ปัจจุบันความต้องการใช้พลังงานของโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การใช้น้ำมันปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิงยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ได้มีการประเมินว่าประเทศไทยมีการใช้น้ำมันเบนซินประมาณวันละ 20 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลประมาณวันละ 55 ล้านลิตร โดยที่ร้อยละ 85 ของปริมาณการใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อความต้องการสูงขึ้นก็ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกระบบ จากปัญหาดังกล่าว ได้มีการหาแหล่งพลังงานทดแทนมาใช้ทดแทนพลังงานหลัก ที่ได้จากน้ำมันปิโตรเลียม แต่ก็ไม่สามารถนำมาทดแทนได้ทั้งหมด
ผศ.อนุตร จำลองกุล |
. |
. |
ปัจจุบันความต้องการใช้พลังงานของโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การใช้น้ำมันปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิงยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ได้มีการประเมินว่าประเทศไทยมีการใช้น้ำมันเบนซินประมาณวันละ 20 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลประมาณวันละ 55 ล้านลิตร |
. |
โดยที่ร้อยละ 85 ของปริมาณการใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อความต้องการสูงขึ้นก็ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกระบบ |
. |
จากปัญหาดังกล่าว ได้มีการหาแหล่งพลังงานทดแทนมาใช้ทดแทนพลังงานหลัก ที่ได้จากน้ำมันปิโตรเลียม แต่ก็ไม่สามารถนำมาทดแทนได้ทั้งหมด การทดแทนเพียงบางส่วนก็จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติของเราอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการช่วยลดการขาดดุลเงินตราต่างประเทศ ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการนำเอาพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ทดแทนพลังงานจากน้ำมันปิโตรเลียม |
. |
แต่สิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ การผลิตเชื้อเพลิงจากผลิตผลทางการเกษตรและนำมาแปรรูปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ โคโคฮอล์ ซึ่งได้จากการนำเอาน้ำมันมะพร้าวมาผสมกับเอธานอล (Ethanol) ในอัตราส่วนที่พอเหมาะ |
. |
สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลเล็กได้เป็นอย่างดี และยังช่วยลดมลภาวะในอากาศได้อีกด้วย ทั้งน้ำมันมะพร้าวและเอธานอลประเทศไทยเราสามารถผลิตได้เอง ดังนั้นน้ำมันเชื้อเพลิงโคโคฮอล์ จึงน่าจะเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ของประเทศไทย |
. |
น้ำมันมะพร้าว |
น้ำมันมะพร้าวได้จากเนื้อมะพร้าว เราสามารถนำมาผ่านกรรมวิธีการผลิตได้หลายวิธี แต่น้ำมันมะพร้าวที่ผลิตเพื่อจำหน่าย จะต้องมีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข น้ำมันมะพร้าวแบ่งตามกระบวนการผลิตได้ 2 ประเภทคือ |
. |
1. น้ำมันมะพร้าว RBD สกัดได้จากเนื้อมะพร้าวห้าวด้วยการบีบ หรือใช้ตัวทำละลายผ่านความร้อนสูง และกระบวนการทางเคมี RBD คือการทำให้บริสุทธิ์ (Refining) ฟอกสี (Bleaching) และกำจัดกลิ่น (Deodorization) ภายหลังจาการสกัดจะได้น้ำมันสีเหลืองอ่อน ไม่มีกลิ่นและรส ปราศจากวิตามินอี มีปริมาณกรดไขมันอิสระไม่เกิน 0.1 % |
. |
2. น้ำมันมะพร้าวบีบเย็น (Cold Pressed Coconut Oil) สกัดได้จากเนื้อมะพร้าวสดไม่ผ่านความร้อนที่สูงมากนัก ได้น้ำมันมะพร้าวที่บริสุทธิ์ สีสดใส มีวิตามินอี ไม่ผ่านกระบวนการเติมออกซิเจน มีกรดไขมันอิสระต่ำ มีกลิ่นมะพร้าว มีความชื้นไม่เกิน 0.1 % บางครั้งเราเรียกน้ำมันมะพร้าวชนิดนี้ว่า น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ นิยมผลิตในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก |
. |
เอธานอล |
เอธานอลเป็นแอลกอฮอล์ ที่ได้จากกระบวนการหมักพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด ธัญพืชต่าง ๆ เป็นต้น และนำมาสู่กระบวนการกลั่นเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ ซึ่งเราเรียกว่า Ethyl Alcohol หรือ Ethanol |
. |
เอธานอลอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ |
1. เอธานอลที่ใช้รับประทานโดยตรง คือแอลกอฮอล์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสุราชนิดต่าง ๆ อุตสาหกรรมยา, เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับประทาน |
. |
2. เอธานอลที่ไม่ใช้รับประทานโดยตรง คือแอลกอฮอล์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสี น้ำส้ม (Acetic Acid) พลาสติกที่ย่อยสลายได้ และสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ |
. |
3. เอธานอลที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง คือแอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ |
. |
ตารางที่ 1 แสดงต้นทุนการผลิตเอธานอลจากแหล่งวัตถุดิบต่าง ๆ ปี พ.ศ. 2547 |
. |
น้ำมันโคโคฮอล์ |
น้ำมันโคโคฮอล์เป็นการนำเอาน้ำมันมะพร้าวมาผสมกับเอธานอล ซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์ 95–99.5 % โดยผสมในอัตราส่วน 75:25 คือน้ำมันมะพร้าว 75 % โดยปริมาตร และเอธานอล 25 % โดยปริมาตร จากการทดสอบผสมในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน พบว่าที่อัตราส่วนผสมดังกล่าวจะมีความเหมาะสมที่สุด คือทำให้ได้ค่าความหนืดใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล และการผสมมีความเป็นเนื้อเดียวกันไม่ก่อให้เกิดการแยกชั้นของน้ำมันมะพร้าวและเอธานอล |
. |
คุณสมบัติของน้ำมันโคโคฮอล์ 75:25 |
. |
การทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์ดีเซลเล็กที่ใช้น้ำมันโคโคฮอล์ |
ได้ทำการทดสอบกับเครื่องยนต์ดีเซลเล็ก 4 จังหวะ สูบเดียวขนาด 230 cc ขนาด 3.5 kW โดยทำการทดสอบที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ต่าง ๆ ในสภาวะมีภาระและไม่มีภาระ ได้ผลการทดสอบดังตารางที่ 2-5 และกราฟรูปที่ 1-4 |
. |
ตารางที่ 2 แสดงผลการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซลเล็กที่ใช้น้ำมันดีเซล 100 %(ทดสอบไม่มีภาระ) |
. |
ตารางที่ 3 แสดงผลการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซลเล็กที่ใช้น้ำมันโคโคฮอล์ อัตราส่วน 75 : 25 (ทดสอบไม่มีภาระ) |
. |
ตารางที่ 4 แสดงผลการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซลเล็กที่ใช้น้ำมันดีเซล 100 % (ทดสอบมีภาระ) |
. |
ตารางที่ 5 แสดงผลการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซลเล็กที่ใช้น้ำมันโคโคฮอล์ อัตราส่วน 75 : 25 (ทดสอบมีภาระ) |
. |
กราฟรูปที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบแรงบิดเพลาที่ความเร็วรอบต่าง ๆ ( ทดสอบมีภาระ) |
. |
กราฟรูปที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบอุณหภูมิแก๊สเสียที่ความเร็วรอบต่าง ๆ ( ทดสอบมีภาระ ) |
. |
กราฟรูปที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบกำลังม้าเบรกที่ความเร็วรอบต่าง ๆ ( ทดสอบมีภาระ ) |
. |
กราฟรูปที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ความเร็วรอบต่าง ๆ (ทดสอบมีภาระ) |
. |
ความเหมาะสมของโคโคฮอล์ |
จากผลการทดสอบสรุปได้ว่า ที่ความเร็วรอบการใช้งานของเครื่องยนต์ดีเซลเล็กปกติที่ 1,800 rpm การใช้น้ำมันโคโคฮอล์จะประหยัดกว่าน้ำมันดีเซลประมาณ 0.60 บาท/กิโลวัตต์ -ชั่วโมง (เมื่อน้ำมันดีเซลมีราคา 24.14 บาท/ลิตร และน้ำมันโคโคฮอล์มีราคา 20 บาท/ลิตร) และผลการเปรียบเทียบดังแสดงในตารางที่ 6 |
. |
ตารางที่ 6 แสดงสรุปผลการเปรียบเทียบการใช้น้ำมันดีเซลและโคโคฮอล์ 75 : 25 |
. |
จากตารางจะเห็นได้ว่าการใช้น้ำมันโคโคฮอล์ จะสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าน้ำมันดีเซลประมาณ 17 % และกำลังม้าเบรกลดลงประมาณ 10% ซึ่งก็ไม่มีผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ แต่เมื่อพิจารณาถึงราคาแล้วจะเห็นได้ว่า น้ำมันโคโคฮอล์ 75 : 25 มีศักยภาพในการที่จะนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนได้เป็นอย่างดี |
. |
รูปที่ 1 แสดงเครื่องยนต์และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ |
. |
รูปที่ 2 แสดงน้ำมันมะพร้าว |
. |
รูปที่ 3 แสดงเอธานอล |
. |
รูปที่ 4 แสดงโคโคฮอล์ 75 : 25 |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด