ดร.วิทยา อินทร์สอน
สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์
ผศ.ดร.สุขอังคณา แถลงกัณฑ์
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อาจารย์ปัทมาพร ท่อชู
สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ปัจจุบันประชาคมโลกให้ความสำคัญกับปัญหาสภาพแวดล้อม ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนวัตกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่กำลังได้รับความสนใจและมีศักยภาพสูงด้านการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ
จากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติมาแปรรูป รวมถึงเส้นใยธรรมชาติและสีธรรมชาติ มาทำเป็นเสื้อผ้าเครื่องประดับตกแต่ง และของใช้ต่าง ๆ ซึ่งจากความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ทำให้มีศักยภาพสูงในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพื่อนำเส้นใยธรรมชาติและสีธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอสีเขียวสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เนื่องจากโอกาสในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีหลายด้าน แต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมได้
การพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว (Eco-Innovative Textiles) มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจหรือมีความต้องการมากขึ้น และยินดีที่จะซื้อสินค้าเหล่านี้ไม่ว่าด้วยราคาที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าทั่วไป หรือในราคาที่เท่ากัน ซึ่งประเทศไทยควรหันมาพัฒนาสินค้านวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดผู้บริโภคได้
ดังนั้นท่ามกลางกระแสความสนใจเรื่องการรักษ์โลกนับวันยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ทุกองค์กรหรือหน่วยงานทุกภาคส่วน ต่างก็ตระหนักและให้ความสนใจมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งนับวันก็ยิ่งค้นคว้า วิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในกระบวนการผลิตสิ่งทอให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ปัจจุบันได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์สิ่งทอที่มีลักษณะและคุณสมบัติพิเศษตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เช่น คุณสมบัติการทนความร้อนสูง ป้องกันไฟไหม้ คุณสมบัติในการไล่ยุง และการป้องกันกลิ่นอับชื้น เป็นต้น ด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอมีความตื่นตัว นำมาซึ่งการปรับปรุงกระบวนการผลิตและสร้างนวัตกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
รูปที่ 1 ตัวอย่างนวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว
ในโลกของสิ่งทอเราควรทำความคุ้นเคยกับคำศัพท์พื้นฐาน ที่ใช้กันบ่อย ๆ โดยผู้เขียนได้รวบรวบคำนิยามเคมีสิ่งทอได้ดังนี้
สิ่งทอ (Textile) คำนิยามเดิม หมายถึง เฉพาะผ้าทอเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการขยายความหมายครอบคลุมถึง เส้นใย ด้าย ผืนผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเส้นใย เส้นด้าย หรือผืนผ้า
1. เส้นใย (Fiber)หมายถึง วัสดุหรือสารใด ๆ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น ที่มีอัตราส่วนระหว่างความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับหรือมากกว่า 100 สามารถขึ้นรูปเป็นผ้าได้ และต้องเป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของผ้า ไม่สามารถแยกย่อยในเชิงกลได้อีก
2. ด้าย (Yarn) ประกอบด้วยเส้นใยหลาย ๆ เส้น รวมกัน อาจมีการขึ้นเกลียว (Twist) หรือไม่ก็ได้
3. ผ้า (Fabric) เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบน ซึ่งผลิตจากสารละลาย เส้นใย เส้นด้าย หรือวัสดุพื้นฐานเหล่านี้รวมกัน
4. การตกแต่งสำเร็จ (Finish) คือกระบวนการใส่สารเติมแต่งเพื่อเพิ่มสมบัติให้แก่ผ้าดิบ
5. ผ้าดิบ (Grey Goods) คือผ้าที่ยังไม่ผ่านกระบวนการตกแต่งสำเร็จ
6. สิ่งทอ (Textile) หมายถึง เส้นใย เส้นด้าย ผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเส้นใย เส้นด้าย หรือจากผ้า
1. กลุ่มสิ่งทอทั่วไป (Conventional Textiles)
สิ่งทอทั่วไปนั้นครอบคลุมถึง สิ่งทอที่มีการขึ้นรูปตามปกติจากเส้นใยเป็นเส้นด้าย ไปจนถึงการถักทอขึ้นรูปเป็นผืนผ้าลักษณะของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ เช่น เชือก ซึ่งเกิดจากการขึ้นรูปจากเส้นใย ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปของเสื้อผ้า
กระบวนการผลิตสิ่งทอ เป็นกระบวนการต่อเนื่องหลาย ๆ กระบวนการ เริ่มตั้งแต่การผลิตเส้นใย (Fiber Formation) การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย (Yarn Spinning) การขึ้นรูปสิ่งทอ (Textile Formation) และการตกแต่งสำเร็จ (Finishing)
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจึงมีทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตเส้นใย (ในกรณีของเส้นใยประดิษฐ์) ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) อุตสาหกรรมปั่นด้าย และอุตสาหกรรมถัก ทอผ้า ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ (Midstream) และสุดท้ายอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream) ส่วนการผลิตเสื้อผ้านั้น ถือว่าเป็นอีกกระบวน การหนึ่ง ที่แยกออกมาเนื่องจากเป็นการนำเอาสิ่งทอไปออกแบบและตัดเย็บตามรูปแบบที่ต้องการ
รูปที่ 2 ตัวอย่างกลุ่มสิ่งทอทั่วไป (Conventional Textiles)
2. กลุ่มสิ่งทอเฉพาะทาง (Technical Textiles)
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติที่เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน ที่นอกเหนือไปจากสิ่งทอทั่วไป ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์สิ่งทอเฉพาะทางได้แก่ ถุงลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เสื้อเกราะกันกระสุน มีกระบวนการผลิตที่แตกต่างออกไปซึ่งมักเป็นการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์โดยตรงจากเส้นใย ซึ่งเรียกว่า ผ้าไม่ถักไม่ทอ หรือ นอนวูฟเวน (Non-woven) เหล่านี้กำลังมีการขยายตัวค่อนข้างสูง
รูปที่ 3 ตัวอย่างกลุ่มสิ่งทอเฉพาะทาง (Technical Textiles)
สิ่งทอ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเริ่มต้นจากการผลิตในครัวเรือนเพื่อใช้เฉพาะสมาชิกในครอบครัวหรือในชุมชนแต่เมื่อเศรษฐกิจเกิดการขยายตัวขึ้น ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มมากขึ้น จึงมีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทำการผลิตสนองความต้องการภายในประเทศ โดยประโยชน์ของการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอสีเขียว มีดังนี้คือ
ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดโลกมีค่อนข้างสูง ทําใหมีการซื้อขายเสรีมากขึ้น แตในทางปฏิบัติแลวมีการนําระเบียบขอบังคับตาง ๆ เขามาเปนอุปสรรคในการคาขายแทนขอกําหนดผลิตภัณฑสิ่งทอสีเขียวก็เปนมาตรการหนึ่งที่หลายประเทศนํามาใชในการนําเขาสินคาประเภทสิ่งทอ
การปรับปรุงสินคาใหมีคุณภาพสูงขึ้นในดานเคมีและกายภาพนั้น หากสามารถปรับปรุงให้เป็นสินคาประเภทอนุรักษสิ่งแวดลอมหรือสิ่งทอสีเขียว ก็จะทำให้สินคา มีคุณภาพสูงขึ้นจะเป็นกระแสนิยมที่ต้องการของลูกค้าและเพิ่มศักยภาพการแขงขันในตลาดไดอีกทางหนึ่ง
การสรางผลิตภัณฑสิ่งทอสีเขียวนั้นมักถูกมองวาเปนการเพิ่มตนทุนในเรื่องการทดสอบการขอการรับรอง แตหากพิจารณาในเรื่องการผลิตพบวา ในการผลิตสิ่งทอสีเขียว มีการลดตนทุนการผลิตลงไป เนื่องจากมีการเลือกใชสารเคมีที่ไมกอใหเกิดผลกระทบกับสิ่งแวดลอม และใชในปริมาณที่เหมาะสมทําใหไมตองเสียคาใชจายสิ้นเปลืองในการซื้อสารเคมีที่มากเกินจําเปนและคาใชจายในการบําบัดของเสียที่เกิดจากการผลิต
ปจจุบันสิ่งแวดลอมไมวาจะเปนดิน น้ำ อากาศ ลวนพบวามีมลพิษปนเปอน ซึ่งสงผลตอมนุษยและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ทําใหเกิดความไมสมดุลในระบบนิเวศน จากเหตุผลนี้ทําใหมีการรณรงคเรื่องการอนุรักษสิ่งแวดลอมมากขึ้น ในปจจุบันการผลิตสินคาประเภทสิ่งทอสีเขียวก็เปนอีกทางหนึ่งที่จะชวยกันอนุรักษสิ่งแวดลอม และลดการสรางมลพิษเพิ่ม
กระแสการอนุรักษสิ่งแวดลอม เป็นกระแสที่กําลังมาแรงในทุกองค์กร สิ่งทอเปนอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีแรงกดดันใหตองรวมในการอนุรักษดวย ISO 14001 เปนมาตรฐานในการทําใหระบบการผลิตไดมาตรฐานในเรื่องอนุรักษสิ่งแวดลอม ซึ่งเนนในเรื่องการลดหรือเลิกการใชสารเคมีที่เปนอันตราย, การประหยัดพลังงาน, ทั้งหมดถือเปนการผลิตสินคาที่เปนสิ่งทอสีเขียวดวยเชนกัน
1. ด้านสุขภาพอนามัย แปรงสีฟัน (ขนแปรง) ไหมขัดฟัน ผ้าปิดแผล สำลีผลิตภัณฑ์อนามัย และผ้าอ้อมเด็ก
2. ด้านการขนส่ง เส้นใยเสริมล้อรถยนต์ วัสดุในหมวกนิรภัย วัสดุตกแต่งภายในยานพาหนะ (เช่น เครื่องบิน รถยนต์) เข็มขัดนิรภัย และถุงลมนิรภัย
3. ด้านสิ่งแวดล้อม ผ้าคลุมกันวัชพืช ผ้ากรองในระบบน้ำทิ้ง วัสดุกั้นขอบสระ ชายฝั่งทะเล ไส้กรองอากาศและน้ำ
4. ด้านการแพทย์ ผ้าพันแผล เฝือก หน้ากากอนามัย ชุดผ่าตัด ไหมเย็บแผล หลอดเลือดเทียม เส้นเลือดหัวใจเทียม ไส้กรองในไตเทียม
5. ด้านอาหาร ถุงห่ออาหาร ถุงใส่ใบชา ไส้กรองกาแฟ บรรจุภัณฑ์
6. ด้านการเกษตร เชือก ผ้าคลุมผลผลิตในโกดัง วัสดุห่อต้นไม้ สายพาน และผ้าคลุมต้นไม้
7. ด้านเสื้อผ้าป้องกัน เสื้อเกราะกันกระสุน หมวกนิรภัย ชุดป้องกันสารเคมีอันตราย ชุดผจญเพลิง ถุงมือทนสารเคมี
8. ด้านกีฬา หมวกนิรภัย เส้นเอ็นในไม้เทนนิส เสื้อชูชีพ สายเบ็ด แผ่นป้องกันร่างกาย เต็นท์ และผ้าใบเรือ
9. ด้านอื่น ๆ วัสดุกันความร้อน ท่อน้ำ ผ้าเช็ดทำความสะอาด วัสดุในโคมไฟ วัสดุหุ้มสายไฟ ลูกกลิ้งทาสี ดอกไม้ประดิษฐ์ และไส้ตะเกียง
อุตสาหกรรมสิ่งทอไทย เมื่อพิจารณาจากขั้นตอนการผลิตข้างต้นแล้ว อาจจำแนกกิจกรรมในอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยที่เชื่อมโยงกัน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
เป็นอุตสาหกรรมขั้นต้น ในอุตสาหกรรมสิ่งทอการผลิต มีการลงทุนสูง จะใช้วัตถุดิบหลัก 2 ชนิด คือ ใยธรรมชาติ และใยสังเคราะห์
1.1 เส้นใยธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นใยฝ้าย, ใยไหม, ลินิน, ป่าน, ปอ และขนสัตว์ ฯลฯ อุตสาหกรรมเส้นใยฝ้าย โรงงานหีบฝ้ายส่วนใหญ่ใช้เครื่องหีบแบบลูกกลิ้ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีต่ำและไม่สลับซับซ้อน วัตถุดิบ เช่น ฝ้าย ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยนำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต
1.2 เส้นใยสังเคราะห์ ไทยมีการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ 4 ประเภทหลักคือ โพลีเอสเตอร์, ไนลอน, อะครีลิก และเรยอน โดยที่เส้นใยโพลีเอสเตอร์ เป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และมีกำลังการผลิตมากที่สุด
รูปที่ 4 อุตสาหกรรมเส้นใย
อุตสาหกรรมปั่นด้ายเป็นอุตสาหกรรมขั้นกลาง เป็นการนำเส้นใยมาปั่นเป็นเส้นด้าย ส่วนใหญ่จะเป็นด้ายผสมระหว่างใยฝ้ายและใยสังเคราะห์ ตามความต้องการของตลาด ปัจจุบันสภาพเครื่องปั่นด้ายที่ใช้เป็นเครื่องจักรที่เก่าและล้าสมัยทำให้ประสิทธิภาพการผลิตค่อนข้างต่ำ และขนาดเส้นด้ายโดยเฉลี่ยที่ประเทศไทยผลิตได้อยู่ในช่วงเบอร์ 40-50 เป็นเส้นด้ายที่มีขนาดเล็ก เช่น เบอร์ 80 ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ใช้วัตถุดิบในประเทศร้อยละ 80 คือเส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยฝ้าย นอกนั้นร้อยละ 20 เป็นการนำเข้าเส้นใยคุณภาพสูงจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, สหรัฐอเมริกา เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตเส้นใยคุณภาพดีได้เท่าที่ควร
เทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการปั่นด้ายมี 2 ระบบ
1. การปั่นด้ายระบบวงแหวน (Ring-Spinning) เป็นเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุด ซึ่งไทยมีประมาณ 4 ล้านแกน แต่เป็นเครื่องจักรล้าสมัยถึงร้อยละ 70 ทำให้ด้ายที่ผลิตมีคุณภาพต่ำ และมีการสูญเสียวัตถุดิบในการผลิตสูง ระบบนี้จะมีข้อดีคือ มีความคล่องตัวสูงในการเปลี่ยนขนาดของเส้นด้ายที่จะทำการผลิต
2. ระบบปลายเปิด (Open-end Spinning) เป็นระบบที่ปั่นด้ายด้วยความเร็วรอบสูงกว่าระบบวงแหวน แต่มีข้อจำกัดคือ เหมาะสำหรับการปั่นด้ายขนาดใหญ่ เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงและมีความเหนียวของเส้นด้ายต่ำกว่าแบบวงแหวน
รูปที่ 5 อุตสาหกรรมปั่นด้าย
เป็นอุตสาหกรรมขั้นกลาง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอุตสาหกรรม ได้แก่ ผ้าทอ และผ้าถัก ในส่วนของผ้าทอ แยกออกเป็น 2 ชนิดตามวัตถุดิบที่ใช้ คือ ผ้าทอจากฝ้าย และผ้าทอจากใยสังเคราะห์ ผ้าทอจากใยสังเคราะห์มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผ้าทอฝ้าย และบางกรณียังมีคุณสมบัติดีกว่า เช่น มีความยืดหยุ่น ทนทานกว่า น้ำหนักเบากว่า และที่สำคัญคือ มีราคาถูกกว่าผ้าทอฝ้าย ดังนั้นจึงใช้การทอผ้ามากกว่า ส่วนใหญ่ผ้าที่ผลิตได้จะเป็นผ้าทอที่เหลือจะจำหน่ายในรูปของผ้าผืน อุตสาหกรรมทอผ้า ถักผ้า ฟอก ย้อม พิมพ์ และตกแต่งสำเร็จ จึงเป็นอุตสาหกรรมผลิตผ้าผืนเพื่อป้อนตลาด
เทคโนโลยีที่ใช้ในการทอผ้ามี 2 ประเภท คือ
ปัจจุบันเครื่องทอในประเทศส่วนใหญ่ ยังเป็นแบบใช้กระสวย ร้อยละ 80 และผู้ประกอบการที่ใช้เครื่องจักรแบบไร้กระสวย ร้อยละ 20 ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผ้าผืน
รูปที่ 6 ตัวอย่างการทอผ้า
เป็นอุตสาหกรรมขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตผ้าสู่ผู้บริโภค หรือโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยเพิ่มคุณค่าให้ผ้าผืนในด้านความสวยงาม น่าใช้ สวมใส่สบาย และเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในโอกาสพิเศษต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าผืนถึง 2-3 เท่า โดยผ่านกระบวนการฟอก คือ การทำให้ผ้าขาวและสะอาด ก่อนที่จะทำการย้อมสี และพิมพ์ลายตามที่ต้องการ แล้วจึงทำการตกแต่งสำเร็จ คือทำให้ผ้ามีคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น อ่อน นุ่ม มัน เงา กันน้ำ หรือยับยาก เป็นต้น
รูปที่ 7 อุตสาหกรรมฟอก ย้อม พิมพ์ และแต่งสำเร็จ
เป็นอุตสาหกรรมขั้นปลายน้ำของระบบโครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ที่เน้นการใช้แรงงาน (Labor Intensive) ไม่จำเป็นต้องลงทุนสูง และใช้เทคโนโลยีการผลิตไม่ซับซ้อนมากนัก สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ได้ค่อนข้างสูง แต่การผลิตขึ้นอยู่กับการออกแบบ คุณภาพวัตถุดิบ และคุณภาพแรงงาน เนื่องจากแรงงานไทยเป็นแรงงานที่มีฝีมือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จึงมีความประณีต ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากการทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากการถัก เป็นต้น
ดังนั้น ไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งให้มีการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างสินค้าที่เป็นตราสินค้า (Brand Name) ของไทยเอง และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้มีความรวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น เช่น การใช้ CAD (Computer Aided Design) และ CAM (Computer Aided Manufacturing) เพื่อช่วยในการเตรียมงานและลดการสูญเสียปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ ทำให้การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
รูปที่ 8 อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม หรือผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
สรุปว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย 5 ประเภท เปนอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกันครบวงจร มีการประสานต่อเนื่องกันตลอด เนื่องจากเป็นการส่งต่อวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมหนึ่งไปยังอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง โดยอุตสาหกรรมเสนใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห เป็นอุตสาหกรรมตนน้ำ อุตสาหกรรมปนดาย อุตสาหกรรมทอผาและถักผา อุตสาหกรรมฟอก ยอม พิมพ และตกแต่ง เปนอุตสาหกรรมกลางน้ำ และอุตสาหกรรมเครื่องนุงหม เปนอุตสาหกรรมปลายน้ำ
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย จัดเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่และครอบคลุมอุตสาหกรรมย่อยหลายอุตสาหกรรม สิ่งทอเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเริ่มต้นจากการผลิตในครัวเรือนเพื่อใช้เฉพาะสมาชิกในครอบครัวหรือชุมชน แต่เมื่อเศรษฐกิจเกิดการขยายตัวขึ้นทำให้ความต้องการการบริโภคเพิ่มมากขึ้น มีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทำการผลิตสนองความต้องการภายในประเทศ ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอกลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและรัฐบาลได้ให้ความสำคัญสนับสนุนตลอดมา
รูปที่ 9 โครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย
1. อุตสาหกรรมสิ่งทอต้นน้ำ หรืออุตสาหกรรมขั้นต้น (Up Stream) เป็นอุตสาหกรรมเริ่มแรกของโครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้แก่ การเส้นใย (เส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์) และอุตสาหกรรมปั่นด้าย มีลักษณะที่เน้นการใช้ทุนและเทคโนโลยี (Capital Intensive)
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอกลางน้ำ หรืออุตสาหกรรมขั้นกลาง (Middle Stream) อาศัยวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมขั้นต้นมาทำการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ การทอผ้า ถักผ้า ฟอก ย้อม พิมพ์ และแต่งสำเร็จ ในการผลิตขั้นนี้สามารถเลือกเทคโนโลยีระดับสูง หรือเน้นการใช้แรงงาน (Capital or Labor Intensive)
3. อุตสาหกรรมสิ่งทอปลายน้ำ หรืออุตสาหกรรมขั้นปลาย (Down Stream) เป็นขบวนการผลิตขั้นสุดท้ายของอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นการผลิตเครื่องนุ่งห่มจำพวกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีสัดส่วนจำนวนโรงงานสูงถึงร้อยละ 58.2 เนื่องจากยังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตโดยใช้แรงงานเป็นหลัก (Labor Intensive) ใช้เงินลงทุนน้อย ซึ่งในระยะที่ผ่านมาไทยได้เปรียบในด้านค่าจ้างแรงงานต่ำ แต่ปัจจุบันไทยได้สูญเสียความได้เปรียบนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญ อาทิ จีน, อินโดนีเซีย, อินเดีย และเวียดนาม
การพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว สามารถทำได้หลายรูปแบบ เนื่องจากโอกาสในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีหลายด้าน โดยนักวิจัยสามารถพัฒนาจากสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรม รวมถึงนักออกแบบสามารถนำความรู้และความเชี่ยวชาญมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตสิ่งทอให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มาก โดยตัวอย่างการพัฒนามีดังต่อไปนี้
หลักการนี้เป็นที่สนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น ในการวิจัยตลาดพบว่าผู้บริโภคส่วนมากเห็นชอบที่จะซื้อสินค้าที่มีวัสดุที่ใช้แล้ว ในทางปฏิบัติรัฐควรส่งเสริม และช่วยในการสนับสนุนให้ราคาวัสดุเหล่านี้มีราคาต้นทุนที่ต่ำลง รวมทั้งภาคเอกชนควรทำการตลาดเพื่อเพิ่มความต้องการของผู้บริโภค ตัวอย่างนวัตกรรมสิ่งทอประเภทนี้ เช่น การนำพรมที่ใช้แล้วมาย่อย และพัฒนาเป็นแผ่นรองพื้น (Underlay) ที่เก็บเสียงได้ การนำเส้นใยไนล่อนจากพรมที่ใช้แล้วมาใช้เป็นวัสดุเสริมแรงในคอนกรีตซึ่งสามารถลดปัญหาการจัดการขยะทางอ้อมได้ เป็นต้น
รูปที่ 10 ตัวอย่างการนำวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่
เป็นการออกแบบที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยพิจารณาถึงผลกระทบของสินค้าตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงหลังการใช้งาน เป็นการออกแบบที่เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมไฟฟ้า และยานยนต์ และขณะนี้เริ่มเป็นที่นิยมสำหรับสิ่งทอด้วย ซึ่งอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในห่วงโซ่อุปทานต้องร่วมมือกัน ตัวอย่างนวัตกรรมสิ่งทอประเภทนี้ เช่น เส้นใยพอลิแล็คติก แอซิด (Polylactic Acid: PLA) ซึ่งเป็นเส้นใยประดิษฐ์ที่ใช้วัตถุดิบจากข้าวโพด จึงสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นต้น
รูปที่ 11 ตัวอย่างการขึ้นรูปเส้นใยพอลิแล็คติก แอซิด (Polylactic Acid: PLA)
โดยการมุ่งเน้นใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติซึ่งสามารถผลิตเพิ่มเติมได้ในอัตราเร็วกว่าการนำไปใช้เพื่อทดแทนวัตถุดิบสังเคราะห์และสารเคมี เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนเนื่องจากสามารถผลิตได้ต่อเนื่องในอัตราที่เร็วกว่าการใช้งาน เส้นใยธรรมชาติและสารสกัดจากสมุนไพรสามารถนำมาประยุกต์ในการใช้งานต่าง ๆ ตัวอย่างนวัตกรรมสิ่งทอประเภทนี้ เช่น การพัฒนาสิ่งทอเทคนิคที่ต้องการความแข็งแรงสูง โดยเลือกใช้เส้นใยธรรมชาติ เช่น ป่าน ปอ กัญชง เป็นต้น
รูปที่ 12 ตัวอย่างแฟชั่นใยธรรมชาติกันชง
การจัดการของเสียจากการผลิตให้มีการนำสารข้างเคียงจากการผลิตบางประเภทที่สามารถผลิตเป็นสินค้าอื่นได้ออกมา การบำบัดของเสียก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น บริษัท Lenzing จำกัด ประเทศออสเตรีย ที่ผลิตเส้นใยเซลลูโลสประดิษฐ์ (Regenerated Cellulose) สามารถเอาสารข้างเคียงจากการผลิต เช่น ไซลิทอล (Xylitol) ออกมา และนำไปทำเป็นสารให้ความหวาน และยังมีการบำบัดของเสียได้อย่างดีเยี่ยม จนทำให้ได้รับตราสัญลักษณ์ ประชาสัมพันธ์แสดงการเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมติดบนฉลากสินค้า ซึ่งลูกค้าก็ได้ให้การตอบรับเป็นอย่างดี
ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีมีอยู่มากมายและนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอมากขึ้นเรื่อย ๆ เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถทำให้การผลิตใช้พลังงานน้อยลง และลดของเสีย ตัวอย่างนวัตกรรมสิ่งทอประเภทนี้ เช่น เทคโนโลยีพลาสมา ที่สามารถตกแต่งสิ่งทอโดยไม่ใช้น้ำและสารเคมี การใช้กาวไหมในการตกแต่งฝ้ายโดยทดแทนสารเคมี รวมทั้งนาโนเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้ร่วมกับ วิทยาลัยปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนานวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว คือผ้าปิดจมูกที่ใช้เส้นใยที่ย่อยสลายได้ (PLA) และใช้เทคโนโลยีอิเล็กโตรสปินนิ่ง (Electrospinning) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผสมสารสกัดจากธรรมชาติของเปลือกมังคุด ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านทานเชื้อวัณโรค ในการวิจัยนี้ไดเลือกพอลิแอลแล็คติกแอซิด เนื่องจากเปนวัสดุที่สามารถยอยสลายไดเองตามธรรมชาติ พบวา เสนใยพอลิแอลแล็คติกแอซิด ไมสามารถตานเชื้อแบคทีเรียชนิดใด ๆ ไดเลย แตเมื่อใสสารสกัดจากเปลือกมังคุดในเสนใยพอลิแอลแล็คติกแอซิด จึงสามารถตานเชื้อแบคทีเรียชนิด S.aureus และ B.Subtilis ได โดยเมื่อปริมาณสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่ใสในเสนใยมากขึ้นการตานเชื้อแบคทีเรียก็เพิ่มขึ้นดวย ผลการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรคดื้อยาโดยสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่เคลือบบนแผนอิเล็กโตรสปน พบวา สารสกัดจากเปลือกมังคุดเขมขน ร้อยละ 30 และร้อยละ 50 ที่เคลือบบนแผนเสนใยอิเล็กโตรสปน สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของวัณโรคดื้อยาไดมากกวา ร้อยละ 99.99 แผนอิเล็กโตรสปนดังกลาวถูกนําไปพัฒนาเปนองคประกอบของแผนปดจมูกเพื่อใชในสาธารณะ ซึ่งชวยในการปองกันเชื้อวัณโรค และแผนกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศ ซึ่งสามารถลดเชื้อแบคทีเรียและวัณโรคได้
รูปที่ 13 ผ้าปิดจมูก
บุษรา สรอยระยา และคณะ ได้ทำการศึกษาเรื่อง การพัฒนากระดาษจากใบอ้อยดวยมือแบบไทยเพื่องานหัตถกรรมและบรรจุภัณฑ์ พบว่า การแยกเส้นใยกล้วยด้วยการแยกสดเป็นกรรมวิธีที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากเส้นใยกล้วยที่ได้มีความแข็งแรง สีของเส้นใยเป็นสีขาวนวล ซึ่งเป็นสีธรรมชาติของเส้นใย ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองต้นทุนและเวลาในการฟอกขาว จากนั้นนำมาเข้าสู่กระบวนการปั่นด้ายในลักษณะเส้นด้ายผสม โดยใช้อัตราส่วนเส้นใยกล้วย ร้อยละ 12, เส้นใยเรยอน ร้อยละ 23 และเส้นใยพอลิเอสเทอร์ ร้อยละ 65 ทอเป็นผืนผ้า มีลักษณะ 2 โครงสร้างคือ โครงสร้างลายขัด และโครงสร้างลายสอง จากนั้นได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบต่าง ๆ เช่น ชุดแต่งกาย เครื่องประดับการแต่งกาย และชุดตกแต่งโต๊ะอาหาร เป็นต้น
รูปที่ 14 งานหัตถกรรมและบรรจุภัณฑ์กระดาษจากใบอ้อย
อภิชาติ สนธิสมบัติ และคณะ ได้ทำการตกแต่งเสื้อกีฬาพอลิเอสเทอร์ด้วยผงไหมและผงกาวไหมจากเศษไหม โดยการนำเศษไหมที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งมาสกัดเป็นผงไหม ซึ่งผงไหมที่สกัดจากเศษไหมมี 2 ชนิด คือ ผงไหมจากเส้นใย (Fibroin) และผงกาวไหม (Sericin) โดยนำเศษไหมมาผ่านกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้อนุภาคขนาดเล็กของผงไหมและผงกาวไหม แล้วนำไปผ่านกระบวนการตกแต่งด้วยวิธีการพ่นสารยึดติดประเภทพอลิยูริเทน บนเสื้อกีฬาพอลิเอสเทอร์ ร้อยละ 100 พบว่า เสื้อกีฬามีผิวสัมผัสที่นุ่มขึ้น มีความสามารถในการดูดซึมความชื้นดีขึ้น ร้อยละ 48 และมีความสามารถในการป้องกันรังสียูวีได้ดี จึงมีความเหมาะสมกับการนำไปใช้เป็นเสื้อกลางแจ้งได้เป็นอย่างดี
แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอสีเขียว รัฐบาลในประเทศควรใหความสําคัญกับการแข่งขันดวยประสิทธิภาพและนวัตกรรมเทคโนโลยี การสรางความสามารถดานการแขงขันในอนาคต ดังนั้นแนวโนมในอนาคตของอุตสาหกรรมสิ่งทอ มีขนาดเล็กลง คือใช้แรงงานคนนอยลง ใชเทคโนโลยีมากขึ้น โรงงานจะมีระบบการบริหารจัดการที่รวดเร็ว เพื่อตอบสนองตอการเปลี่ยนแปลงของตลาดไดตลอดเวลา
(1) การดี เลียวไพโรจน์ และภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช. (2556). อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
(2) ชาญชัย สิริเกษมเลิศ. (2552). นวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว (Eco-Innovative Textiles). สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. กรุงเทพมหานคร.
(3) ดรรชนี พัทธวรากร. (2557). เอกสารประกอบการสอนเทคโนโลยีสิ่งทอ (Textile Technology). ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
(4) บุษรา สรอยระยา และคณะ. (มปป.). การพัฒนากระดาษจากใบอ้อยดวยมือแบบไทยเพื่องานหัตถกรรมและบรรจุภัณฑ์.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนคร: กรุงเทพฯ.
(5) วิไลศรี ศรีทองพนาบูลย. (2558). นวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว (Eco-Innovative Textiles). สวนน้ำเสียอุตสาหกรรม สํานักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ มกราคม 2558.
(6) วารสารคหกรรมศาสตร มศว. สิ่งทอสีเขียว. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2553—มีนาคม 2554.
(7) อานนท์ เศรษฐเกรียงไกร. (2556). นวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. สำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.
(8) อภิชาติ สนธิสมบัติ และคณะ. 2552. การตกแต่งเสื้อกีฬาพอลิเอสเทอร์ด้วยผงไหมและผงกาวไหมจากเศษไหม. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. กรุงเทพมหานคร.
(9) http://www.dailynews.co.th/it/320453
(10) http://www.seminardd.com/s/24297
(11) http://pawenapp.blogspot.com/2014/02/blog-post.html
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด