” (LH2) ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 oK (-253 oC) และสามารถเก็บได้ในถังที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นยอด |
. |
รูปที่ 10 ถังเก็บไฮโดรเจนเหลวและรถบรรทุกไฮโดรเจนที่องค์กร NASA ใช้ในโครงการอวกาศตลอดหลายปีที่ผ่านมา |
. |
ไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่ง่ายต่อการใช้และการจัดการเพราะต้องอาศัยการสั่งสมประสบการณ์มาไม่น้อยทีเดียว ด้วยอัตราส่วนพลังงานของไฮโดรเจนต่อน้ำหนักที่สูงกว่าเชื้อเพลิงประเภทอื่นนั่นเอง จึงเหมาะที่จะใช้กับการเดินทางไกล ๆ อย่างยานอวกาศและเครื่องบิน |
. |
การทำให้ไฮโดรเจนเย็นตัวต้องใช้พลังงานถึง 30-40 % เทียบกับพลังงานของไฮโดรเจนทั้งหมดที่ต้องการเก็บเลยทีเดียว การพัฒนาระบบการลดอุณหภูมิสมัยใหม่สามารถช่วยลดพลังงานลงไปได้กว่าครึ่งจากเดิม [Nytek 2000] |
. |
BMW เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้ทุ่มเทศึกษาการนำไฮโดรเจนเหลวมาใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในมานานกว่า 20 ปีแล้ว และค้นพบว่าการใช้ไฮโดรเจนเหลวกับรถยนต์ก็เป็นทางเลือกที่ดี ทั้งนี้บริษัทเยอรมันอย่าง Linde ได้ทดลองนำฉนวนไปลดอุณหภูมิก่อนนำไปหุ้มถังจะช่วยให้ถังสามารถเก็บไฮโดรเจนเหลวได้นานถึง 12 วัน [Hyweb, 2000] ซึ่งเป็นถังจุที่จะติดตั้งในรถไฮโดรเจนของ BMW ในอนาคต |
. |
* โลหะไฮไดรด์ |
โลหะบางชนิดหรืออัลลอยด์บางตัวก็สามารถดูดซับไฮโดรเจนได้ในสภาวะความดันและอุณหภูมิปานกลาง ซึ่งไฮโดรเจนจะถูกเก็บในรูปของโลหะไฮไดรด์เพราะเกิดปฏิกิริยากับโลหะ (สารประกอบไฮไดรด์จะประกอบด้วยไฮโดรเจนกับสสารอย่างอื่น) |
. |
รูปที่ 11 ก๊าซไฮโดรเจนที่วิ่งผ่าน Interface หรือจุดเชื่อมต่อ ที่จะทำให้โมเลกุลไฮโดรเจนแตกตัวเป็นไฮโดรเจนอะตอมและจะถูกดูดซับและเก็บไว้ในโครงสร้างของโลหะ (Metallic Matrix) |
. |
ถังโลหะไฮไดรด์มีโครงสร้างที่สามารถดูดซับไฮโดรเจนได้เหมือนกับฟองน้ำดูดซับน้ำ โดยการควบคุมการดูดซับหรือการคายตัวสั่งได้ด้วยการใช้ความร้อน เมื่อต้องการให้โลหะดูดซับไฮโดรเจนต้องดูดความร้อนภายในระบบออก แต่ถ้าต้องการให้ถังคายไฮโดรเจนต้องใส่ความร้อนให้แก่ระบบแทน โดยความร้อนอาจจะได้มาจากความร้อนส่วนเกินของเซลล์เชื้อเพลิง |
. |
ถังโลหะไฮไดรด์ถือได้ว่ามีความปลอดภัยในการใช้งานสูงมาก ยิ่งเมื่อรถเกิดการชน รูรั่วที่ตัวถังจะปล่อยความร้อนออก ถังจะเย็นตังลงและหยุดการคายไฮโดรเจนในที่สุด |
. |
โลหะไฮไดรด์มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ทั้งยังช่วยลดปัญหาเรื่องน้ำหนักลงได้ แต่ว่าสำหรับยานยนต์แล้วถังชนิดนี้ก็ยังถือว่ามีน้ำหนักมากถ้าเทียบกับปริมาณไฮโดรเจนที่จุได้ ซึ่งไม่ว่าจะพยายามวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็ยังไม่สามารถลดน้ำหนักตัวถังลงได้ ทำให้นักวิจัยบางกลุ่มพยายามคิดออกนอกกรอบ ด้วยการหาวิธีการเก็บไฮโดรเจนที่ค่าความเข้มข้นสูงกว่านี้ควบคู่ไปกับการพัฒนาวัสดุอัลลอยด์ที่มีน้ำหนักเบา |
. |
ที่สถาบันเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ Kjeller ในประเทศนอร์เวย์ หรือ IFE กำลังศึกษาและวิจัยเรื่องการเก็บไฮโดรเจนในอัลลอยด์ให้ได้ความหนาแน่นหรือความเข้มข้นของไฮโดรเจนที่บรรจุสูงขึ้น |
. |
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดค้นวัสดุอัลลอยด์ที่มีราคาถูกแต่มีความสามารถในการดูดซับไฮโดรเจนสูงในขณะเดียวกันก็ต้องคายไฮโดรเจนได้ที่อุณหภูมิต่ำ โดยทางสถาบันวิจัยด้านพลังงาน International Energy Agency’s (IEA) กำหนดไว้ว่าโลหะไฮไดรด์ควรมีความสามารถในการดูดซับไฮโดรเจนได้ 5% ของน้ำหนักถังบรรจุ และต้องคายไฮโดรเจนได้ที่อุณหภูมิ < 100 ๐C |
. |
NaAlH4 ถือเป็นโลหะไฮไดรด์ที่มีอนาคตสดใสทีเดียวทั้งยังมีราคาไม่แพงนัก ด้วยอัตราส่วนน้ำหนักถังต่อน้ำหนักไฮโดรเจนที่จุได้อยู่ที่ 4% และสามารถคายไฮโดรเจนได้ที่อุณหภูมิ 150 ๐C ซึ่งเกือบจะได้ตามมาตรฐานที่ทาง IEA กำหนดไว้ ขณะนี้ทั้งในสหรัฐอเมริกาและนอร์เวย์ต่างมุ่งศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมการดูดซับไฮโดรเจนของโลหะไฮไดรด์ดังกล่าว |
. |
เนื่องจากเซลล์เชื้อเพลิง PEM ในปัจจุบันสามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิต่ำลง ดังนั้นความร้อนส่วนเกินที่จะได้จากเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อป้อนให้กับถังไฮโดรเจนเพื่อให้เกิดการคายไฮโดรเจนออกมาก็ควรจะต้องเป็นระดับอุณหภูมิเดียวกัน ไม่เช่นนั้นจะต้องเพิ่มอุปกรณ์เพื่อฮีตถังจุให้คายไฮโดรเจน ยิ่งจะทำให้ระบบมีความซับซ้อนและได้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ต่ำ |
. |
ทั้งนี้โลหะไฮไดรด์จะเก็บไฮโดรเจนในรูปของสารประกอบไฮไดรด์และเพิ่มความดันให้ก๊าซไปในตัว |
. |
* การเก็บไฮโดรเจนในคาร์บอน |
คาร์บอนเป็นโมเลกุลที่มีพื้นที่ผิวต่อน้ำหนักมาก ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจึงได้รับความสนใจจากนักวิจัยที่จะใช้คาร์บอนเก็บไฮโดรเจน |
. |
ข้อมูลงานวิจัยหลายแหล่งชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างของคาร์บอนอะตอม เช่น นาโนไฟเบอร์ (ใยแก้ว) นาโนทิวป์ (รูปทรงกระบอกปิด) และฟูเลอร์เรนซ์ (ทรงกลม) มีศักยภาพที่ดีมากที่จะใช้ดูดซับไฮโดรเจน |
. |
ดังนั้นต้องหาวิธีการผลิตนาโนทิวป์ผนังชั้นเดียวแบบแมสโปรดักชั่นเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ สำหรับเทคโนโลยีเลเซอร์ที่ใช้เพื่อการผลิตท่อนาโนจะให้ผลิตผลที่มีคุณภาพสูง ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางคงที่และมีสิ่งเจือปนน้อย ทั้งนี้กระบวนการผลิตท่อนาโนหรือนาโนทิวป์เติบโตไปอย่างรวดเร็ว เพราะท่อนาโนมีคุณสมบัติที่น่าสนใจหลายประการรวมทั้งการประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีไฮโดรเจนด้วย |
. |
ยกตัวอย่างเช่นท่อนาโนสามารถใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงในส่วนของคอนเด็นเซอร์เพื่อสร้างซุปเปอร์คอนเด็นเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการสะสมพลังงานและเก็บไฮโดรเจน ในหน่วยงานวิจัยในสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการจัดเก็บไฮโดรเจนในท่อนาโนผนังชั้นเดียวที่อัตราส่วน 7.5% ต่อน้ำหนัก ณ อุณหภูมิห้องและผลการทดลองซ้ำก็ช่วยยืนยันบทสรุปดังกล่าวได้ดี ในอนาคตอันใกล้คงจะสามารถวิจัยและพัฒนาให้ท่อนาโนมีความสามารถเก็บไฮโดรเจนได้สูงกว่านี้อย่างแน่นอน [Dillon, 1999] |
. |
แต่ทั้งนี้นักวิจัยชาวเยอรมันได้พยายามทดสอบข้อสรุปดังกล่าวจากงานวิจัยของชาวอเมริกันข้างต้น แต่ผลปรากฏว่าผลการทดสอบให้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บต่ำกว่าตัวเลขที่ทางอเมริกาได้ จึงยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางถึงข้อกังขาด้านความสามารถในการเก็บไฮโดรเจนของคาร์บอนอะตอม [Haluska 2001] |
. |
* เมธานอล หรือเมทิลแอลกอฮอล์ |
เมธานอล (CH3OH) มีสัดส่วนของไฮโดรเจนผสมอยู่ค่อนข้างสูงและสามารถสกัดเป็นไฮโดรเจนได้ไม่ยาก มีความเชื่อกันว่าเมธานอลจะเป็นเชื้อเพลิงเชื่อมต่อช่วงของการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อเพลิงปิโตรเคมีเป็นพลังงานหมุนเวียนในอนาคต และมีแนวโน้มที่ดีที่จะใช้กับรถยนต์ขนาดเล็ก ประโยชน์ของเมธานอลคือมีสถานะเป็นของเหลวที่ความดันบรรยากาศและอุณหภูมิห้อง |
. |
ซึ่งเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิลเมธานอลจะมีปริมาณไฮโดรเจนผสมอยู่สูงกว่า เมธานอลเป็นผลผลิตที่ได้จากการกลั่นก๊าซธรรมชาติด้วยกระบวนการกลั่นด้วยไอน้ำความดันสูงและอุณหภูมิสูง (Steam Reforming) สำหรับรถยนต์เมธานอลที่มีตัวกลั่นในตัว สามารถจะสกัดไฮโดรเจนเพื่อส่งไปใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงได้โดยตรง แต่ทั้งสองกระบวนการคือการสกัดไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิงเกิดการสูญเสียพลังงานสูงมาก ระบบที่ได้จึงมีประสิทธิภาพต่ำ |
. |
แต่เมธานอลจัดว่าเป็นสารพิษคล้ายกับเอธานอล เพราะเมธานอลเป็นสารก่อมะเร็ง ก่อมลภาวะให้แก่แหล่งน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดการกัดกร่อน บริษัทน้ำมันรายใหญ่หลายรายจึงได้ส่งสัญญาณเป็นนัยว่าจะไม่ลงทุนเพื่อสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภคสำหรับรองรับการใช้เมธานอลเนื่องจากเสี่ยงกับความเป็นพิษ |
. |
องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมหลายแห่งรวมทั้ง Bellona พยายามจัดกิจกรรมต่อต้านการลงทุนสร้างระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคสำหรับรองรับการใช้เมธานอล เพราะต้องการลดบทบาทการใช้เมธานอลลง ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงเชื้อเพลิงชั่วคราวแต่นั่นจะไปชะลอการพัฒนาการใช้ไฮโดรเจนให้ล่าช้าออกไปอีก เพราะไม่ว่าจะเป็นระบบโครงสร้างใด ๆ ก็ต้องอาศัยการระดมทุนจำนวนมหาศาลทั้งนั้น |
. |
ยิ่งระบบบริการเมธานอลโตเท่าไรก็จะคงเหลือรถยนต์เมธานอลวิ่งวุ่นในท้องถนนไปอีกหลายสิบปี ข้อเสียอีกอย่างของการใช้เมธานอลที่ต้องใช้ร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิงคือ ต้องต่ออุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อสกัดเป็นไฮโดรเจนก่อนส่งให้กับเซลล์เชื้อเพลิง |
. |
ดังนั้นคงจะใช้เวลาอีกนานกว่าจะพัฒนาให้สามารถนำเมธานอลไปใช้ในรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงได้โดยตรง (DMFC: Direct Methanol Fuel Cells) ทั้งนี้ต้นทุนทั้งหลายจะไปตกอยู่ที่ผู้บริโภคเพราะผู้บริโภคต้องเป็นผู้จ่ายค่าเซลล์เชื้อเพลิงที่มีราคาสูงเกินจำเป็น |
. |
บ่อยครั้งที่มักจะได้ยินว่าเมธานอลใช้ได้เหมือนกับน้ำมันเบนซิน แต่ข้อความข้างต้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดเพราะเมธานอลมีความสามารถในการกัดกร่อนสูง และการรั่วไหลของเมธานอลเพียงน้อยนิดก็สามารถสร้างผลร้ายแก่สิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้เมธานอลที่มีน้ำปนเปื้อนไม่สามารถที่จะฉีดให้เป็นฝอยได้อีก |
. |
สำหรับรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงที่ติดตั้งอุปกรณ์กลั่นเมธานอลในตัวจะสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับสูง อาจจะถึงระดับ 60%-70% เมื่อเทียบกับก๊าซเสียที่ได้จากเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบปกติ [NOU 1998:11] นอกจากนี้ในก๊าซเสียยังมีส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนมอนอกไซด์ด้วย |
. |
ดังนั้นการใช้เมธานอลยังถือว่าเสี่ยงต่อมลภาวะเป็นพิษทั้งในคนและสัตว์ ทั้งให้ค่าประสิทธิภาพในการทำงานที่ต่ำและให้ไอเสียในปริมาณสูงเมื่อเทียบกับระบบไฮโดรเจนและไฟฟ้า ที่สำคัญเมธานอลไม่อาจตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของรถยนต์ในอนาคตได้ ดังนั้นในรายงานฉบับนี้จึงได้สรุปว่าเมธานอลไม่เหมาะจะเป็นเชื้อเพลิงที่ควรเลือกมาใช้ |
. |
รูปที่ 12 กราฟเปรียบเทียบค่าติดตั้งและความซับซ้อนของระบบโครงสร้างของ ไฮโดรเจน น้ำมันเบนซิน และเมธานอล (Source: Sandy Thomas) |
. |
* น้ำมันเบนซินและสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ |
การแปลงน้ำมันเบนซินเป็นส่วนผสม “เนฟทา” (Naphtha) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงก๊าซที่อุดมไปด้วยไฮโดรเจนก็อยู่ในความสนใจของนักวิจัยเช่นกัน |
. |
โครงสร้างสาธารณูปโภคเพื่อการบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ถือว่าบริษัทน้ำมันได้ลงทุนไปเป็นเงินไม่น้อยทีเดียว เพื่อยังคงไว้ซึ่งการใช้โครงสร้างน้ำมันเดิม เนฟทาที่อาจจะให้ประสิทธิภาพไม่สูงเท่ากับการใช้ไฮโดรเจนบริสุทธิ์ก็ยังอยู่ในความสนใจของบริษัทน้ำมันอยู่ดี แต่ต้องมีระบบกลั่นที่มีราคาแพง เป็นระบบที่หนักและไม่สะดวกในการใช้ |
. |
อีกทั้งยังยุ่งยากต่อการกำจัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์อีกด้วย ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เกิดขึ้นในระบบจะไปมีผลทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยาในเซลล์เชื้อเพลิงเสื่อม ทั้งนี้ระบบกลั่นเนฟทาต้องทำงานที่ภาวะอุณหภูมิสูงส่งผลให้เกิด NOx ขึ้น ระบบดังกล่าวนอกจากจะซับซ้อนและอาจเกิดปัญหาทางเทคนิคได้ง่ายแล้วประสิทธิภาพก็ไม่ดีด้วย สรุปว่านี่อาจเป็นทางเลือกที่ไม่ดีนัก ที่สำคัญภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะไปตกที่หนักผู้บริโภค |
. |
โดยในขณะนี้รถยนต์ที่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่ต่ำได้แก่รถยนต์ไฮบริดจ์ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ไฮบริดจะเป็นระบบผสมระหว่างเซลล์เชื้อเพลิงกับน้ำมันเบนซินหรือเมธานอล ส่วนรถยนต์สันดาปภายในธรรมดาแต่สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่ต่ำจะเป็นรถยนต์ของ SAAB’s [Automotive World, 2000] |
. |
รูปที่ 13 ราคาของไฮโดรเจนเทียบกับน้ำมันเบนซินที่รวมและไม่รวมภาษีหน่วยเป็นเงินยูโร (EU) Source: Norsk Hydro |
. |
* การบรรจุและจัดเก็บไฮโดรเจนที่สถานีภาคพื้น |
. |
ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บไฮโดรเจนในช่องว่างใต้ดินจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของชั้นดิน เพราะราคาจะแปรผันตามการจัดการที่ยากง่ายต่างกันไป แต่ถึงอย่างไรก็ยังเป็นทางเลือกที่มีราคาถูกอยู่ดี นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 เมือง Kiel ในประเทศเยอรมนี กลายมาเป็นเสมือนเมืองเก็บก๊าซไฮโดรเจนขนาดยักษ์ 32,000 m3 โดยจะเก็บก๊าซไว้ภายใต้ความดัน 80-100 bar ซึ่งมีสัดส่วนของไฮโดรเจนในก๊าซอยู่ที่ 60-65% [Winter, 1988] สำหรับเนื้อที่ที่เลือกใช้จะเป็นชั้นน้ำใต้ดินเปล่า หรือช่องว่าที่เกิดจากการกัดเซาะของเกลือ |
. |
การขนถ่ายไฮโดรเจน |
* ส่งตามท่อ |
ในสหรัฐอเมริกามีระบบท่อลำเลียงก๊าซรวมทั้งหมดยาวกว่า 720 กิโลเมตร ส่วนในยุโรปมีระยะท่อรวมกว่า 1,500 กิโลเมตร ดังนั้นสำหรับเนื้อที่กว้าง ๆ การลำเลียงก๊าซผ่านท่อน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีเพราะประหยัดพลังงานในการขนส่ง |
. |
ถ้าเทียบพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียในการส่งตามสายไฟฟ้าแรงสูง คิดเป็น 7.5-8% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ส่งไปตามสาย แต่สำหรับการลำเลียงก๊าซผ่านระบบท่อจะสูญเสียพลังงานเพียงครึ่งเดียวเมื่อคิดเทียบกับพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียตามสายไฟในระยะทางที่เท่ากัน |
. |
ท่อลำเลียงก๊าซไฮโดรเจนปัจจุบันนี้ทำด้วยเหล็กกล้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25-30 เซนติเมตร และรับความดันได้ถึง 10-20 บาร์ ระบบท่อส่งก๊าซที่เก่าแก่ที่สุดพบได้ที่บริเวณ Ruhr ประเทศเยอรมนี มีความยาว 210 กิโลเมตร ใช้สำหรับลำเลียงไฮโดรเจนให้กับผู้ผลิตและผู้บริโภคกว่า 18 ราย โครงสร้างดังกล่าวได้รับการใช้งานมาเป็นเวลากว่า 50 ปี โดยที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเลย สำหรับระบบท่อช่วงที่ยาวที่สุดมีความยาว 400 กิโลเมตร ติดตั้งอยู่ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม |
. |
สำหรับโครงสร้างระบบท่อที่เคยใช้ลำเลียงก๊าซธรรมชาติสามารถใช้ลำเลียงก๊าซธรรมชาติผสมไฮโดรเจนได้ แต่ถ้าต้องการลำเลียงก๊าซไฮโดรเจนบริสุทธิ์ต้องมีการปรับแต่งเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอนที่ผสมในท่อเหล็ก มีท่ออยู่จำนวนหนึ่งในแถบทะเลเหนือที่ใช้ท่อเหล็กที่มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำ จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนท่อเพื่อการลำเลียงไฮโดรเจน แต่เนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนมีความหนาแน่นต่อหน่วยปริมาตรต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติ 2.8 เท่า |
. |
ดังนั้นต้องเพิ่มอัตราเร็วในการส่งก๊าซขึ้นอีก 2.8 เท่าเทียบกับอัตราการส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อทดแทนส่วนต่างของความหนาแน่น ทำให้สามารถลำเลียงไฮโดรเจนด้วยระบบท่อแบบเดิมได้และไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นด้วยพลังงานการขนส่งในอัตราเท่ากับการขนส่งก๊าซธรรมชาติ ระบบขนส่งไฮโดรเจนด้วยท่อนี้เมื่อนำไปใช้กับเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงเช่นเซลล์เชื้อเพลิง จะส่งให้ผลผลิตสุทธิที่ได้มีปริมาณสูง |
. |
ระบบโครงสร้างท่อลำเลียงก๊าซธรรมชาติที่ความดันต่ำประมาณ 4 บาร์ จะท่อพลาสติกในการลำเลียงแทนเพราะมีราคาถูกกว่า อาจจะเป็น PVC (Poly Vinyl Chloride) แต่จะไม่เลือกใช้ HDPE (High Density Poly Ethylene) เพราะว่ามีความเป็นรูพรุนสูงกว่าและไม่สามารถใช้ลำเลียงไฮโดรเจนได้ [Princeton, 1997] |
. |
ท่อลำเลียงก๊าซนอกจากจะใช้เพื่อส่งถ่ายก๊าซแล้วยังใช้เป็นที่เก็บไฮโดรเจนได้ด้วย ดังนั้นในช่วงพีค หรือช่วงที่มีความต้องการใช้ก๊าซในปริมาณสูงสามารถอาศัยเนื้อที่ภายในระบบท่อเป็นที่เก็บไฮโดรเจนได้อีกทาง [Winter, 1988] |
. |
ก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้จากชั้นหินใต้ทะเลในประเทศนอร์เวย์จะถูกลำเลียงขึ้นฝั่งด้วยระบบท่อ ซึ่งมีสัดส่วนไฮโดรเจนในก๊าซธรรมชาติอยู่ถึง 15% และสามารถนำไปผลิตเป็นไฮโดรเจนได้ด้วยกระบวนการที่มีระบบกำจัดและฝังเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนก๊าซที่ต้องขนส่งจะมีราคาจัดจำหน่ายที่แพงขึ้น |
. |
สำหรับภาษีคาร์บอนที่ประเทศผู้รับซื้อต้องจ่ายก็จะลดลง ด้วยวิธีการนี้จะช่วยเพิ่มรายได้เข้าสู่สังคมแถบนอร์เวย์จากไฮโดรเจนได้มากขึ้น ส่วนก๊าซที่ผสมระหว่างไฮโดรเจนกับมีเธน สามารถใช้ได้เหมือนกับก๊าซธรรมชาติแต่จะให้แฟกเตอร์การสันดาปสูงกว่าเพราะว่าเชื้อเพลิงผสมดังกล่าวมีค่าความจุความร้อนสูงกว่าก๊าซธรรมชาติ |
. |
* การขนส่งไฮโดรเจนเหลว |
ไฮโดรเจนเหลวหรือ (LH2) คือไฮโดรเจนที่อยู่ภายใต้ความเย็นระดับต่ำกว่า - 253 ๐C ซึ่งต้องใช้พลังงานจำนวนมหาศาลในการทำให้มันเย็นตัวได้ในระดับนั้น แต่เมื่ออยู่ในสภาพของเหลวแล้วกลับมีข้อดีกว่าเชื้อเพลิงประเภทอื่น ในแง่การขนส่งโดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่ต้องใช้ในยานอวกาศหรือการขนส่งทางอากาศ |
. |
* การขนส่งไฮโดรเจนเหลวทางบก |
นิยมขนส่งด้วยรถบรรทุกที่บรรจุไฮโดรเจนเหลวหรือในรูปก๊าซความดันสูง ซึ่งมีหลายบริษัทใช้วิธีการนี้ในการขนส่งไฮโดรเจน |
. |
* การขนส่งไฮโดรเจนเหลวทางทะเล |
สำหรับไฮโดรเจนเหลวสามารถขนส่งทางเรือได้ โดยใช้ถังบรรจุ LNG (ก๊าซธรรมชาติเหลว) แต่ต้องหุ้มด้วยฉนวนชั้นดีเพื่อรักษาอุณหภูมิของไฮโดรเจนเหลวให้ได้ยาวนานตามระยะการเดินทาง โดยมีบริษัทญี่ปุ่นอย่าง WE-NET และบริษัทร่วมเยอรมันและแคนนาดา German-Canadian Euro Quebec ที่ใช้ถังดังกล่าวขนส่งไฮโดรเจนทางเรือเดินทะเล ในกรณีที่มีไฮโดรเจนบางส่วนระเหยเป็นก๊าซ ก็จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงบนเรือ |
. |
ในปี ค.ศ. 1990 สถาบันวิจัยวัสดุของเยอรมนีได้ประกาศว่าไฮโดรเจนเหลวมีความปลอดภัยเหมือนกับ LPG และ LNG (ก๊าซธรรมชาติเหลว) และยังประกาศให้สามารถขนส่งไฮโดรเจนเหลวขึ้นที่ท่าเรือในเยอรมนีได้ |
. |
* การขนส่งไฮโดรเจนเหลวทางอากาศ |
การขนส่งไฮโดรเจนเหลวทางอากาศดูเหมือนจะมีข้อดีกว่าการขนส่งทางเรือเพราะว่าใช้เวลาในการเดินทางสั้นกว่าซึ่งลดปัญหาเรื่องการระเหยของไฮโดรเจนไปได้เยอะ และไฮโดรเจนเหลวก็มีน้ำหนักเบา การศึกษาวิจัยวิธีการขนส่งทางอากาศนี้มีขึ้นที่สถาบันวิจัย CDS ในประเทศแคนนาดาด้วยการสนับสนุนจากโครการ WE-NET |
. |
แปลและเรียบเรียงจาก |
* Bellona Report 6:02, Hydrogen - Status and Possibilities |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด