ไฮโดรเจนอีโคโนมี และ ไฮโดรเจน เทคโนโลยี เมื่อผลิตไฮโดรเจนได้แล้ว ต่อไปก็เป็นการนำไฮโดรเจนไปประยุกต์ใช้ให้เกิดพลังงาน โดยเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) จะเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการนำไฮโดรเจนไปใช้ให้เกิดกำลังงานแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบดั้งเดิม ดังนั้นการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงจึงมีความสำคัญต่ออนาคตของพลังงานสะอาด
วัชระ มั่งวิทิตกุล |
. |
จากบทความเรื่องไฮโดรเจนอีโคโนมี และ ไฮโดรเจน เทคโนโลยี เมื่อผลิตไฮโดรเจนได้แล้ว ต่อไปก็เป็นการนำไฮโดรเจนไปประยุกต์ใช้ให้เกิดพลังงาน โดยเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) จะเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการนำไฮโดรเจนไปใช้ให้เกิดกำลังงานแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบดั้งเดิม ดังนั้นการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงจึงมีความสำคัญต่ออนาคตของพลังงานสะอาด |
. |
เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ใช้พลังงานเคมีจากไฮโดรเจนในการผลิตกระแสไฟฟ้า เซลล์เชื้อเพลิงมีความพิเศษคือมีศักยภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่ระบบผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่จนถึงอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างอุปกรณ์ดักจับควัน เซลล์เชื้อเพลิงมีข้อดีเหนือกว่าเทคโนโลยีการเผาไหม้แบบดั้งเดิมที่ใช้ในโรงไฟฟ้าและยานพาหนะ เนื่องจากมันปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยและถ้าผลิตจากไฮโดรเจนบริสุทธ์ และจะมีเพียงความร้อนและน้ำเป็นเพียงผลผลิตพลอยได้ออกมา |
. |
รูปที่ 1 แสดงเซลล์เชื้อเพลิง |
. |
เซลล์เชื้อเพลิงทำงานอย่างไร |
เซลล์เชื้อเพลิงคืออุปกรณ์ที่ใช้ไฮโดรเจน (หรือเชื้อเพลิงที่มีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบมาก) กับออกซิเจน ในการผลิตไฟฟ้าโดยกระบวนการอิเล็กโตรเคมิคอล (Electro Chemical) เซลล์เชื้อเพลิง 1 ชุด ประกอบด้วย อิเล็กโตรไลต์ และขั้วอิเล็กโทรดเคลือบคาตาไลต์ 2 ชุด (อาโนด และคาโธด) |
. |
เซลล์เชื้อเพลิงมีหลายชนิดแล้วแต่ความเหมาะสมในการใช้งาน แต่ทุกชนิดมีหลักการทำงานเหมือนกัน กล่าวคือ ไฮโดรเจนถูกป้อนเข้าขั้วอาโนด คาตาไลต์จะแยกอิเล็กตรอน (ประจุลบ) ของไฮโดรเจนออกจากโปรตอน (ประจุบวก) ของไฮโดรเจน ที่คาโธดออกซิเจนจะรวมกับอิเล็กตรอนของไฮโดรเจนจะได้น้ำและไฮดรอกไซด์ไอออนบางส่วน ส่วนอิเล็กตรอนจากขั้วอาโนดไม่สามารถเคลื่อนตัวผ่านอิเล็กโตรไลต์เพื่อไปที่ขั้วคาโธด อิเล็กตรอนต้องเคลื่อนผ่านวงจรไฟฟ้าทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า |
. |
รูปที่ 2 หลักการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิง |
. |
ส่วนประกอบของระบบเซลล์เชื้อเพลิง |
ถ้าพูดถึงระบบเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อสามารถนำไปใช้งานได้ต้องมีอุปกรณ์ประกอบนอกเหนือจากตัวเซลล์เชื้อเพลิงเอง การออกแบบเซลล์เชื้อเพลิงค่อนข้างซับซ้อนขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์เชื้อเพลิงและการประยุกต์ใช้ อย่างไรก็ตามระบบเซลล์เชื้อเพลิงส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ ปล่องเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Stack) ชุดแปลงเชื้อเพลิง (Fuel Processor) ตัวแปลงไฟฟ้า (Current Converter) และระบบนำความร้อนกลับ (Heat Recovery System) |
. |
รูปที่ 3 แสดงส่วนประกอบอื่น ๆ ได้แก่ ชุดควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความดันก๊าซ และน้ำทิ้ง |
. |
Fuel Cell Stack เป็นหัวใจของระบบเซลล์เชื้อเพลิงทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า ในรูปไฟฟ้ากระแสตรงจากปฏิกิริยาเคมีในเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell Stack 1 ชุด อาจจะประกอบด้วย Fuel Cell หลายร้อยชุด |
. |
Fuel Processor ทำหน้าที่แปลงเชื้อเพลิงเป็นรูปแบบที่ใช้ได้กับเซลล์เชื้อเพลิง แต่ถ้าป้อนไฮโดรเจนโดยตรง ชุด Processor อาจจะไม่จำเป็น แต่ถ้าใช้เชื้อเพลิงที่มีส่วนประกอบของไฮโดรเจน เช่น เมทานอล แก็สโซลีน ดีเซล ชุด Processor จะแปลงไฮโดรคาร์บอนเป็นก๊าซผสมของไฮโดรเจนและคาร์บอนและจะถูกป้อนไป ชุดปฏิกรณ์เพื่อกรองสิ่งเจือปน เช่น คาร์บอนออกไซด์ หรือซัลเฟอร์ ก่อนที่จะป้อนเชื้อเพลิงไปยัง Fuel Cell Stack กระบวนการนี้ช่วยป้องกันสิ่งเจือปนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุของ Fuel Cell |
. |
Current Converter แปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ |
Heat Recovery System สำหรับโรงไฟฟ้าเนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของเซลล์เชื้อเพลิงใช้เพื่อผลิตไฟฟ้า ไม่ใช่ความร้อน แต่เนื่องจากความร้อนที่ปล่อยออกมาจากเซลล์เชื้อเพลิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์เชื้อเพลิงชนิดอุณหภูมิสูง เช่น Solid Oxide และ Molten Carbonate ดังนั้นสามารถนำความร้อนที่ปล่อยออกมาไปปั่นแก๊สเทอร์ไบน์เพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ |
. |
ชนิดของเซลล์เชื้อเพลิง |
เซลล์เชื้อเพลิงมีหลายชนิด แตกต่างกันที่วัสดุที่ใช้เพื่อให้เหมาะสมต่อการประยุกต์ใช้งานและต้นทุนที่ต่ำลง ชนิดของเซลล์เชื้อเพลิงหลัก ๆ มี 5 ชนิด และมีวัสดุ คุณสมบัติ การนำไปใช้ ข้อดีและ ข้อจำกัด ดังสรุปได้ในตาราง |
. |
. |
การประยุกต์ใช้ |
• ยานพาหนะ เซลล์เชื้อเพลิงชนิด PEM เป็นเซลล์เชื้อเพลิงหลักที่นิยมใช้สำหรับระบบขนส่ง ยกเว้นยานอวกาศนิยมใช้เซลล์เชื้อเพลิงชนิด Alkaline |
. |
รูปที่ 4 รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง |
. |
• โรงไฟฟ้า อยู่ในขั้นใช้เป็นระบบไฟฟ้าสำรอง หรือใช้ในพื้นที่ห่างไกลโดยมีขนาด ~ 10 kW ใช้ NG เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฮโดรเจน นิยมใช้เซลล์เชื้อเพลิงชนิด PAFC แต่ชนิด MCFC และ SOFC เริ่มใช้กันมากขึ้น ส่วนถ้าขนาดเล็กกว่า 10 kW ใช้ตามที่พักอาศัยนิยมใช้ชนิด PEM |
. |
รูปที่ 5 แสดงระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง |
. |
• อุปกรณ์เครื่องใช้ เช่นพลังงานสำหรับโทรศัพท์มือถือ วิทยุ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก กล้องวิดีโอ และอุปกรณ์ที่ใช้แบตเตอรี่ ชนิดเซลล์เชื้อเพลิงที่นิยมใช้ PEM การประยุกต์ใช้สำหรับอุปกรณ์เหล่านี้ยังอยู่ในช่วงพัฒนา |
. |
รูปที่ 6 แสดงเซลล์เชื้อเพลิงชนิดพกพา |
. |
คำถามที่ถูกถามบ่อย ๆ |
Q : เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงมีมานานแค่ไหนแล้ว ? |
. |
Q : เราจะสามารถหาซื้อรถเซลล์เชื้อเพลิงได้เมื่อไร ? |
. |
Q : รถเซลล์เชื้อเพลิงเหมือนและต่างจากใช้แบตเตอรี่อย่างไร ? |
. |
Q : รถเซลล์เชื้อเพลิงแตกต่างจากรถยนต์ใช้น้ำมันอย่างไร ? |
. |
Q : เซลล์เชื้อเพลิงชนิดไหนนำมาใช้กับรถ ? |
. |
นี่คือพลังงานสะอาดอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก (ในต่างประเทศ) คาดหวังว่าเราคงมีโอกาสได้ใช้กัน (นะครับ) |
. |
เอกสารอ้างอิง |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด