PA & Sound / Light On Stage ; Special Reports

งานสัมมนา Dante Network & Dante Via (05)

เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม

อีเมล์ : ฺBobby524@hotmail.com

แฟนเพจ : facebook.com/bobbysound88

 

 

“ พวกงานระบบ เขาต้องการให้ระบบมันซิงโครไนซ์ ระหว่างซับเน็ตที่เป็นระบบใหญ่ๆ ระบบที่ว่าคือข้ามเขต ข้ามจังหวัด ข้ามอาคาร อะไรทำนองนี้ ต้องใช้ Netspander ”

 

(เนื้อหาต่อจากตอนที่แล้ว..)

 

วิทยากร : คุณศักดิ์ชัย ชัยประภาทอง และทีมงาน Audinate...

 

โปรดทราบ : สำหรับตอน 5 ช่วงท้ายบทความ จะเชื่อมเนื้อหาของเน็ตเวิร์ก Dante ภาคสองเข้ามาเพื่อให้บทความมีความต่อเนื่องมากขึ้น

 

          ามว่าขาเข้าทำไมเป็น 53 เนื่องจากมันรับจากอีกบอร์ดมา 32 ช่อง มันเลย Utilize เยอะกว่า มันอยู่ที่จำนวนที่เราดึงให้เค้า สมมติเราดึงมาสัก 10 ช่อง แต่อีกอันดึงมาแค่ 2 ช่อง ดังนั้นจำนวน Utilize มันขึ้นอยู่กับจำนวนช่องที่เราส่งเพราะว่าผมส่งเป็นแบบ Unicast นี่รัน Unicast นะ ไม่ได้รัน Multicast เนื่องจากเราต่อเป็นแบบ Daisy chain เป็นธรรมดา Multicast ที่ทำได้จะต้องเป็นสวิตช์ที่เป็นแมนเนจ มันก็ต้องใช้ Utilize เยอะขึ้นเรื่อยๆ การที่เราจะ Utilize เยอะขึ้นเท่าไหร่มันอยู่ที่ว่าเราจะพ่วงไปเยอะแค่ไหน... ถัดไปมาดูเรื่อง Latency สังเกตว่าตัวที่สอง มันมีหัวกับท้ายมาต่อหาเค้า มันจะมองเห็นเป็นสองตัว จะดึงค่าพีค ดึงแรงสุดแล้ว ประมาณ 300µsec. ตัวนี้ถือว่าหน่วงสุดๆ แล้ว ถ้าเป็นตัวเลขเป๊ะๆ ก็ราวๆ 354µsec. ซึ่งน้อยมาก นี่คือพอร์ตถึงพอร์ตจากเครื่องถึงเครื่อง จากภาพในสไลด์จะเห็นรูปแบบการเชื่อมต่อ เราจะมาดูมั้ยครับว่า การเชื่อมต่อในรูปของแบบ Star จะทำยังไง วิธีการที่ผมจะแนะนำคือ จะถอดสายก่อนก็ได้ หรือจะปิดเครื่องก่อนก็ได้ แต่ต้องเซตบนเครื่องก่อนแล้วค่อยคอนเน็กต์ ไม่ใช่กำลังออนไลน์อยู่แล้วไปคอนเน็กต์มันจะขึ้นว่า Error เนื่องจากคุณกำลังเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อผิดวิธี อย่างนั้นมันจะเตือน ผมแนะนำว่าถ้าอยากเซตอะไรก็ตาม ถอดสายก่อน หรือเซตเครื่องให้เรียบร้อยแล้วค่อยต่อสาย หลังจากระบบคอนเน็กต์เรียบร้อยแล้ว ทีนี้ก็จะต้องตั้งโหมดการทำงานเป็น Redundant พอเปลี่ยนมาเป็นระบบนี้ปุ๊บเนี่ย ระบบก็จะมีการเตือนภายใน ทำนองว่า "คุณแน่ใจหรือว่าคุณจะมากดตรงนี้" เกิดระบบคุณต่อสายแบบ Daisy chain อยู่ก่อนหน้า จู่ๆ คุณไปสั่งให้เป็น Redundant มันผิด เข้าใจใช่มั้ย เข้าใจความเสี่ยงก่อนเพราะมันจะเตือน เพราะบางทีอาจจะมีโปรแกรมเซตเครื่องอยู่

 

 

 

          มีคนถามว่าใช้กับแอคเซสพ้อยส์ได้มั้ย ปกติเสียงจะไม่วิ่งผ่านแอคเซสพ้อยท์ ซึ่งก็คือ Wi-Fi ใช่มั้ย ผมไม่แนะนำให้ใช้กับ Wi-Fi เพราะความเสี่ยงสูง เมื่อสักครู่อธิบายไปแล้ว เนื่องจากการรบกวนทางอากาศมีเยอะแยะ เราอุตส่าห์ใช้สายชีลด์เพื่ออะไรล่ะ กันการรบกวนจากคลื่นข้างๆใช่มั้ย ทีนี้เราไปผ่านอากาศยิ่งเยอะกว่าอีก แต่การเซตอัพผ่าน Wi-Fi เราท์เตอร์ทำได้ แต่ต้องเลือกแอดเดรสว่าจะให้คอนโทรลเครื่องไหน จากนั้นวิทยากรเซตอัพโหมดจาก Daisy chain มาเป็นโหมด Redundant เป็นยังไงเริ่มเข้าใจหรือยัง พอเราเข้าใจเรื่องเน็ตเวิร์กมาแล้ว มันง่ายที่เราจะตีความในการแก้ปัญหาของมัน คราวนี้เรามองเห็นปัญหาแล้วว่า เวลาเกิดปัญหาตรงนี้ มันเกิดจากตรงไหน เราจะเห็นปัญหาทุกอย่าง ซึ่งตรงนี้มันช่วยแก้ปัญหาได้ด้วย บางทีคอมพิวเตอร์กับมิกเซอร์อาจจะอยู่อีกที่นึง I/O อยู่ที่นึง เอาคอมพิวเตอร์ไปเสียบเข้าที่ฮับ แล้วเช็คดูว่าทั้งสองตัวนี้มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นมั้ย หรือว่าอยู่ดีๆ นะ สาย Secondary ของ I/O หลุด ระบบจะฟ้องเลยว่า มันหายไปเส้นนึง ตรงนี้มันบอกเลยว่าสาย Secondary หลุด ในจอมันจะฟ้องเลย

 

          อีกวิธีหนึ่งเรามาดูไฟข้างหลังก็ได้ ไฟข้างหลังมันติดหรือดับ เหมือนเคสที่ให้ดูที่ผ่านมา บรรยากาศในช่วงนี้ก็จะเป็นการถามตอบปัญ หาแลกเปลี่ยนกับวิทยากร... จากนั้นได้บรรยายต่อว่า... ในการทำงานอะไรก็ตามขึ้นอยู่กับระบบดีไซน์ที่เราจะทำ เราใช้แบบไหนประมาณไหน สำหรับเรื่อง Latency เวลาออกไลฟ์ซาวด์อย่าให้ค่ามันต่ำมาก บางทีสายมันเดินไปไกลแล้วค่า Latency บางทีเกิดที่สายด้วยนะ ส่วนไฟเบอร์ออฟติกก็มีดีเลย์อยู่นะ ประมาณ 2ms แต่ก่อนเวอร์ชันเก่ามันกระโดดจาก 1 แล้วไป 5 เลยไง มีคนใช้ไฟเบอร์ออฟติกนี่แหละ เขาก็บอกว่าอยากได้ 2 ms เราเลยจัด 2ms ให้ นี่คือใช้กับไฟเบอร์ออฟติกโหมด เพราะมันเกิดการดีเลย์ในสาย เราต้องเซตค่าให้มันพอดี หัวข้อต่อไปเราจะมาพูดถึงเรื่อง Netspander ซึ่งทางออดิเนทเขาทำเนี่ย เนื่องจากเขามีที่ปรึกษาหลายๆ  ที่ พวกงานระบบ เขาต้องการให้ระบบมันซิงโครไนซ์ ระหว่างซับเน็ตที่เป็นระบบใหญ่ๆ ระบบที่ว่าคือข้ามเขต ข้ามจังหวัด ข้ามอาคารอะไรทำนองนี้ แบบนี้ต้องใช้ Netspander ตัวนี้มันจะอยู่ในโพรโตคอลเลเยอร์ 2 และยังใช้เลเยอร์ 3 ที่เป็นส่วนของเน็ตเวิร์กอีกด้วย โดยวิ่งไปเพื่อเชื่อมต่อระหว่างสองจุดให้ไปได้ไกลมากขึ้น ตอนนี้มันสามารถรันบนเลเยอร์ 3 ได้แล้ว ควบรวมเข้ากับ AVB เรียบร้อยแล้ว ส่วนรายละเอียดลึกๆ ผมอยากให้ทางออดิเนทมาชี้แจงแถลงไข เพราะเรื่องนี้มันยัง “งงๆ” กันอยู่นะ เดี๋ยวจะมีเรื่อง Dante อีกรอบ ซึ่งทีมออดิเนทจะมาบรรยายเรื่องนี้โดยเฉพาะ...

 

 

 

 

          จริงๆ วันนี้เราเริ่มพูดเรื่องเบสิคนะ แต่ตอนนี้เราเริ่มไปไกลแล้วนะ วันนี้เรารันบนโหมดของเบสิคเท่านั้น ยังไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดเท่าไหร่ ผมก็พยายามให้เนื้อหามันอยู่ในขอบเขตของเบสิคให้มากที่สุด เพราะว่าจริงๆ แล้วเรื่องเน็ตเวิร์กเป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจ แล้วเราต้องลึกซึ้งกับมันพอสมควร อย่างบางปัญหา ผมแนะนำให้แก้ปัญหาง่ายๆ เลยคือให้ดูไฟ การดูไฟมันจะตอบโจทย์ได้สองเรื่อง เรื่องแรกเรื่องสายใช้ไม่ได้หรือสายไม่ผ่าน เราจะรู้ทันที ส่วนระบบในการเชื่อมต่อจะมีอยู่แค่สองแบบคือ Daisy chain กับ Star แค่สองอย่างทำงานได้แล้ว ส่วนระบบเนี่ยเราจะใช้แมนเนจหรือไม่แมนเนจ มันอยู่ที่ความซับซ้อนของระบบ ระบบซับซ้อนมากก็ต้องใช้แบบแมนเนจมาจัดการ ในกรณีที่มีทราฟิกเยอะๆ เราจะต้องใช้สวิตช์เป็นตัวแมนเนจ ซึ่งตัวแมนเนจหน้าที่หลักๆ มันจะทำคือเรื่องของ QoS คือมันจะจับเรื่องฐานเวลาเป็นหลัก เป็นข้อมูลหลักที่เราต้องใช้งาน เดี๋ยวผมจะเบิกตัว อ.เอ็กซ์ ซึ่งจะเป็นหัวเรือใหญ่ที่จะดูแลศูนย์ YDACC แห่งนี้

 

          จากนั้น อ.เอ็กซ์ ขึ้นเวทีแล้วกล่าว สวัสดีครับทุกท่าน ผมชื่อ ประพิชญ์ ชมชื่น ก็ดูแลศูนย์เทรนนิ่ง YDACC แห่งนี้ มีข่าวสารมาแจ้งอยู่สองสามเรื่อง เรื่องแรกเรามีโปรโมชันตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 พฤศจิกายน 58 อันนี้ข่าวสารล่าสุดเลยจาก Steinberg ตัวท่านเองหรือลูกค้ามีซอฟต์แวร์ Pro Tools อยู่ ไม่ว่าจะเป็น Native Pro tools เวอร์ชัน 9 ขึ้นไป หรือจะเป็น HD ซึ่งเป็นตัวใหญ่ ช่วงนี้เรามีโปรโมชันครอสเกรด คือเรารับซื้อ Pro Tools จากลูกค้า จำนวนไม่จำกัด ถึงวันที่ 30 พ.ย. 58

 

          อันนี้คือเฟสแรก มีเท่าไหร่เอามาให้หมด เรามีให้เลือกสองช้อยส์ Nuendo หรือ Cubase Pro ทีนี้ถ้าลูกค้าหรือผู้ใช้ ใช้ license แบบการศึกษา ก็จะได้ license แบบ Cubase Pro edu ในราคา 179 ยูโร เห็นราคาแล้วตกใจ ปาดเหงื่อแทบไม่ทัน ถ้ามี edu จะขอเป็นตัวใหญ่ก็ได้นะ แต่ราคาจะเพิ่มขึ้นเป็น 299 ยูโร ซึ่งก็ยังโอเคอยู่ ถ้าลูกค้าใช้งานค่อนข้างจะหนักหน่วง ใช้ปลั๊กอินจำนวนมาก ทำงานในโพสโปรดักชันเป็นหลัก ก็คือเน้นกับภาพยนตร์กับภาพวิดีโอ เน้นงานเสียงที่ซิงค์ไปกับภาพ ขอแนะนำตัวใหญ่ก็คือ Nuendo ซึ่งจะมีฟรีเจอร์รองรับฮาร์ดแวร์คอน โทรลเลอร์ อย่างเช่นตัว Nuage หรืออาจจะเป็นเธิร์ดปาร์ตี้อื่นๆ ที่รองรับมากมาย ซึ่งใช้ในงานสเกลใหญ่ อย่างงานสารคดี ภาพยนตร์ งานทำเสียงประกอบเกม งานออกอากาศ งานโปรดักชันขนาดใหญ่ ซึ่งไม่จำกัดทรัพยากรในการใช้งานตรงนี้ แต่ถ้าท่านทำงานในระดับโปรเฟสชันนอลมิวสิคเป็นหลัก ทำดนตรี ทำตัวโน้ต ทำสกอร์ ทำแซมปลิ้ง ทำซาวด์ดีไซน์ ต้องการแทร็กไม่จำกัด ขอแนะนำ Cubase Pro ซึ่งจะเน้นไปทางกลุ่มนักดนตรีเป็นหลัก ซึ่งทั้งสองรองรับมาตรฐาน EBU-R128 มิเตอร์อีกด้วย แต่ตัว Nuendo จะไปได้เต็มสตรีมกว่า ส่วน Cubase Pro จะไปได้แค่พื้นฐานของ R128 ฉะนั้นอยากได้ตัวไหนก็แจ้งทางผมโดยตรง เพราะผมต้องเก็บหลักฐานของลูกค้าที่เป็นเจ้าของ Pro Tools ไม่ว่าจะเป็นหมายเลข iLok ซีเรียล No. ผมต้องส่งหลักฐาน แล้วรอการตรวจสอบจากทางโน้น ถึงจะได้ราคาพิเศษนี้

 

 

 

 

          ย้ำ ถึงวันที่ 30 พ.ย. 58 สำหรับราคาตั้งเนี่ย เราไม่ได้ใส่ไว้ เพราะกลัวว่าเห็นแล้วจะหงายท้อง อย่างล่าสุด Nuendo 7 ราคาอยู่ที่ 8.5 หมื่นบาท ราคาแพ็กเกจกล่อง ส่วน Cubase Pro ราคาอยู่ที่ 2.4 หมื่นบาท ตีซะว่าลดไปหมื่นนึง นี่คือช้อยส์ที่สามารถเลือกได้ ใครสนใจก็ติดต่อผมและทีมงาน YDACC ได้ทุกคน ผมก็จะส่งเรื่องให้ทาง Steinberg ตรวจสอบอีกทีนึง ส่วนวันที่ 13 พ.ย. 58 ซึ่งเป็นงานใหญ่ ซึ่งเราได้รับเกียรติจาก ออดิเนท ผู้ออกแบบเน็ตเวิร์ก Dante ซึ่งจะมากับ Andy Cooper ซึ่งเป็นเอ็นจิเนียร์ใหญ่อยู่ R&D ยามาฮ่า ลอนดอน เราจะเห็นคนนี้บ่อยมาก ถ้าดู YouTube เขาจะมาอธิบายเรื่องการใช้เทคโนโลยีเรื่องการเซตอัพระบบเน็ตเวิร์ก Dante เชิงลึก เราจะให้สิทธิ์ทุกท่านในวันนี้ ถ้าสนใจโปรดลงทะเบียนไว้เลยนะครับ เราจะจองให้ท่านเป็นลำดับแรกๆ รับจำนวนจำกัด ส่วนค่าใช้จ่ายเนี่ยยังไม่เปิดเผย แต่คิดว่าคงไม่เยอะแน่นอน ถ้าหากว่าไม่จองไว้ ที่นั่งอาจจะไม่มีนะครับ เรื่องค่าใช้จ่ายถ้ามีก็คงจะเก็บน้อยมาก เดี๋ยวทางฝ่ายขายเสนออะไรค่อยว่ากันอีกทีนึง แต่แจ้งไว้ล่วงหน้า ให้ท่านล็อคตารางไว้เลย ส่วนวันที่ 14 ตุลา จะมีคอร์สสุดท้ายของปี 58 คือเรื่อง WaveLab สำหรับท่านที่สนใจโปรดักซ์อีกตัวนึงของ Steinberg ในการทำมาสเตอริ่ง ในการทำอิดิตเสียง จำนวนแทร็กมากมาย พูดง่ายๆ แทบจะแทน Pro Tools ได้แล้ว ถ้าใช้มันถูกต้อง แต่อาจจะด้อยในเรื่องสกอร์โน้ต ตัว WaveLab จะไม่มีตรงนี้

 

          ตัวนี้จะใช้จัดการตัวไฟล์ Wave ล้วนๆ เช่นเราทำเสียงสำหรับห้องโสต สำหรับห้องสมุด หรือสำหรับงานที่ใช้คลังเสียงจำนวนมากซอฟต์ แวร์ตัวนี้จะมี Batch Processing ทำงานแบบออโต้ เราโยนโฟลเดอร์เข้าไป ซึ่งโฟลเดอร์นั้นมีทั้งหมด 5 หมื่นไฟล์ มันก็จะทำงานแบบออโต้และคอนเวิร์สไปเป็นฟอร์แมตที่เราต้องการ รวมถึงสตรีมไปหาฟอร์แมตที่เราต้องการได้ด้วย รวมถึงงานมาสเตอริ่งทุกรูปแบบ จะเป็นสื่อประเภทซีดี ดิจิตอล นี่คือข่าวสารที่ขอแจ้งให้ทุกท่านทราบ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อผมได้นะครับ สำหรับเนื้อหาในวันนี้ ก็เป็นเรื่องเบสิค เราอาจจะไม่ได้ใช้ทุกอย่างที่เราเรียน แต่เป็นการเก็บข้อมูลก่อนว่าระบบจริงๆ มันทำอะไรได้บ้าง และมันเอาไปประยุกต์อะไรได้บ้าง เป็นภาพรวมในเบื้อง ต้น เนื้อหาบางส่วนอาจจะเป็นความรู้ใหม่ที่เราคาดไม่ถึง ขอปิดท้ายไปเลยละกัน ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติสละเวลามาในวันนี้ ขอเรียนเชิญถ่ายรูปร่วมกันก่อนกลับบ้าน.. ทั้งหมดก็เป็นเนื้อหาเน็ตเวิร์ก Dante ในเบื้องต้น ซึ่งถือเป็นภาคแรก ในส่วนภาคสอง ผู้เขียนจะนำเสนองานสัมมนาเน็ตเวิร์ก Dante โดยวิทยากรเป็นทีมออดิเนทมาฝากผู้อ่านเช่นเคย…

 

          สำหรับเนื้อหาในส่วนนี้เป็นภาคสองของบทความซีรี่ส์ "งานสัมมนา Dante Network & Dante Via" โดยงานนี้ผู้เขียนมีโอกาสเข้าไปสัมมนาด้วยตนเอง ซึ่งได้พบปะเหล่าบรรดาพี่ๆ ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการดนตรี ทั้งซาวด์เอ็นจิเนียร์ นักแต่งเพลง ศิลปินมากมาย อาทิ พี่แอ๊ด เทนเยียร์ฯ พี่ติ๊ด โสฬส พี่บอยอินคา ตัวแทนบริษัทห้างร้านที่เป็นซัพพลายเออร์ รวมถึงดีลเลอร์ของสยามดนตรียามาฮ่า และอีกเช่นเคยครั้งนี้ผู้เขียนไม่พลาดที่จะเก็บสาระความรู้ต่างๆ มาถ่ายทอดเป็นตัวอักษรสู่ผู้อ่านท่านทุกๆ ที่พลาดงานในวันนั้น และวันนั้นมีประเด็นหลักๆ อยู่ 3 ส่วนคือ... (1) Dante Via… (2) Dante Network… (3) CIS… ติดตามอ่านได้เลยครับ...

 

          พิธีกรหญิงได้กล่าวเปิดงานว่า... ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่งานสัมมนา Dante เน็ตเวิร์ก 2015 ซึ่งจัดโดย บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า ด้วยการสนับสนุนของ ออดิเนท (Audinate) หนึ่งในผู้ผลิตระบบเน็ตเวิร์กชั้นนำและเทคโนโลยีด้านเสียง ซึ่งในตอนนี้เรามีเทคโนโลยีตัวใหม่ด้านเสียงที่ชื่อว่า Dante นั่นเอง ผลิตภัณฑ์ของยามาฮ่าซึ่งได้แก่ Commercial Installation Solution หรือ CIS ซึ่งเป็นระบบเสียงที่ติดตั้งในเชิงพา ณิชย์ และงานสัมมนา Dante เน็ตเวิร์กได้จัดขึ้น 4 เมืองใหญ่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่เราเรียกว่าอาเซียน เริ่มต้นที่สิงคโปร์ในวันที่ 9 พ.ย. 58 เมืองจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย ในวันที่ 10 พ.ย. 58 และวันที่ 11 พ.ย. 58 ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลย์เซีย และในวันนี้ (13 พ.ย.58) ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ก่อนอื่นต้องขอแนะนำแขกและ Guest Speaker ค่ะ จากทีม ออดิเนท และ ยามาฮ่า จากนั้นพิธีกรได้แนะนำวิท ยากรและแขกรับเชิญที่มาบรรยายหลายท่าน ซึ่งก็มีทั้งส่วนที่มาจากสำนักงานที่ฮ่องกงและมาจากสำนักงานออสเตรเลีย และทีม R&D จากลอน ดอน และทีมที่มาจากสำนักงานใหญ่ยามาฮ่าที่ญี่ปุ่น เรียกได้ว่าจัดทีมมากันชุดใหญ่จริงๆ พิธีกรกล่าวต่อว่า วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเน็ตเวิร์ก Dante และ ออดิเนท ให้มากขึ้น โดยมีวิทยากรจาก ออดิเนท จะเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านเน็ตเวิร์ก และทิศทางในอนาคตสำหรับเทคโนโลยีนี้ พร้อมกันนี้ขอเชิญคุณศักดิ์ชัย จากสยามมิวสิคยามาฮ่า จะมาช่วยบรรยายภาษาไทยในบางช่วงด้วย และในช่วงบ่ายเราจะได้ฟังการบรรยายจากทีมยามาฮ่า R&D จากลอนดอน ที่จะมาเปิดเผยความสำคัญของระบบ Dante และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาขอเชิญ คุณศักดิ์ชัย และทีมงานค่ะ...

 

 

 

          สิ้นเสียงปรบมือทางวิทยากรกล่าวสวัสดีทักทายผู้เข้าสัมมนาในวันนั้น วิทยากรกล่าวว่า ขอขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาอันมีค่ามาเพื่อศึกษาระบบดิจิตอลออดิโอเน็ตเวิร์กของ ออดิเนท งานนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างยามาฮ่าประเทศญี่ปุ่น และ ออดิเนท รวมถึงสยามดนตรียามาฮ่าที่ได้ร่วมกันจัดงานนี้ขึ้นมา ระบบเน็ตเวิร์กที่เกิดขึ้นนี้ทางยามาฮ่า และ ออดิเนท ได้แบ่งปันข้อมูลร่วมกันในการพัฒนา โดยมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ออกมาสู่ท้องตลาด วันนี้เราจะมาแชร์เรื่องเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ ออดิเนท ว่าเป็นยังไง กว่าที่จะมาเป็น ออดิเนท ในวันนี้ และจะมาแชร์ข้อมูลต่างๆ ให้ทุกท่านได้รับรู้ว่า ออดิเนท มีอะไรที่สำคัญ ทาง ออดิเนท ได้นำเรื่องของวิวัฒนการด้านไอทีที่มีการพัฒนามากขึ้นทุกวันนี้ ได้เข้ามาสู่วงการ A/V หรือออดิโอและวิดีโอ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านได้เข้ามาสู่ระบบเน็ตเวิร์ก สำหรับ ออดิเนท เองเนี่ยก็ถือว่าเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการด้านออดิโอ วงการเสียงและวงการเน็ตเวิร์ก ซึ่งปัจจุบันก็มีสาขาไปทั่วโลก วิทยากรได้พูดถึงเรื่องราวของผู้ก่อตั้งบริษัท แต่ก่อนเขาทำเกี่ยวกับโมโตโรล่า หลังจากเขาทำโมโตโรล่ามาเป็นเวลานานแล้วเนี่ย เขาก็ตัดสินใจมาเปิดธุรกิจเป็นของตนเอง ด้วยความที่เขาเป็นนักดนตรีก็อยากทำอะไรที่มันตอบโจทย์ทางนี้มากกว่า พอจับไปจับมา ได้เล็งเห็นว่าพวกสาย CAT5 นี่ก็น่าสนใจในทางธุรกิจ เขาเลยพัฒนาตรงนี้ขึ้นมา จากการเริ่มต้นธุรกิจบนสาย CAT5 เนี่ย ให้มารองรับอุปกรณ์ด้านเสียง

 

          เราก็คงพอเข้าใจในส่วนที่ว่า ทำไมถึงได้มาเป็น Dante ซึ่งบริษัทได้ไปติดต่อบริษัทหลายๆ แห่งทั่วโลก ให้มาร่วมกันพัฒนาเน็ตเวิร์ก Dante อย่าลืมว่า ออดิเนท เขาเป็นผู้ทำฟอร์แมตเฉพาะขึ้นมา ซึ่งฟอร์แมตนี้ก็คือ Dante จุดแข็งอย่างหนึ่งที่ Dante โดดเด่นคือเป็นระบบเน็ตเวิร์กที่ใช้งานแสนจะง่ายมากๆ ปัญหาอย่างหนึ่งของการทำงานในด้านเสียงของมืออาชีพก็คือ การเชื่อมต่อสัญญาณ เดิมทีเป็นอะนาลอก จู่ๆ สายที่เชื่อมต่อเกิดมีปัญหาแล้วต้องวุ่นวายกับการแก้ปัญหานี้ ใครจะคิดว่าเมื่อ 10 หรือ 25 ปีก่อน คนสมัยนั้นยังใช้โทรศัพท์อะนาลอกกันอยู่ ทุกวันนี้เรียกว่า 5 ปีผ่านมาคนหันมาใช้สมาร์ทโฟนซึ่งเป็นระบบดิจิตอลมากขึ้น คิดเป็นเปอร์เซ็นต์มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว และระบบที่ใช้กันอยู่เรียกว่า VoIP หรือ Voice over IP กล่าวคือใช้ระบบ IP แล้วใช้เสียงวิ่งผ่าน IP และข้อดีของระบบนี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานด้านออดิโอกันอย่างแพร่หลาย ประโยชน์อีกอันของระบบไอพีคือ สมมติเรามีสาย CAT5 เนี่ย เราสามารถส่งสัญญาณเสียงไปได้ 512 แชนเนลพร้อมกัน โดยสัญญาณที่ส่งไปไม่มีการบีบอัด ถ้าพวกบีบอัดจะเป็นพวกไฟล์ mp3 ซึ่งจะทำให้คุณภาพเสียงลดลง...

 

 

 

  

(โปรดติดตามอ่านในตอนต่อไป ครับ...)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด