ยศกร บ่มไล่
รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด
บริษัท ที.เอ็ม.ซี. อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงอิทธิพลทางด้านการค้า นำมาซึ่งผลกระทบที่ทำให้ทุกประเทศ ทุกองค์กร เกิดสภาวการณ์แข่งขันอย่างรุนแรงในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงวัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่โดยรวม
การบริหารจัดการในองค์กรจึงเข้าสู่ยุคการบริหารสมัยใหม่ซึ่งองค์กรจะต้องปรับรูปแบบและโครงสร้างให้เกิดมูลค่าการดำเนินกิจการ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและมีความยืดหยุ่นพร้อมที่จะแข่งขันและปรับเปลี่ยน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นในการบริหารสำหรับองค์กรในปัจจุบัน อาทิเช่น
การบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการเป็นการนำเอาขั้นตอนการทำงาน (Transaction) ที่เป็นปัจจัย Input ที่เกี่ยวข้อง ภายในกรอบความคิดเชิงการบริหารและจัดการ
การจัดทำเนื้อหาในส่วนการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ (Building Capacity Manufacturing Organization Management ) Model ชุดนี้ ได้กำหนดรูปแบบไว้ 2 ส่วน เพื่อให้สามารถเข้าใจภาพรวมของการบริหารจัดการทางธุรกิจการสร้างความสัมพันธ์ในการบริหารการดำเนินงาน และการจัดการซึ่งได้กล่าวไว้ตามตารางด้านล่างนี้
Module 1
Module 2
Module 3
การบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ เป็นการนำเอาการบริหารการจัดการมี่มีการคิดและการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์และการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์การนำระบบการบริหารจัดการ ที่เกี่ยวข้อง ภายในกรอบความคิดเชิงนโยบายการบริหาร มาดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม และสามารถปรับเปลี่ยนการบริหารการจัดการได้ทันท่วงที ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ
แผนภาพ แสดงความสัมพันธ์การบริหารจัดการ
ในส่วนนี้จะขอกล่าวถึงภาพโดยรวมสำหรับการกำหนดรูปแบบการบริหารการจัดการซึ่งในเบื้องต้นเห็นว่าองค์ต่าง ๆ ควรที่จะมีการกำหนดรูปแบบเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานบริหารการจัดการภายในองค์กรโดยการกำหนดกรอบและหลักการบริหารที่ชัดเจน เช่น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าองค์กรสามารถที่จะเขียนข้อกำหนดจริยธรรมองค์กรเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสมกับธุรกิจเพื่อเป็นการกำหนดรูปแบบในการดำเนินงานของบริษัทให้รอบด้านและเมื่อมีการกำหนดแล้วให้หาเครี่องมือมาใช้ในการตรวจจับและตรวจวัดในแต่ละด้านและนำข้อมูลที่ได้ทำการสรุปเพี่อการแก้ไขและปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น
การทำงานของแต่ละหน่วยงานให้เกิดความสัมพันธ์และสอดคล้องในระดับองค์กรระดับฝ่ายและหน่วยงานเพื่อให้องค์กรเกิดความสัมพันธ์เช่นการวางแผนและควบคุมการผลิตโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนดเป้าหมายไว้ต้องใช้ทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ประกอบด้วย คน (Man) เงิน (Money) วัตถุดิบ (Material) เครื่องจักร (Machine) วิธีการ (Method) และการบริหาร (Management) หรือที่นิยมเรียกกันว่า 6M’s การบริหารและการจัดการทั้งสองประโยคนี้จะมีความหมายที่แตกต่างกันเช่น
1. คำว่า “การบริหาร” (Administration) จะใช้ในการบริหารระดับสูง โดยเน้นที่การกำหนดนโยบายที่สำคัญและการกำหนดแผนของผู้บริหารระดับสูง เป็นคำนิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) หรือใช้ในหน่วยงานราชการ และคำว่า การบริหาร คือกลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Directing) และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จ ตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน ซึ่งหน้าที่ของการจัดการ (The Function of Management) ได้มีการวิเคราะห์และกำหนดบทบาทออกเป็น 5 ประเภทคือ
2. คำว่า “การจัดการ” (Management) จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในการจัดการธุรกิจ (Business management)
การบริหารจัดการ (Management) การกำหนดทิศทางในการใช้ทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร คำว่า “การบริหาร” (Administration) และ “การจัดการ” (Management) มีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย โดยการบริหารจะสนใจและสัมพันธ์กับการกำหนดนโยบายไปลงมือปฏิบัติ นักวิชาการบางท่านไห้ความเห็นว่าการบริหารใช้ในภาครัฐ ส่วนการจัดการใช้ในภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ในตำราหรือหนังสือส่วนใหญ่ทั้ง 2 คำนี้มีความหมายไม่แตกต่างกัน สามารถใช้แทนกันได้และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป (สุรัสวดี ราชกุลชัย, 2543, น.3)
จากความหมายต่าง ๆ ข้างต้น การบริหารจัดการจึงเป็นกระบวนการของกิจกรรมที่ต่อเนื่องและประสานงานกัน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามความต้องการซึ่งผู้บริหารถือว่ามีบทบาทที่สำคัญมากที่จะต้องเข้ามาช่วยกระตุ้นเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอันส่งผลให้องค์กรเกิดความมั่นคง, มีกำไร, มีการเติบโตเป็นลำดับ
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด