Cover Story

METREL MI 3152 EU เครื่องตรวจวัดและทดสอบการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าอาคาร รุ่นจอสีระบบสัมผัส

บริษัท เมเชอร์โทรนิกซ์ จำกัด

 

 

รองรับกฎหมายใหม่

 

ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามมาตรฐาน BS7671, IEC60364, IEC61557
สำหรับช่างไฟฟ้าที่ซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าตามโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสูง สำนักงาน บ้าน และโรงงาน

 

 

ฟังก์ชั่นใช้งานครบถ้วน..

• วัดฉนวนไฟฟ้าสูงสุด 1000V/999MΩ
• วัดความต่อเนื่องด้วยกระแส 200mA
• วัด Loop Impedance พร้อมแสดงผล Pass/Fail ตามมาตรฐาน IEC60264, BS7671
• ตรวจวัดความต้านทานดินได้ ทั้งแบบ Clamp และ Ground Rod
• ตรวจวัดกระแสรั่วไหล ทดสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่ว RCD
• Auto Test Sequence โปรแกรมลำดับการทดสอบได้ล่วงหน้าแบบอัตโนมัติ

 

สนใจข้อมูลสินค้าติดต่อ:
คุณจิรายุ 08-3823-7933, คุณเฉลิมพร 08-5489-3461, คุณอิทธิโชติ 08-0927-9917

 

 

 

     เรามักได้ยินข่าวอยู่เสมอในเรื่องของอันตรายของระบบไฟฟ้าที่มีอันตรายถึงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ไฟรั่ว, ไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงการเกิดเหตุเพลิงไหม้ต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีการออกแบบวงจรป้องกันทั้งสิ้น แล้วสาเหตุอะไรที่ยังทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เศร้าสลดใจอยู่เสมอ

 

          การติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องทำการตรวจสอบ เครื่องทดสอบระบบไฟฟ้าและการติดตั้งจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้การตรวจสอบง่ายขึ้น และที่สำคัญคือเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อพิสูจน์ทราบพร้อมทำรายงานผล

 

Metrel MI3152 EurotestXC
เครื่องตรวจสอบระบบไฟฟ้าในอาคาร รุ่นใหม่จอสี

 

 

          สามารถตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามมาตรฐาน BS7671, IEC60364, IEC61557 สำหรับช่างไฟฟ้าที่ซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าตามโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสูง สำนักงาน บ้าน และโรงงาน ที่วางแผนการซ่อมบำรุง ที่มีปริมาณงานมาก หมดกังวลไปได้เลย กับฟังก์ชั่นพิเศษดังนี้

 

  • AUTO TEST SEQUENCE ที่สามารถโปรแกรมลำดับการทดสอบแบบอัตโนมัติ
  • สามารถทำงานร่วมกับเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้ โดยสามารถกำหนดหมายเลขตำแหน่งของเต้ารับทางไฟฟ้าแต่ละจุดได้ (Asset ID) โดยสามารถเขียนโปรแกรมลำดับการทดสอบให้สอดคล้องได้แบบอัตโนมัติ เมื่อเครื่องอ่านบาร์โค้ด โปรแกรมการทดสอบจะปรากฏโดยอัตโนมัติทันที
  • แค่กดปุ่ม Test เครื่องดำเนินขั้นตอนการทดสอบให้อัตโนมัติ
  • เมื่อเครื่องดำเนินการทดสอบสำเร็จแค่กดปุ่ม MEM (Memory) เครื่องจะบันทึกผลการทดสอบให้โดยอัตโนมัติ โดยใช้ตำแหน่งที่ระบุไว้ด้วยบาร์โค้ด
  • สามารถทำรายงานผ่านคอมพิวเตอร์ได้ในรูปแบบตามมาตรฐาน BS7671
  • สามารถ Link กับมือถือระบบแอนดรอยด์ได้ สามารถดูข้อมูลในการทดสอบได้อย่างง่ายดาย และสามารถส่งรายงานผ่านอีเมลจากหน้างานได้อย่างง่ายดาย

 

อุปกรณ์ในชุดมาตรฐานของ Metrel MI 3152

 

          Metrel MI 3152 เป็นเครื่องตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้อย่างครอบคลุมการทำงานที่หลากหลาย ทั้งตรวจสอบแบบผู้ตรวจสอบอาคาร (Auditor) หรือตรวจสอบแบบงานซ่อมบำรุง

 

 

วัดแรงดัน 1 เฟส และ 3 เฟส
พร้อมแสดงลำดับเฟส

 

 

วัด Loop Impedance พร้อมแสดงผล Pass/Fail
ตามมาตรฐาน IEC60264, BS7671

 

 

วัดฉนวนไฟฟ้าสูงสุด 1000V/999MΩ

 

 

วัดความต่อเนื่องด้วยกระแส 200mA

 

 

Auto Test Sequence โปรแกรมลำดับ
การทดสอบได้ล่วงหน้าแบบอัตโนมัติ

 

 

ตรวจวัดกระแสรั่วไหล
ทดสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่ว

 

 

 

ตรวจวัดความต้านทานดินได้ ทั้งแบบ Clamp และ Ground Rod

 

พื้นฐานการตรวจสอบความปลอดภัยการติดตั้งไฟฟ้า

 

          มาตรฐานความปลอดภัยการติดตั้งไฟฟ้าของยุโรป ที่ประเทศไทยใช้เป็นต้นแบบ กำหนดให้มีการทดสอบตามหัวข้อดังต่อไปนี้

 

  • ความต้านทานฉนวน
  • ความต่อเนื่องของสาย PE และจุดต่อสายดิน
  • ทดสอบ RCD
  • ไลน์อิมพีแดนซ์และลูปอิมพีแดนซ์เมื่อบกพร่อง
  • ความต้านทานดิน (ด้วยวิธีวัดแบบ 2 สาย ไม่มีโพรบ, 3 และ 4 สายกับ 2 โพรบ, ใช้แคลมป์กระแสกับ 2 โพรบ, และแบบ 2 แคลมป์)
  • ความต้านทานดินเฉพาะลำดับเฟส, แรงดัน และความถี่

 

          การทดสอบเหล่านี้จะทำตามลำดับ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นไปอย่างครบถ้วน เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินจากความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากไฟฟ้าดูด และวงจรตัดไฟฟ้าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

 

การทดสอบความต้านทานฉนวน

 

          ฉนวนไฟฟ้าทำหน้าที่ป้องกันการสัมผัสทางไฟฟ้า และทนทานต่อความเค้นทางกายภาพ, เคมี, ไฟฟ้า และอุณหภูมิ การทดสอบจะทำให้ทราบถึงความบกพร่องของฉนวนที่เกิดจากมลภาวะ, ความชื้น, การเสื่อมสภาพของวัสดุเอง และอื่น ๆ การทดสอบฉนวนมีอยู่ในมาตรฐาน IEC/EN 61557-2

 

          ก่อนการทดสอบจำเป็นต้องปิดสวิตช์ไฟฟ้าอุปกรณ์ทุกตัวในระบบ โดยที่ยังไม่ต่อเครื่องเครื่องมือทดสอบ เพื่อมิให้แรงดันทดสอบถูกจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าใด ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่อ่อนไหวต่อแรงดันกระชาก

 

          ในการทดสอบฉนวนไฟฟ้าเป็นการวัดความต้านทาน

 

  • ระหว่างไลน์กับไลน์
  • ระหว่างไลน์กับ PE
  • ระหว่างไลน์กับนิวทรัล
  • ระหว่างนิวทรัลกับ PE

 

 

วงจรทดสอบการวัดความต้านทานฉนวน

 

 

วงจรทดสอบการวัดความต้านทานฉนวน

 

          การทดสอบความต้านทานฉนวนทำโดยการจ่ายแรงดันไฟฟ้า DC เข้าไปในระบบที่ตัดไฟแล้ว ความต้านทานที่วัดได้จะต้องสูงกว่าค่าจำกัดขั้นต่ำ ตามที่มาตรฐานและข้อกฎหมายกำหนด ค่าจำกัดในงานติดตั้งไฟฟ้านี้มีในมาตรฐาน IEC 60364-6

 

 

          เครื่องทดสอบ Metrel รุ่น EurotestAT และ EurotestXA มีฟังก์ชั่น “Insulation ALL” สำหรับการวัดฉนวน 3 พอร์ตพร้อมกันในครั้งเดียว (คือ L-N, L-PE, N-PE หรือ L1-L2, L1-L3, L2-L3) ซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้มาก โดยเฉพาะการทดสอบฉนวนที่เต้ารับ

 

การทดสอบความต่อเนื่องของสาย PE (Protective Earth)
และจุดต่อร่วมกราวด์ (Ground Bond)

 

          จุดประสงค์ของการทดสอบก็เพื่อตรวจวัดความต่อเนื่องทางไฟฟ้าของสายตัวนำป้องกัน, สายเมน และจุดต่อกราวด์เสริมต่างๆ การทดสอบทำโดยการใช้เครื่องมือวัดที่สามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้าไม่มีโหลด 4-24 V (DC หรือ AC) ที่กระแสไม่น้อยกว่า 200 mA การทดสอบความต่อเนื่องมีอยู่ในมาตรฐาน EN 61557-4

 

          ค่าความต้านทานที่วัดได้จะต้องต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานทดสอบการติดตั้งไฟฟ้า ซึ่งมีค่า 2 Ω เนื่องจากมีค่าความต้านทานที่ต่ำ เครื่องวัดจึงต้องมีการชดเชยค่าความต้านทานสายวัด โดยเฉพาะในกรณีที่ใช้สายวัดยาว ๆ

 

เครื่องทดสอบ Metrel รุ่น EurotestAT และ EurotestXA สามารถทดสอบความต้านทานระหว่างจุดต่อ N และ PE โดยใช้สายทดสอบแบบปลั๊กที่เต้ารับได้

 

 

วงจรทดสอบการวัดความต่อเนื่องที่กระแส 200 mA

 

 

วงจรทดสอบการวัดความต้านทานของความต่อเนื่องทางไฟฟ้า

 

การทดสอบอุปกรณ์ตัดไฟรั่ว (RCD Test)

 

          อุปกรณ์ตัดไฟรั่ว RCD (Residual Current Device) ทำหน้าที่ปกป้องอันตรายจากแรงดันและกระแสไฟฟ้ารั่วไหล จำเป็นต้องมีการทดสอบและตรวจวัดหลายอย่าง เพื่อสอบทวนการทำงานของการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน RCD ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน EN 61557-6

 

          การทดสอบ RCD ครอบคลุม

 

  • ทวนสอบการทำงานและประสิทธิภาพของ RCD
  • ทวนสอบกระแสทริปและความเร็วในการตัดไฟของ RCD
  • ทวนสอบให้แน่ใจว่าไม่มีกระแสรั่วไหล (หรือมีในขนาดที่จำกัด) ปรากฏอยู่ในการติดตั้งไฟฟ้า

 

          โดยการวัดและทดสอบ RCD ดังนี้

  

  • แรงดันขั้วสัมผัส
  • เวลาที่ใช้ตัดไฟ
  • กระแสที่ใช้ตัดไฟ
  • การทดสอบ RCD แบบอัตโนมัติ

 

 

วงจรการทดสอบ RCD

 

          เครื่องทดสอบการติดตั้ง Metrel มีฟังก์ชั่น “RCD AUTO” สามารถทำการทดสอบทีกระแส x1/2, x1 และ x5 ที่ตำแหน่ง 0° และ 180° ได้อัตโนมัติ ช่วยให้การทดสอบ RCD ทำได้ในขั้นตอนเดียว อย่างง่ายดาย และประหยัดเวลา

 

ตารางเลือก RCD ตามความไวต่อกระแสไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ

 

 

การทดสอบไลน์อิมพีแดนซ์

 

          ไลน์อิมพีแดนซ์ (Line Impedance) คือการวัดความต้านทานครบรอบที่เกิดจากแหล่งกำเนิดแรงดันเมนกับสายไฟที่เดินในระบบ (ระหว่างตัวนำไลน์และนิวทรัล หรือระหว่างไลน์ในระบบ 3 เฟส) มีอยู่ในข้อกำหนดตามมาตรฐาน EN 61557-3

 

          การทดสอบไลน์อิมพีแดนซ์ครอบคลุม

 

  • ทวนสอบการทำงานและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
  • ทวนสอบอิมพีแดนซ์ภายในเพื่อเป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า

 

          ลูปลัดวงจรไลน์-นิวทรัล ประกอบด้วย

 

  • ZT อิมพีแดนซ์ด้านเซคันดารี่ของหม้อแปลงกำลัง
  • ZL สายไฟเฟสจากแหล่งกำเนิดไปยังจุดที่บกพร่อง
  • ZN สายนิวทรัลแหล่งกำเนิดไปยังจุดที่บกพร่อง

 

          อิมพีแดนซ์ของไลน์เทียบกับนิวทรัลเป็นผลรวมของค่าอิมพีแดนซ์และความต้านทานวงรอบหรือลูปจากไลน์ไปยังนิวทรัล ในระบบ 3 เฟส จะมีไลน์-นิวทรัลอิมพีแดนซ์นี้ 3 ค่า (ZL1-N, ZL2-N, ZL3-N) โดย

 

          ZLN = ZL+ ZN+ZTLN

 

          กระแสลัดวงจรที่คาดว่าจะเกิด หรือ IPSC (Prospective Short Circuit Current) นิยามได้ตามรูป

 

 

วงจรการวัดค่าของไลน์อิมพีแดนซ์

 

          กระแส IPSC จะต้องมีค่าสูงกว่าค่าพิกัดกระแสทำงานของอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน นั่นคือค่าอิมพีแดนซ์ไลน์-นิวทรัล (หรือไลน์-ไลน์) จะต้องมีค่าต่ำเพียงพอ กระแสลัดวงจรที่คาดว่าจะเกิดมีค่าสูงเพียงพอให้อุปกรณ์ป้องกันที่ติดตั้ง ทำการตัดวงจรลูปที่ลัดวงจรได้ทันภายในในช่วงเวลาที่กำหนด

 

          เครื่องมือทดสอบการติดตั้ง Metrel มีตารางในตัวพร้อมฟิวส์และพารามิเตอร์ของ RCD เมื่อทำการทดสอบไลน์ ค่าที่วัดได้จะถูกเปรียบเทียบกับค่าสูงสุดตามมาตรฐาน (EN 61557) โดยอัตโนมัติ แล้วแสดงผลเป็นสัญลักษณ์ที่หน้าจอ ให้ผู้ใช้งานได้ทราบว่าผลลัพธ์อยู่ในช่วงที่กำหนดหรือไม่

 

การทดสอบลูปอิมพีแดนซ์เมื่อบกพร่อง

 

          ฟอลต์ลูป (Fault Loop) ประกอบด้วยแหล่งจ่ายเมน, สายไฟที่เดิน, และสาย PE ที่กลับมายังแหล่งจ่ายเมน การวัดค่าเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐาน EN 61557-3 

 

          การทดสอบลูปอิมพีแดนซ์ครอบคลุม

 

  • ทวนสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ตัดไฟป้องกันกระแสเกิน และ/หรือ ป้องกันไฟรั่ว ที่ติดตั้ง
  • ทวนสอบลูปอิมพีแดนซ์, กระแสผิดพลาดและแรงดันผิดพลาดที่คาดว่าจะเกิด

 

          ในระบบ TN ฟอลต์ลูป ZL-PE ประกอบด้วย

 

  • ZT อิมพีแดนซ์ด้านเซคันดารี่ของหม้อแปลงกำลัง
  • ZL สายไฟเฟสจากแหล่งกำเนิดไปยังจุดที่บกพร่อง
  • RPE สาย PE/PEN แหล่งกำเนิดไปยังจุดที่บกพร่อง

 

         ฟอลต์ลูปอิมพีแดนซ์คือผลรวมของค่าอิมพีแดนซ์และความต้านทานที่เป็นวงจรการบกพร่อง

 

          ZLPE = ZL+ RPE+ZT

 

          กระแสบกพร่องที่คาดว่าจะเกิด IPSC นิยามได้ตามรูป

 

 

วงจรการวัดค่าฟอลต์ลูปอิมพีแดนซ์

 

          เครื่องมือทดสอบการติดตั้ง Metrel มีตารางในตัวพร้อมฟิวส์และพารามิเตอร์ของ RCD เมื่อทำการทดสอบลูป ค่าที่วัดได้จะถูกเปรียบเทียบกับค่าสูงสุดตามมาตรฐาน (EN 61557) โดยอัตโนมัติ แล้วแสดงผลเป็นสัญลักษณ์ที่หน้าจอ ให้ผู้ใช้งานได้ทราบว่าผลลัพธ์อยู่ในช่วงที่กำหนดหรือไม่

 

การทดสอบความต้านทานดิน

 

          การทดสอบความต้านทานดินในระบบ TN, TT และ IT ก็เพื่อให้มั่นใจว่าความต้านทานระหว่างหลักดินนั้นมีค่าต่ำเพียงพอ ที่เมื่อการความผิดพลาดแล้ว แรงดันไฟฟ้าที่อันตรายจะไม่ไปปรากฏที่ส่วนใด ๆ ของระบบไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งซึ่งมีการต่อสายดินไว้ การวัดค่าเป็นไปตามมาตรฐาน EN 61557-6

 

          การทดสอบความต้านทานดินครอบคลุม

 

  • ต่อลงดินส่วนของตัวนำทุกชิ้นที่สัมผัสได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าแรงดันที่ปรากฏจะยังคงต่ำกว่าระดับที่เป็นอันตรายในกรณีเกิดความบกพร่อง

 

          ในการติดตั้งระบบ TN เป็นการต่อลงดินที่ แหล่งจ่าย และ/หรือ จุดแจกจ่าย นั่นจึงเป็นเหตุให้ความต้านมักมีค่าต่ำมากๆ (ต่ำกว่า 1Ω)

 

          ส่วนระบบ TT มีจุดต่อลงดินหลักของตัวเอง ค่าความต้านทานจึงสูงกว่าระบบ TN (ตั้งแต่ไม่กี่ Ω จนถึงหลายร้อย Ω) ด้วยเหตุที่แรงดันผิดพลาดและกระแสผ่านร่างกายที่อันตราย สามารถเกิดขึ้นได้ที่กระแสต่ำ ๆ ดังนั้นระบบ TT จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันคือ RCD เพิ่มเติม

 

          วิธีการวัดความต้านทานดินมีดังต่อไปนี้

 

  • แบบมาตรฐาน 3 สาย (4 สาย) สำหรับการวัดความต้านทานดินมาตรฐานทั่วไป
  • แบบ 3 สาย (4 สาย) ร่วมกับ 1 แคลมป์ สำหรับวัดความต้านทานดินของแต่แท่งหลักดิน
  • แบบ 2 แคลมป์ สำหรับวัดความต้านทานดินของแต่แท่งหลักดิน (ตามคำแนะนำใน IEC 60364-6 สำหรับพื้นที่รอบนอก)
  • การวัดความต้านทานดินแบบเฉพาะ (เมื่อต้องการคำนวณความต้านทานดินอย่างแม่นยำ เช่น สถานีจ่ายไฟฟ้าแรงสูง, พื้นที่โรงงานขนาดใหญ่, ระบบสายล่อฟ้า เป็นต้น)

 

          ลักษณะการต่อวงจรการวัด

 

 

วงจรสำหรับการวัดแบบ 3 สาย

 

 

วงจรสำหรับการวัดแบบ 3 สาย

 

 

วงจรสำหรับการวัดแบบ 2 แคลมป์

 

 

วงจรสำหรับการวัดแบบ 1 แคลมป์

 

 

วงจรสำหรับการวัดความต้านทานดินเฉพาะ

 

          วิธีการวัดความต้านทานดินที่แนะนำ

 

ระบบ TN

 

 

แบบ 2 แคลมป์ (แคลมป์ที่สาย N/PE เมน)

 

ระบบ TT

 

 

แบบ 2 สาย (ทดสอบที่เต้ารับ ระหว่าง N กับ PE)

 

ระบบ IT

 

 

แบบ 3 สาย (ต่อสายวัดกับแท่งหลักดินเป็น 3 เหลี่ยม)

 

 สายตัวนำลงดินกันฟ้าผ่า

 

 

แบบ 2 แคลมป์

 

          ค่าจำกัดมาตรฐาน

 

  • 2 Ω – เหนือกราวด์
  • 10 Ω – ทั้งระบบ,
  • 20 Ω – ที่แต่ละขั้วดิน หรือ 8% ของความต้านทานดินเฉพาะ

 

การทดสอบลำดับเฟส, แรงดัน และความถี่

 

          การทดสอบลำดับเฟสใช้ในการหาลำดับของแรงดันไลน์ในระบบไฟ 3 เฟส ซึ่งจำเป็นสำหรับการกำหนดทิศทางหมุนของมอเตอร์และเจเนอเรเตอร์ การวัดลำดับเฟสเป็นไปตามมาตรฐาน EN 61557-7

 

 

วงจรสำหรับการวัดลำดับเฟส

 

 

วงจรการวัดแรงดัน, ความถี่ และลำดับเฟส

 

 

          เครื่องมือทดสอบการติดตั้ง Metrel สามารถมอนิเตอร์แรงดันแบบออนไลน์ได้ โดยทุกฟังก์ชั่นแสดงบนจอพร้อมกัน ทั้งแรงดันระหว่าง L กับ PE, L กับ N และ N กับ PE (ระบบไฟเฟสเดียว) หรือ L1 กับ L2, L2 กับ L3 และ L1 กับ L3 (ระบบไฟฟ้า 3 เฟส) ความสามารถนี้ช่วยในการระยุปัญหาการต่อสายไฟผิด, สายหลุด หรือแรงดันผิดพลาด ได้อย่างรวดเร็ว

 

การทดสอบขั้วต่อ PE

 

          สถานการณ์ที่อันตรายมาก ๆ เกิดขึ้นได้ในกรณีมีแรงดันถูกจ่ายไปที่สาย PE หรือมีการสัมผัสกับโลหะที่เข้าถึงได้ สาเหตุมักเกิดจากการต่อสายไฟผิดพลาด เครื่องมือทดสอบของ Metrel มีระบบวัดขั้วไฟฟ้า PE ด้วยการสัมผัส (TEST Key) เมื่อแตะปุ่ม TEST ในทุกฟังก์ชั่นที่ต้องการแหล่งจ่ายเมน จะเป็นการทดสอบการปรากฏของแรงดันที่ขั้วต่อ PE โดยอัตโนมัติ

 

 

ตัวอย่างการใช้งานทดสอบขั้วต่อ PE

 

ความทนทานต่อแรงดันเกินของเครื่องมือวัดไฟฟ้า

 

          Overvoltage Category เป็นการกำหนดแรงดันเกินที่เมนสูงสุด (หรือไฟกระชากจากฟ้าผ่า, การลัดวงจากความผิดพลาด เป็นต้น) ที่เครื่องมือวัดไฟฟ้าสามารถทนทานได้โดยไม่เกิดอันตรายต่อตัวเครื่อง หรืออุปกรณ์ที่ถูกวัด โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ หรือ 4 Category ระดับความปลอดภัยแรงดันเกินนี้เป็นผลโดยตรงจากระยะห่างของช่องว่างอากาศ ยิ่งระดับชั้นสูง ยิ่งต้องการระยะห่างจากแหล่งกำเนิดมากขึ้น

 

  • CAT I เป็นระดับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ระดับสัญญาณ
  • CAT II เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน, เครื่องมือไฟฟ้าที่เคลื่อนย้ายใช้งาน, โหลดไฟฟ้าเฟสเดียว, เต้ารับ (>10 m จาก CAT III และ >20 m จาก CAT IV)
  • CAT III ระบบจ่ายไฟฟ้า 3 เฟส, ระบบแสงสว่างในอาคารขนาดใหญ่, แผงหน้าปัดระบบจ่ายไฟฟ้า
  • CAT IV ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ในสถานีไฟฟ้า, มิเตอร์วัดการใช้ไฟฟ้า, จุดติดตั้งและป้อนไฟฟ้าเข้าอาคาร

 

 

AUTO SEQUENCE®
การทดสอบตามขั้นตอนอัตโนมัติ

 

          AUTO SEQUENCE® เป็นการทดสอบอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับตามหัวข้อที่กำหนดในงานติดตั้งไฟฟ้า โดยการกดปุ่ม TEST เพียงปุ่มเดียว ผลการทดสอบแต่ละอย่างจะถูกเปรียบเทียบกับค่าที่ตั้งไว้ เพื่อการประเมิน PASS/FAIL

 

          นอกจากประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทดสอบความปลอดภัยการติดจั้งไฟฟ้าแล้ว AUTO SEQUENCE® ยังให้ความปลอดภัยสูงกับผู้ปฏิบัติงาน เนื่องเป็นการตรวจค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ

 

          ผู้ใช้งานสามารถเลือกโปรแกรม AUTO SEQUENCE® ที่เหมาะกับงานด้วยเงื่อนไขเหล่านี้

 

  • ส่วนใดของการติดตั้งไฟฟ้าที่จะถูกทดสอบ
  • ใช้การต่อสายดินระบบใด
  • เป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียวหรือ 3 เฟส
  • มีอุปกรณ์ ECD ติดตั้งในระบบหรือไม่

 

          เพื่อความสะดวกในการเลือกขั้นตอนทดสอบที่เหมาะสม ที่เครื่องทดสอบก็จะมีโฟลว์ชาร์ตแสดงรายละเอียดให้พร้อม

 

          เมื่อเลือกโปรแกรม AUTO SEQUENCE® และตั้งค่าจำกัดแล้ว เพียงกดปุ่ม TEST การทดสอบก็จะเดินไปตามขั้นตอนโดยอัตโนมัติ และเมื่อครบทุกขั้นตอนก็จะแสดงผล PASS/FAIL โดยรวมทั้งหมด ผลการวัดทั้งหมดสามารถบันทึกในหน่วยความจำในเครื่องและจัดทำรายงานผลการทดสอบได้ด้วยซอฟต์แวร์ EuroLink PRO ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง ไม่ต้องซื้อเพิ่ม

 

          การทดสอบตามขั้นตอนอัตโนมัติ AUTO SEQUENCE® ช่วยให้การทดสอบความปลอดภัยการติดตั้งไฟฟ้าสามารถทำได้รวดเร็วกว่าวิธีที่ใช้ตามปกติได้ถึง 5 เท่า

 

 

แสดงคำแนะนำการทวนสอบการติดตั้งไฟฟ้าแรงดันต่ำตามมาตรฐาน IEC 60364-6

 

 

แสดงคำแนะนำการทวนสอบการติดตั้งไฟฟ้าแรงดันต่ำตามมาตรฐาน IEC 60364-6

 

มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า BS7671

 

          อย่างไรก็ตาม หากจะตรวจวัดให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ขออ้างอิงกับมาตรฐาน BS7671 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เหมาะสมที่สุดมาตรฐานหนึ่ง และเป็นที่นิยมใช้ในยุโรป และน่าจะมีความสอดคล้องกับมาตรฐานที่ใช้ติดตั้งในประเทศไทยมากที่สุด

 

          ลำดับการตรวจสอบการติดตั้งระบบไฟฟ้าจะสามารถทำได้ดังนี้

  • ตรวจสอบระบบไฟฟ้าก่อนจ่ายไฟจริง
  • ตรวจสอบระบบไฟฟ้าขณะจ่ายไฟ ก่อนติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • ตรวจสอบเพื่อทำการซ่อมบำรุงรักษาตามช่วงเวลา

 

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าก่อนจ่ายไฟจริง

 

          การตรวจสอบในขั้นตอนนี้จะใช้การตรวจวัดในเรื่องของความต้านทานเป็นหลักซึ่งมีอยู่ 2 ส่วนคือความต่อเนื่องของสายไฟฟ้า และความต้านทานฉนวน

 

          ความต่อเนื่องของสายไฟฟ้า (Continuity) นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องเลือกเครื่องมือที่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า 200mA ขึ้นไปในการทดสอบ (ตามมาตรฐาน IEC60364, BS7671 และ EN61557) เพื่อให้ได้ค่าความต้านทานที่ละเอียด

 

 

 

           Method 1: ทำการเชื่อมต่อสาย Jump ระหว่าง L – PE ที่ MDB แล้วจึงทำการวัดความต่อเนื่องระหว่าง L- PE ที่ขั้วของ Outlet แต่ละจุด ความต้านทานที่วัดได้ควรมีค่าต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตาม Spec ของความต้านทานต่อความยาวของสายไฟฟ้า

 

 

 

          Method 2: ตรวจวัดความต่อเนื่องระหว่างจุดลงกราวด์ที่ตู้ MDB กับจุดเชื่อมต่อกราวด์ที่ Outlet (รวมไปถึงโครงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ด้วย) ซึ่งในทางปฏิบัติจุดวัด 2 ขั้วจะมีระยะที่ห่างกัน จึงต้องใช้สายม้วนยาวซึ่งเราจะเรียกว่าสาย Wonder Lead ร่วมด้วย

 

          ความต้านทานฉนวน เป็นการวัดความต้านทานฉนวนของสายไฟฟ้าเพื่อสร้างฐานข้อมูล Base Line เก็บไว้เพื่อให้มีเกณฑ์ในการตัดสินใจได้หากฉนวนมีการเสื่อมสภาพลง

 

 

 

          การตรวจวัดฉนวนอาจมีการวิเคราะห์ตัวแปรอื่น ที่สามารถช่วยวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงฉนวนตามเวลา ซึ่งเครื่องมือจะจ่ายแรงดันต่อเนื่องตามเวลามาตรฐานที่กำหนด คือค่า

  1. Polarization Index (PI)
  2. Dielectric Absorb (DAR)

 

 

 

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าขณะจ่ายไฟ ก่อนติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า

 

           ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า ที่เต้ารับหรือที่ตู้ MDB

 

          ระบบไฟฟ้าในประเทศไทยจะใช้การเชื่อมต่อแบบ TN-C-S ซึ่งจะมีการเชื่อมต่อกันระหว่าง Protective Earth หรือ PE กับ Neutral Bar ที่ตู้ Main Circuit Breaker (MDB) และจะมีการเดินสายดิน (PE) คู่ไปกับสายนิวทรัล แยกกันจนถึง Outlet

 

 

          ดังนั้นการวัดแรงดันระหว่าง L-N และ L-PE ควรมีค่าใกล้เคียงกัน หากเป็นระบบไฟฟ้า 3 เฟสก็ควรมีการตรวจวัดระดับแรงดัน Line to Line และการตรวจวัดลำดับเฟสร่วมด้วย

 

          แรงดันที่วัดได้ระหว่าง L- PE และ L-N ควรจะอยู่ประมาณ 230V และแรงดันที่วัดระหว่างสาย Neutral เทียบกับ PE (สายดิน) เมื่อวัดที่เต้ารับแล้วแรงดันตัวนี้ก็ควรอยู่ในช่วง 0-3V

 

          อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือการไม่เชื่อมต่อสายดิน (PE) มายังเต้ารับ ซึ่งนั่นหมายความว่าแม้เราจะมีระบบหลักดิน แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าใด ๆ ก็ตามที่จะมาเชื่อมต่อกับเต้ารับหรือแหล่งจ่ายไฟจุดนี้ จะไม่มีระบบป้องกันไฟฟ้ารั่วไหลซึ่งอาจเกิดอันตรายได้

 

 

ตัวอย่างการเชื่อมต่อสายไฟที่ผิดพลาดในรูปแบบต่าง ๆ ที่จุด Outlet

 

          ดังนั้น สิ่งที่ควรระวังทุกครั้งก่อนนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปต่อใช้งานร่วมกับเต้ารับ เราควรตรวจวัดความถูกต้องของค่าดังกล่าวเพื่อปลอดภัย เต้ารับที่เราเห็นมี 3 รู อาจมีเพียงสายแค่ 2 เส้นต่อร่วมเข้ามาเท่านั้น ปัญหาความผิดพลาดส่วนใหญ่ที่เกิดจากการเชื่อมต่อที่ไม่สมบูรณ์ที่ Outlet ตามรูป

 

 

ตัวอย่างรูปแสดงการสลับสายระหว่าง L-N

 

 

ตัวอย่างรูปแสดงระดับแรงดันปกติ

 

 

          นอกจากนี้การตรวจวัดระดับแรงดันแบบ 3 เฟส เพื่อยืนยันความถูกต้องในการเชื่อมต่อเพื่อกำหนดทิศทางการหมุนของ Load ก็มีความสำคัญด้วย

 

          ตัวเครื่องจะทำการตรวจวัดแรงดันอัตโนมัติว่าเป็นแบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส (โดยเครื่องมือสามารถเปลี่ยนการแสดงผลได้อัตโนมัติ) เมื่อวัดแรงดัน 1 เฟส และ 3 เฟส

 

 

ระดับแรงดันแบบ 1 เฟส

 

 

ระดับแรงดันแบบ 3 เฟส

 

           ตรวจวัดความต้านทานทางไฟฟ้ากระแสสลับ Line Impedance และ Loop Impedance

 

          เป็นการตรวจวัดความต้านทาน Impedance ในขณะจ่ายไฟฟ้า ซึ่งความยาวของสายไฟฟ้า จุดเชื่อมต่อที่หลวม การขดม้วนของสาย รวมไปถึงขนาดของสายไฟฟ้า ล้วนแล้วแต่มีผลเรื่องความต้านทานในสายสูงขึ้นทั้งสิ้น

 

          ค่า Impedance นี้จะช่วยยืนยันความถูกต้องในการวิเคราะห์เพิ่มเติมอีกขึ้นหลังจากวัดแรงดัน โดยจะมีการวิเคราะห์ค่าความต้านทาน 2 ส่วนนั่นคือ

 

  • Loop Impedance คือความต้านทานวงรอบที่วัดระหว่าง L-PE
  • Line Impedance คือความต้านทานวงรอบที่วัดระหว่าง L- N

 

 

 

           แล้วความต้านทาน Loop Impedance มีความสำคัญอย่างไร ?

 

          ความต้านทานที่สูงขึ้นในสายหรือความต้านทานที่เกิดขึ้นที่จุดต่อล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดความร้อนสูงขึ้นทั้งสิ้น

 

 

ภาพความร้อนที่จุดเชื่อมต่อหลวม

 

          นอกจากนี้ความต้านทาน Impedance ที่สูงขึ้นยังส่งผลต่อเนื่องไปยังอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน ซึ่งหากค่าความต้านทานที่สูงขึ้น เกิดการลัดวงจรขึ้น ก็จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรแบบนี้ต่อเนื่องตลอดเวลา โดยเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินไม่ทำการตัดวงจร

 

          ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวอื่น และสายไฟฟ้าอาจร้อนจนถึงสายไฟไหม้ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เราจะเรียกค่ากระแสที่วัดได้จากเครื่องว่า Prospective Short Circuit Current ซึ่งการลัดวงจรดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง L-N และ L-PE

 

 

 

ตัวอย่างการวัดที่ให้ผลลัพธ์ Impedance และ Ipsc ปกติ

 

 

ตัวอย่างผลการวัดที่ให้ค่า Loop Impedance ที่สูง และค่า Ipsc ต่ำกว่าพิกัดการตัดวงจรของอุปกรณ์ชนิด Fuse ในระบบ

 

          Ipsc: Prospective Short Circuit Current คือ ค่ากระแสที่อาจจะเกิดขึ้นหากมีการลัดวงจรของ L-PE รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาความต้านทาน ทั้ง Resistance และ Inductance

 

           แรงดันไฟฟ้าตกอันเกิดจาก Line Impedance ที่สูงขึ้น (Delta U)

 

          ในกรณีที่เกิดปัญหาความต้านทานในสายและจุดต่อสูงขึ้น อาจมีผลไปถึงแรงดันไฟฟ้าที่ปลายจุด Outlet ตกลง ซึ่งนอกจากจะเกิดปัญหาความร้อนที่จุดต่อและสายไฟที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีผลไปถึงแรงดันที่จ่ายให้ Load ต่ำลงด้วย

 

          ซึ่งเป็นผลทำให้ Load เครื่องใช้ไฟฟ้าดึงกระแสสูงขึ้น และอาจเกิดความร้อนที่สูงขึ้นตามลำดับ โดยปกติแล้วเราไม่ควรปล่อยให้แรงดันไฟที่ Outlet ตกเกิน 5 % เมื่อเทียบกับแรงดันที่ MDB

 

 

 

 

Power & Harmonics

 

          หากมีการเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ากับเต้ารับและมีการใช้งาน Load เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการกินกระแสแบบไม่เป็นเชิงเส้น อาจทำให้เกิดปัญหารบกวนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวอื่นได้

 

 

 

 

การวัดความต้านทานดิน

 

           นอกจากนี้เครื่อง Metrel MI 3152 ยังสามารถตรวจวัดความต้านทานดินได้ 3 แบบ คือ

 

           วัดค่า Soil Resistivity

 

           ประเมินสภาพดินเพื่อออกแบบระบบรากสายดิน รวมทั้งขนาดและความยาวของสายและแท่ง Ground Rod (ใช้ร่วมกับอุปกรณ์เสริม เป็น Option)

 

 

 

           วัดค่ากราวด์ดินแบบ Fall of Potential

 

          ตรวจวัดความต้านทานดินแบบ 3 จุด (ปัก Ground Rod เพิ่มอีก 2 จุด)

 

 

 

           การตรวจความต้านทานดินแบบ Loop

 

  • เป็นการวัดความต้านทานดินแบบไม่ต้องปักแท่ง Rod สามารถใช้เพียง Clamp เสริม 2 ตัว วัดความต้านทานแบบวงรอบ
  • ใช้วัดความต้านทานดินของระบบรวม (ทั้งระบบไฟฟ้า และสายล่อฟ้า)
  • ใช้วัดความต่อเนื่องของสายดิน (Above Ground)

 

 

 

 

 

วัดกระแสรั่วไหล (Leakage Current)

 

          การตรวจสอบปัญหากระแสไฟฟ้ารั่วไหลที่อาจเกิดจากฉนวนไฟฟ้าเสียหาย ซึ่งปริมาณกระแสไฟฟ้ารั่วไหลอาจทำให้เกิดอันตราย และการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า

 

 

 

 

การสร้างฐานระบบข้อมูลให้เป็นระเบียบ

 

 

          การสร้าง Work Space ผู้ใช้งานเครื่องมือสามารถกำหนดเองได้ตามความต้องการของจำนวนวัด

 

 

          ผู้ใช้งานสามารถสร้าง Structure ในการตรวจวัดตาม Connection ต่าง ๆ ในระบบได้

 

 

          หน้าจอสัมผัสพร้อม Virtual Keyboard ที่สามารถพิมพ์ชื่อได้ ตามที่ผู้ใช้งานเครื่องต้องการ

 

 

          ผู้ใช้งานสามารถทำการตรวจวัดตาม Structure ที่สร้างขึ้นและดาวน์โหลดข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ได้ เพื่อทำรายงานในรูปแบบมาตรฐาน และสร้างฐานข้อมูลให้เป็นระบบ

 

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
คุณจิรายุ 08-3823-7933, คุณเฉลิมพร 08-5489-3461, คุณอิทธิโชติ 08-0927-9917 

 



บริษัท เมเชอร์โทรนิกซ์ จำกัด
2425/2 ถนนลาดพร้าว ระหว่างซอย 67/2-69 แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพ ฯ 10310
โทรศัพท์ 0-2514-1000, 0-2514-1234 โทรสาร 0-2514-0001, 0-2514-0003
http://www.measuretronix.com, E-mail: info@measuretronix.com

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด