ชีวมวล (Biomass) เป็นพลังงานชนิดแรก ๆ ของมนุษยชาติ สำหรับหุงต้มอาหาร และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีมากขึ้น ในการนำเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้ ซึ่งมีความสะดวกกว่า ชีวมวลจึงถูกลดความสำคัญลง
วัชระ มั่งวิทิตกุล |
. |
. |
ชีวมวล (Biomass) เป็นพลังงานชนิดแรก ๆ ของมนุษยชาติ สำหรับหุงต้มอาหาร และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีมากขึ้น ในการนำเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้ ซึ่งมีความสะดวกกว่า ชีวมวลจึงถูกลดความสำคัญลง แต่เมื่อปริมาณเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ยืนยันสำรวจแล้วมีเหลือให้ใช้เพียงอีก 40 ปี และการจะหาแหล่งเชื้อเพลิงเพิ่มเติมต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง |
. |
ทำให้เชื้อเพลิงมีราคาแพงขึ้น และอีกปัญหาหนึ่งที่เริ่มจะเห็นชัดเจนมากขึ้นคือ อากาศผันผวน ปัญหาโลกร้อน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล พลังงานทางเลือกอย่างชีวมวล จึงกลับมาได้รับความสนใจ พัฒนา อีกครั้ง |
. |
ชีวมวล (Biomass) คืออินทรีย์สารที่เก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ ได้แก่ พืชและต้นไม้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า การเจริญเติบโตของมันจะใช้กระบวนการสังเคราะห์แสง ใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ในการเปลี่ยน CO2 เป็นคาร์โบไฮเดรต (ซึ่งประกอบด้วย น้ำตาล แป้ง และเซลลูโลส) คาร์โบไฮเดรตเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สร้างชีวมวล และเมื่อต้นไม้ตายจะมีกระบวนการย่อยสลายซึ่งจะปล่อยพลังงานที่เก็บคาร์โบไฮเดรตและปลดปล่อย CO2 ออกคืนสู่บรรยากาศ ผลของวัฏจักรดังกล่าว ชีวมวลจึงเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน |
. |
กระบวนการธรรมชาติใช้เวลาหลายล้านปี ในการเปลี่ยนซากพืช ซากสัตว์ เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน) เชื้อเพลิงฟอสซิลนี้ไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้ แหล่งพลังงานที่เราใช้วันนี้จะหมดไปตลอดกาล และกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงเหล่านี้จะปลดปล่อย CO2 ให้กับบรรยากาศมากขึ้น |
. |
การใช้พลังงานชีวมวลไม่เป็นการเพิ่มก๊าซ CO2 สู่บรรยากาศ พืชและต้นไม้ ดูดซับคาร์บอนจากบรรยากาศโดยการสังเคราะห์แสง ถ้าการใช้ชีวมวลและการทดแทนปลูกต้นไม้เป็นไปอย่างสมดุลทำให้ CO2 สมดุล ดังนั้นการใช้ชีวมวลจะไม่เพิ่มก๊าซ CO2 และไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
. |
ในอเมริกา การใช้พลังงานจากชีวมวล 3% ของการใช้พลังงานทั้งหมดและชีวมวลมีสัดส่วน 50% ของพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด นอกจากนี้การใช้พลังงานชีวมวลคิดเป็น 6 เท่าของพลังงานหมุนเวียนจากพลังงานใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รวมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ได้แก่รัฐออริกอน อะลาสกา ไอดาโฮ และมอนทานา จะใช้พลังงานชีวมวลมาก มีแหล่งพลังงานชีวมวล 1000 ไตรเรียนบีทียู/ปี |
. |
. |
สำหรับประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่ต่อเนื่อง ด้วยการแปรรูปของอุตสาหกรรมเกษตร ทำให้เกิดของเหลือทิ้งซึ่งเป็นชีวมวล ได้แก่ โรงสีข้าวได้แกลบ โรงงานน้ำตาลได้กากอ้อย โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ได้กากปาล์ม เปลือกและกะลาปาล์ม โรงเลื่อยไม้ยางพารา |
. |
โรงผลิตไม้อัด ได้ขี้เลื่อย เศษไม้ โรงแยกเมล็ดข้าวโพด ได้ซังข้าวโพด โรงงานแป้งมัน ได้กากมันสำปะหลัง โรงงานแปรรูปเนื้อมะพร้าว ได้กาบมะพร้าว กะลามะพร้าว การใช้ชีวมวลมาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ตั้ง ปริมาณผลผลิต |
. |
ตารางสรุปคุณสมบัติชีวมวล กับการผลิตไฟฟ้า |
. |
ถึงแม้ว่า ชีวมวลจะเป็นพลังงานหมุนเวียนที่รักษาสมดุล CO2 ในบรรยากาศได้ดี แต่เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงแข็ง จึงมีปัญหาเรื่องฝุ่น ซึ่งฝุ่นแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1. ฝุ่นจากขี้เถ้าจากการเผาไหม้ สามารถแก้ไขโดยใช้ อุปกรณ์ดักฝุ่นประสิทธิภาพสูง หรือ Electronic Static Precipitator (ESP) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการดักฝุ่นได้ 95-99% |
. |
2. ฝุ่นจากการขนส่งวัตถุดิบ ควรสนับสนุนให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก (ไม่เกิน 20 MW) กระจายใกล้แหล่งวัตถุดิบให้ได้มากที่สุด ดีกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ต้องใช้วัตถุดิบมากจึงต้องขนย้ายวัตถุดิบจากแหล่งอื่นไกล ๆ นอกจากนี้เป็นการสร้างงานให้ประชาชนในท้องถิ่นและเพิ่มการมีส่วนร่วม |
. |
ด้านการลงทุน เนื่องจากต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล มีราคาแพงกว่าโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล และประเทศเราต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ดังนั้นในระยะสั้นและกลาง อัตราค่าไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลควรสอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริงไม่ควรแบกรับภาระและควรหันมาเลือกใช้เทคโนโลยีจากประเทศจีนซึ่งคุณภาพเครื่องจักรได้รับการพัฒนาดีขึ้น และมีราคาถูกกว่ายุโรปมาก |
. |
ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนน่าสนใจ ส่วนระยะยาวการใช้ชีวมวลมีแนวโน้มมากขึ้น เทคโนโลยีจึงมีแนวโน้มราคาถูกลง ทำให้ผลตอบแทนดียิ่ง ๆ ขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามเราควรมีการพัฒนาเลียนแบบ (ไม่ใช่ลอกแบบ) เทคโนโลยีเองบ้างบางส่วนเพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศมากเกินไป เทคโนโลยีชีวมวลสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้ |
. |
ตารางแสดงเทคโนโลยีชีวมวล |
. |
เอกสารอ้างอิง |
1. US Department of Energy, Biomass report |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด