ดร.ชิตพงษ์ อัยสานนท์
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เดิมที การตลาด (Marketing) และ โลจิสติกส์ (Logistics) จะถูกแยกส่วนออกจากกันในการทำธุรกิจส่วนใหญ่ โดยไม่ค่อยจะมีคนที่เข้าใจในเรื่องของการเชื่อมโยงกิจกรรมทั้งสองเข้าด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบัน ตลาดต่าง ๆ เริ่มกลายเป็นตลาด โภคภัณฑ์ โดยที่ลูกค้าจะใส่ใจกับเวลาและการบริการมากขึ้น ความจำเป็นในการจัดการเชื่อมโยงระหว่างการตลาดและโลจิสติกส์ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ จนเป็นการบรรจบกันของการตลาดและโลจิสติกส์
การจัดการในอดีตของธุรกิจส่วนใหญ่มักจะเป็นการจัดการตามแนวคิดแบบ ไซโล (Silos) คือ ต่างคน ต่างคิด ต่างคน ต่างทำ ขาดการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบขององค์กรธุรกิจ สมรรถนะขององค์กรธุรกิจจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ ย่อมเกิดจากการจัดการความสัมพันธ์ (Relations) ระหว่างองค์ประกอบ มากกว่าการจัดการองค์ประกอบเดี่ยว ๆ (Individual) ซึ่งแนวคิดเช่นนี้เป็นพื้นฐานของการบูรณาการ (Integration) วิสาหกิจหรือองค์กร เพื่อนำไปสู่วิสาหกิจแบบองค์รวม (Holistic Enterprise) ดังนั้นแนวคิดการตลาดในยุคปัจจุบันต้องปรับทิศทางการดำเนินการให้สอดคล้อง (Synchronize) กับองค์ประกอบอื่น ๆ ขององค์กร โดยมีแนวคิด โลจิสติกส์ เป็นตัวเชื่อมต่อองค์ประกอบต่าง ๆ ของกระบวนการธุรกิจให้เกิดการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการบูรณาการองค์ประกอบทางธุรกิจนั้นสอดประสานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป้าหมายก็คือผลกำไรของธุรกิจนั้นเอง (Company Profit)
(http://images.slideplayer.com/11/2998223/slides/slide_14.jpg)
Logistics และ Supply Chain ต่างดำเนินกิจกรรมอยู่ในอาณาบริเวณของตลาด ซึ่งก็คือลูกค้า แต่โดยข้อเท็จจริงในอาณาบริเวณของตลาดใช่จะมีแต่เฉพาะลูกค้า แต่ยังเป็นอาณาบริเวณเดียวกันกับคู่แข่งและอุปสรรคหรือภัยคุกคามทั้งที่อาจมาจากคู่แข่ง จากกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างจากภาครัฐที่เรียกว่า โครงสร้างส่วนบนของวิถีการผลิตที่เรียกว่า Super Structure หรือ PEST Analysis ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสังคมที่มีต่อสินค้าของเรา ดังนั้นการที่จะแยกส่วนกระบวนการ Logistics และ Supply Chain ในลักษณะแยกส่วน อาจทำให้ลดศักยภาพในการแข่งขัน จึงต้องมีการจัดการแบบบูรณาการให้เป็นการจัดการแบบองค์รวม คือ มีลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่จะเข้มข้นขนาดไหนจะให้น้ำหนักของ Logistics น้อยกว่าหรือมากกว่า Supply Chain ย่อมขึ้นกับสถานะภาพและความรุนแรงของการแข่งขันในตลาด หรือลักษณะความพร้อมของแต่ละธุรกิจและความสอดคล้องของการนำ Supply Chain Management (SCM) มาประยุกต์ใช้ในองค์กร จะเห็นถึงความคล้ายและความแตกต่างของโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งต่างก็มีกระบวนการซึ่งมีกิจกรรมสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยยากที่จะแยกออกจากกัน
ทั้ง Logistics และ Supply Chain ต่างมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ให้เกิดความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า 2.เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถทำกำไรได้ดีกว่า และ 3.เพื่อทำให้องค์กร มีความยั่งยืนและมั่นคง
Supply Chain Management (SCM) ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการต่าง ๆ ซึ่งขับเคลื่อน โดยต่างมีภารกิจที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดก็จะสนับสนุนเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน ในอันที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงทั้ง 3 ข้อข้างต้น การที่จะกำหนดว่าหน่วยงานใดหรือกระบวนการใดจะเป็น Logistics หรือ Supply Chain จึงไม่อาจกำหนดเป็นวิธีการตายตัวได้ เช่น หน่วยงานจัดซื้อและจัดหา บางองค์กรก็เอาไปรวมไว้กับแผนกโลจิสติกส์แต่บางองค์กรก็เรียกหน่วยงานจัดซื้อ Supply Chain ขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของธุรกิจ โดย ความเป็นบูรณาการของ SCM พอจะแยกแยะภารกิจของกระบวนการต่าง ๆ ใน Supply Chain ออกได้เป็นดังต่อไปนี้
(http://images.slideplayer.com/10/2742370/slides/slide_31.jpg)
ลักษณะที่สำคัญของการจัดการโลจิสติกส์การตลาดนั้นก็คือ
กล่าวได้ว่า การจัดการโลจิสติกส์การตลาด ก็คือ การกำหนดเป้าหมายความสำเร็จขององค์กร ซึ่งขึ้นอยู่กับการกำหนดความจำเป็นและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด และสามารถให้การตอบสนองต่อความต้องการนั้นได้ดีกว่าคู่แข่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แนวคิดทางการตลาดนั้นคือการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการของแนวคิดทางการตลาด คือ 1.ความพึงพอใจของลูกค้า 2.การรวมความพยายามทางการตลาด 3.กำไรของบริษัท เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ความพยายามทางการตลาดต้องรวมกับแนวความคิดของการมีผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง ที่ราคาเหมาะสม และประกอบกับการโฆษณาที่ถูกต้องและในสถานที่ที่ถูกต้อง นั่นก็คือการมีส่วนประสมการตลาดที่ถูกต้องนั่นเอง โลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญในการที่จะทำให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องและถูกสถานที่ และการสร้างอรรถประโยชน์จากการได้รับสินค้าหรือบริการนั้นทันกับความต้องการ เพียงแต่ปัจจุบันตลาดมิได้จำกัดอยู่แค่ในประเทศ หากเป็นยุคของ Free Trade Agreement ที่เป็น Globalization มากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการก็ต้องรู้และเข้าใจถึงความหมายและความสำคัญของการตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) ให้มากขึ้น
การตลาดระหว่างประเทศ หรือ International Marketing คือ กระบวนการวางแผนและการบริหารแนวคิดเกี่ยวกับการตั้งสินค้า การส่งเสริมการขาย และช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการให้เกิดการแลกเปลี่ยนในความพอใจของลูกค้าในอีกประเทศหนึ่ง โดยมีความสำคัญในประเด็นดังต่อไปนี้
(http://businessjargons.com/wp-content/uploads/2015/09/International-marketing.jpg)
การตลาดระหว่างประเทศ จะประกอบด้วย การค้นหา (Finding) และการสนองตอบความต้องการ (Satisfying) ของลูกค้าทั่วโลกโดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่แข่งขันจากต่างประเทศ ตลอดจนการประสานงานกิจกรรมการตลาดร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก โดยรายละเอียดและส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญของการทำการตลาดระหว่างประเทศมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1.การค้นหาความต้องการของลูกค้าระดับโลก 2.การตอบสนองความต้องการของลูกค้าระดับโลก 3.การทำให้มีคุณภาพและมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน 4.การประสมประสานและการประสานกิจกรรมการตลาด 5.การตระหนักถึงข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก
การจัดการตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing Management) เป็นการวิเคราะห์ (Analysis) การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Implementation) และการควบคุม (Control) โปรแกรมในการออกแบบ (Designed) การสร้างสรรค์ (Create) การสร้าง (Build) และการเก็บรักษา (Maintain) เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนกับกลุ่มผู้ซื้อในตลาดต่างประเทศที่เป็นเป้าหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
การจัดการการตลาดระหว่างประเทศ สามารถพิจารณาทางด้านสภาพแวดล้อมได้ 2 ลักษณะ คือ 1.การแข่งขันในระดับโลก (Global Competition) โดยคู่แข่งขันที่มาจากทั่วโลกจะมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน 2.สภาพแวดล้อมระดับโลก (Global Environment) จะเกี่ยวข้องกับความหลากหลายในปัจจุบันทางด้านรัฐบาล วัฒนธรรมและระดับรายได้ นอกจากนี้การจัดการการตลาดระหว่างประเทศ ต้องใช้ผู้บริหารด้านการตลาดที่มีขีดความสามารถมากกว่าการตลาดภายในประเทศ (Domestic Marketing) ซึ่งสิ่งที่ผู้บริหารด้านการตลาดให้ความสำคัญมากที่สุด 6 ประการ มีดังนี้
(http://www.ecustomercentric.com/wp-content/uploads/2016/08/Customer-Centric-Model.jpg)
หากจะเปรียบเทียบเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ หลักการตลาดโลจิสติกส์ในประเทศก็คือการสนองตอบ Physical Flow ของพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศ ส่วน การตลาดโลจิสติกส์ต่างประเทศ ก็คือการตอบสนอง Physical Flow ของพฤติกรรมผู้บริโภคในต่างประเทศนั้น ๆ ภายใต้แนวคิดของ PEST Analysis นั้นเอง
เอกสารอ้างอิง
• Martin Christopher and Helen Peck. (2006). Marketing Logistics. Elsevier Ltd, England.
• http://businessjargons.com/wp-content/uploads/2015/09/International-marketing.jpg
• http://images.slideplayer.com/10/2742370/slides/slide_31.jpg
• http://images.slideplayer.com/11/2998223/slides/slide_14.jpg
• http://www.ecustomercentric.com/wp-content/uploads/2016/08/Customer-Centric-Model.jpg
• http://www.intertransportandbusiness.com/tag/
• http://www.tanitsorat.com/view.php?id=31
• http://202.29.22.164/e-learning/cd-1390/SOC22/topic3/linkfile/print5.htm
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด