อุตสาหกรรมสิ่งทอมีโครงสร้างอุตสาหกรรมค่อนข้างใหญ่ดังแสดงในรูปที่ 1 ดังนั้นเพื่อให้การจัดการพลังงานสามารถทำได้อย่างเป็นระบบเราจึงต้องแยกเจาะลงไปในแต่ละกลุ่ม บทความนี้จะเน้นการจัดการพลังงานใน อุตสาหกรรมทอผ้า ซึ่งมีอยู่กว่า 1,000 แห่ง และในจำนวนนี้กว่า 90%เป็นโรงงานขนาดกลางและเล็ก มีการจ้างงานกว่า 50,000 คน และ 80% ของการผลิตผ้าผืนสำหรับใช้ภายในประเทศ
วัชระ มั่งวิทิตกุล |
. |
อุตสาหกรรมสิ่งทอมีโครงสร้างอุตสาหกรรมค่อนข้างใหญ่ดังแสดงในรูปที่ 1 ดังนั้นเพื่อให้การจัดการพลังงานสามารถทำได้อย่างเป็นระบบเราจึงต้องแยกเจาะลงไปในแต่ละกลุ่ม |
. |
รูปที่ 1 โครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอ |
. |
สำหรับบทความนี้จะเน้นการจัดการพลังงานใน อุตสาหกรรมทอผ้า ซึ่งมีอยู่กว่า 1,000 แห่ง และในจำนวนนี้กว่า 90%เป็นโรงงานขนาดกลางและเล็ก มีการจ้างงานกว่า 50,000 คน และ 80% ของการผลิตผ้าผืนสำหรับใช้ภายในประเทศ |
. |
เทคโนโลยีที่ใช้มีทั้งประเภทที่ต้องใช้แรงงานและพลังงานมากคือ เครื่องทอแบบกระสวย (Shuttle Loom) ความเร็วการทอต่ำ แต่ลงทุนต่ำ ทำให้โรงงานขนาดกลางและเล็กนิยมใช้ ในขณะที่เครื่องทอแบบไร้กระสวย (Shuttleless Loom) ให้ผลผลิตดีกว่า ผลิตได้เร็ว ต้นทุนแรงงานและพลังงานต่ำกว่า แต่ลงทุนสูงกว่า |
. |
1. กระบวนการผลิต |
การทอผ้าคือการนำเส้นด้าย 2 ชุดมาสานกัน เส้นด้ายชุดแรกวางแนวยาวของผ้า เรียกว่า เส้นด้ายยืน (Warp) และเส้นด้ายชุดที่สองวางตามขวางของผ้าให้เกิดการขัดสานกับด้ายยืน เรียกว่าเส้นด้ายพุ่ง (Weft) การขัดกันระหว่างเส้นด้ายทั้ง 2 ชุด ทำให้ได้ผ้าผืนที่มีโครงสร้างต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลวดลายที่ต้องการ |
. |
กระบวนการทอผ้า แบ่งเป็นขั้นตอนหลักดังนี้ |
. |
• การย้อมสีเส้นด้าย |
วัตถุประสงค์เพื่อย้อมสีเส้นด้ายที่ต้องการนำไปทอ เพื่อให้ผ้าทอมีลวดลายที่กำหนด หลังจากย้อมสีแล้วทำการอบแห้ง ก่อนนำไปกรอ |
. |
• การกรอด้าย |
คล้ายกับการกรอด้าย กระบวนการปั่นด้าย แต่การกรอด้ายในกระบวนการทอ เป็นการกรอด้ายพุ่งและกรอด้ายยืน เพื่อเตรียมเส้นด้าย ให้เหมาะสมกับการนำไปสืบด้ายยืนและนำไปเป็นเส้นด้ายพุ่งสำหรับเครื่องทอผ้า |
. |
• การสืบด้าย |
เป็นการนำเอาเส้นด้ายจากลูกด้าย มาวางเรียงอย่างเป็นระเบียบและมีจำนวนตามต้องการก่อนม้วนเก็บลงบีม เป็นการเตรียมด้ายยืนสำหรับทอผ้า |
. |
• การลงแป้ง |
ในการทอเส้นด้ายยืน จะเกิดการเสียดสี กับอุปกรณ์เครื่องทอและอาจทำให้เส้นด้ายขาด ดังนั้นจึงต้องลงแป้งเส้นด้ายยืนเพื่อลดอัตราการขาดของเส้นด้าย โดยมอเตอร์ขับเครื่องลงแป้งให้เส้นด้ายเคลื่อนที่ผ่านอ่างแป้ง แล้วจึงทำการอบแห้งให้แป้งเคลือบบนเส้นด้าย โดยเส้นด้ายเคลื่อนที่แนบกับผิวลูกกลิ้งที่มีไอน้ำจ่ายภายในลูกกลิ้ง |
. |
• การทอ |
การนำเส้นด้ายมาสานกัน โดยใช้เครื่องทอผ้าแบบไร้กระสวย หรือแบบกระสวย |
. |
2. การใช้พลังงาน |
ต้นทุนพลังงานมีสัดส่วนประมาณ 15% ของต้นทุนการผลิต ส่วนต้นทุนอื่น ๆ ประกอบด้วยค่าวัตถุดิบ 35% ค่าแรง 10% ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร ค่าใช้จ่ายในการขาย) 40% |
. |
ไฟฟ้าเป็นพลังงานหลักที่ใช้ในโรงงานทอผ้า ไฟฟ้าคิดเป็น 80% ของการใช้พลังงาน (8,000 kWh/ตันผ้า) พลังงานความร้อน 20% (5,000 MJ/ตันผ้า) แต่ถ้ามีขั้นตอนการย้อมสีเส้นด้ายด้วยจะมีการใช้พลังงานความร้อนมากขึ้น |
. |
รูปที่ 2 การไหลของพลังงาน |
. |
3. การจัดการพลังงาน |
จากรูปการไหลของพลังงานจะเห็นว่า การใช้พลังงานไฟฟ้าหลัก ๆ คือขั้นตอนการทอผ้า ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 75% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ดังนั้นเราจึงเน้นไปที่ขั้นตอนนี้เป็นหลัก |
. |
• การควบคุมระบบปรับอากาศให้เหมาะสม จากรูปการไหลพลังงาน ระบบปรับอากาศใช้พลังงานไฟฟ้า 1,200 kWh/ตันผ้า หรือประมาณ 15% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด การปรับความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมจะเพิ่มประสิทธิภาพการทอผ้าให้สูงขึ้น กล่าวคือโรงงานทอผ้าที่มีประสิทธิภาพการทอผ้าเกิน 90% จะควบคุมอุณหภูมิในโรงทอระหว่าง 24-29 ๐C และ RH 58-65% |
. |
แต่ถ้าโรงทอที่อุณหภูมิภายใน 30-34 ๐C และ RH สูงกว่า 65% เส้นด้ายขณะทอผ้าจะขาดบ่อย ประสิทธิภาพการทอจะลดลง เช่น ถ้าอัตราการขาดเพียงจาก 2 ครั้ง/ชั่วโมง เป็น 1 ครั้ง/ชั่วโมง โดยเวลาหยุดเครื่องและรอต่อเส้นด้าย 4 นาที/ครั้ง จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้กว่า 3 แสนบาทต่อปี |
. |
ถ้าหยุด 2 ครั้ง/ชั่วโมง เวลาหยุด 4 x 2 = 8 นาที/ชั่วโมง เวลาเดินเครื่อง 60-8 = 52 นาที/ชั่วโมง ดังนั้น ประสิทธิภาพการทอ 52/60 x 100 = 86.6% |
. |
ถ้าหยุด 1 ครั้ง/ชั่วโมง |
. |
ผลประหยัดต้นทุนการผลิต |
เครื่องทอผ้า 47” ด้ายยืนx ด้ายพุ่ง (110 x 70) ความเร็วรอบการทอ 550 รอบ/นาที ทำงาน 24 ชั่วโมง 360 วัน/ปี |
. |
- ที่ประสิทธิภาพ 86.6% |
. |
- ที่ประสิทธิภาพ 93.3% |
ผลผลิตมากขึ้น 7,702 หลา/เครื่อง/ปี ถ้าราคาผ้า 50 บาท/หลา ทำให้ผลผลิตมากขึ้น 385,100 บาท/เครื่อง/ปี |
. |
• เปลี่ยนเครื่องทอแบบกระสวยเป็นแบบไร้กระสวย เครื่องทอแบบมีกระสวยใช้พลังงานมากกว่าเครื่องทอแบบไร้กระสวย 1.5 เท่า เนื่องจากต้องใช้พลังงานมากในการตีกระสวยที่มีน้ำหนักกว่าครึ่งกิโลกรัม ให้พาเส้นด้ายพุ่งเพียงเส้นเดียววิ่งลอดเส้นด้ายยืน ส่วนเครื่องทอไร้กระสวยที่นิยมคือ ใช้ลมอัด (Air Jet) ในการส่งเส้นด้ายพุ่ง แต่เนื่องจากโรงงานทอผ้าเป็นโรงงานขนาดกลางและเล็ก จึงนิยมใช้เครื่องทอแบบกระสวยซึ่งราคาถูกกว่าเครื่องทอแบบไร้กระสวย 4-5 เท่า |
. |
ถ้าพิจารณาเฉพาะการประหยัดพลังงานอย่างเดียว อาจจะไม่น่าสนใจ แต่ถ้าพิจารณาเรื่องผลผลิตที่ได้มากขึ้น คุณภาพสม่ำเสมอ และการส่งมอบให้ลูกค้าได้ทันเวลา กล่าวคือ เครื่องทอแบบไร้กระสวยมีความเร็วประมาณ 550 รอบ/นาที ส่วนเครื่องทอแบบกระสวย 150 รอบ/นาที หรือ เร็วกว่า 4 เท่า |
. |
. |
ผลประหยัดพลังงาน |
ถ้าผ้าทอ 1 ผืน 120 หลา มีน้ำหนัก 18 กิโลกรัม เครื่องทอไร้กระสวยใช้พลังงาน 1500 kWh/ตันผ้า รวมกับพลังงานเครื่องอัดอากาศ 1000 kWh/ตันผ้า ส่วนเครื่องทอกระสวยใช้พลังงาน 4000 kWh/ตันผ้า ดังนั้น ที่ผ้าทอ 103,458 หลา มีน้ำหนัก 15.5 ตัน ใช้พลังงาน |
. |
เครื่องทอไร้กระสวย 2500 x 15.5 ตันผ้า = 38,750 kWh/ปี เครื่องทอแบบกระสวย 4000 x 15.5 ตันผ้า = 62,000 kWh/ปี ประหยัดพลังงาน 23,250 kWh/ปี x 2.5 บาท/kWh = 58,125 บาท/ปี |
. |
ส่วนขั้นตอนการลงแป้งด้ายยืนนั้นมีการใช้พลังงานความร้อน 90% ของความร้อนจะสูญเสียที่ผิวลูกกลิ้ง ซึ่งตามแนวยาวของลูกกลิ้งสัมผัสกับเส้นด้ายโดยตรง ทำให้หลีกเลี่ยงความร้อนสูญเสียได้ยาก แต่ด้านข้างลูกกลิ้งสามารถลดความร้อนสูญเสียโดยการหุ้มฉนวน สำหรับขั้นตอนการย้อมสีเส้นด้าย (กรณีที่โรงทอมีขั้นตอนการย้อมสีอยู่ด้วย) จะใช้พลังงานความร้อนมาก จะกล่าวโดยละเอียดในบทความการจัดการพลังงานในอุตสาหกรรมฟอกย้อมต่อไป |
. |
เอกสารอ้างอิง |
- การอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เอกสารประกอบการอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด