เนื้อหาวันที่ : 2010-04-29 17:41:41 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 10228 views

การจัดการระบบไฟฟ้าแสงสว่างในโรงงานอุตสาหกรรม (ตอนที่ 4)

ปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานการใช้พลังงานในระบบแสงสว่างใน โรงงานควบคุม (โรงงานติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าหรือหม้อแปลง ขนาดตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ หรือ 1,175 กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป) คงมีแต่กฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติการ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ว่าด้วยกำหนดมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการอนุรักษ์พลังงานใน อาคารควบคุม มีการกำหนดการใช้ไฟฟ้าส่องสว่างในอาคารโดยไม่รวมพื้นที่ที่จอดรถ

บูรณะศักดิ์  มาดหมาย 
สำนักพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ 
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
chakan_m@yahoo.com

.

.
แบบฟอร์มสำหรับวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของระบบแสงสว่าง (ติดตั้งใหม่)
สภาพพื้นที่: สกปรก      หน่วย: บาท/ปี

.
ข้อกำหนดระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
ข้อกำหนดมาตรฐานการใช้พลังงาน
การอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่าง มีข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติดังนี้

1. ระบบไฟฟ้าแสงสว่างทุกบริเวณ ยกเว้นที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินต้องมีการควบคุมโดยมีผู้รับผิดชอบ เปิด-ปิด ตามตารางกำหนดเวลา หรือโดยอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ

.

2. สวิตช์ทุกจุดต้องอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถ เปิด-ปิด ได้สะดวก โดยมีแผนผังแสดงตำแหน่งหลอดไฟที่ควบคุม และมีการชี้บ่งถึงกำหนดระยะเวลา เปิด-ปิด เช่น ติดสีที่สวิตช์

.
3. ต้องจัดให้มีสวิตช์ควบคุมอย่างน้อย 1 จุดสำหรับ

- อุปกรณ์แสงสว่างแต่ละประเภท หรือมีขนาดกำลังรวมเกิน 1,000 วัตต์
- พื้นที่ไม่เกิน 30 ตร.ม หรือภายในแต่ละพื้นที่ทำงาน/ห้อง
- พื้นที่ซึ่งในบางครั้งทำงานไม่พร้อมกัน หรือบริเวณที่มีแสงธรรมชาติเพียงพอ
- อุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ ให้ถือว่าเทียบเท่าจำนวนสวิตช์ได้ไม่เกิน 3 จุด

.

4.  ต้องมีแผนผังทางไฟฟ้า ซึ่งแสดงชนิด ขนาด และจำนวนหลอดไฟฟ้า ตำแหน่งติดตั้ง และสวิตช์ควบคุม ที่ถูกต้องตรงกับสภาพปัจจุบันอยู่เสมอ
5.  ต้องจัดทำตารางวิเคราะห์ระบบแสงสว่าง ให้ครอบคลุมทั่วทุกบริเวณ ยกเว้นที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน และต้องปรับปรุงทุกครั้งที่มีการต่อเติมแก้ไขอาคาร ย้ายพื้นที่ทำงาน หรือเครื่องจักร

.
ข้อกำหนดเพื่อพิจารณาปรับปรุง
การปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่าง มีข้อกำหนดเพื่อพิจารณาปรับปรุงโดยลำดับดังนี้

1.   ระบบไฟฟ้าแสงสว่างทุกบริเวณที่มีการเปิดใช้ในเวลากลางวันเป็นประจำ รวมทั้งบริเวณห้องน้ำ ควรพิจารณาใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ
2. ควรทบทวนสภาพการใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ ระดับความสว่าง และวิธีการให้แสงสว่าง เพื่อทำการปรับปรุงให้เหมาะสมทุกครั้งที่มีการต่อเติมแก้ไขอาคาร ย้ายพื้นที่ทำงาน หรือเครื่องจักร

.

3. บริเวณที่มีการใช้งานหลายอย่าง ซึ่งบางครั้งต้องการแสงสว่างน้อย หรือมีการใช้แสงธรรมชาติช่วยให้แสงสว่าง ควรพิจารณาติดตั้งเครื่องหรี่ไฟ

4. ดวงไฟที่ผู้รับผิดชอบ เปิด-ปิด ไม่สามารถควบคุมได้อย่างถี่ถ้วน ติดตั้งในบริเวณพื้นที่กว้างหรือมีจำนวนมาก ควรพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ

.

5.  ดวงไฟที่ติดตั้งในพื้นที่กว้างหรือห้องขนาดใหญ่ และมีทางเข้าออกหลายทาง หรือสวิตช์ควบคุม ติดตั้งรวมไว้ในบริเวณที่ห่างไกล เช่น โกดังเก็บของ ควรพิจารณาติดตั้งสวิตช์ควบคุมเพิ่ม

.

6.  พิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานประเภทต่าง ๆ ดังนี้
- การเลือกใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง
- การเลือกใช้บัลลาสต์ที่มีการสูญเสียต่ำ
- การเลือกใช้โคมไฟประสิทธิภาพสูง

.
ข้อกำหนดเพื่อตรวจสอบ และบำรุงรักษา
การตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบแสงสว่าง มีข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติดังนี้

1.  ก่อนเริ่มต้นทำงาน พนักงานทุกคนต้องสังเกตการทำงานของหลอดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงานของตน หากมีหลอดไฟฟ้าเริ่มทำงานไม่ปกติให้แจ้งซ่อมทันที
2. ฝ่ายซ่อมบำรุงต้องมีผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบแสงสว่างในแต่ละพื้นที่ ทันทีเมื่อได้รับแจ้ง

.
3. ฝ่ายซ่อมบำรุงต้องจัดทำตารางแผนการตรวจสอบระบบแสงสว่าง โดยมาตรการที่ต้องทำเป็นประจำมีดังนี้

- สำรวจสภาพการทำงานของหลอดไฟฟ้า ให้ครอบคลุมทั่วทุกบริเวณ
- ทำการวัดและบันทึกระดับความสว่างในพื้นที่ทำงาน ซึ่งแสงสว่างมีผลต่อประสิทธิภาพ การทำงานอย่างสม่ำเสมอ และทุกครั้งก่อนและหลังการปรับปรุงระบบแสงสว่าง
- ตรวจสอบอุปกรณ์แสงสว่าง รวมทั้งฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า ทุกครั้งที่มีการทำความสะอาด และพิจารณาเปลี่ยนตามจำเป็น
- ทำความสะอาดดวงโคมอย่างน้อยปีละครั้ง และทุกครั้งที่มีการซ่อมบำรุง

.

4. โรงงานต้องมีการทำความสะอาดเพดาน ผนัง และพื้นอย่างน้อยปีละครั้ง และพิจารณาทาสีใหม่ตามสมควร

.
มาตรฐานที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานในระบบแสงสว่าง

ปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานการใช้พลังงานในระบบแสงสว่างใน โรงงานควบคุม (โรงงานติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าหรือหม้อแปลง ขนาดตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ หรือ 1,175 กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป) คงมีแต่กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 พ.ศ.2538 ออกตามความในพระราชบัญญัติการ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ว่าด้วยกำหนดมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการอนุรักษ์พลังงานใน อาคารควบคุม มีการกำหนดการใช้ไฟฟ้าส่องสว่างในอาคารโดยไม่รวมพื้นที่ที่จอดรถ ในหมวด 3 ข้อ 4 ซึ่งสามารถใช้เป็นค่าอ้างอิงมาตรฐานได้ดังต่อไปนี้

.

1. ในกรณีที่มีการส่องสว่างด้วยไฟฟ้าในอาคาร จะต้องให้ได้ระดับความส่องสว่างสำหรับงานแต่ละประเภทอย่างเพียงพอตามหลักและวิธีการที่ยอมรับได้ทางวิศวกรรม
2. อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ส่องสว่างภายในอาคารโดยไม่รวมพื้นที่ที่จอดรถ จะต้องใช้กำลังไฟฟ้าไม่เกินค่าดังต่อไปนี้

.

.

(๑) อาคารที่มีการใช้งานหลายลักษณะให้ใช้ค่าในตารางตามลักษณะพื้นที่ใช้งาน
(๒) รวมถึงไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไปที่ใช้ในการโฆษณาเผยแพร่สินค้า ยกเว้นที่ใช้ในตู้กระจกแสดงสินค้า

.

โดยค่าระดับความส่องสว่างนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม ได้กำหนดระดับความสว่างขั้นต่ำสำหรับงานแต่ละประเภท ไว้ดังนี้

.

.

ส่วนค่าความส่องสว่างที่เหมาะสมนั้น ได้มีการกำหนดมาตรฐานโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องในประเทศต่าง ๆ เช่น IES (Illumination Engineering Society) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการกำหนดไว้ละเอียดมาก แต่มีค่าสูงเกินไป ไม่เหมาะสมกับประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทย ในที่นี้จึงใช้มาตรฐาน JIS ในประเทศญี่ปุ่น และค่าจากหนังสือวิชามนุษย์ปัจจัย Ergonomics ที่เขียนโดย Etiene Grandjean ซึ่งเสนอแนะค่าไว้ดังนี้

.

.

สำหรับค่าความสามารถในการสะท้อนแสงสำหรับสำนักงานและโรงงานอุตสาหกรรม IES ได้เสนอแนะไว้ดังนี้

.

(๓) ความสามารถในการสะท้อนแสงสามารถประมาณได้จากโทนสี และความเรียบเป็นมันของพื้นผิววัสดุ โดยความสามารถในการสะท้อนแสง (สีขาว 100% สีดำ 0%) ของวัสดุ และสีต่าง ๆ เป็นดังนี้

.

 - วัสดุที่มีผิวสะท้อนแสง เช่น อะลูมิเนียม, กระดาษขาว, สีสะท้อนแสง  80-95%
 - อิฐเคลือบเป็นมันสีขาว, เหล็กชุบสังกะสีทาสีขาว, แลกเกอร์สีขาว, สีเงิน, สีขาว 60-80%
 - อิฐสีเหลืองอ่อน, หินอ่อนหรือกรวดล้างสีขาว, สีอะลูมิเนียม, สีครีม, สีโทนอ่อน 40-60%
 - คอนกรีต, ไม้ผิวเรียบ, หินล้างสีเทา, สีโทนทึบ (น้ำตาล, แดง, เขียว, น้ำเงิน, เทา) 20-40%
 - ยางมะตอย, คอนกรีตสีน้ำตาลหรือดำ, หินชนวนสีเทา, อิฐสีแดง, สีโทนทึบเข้ม   0-20%

.
เอกสารอ้างอิง
• หลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับ SMEs กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 2547

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด