เพิ่มประสิทธิภาพในระบบสายการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ให้ค่าการอ่านที่เชื่อถือได้เมื่อภาพรหัสเสื่อมคุณภาพ
ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถที่จะลดของเสียและต้นทุน โดยใช้ระบบติดตามชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์บนสายการผลิต มร. ดิเดียร์ ลาครัวซ์ (Didier Lacroix) รองประธานอาวุโสฝ่ายการขายและบริการระหว่างประเทศของบริษัท ค็อกเน็กซ์ อิงค์ (Cognex Inc.) ได้กล่าวว่า
“ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการผลิตชิ้นส่วนที่แตกต่างกันหลายพันชิ้นของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์มูลค่าสูงที่มีการผสมกันในสายการผลิตเดียวกัน โดยผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันจำนวนมากที่ผลิตขึ้นมาในสายการผลิตจะเกิดขึ้นพร้อมกับข้อเท็จจริงที่ว่ามีชิ้นส่วนจำนวนมากที่มีความคล้ายคลึงกัน ทำให้มีความยากสำหรับผู้ที่ทำการประกอบว่าพวกเขาได้ประกอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องหรือไม่”
การลดของเสีย
ความยากในการระบุชิ้นส่วน พร้อมกับความต้องการความเร็วในสายการประกอบจึงมีผลทำให้มีชิ้นส่วนที่ประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้วจำเป็นต้องมีการแก้ไขหรือทิ้งไปเป็นของเสีย ก่อนหน้านี้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประสบกับปัญหาเรื่องการสูญเสียเงินนับแสนดอลลาร์ต่อปี เมื่อมีการประกอบชิ้นสวนที่ไม่ถูกต้อง และ/หรือการทำงานที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้นในตอนประกอบชิ้นส่วน ปัญหาเพิ่มเติมคือ การที่ไม่สามารถติดตามชิ้นส่วนที่อยู่ในกระบวนการผลิต (WIP) ซึ่งมีผลต้องให้สูญเสียเงินจำนวนมากสำหรับวัตถุดิบที่อยู่ในกระบวนการผลิต
ผู้ผลิตได้มีการสอบถามไปยังบริษัทแคลร์ เลเซอร์ (Claire Laser) ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายระบบการระบุรหัสด้วยเลเซอร์ที่มีแนวคิดว่าปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้นพวกเขาสามารถจัดการได้ การใช้งานเป็นสิ่งที่มีปัญหาอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่ว่างที่ต้องใช้สำหรับการระบุรหัสมีข้อจำกัดบนการประกอบชิ้นส่วนจำนวนมากและการประกอบอุปกรณ์ที่มีมูลค่าสูงจำเป็นต้องมีความเที่ยงตรง 100% ประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ คือ การประกอบชิ้นส่วนนั้นไม่ได้มีการวางตำแหน่งและยึดตำแหน่งตายตัวบนสายการประกอบ พร้อมกับระดับความเที่ยงตรงที่โดยปกติจำเป็นต้องมีการตรวจสอบด้วยเลเซอร์และการอ่านรหัสจากภาพ
เดนิส เจ. เจนด์รอน (Denis J. Gendron) ซึ่งเป็นประธานของบริษัท แคลร์ เลเซอร์ ที่ได้ทำงานกับผู้ผลิตในการระบุความต้องการการประยุกต์ใช้งาน เขาได้พัฒนาการประยุกต์ใช้งานสำหรับระบบการทำเครื่องหมายด้วยเลเซอร์ ClearMark ของบริษัทของเขาที่สามารถสร้างรหัส 2D Data Matrix ในพื้นที่ว่างที่ต้องการได้ เจนด์รอนและทีมของเขาได้ออกแบบระบบที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ที่ใช้สำหรับการเคลื่อนที่เครื่องอ่านไปยังตำแหน่งอิงจากตำแหน่งของชิ้นส่วนประกอบหรือชิ้นส่วนก่อนการอ่าน
เครื่องอ่านรหัส Cognex DataMan 100 ถูกเลือกเพื่อใช้สำหรับการแก้ปัญหาเรื่องการอ่านค่ารหัส 2D Data Matrix เนื่องจากซอฟแวร์สามารถที่จะให้ค่าการอ่านที่เชื่อถือได้เมื่อภาพรหัสเสื่อมคุณภาพ ขนาดที่เล็กของเครื่องอ่านทำให้เครื่องอ่านมีความเหมาะสมอย่างมากสำหรับการประยุกต์ใช้งานของระบบประกอบที่มีพื้นที่คับแคบ
“การทำเครื่องหมายด้วยเลเซอร์และ [เครื่องอ่านรหัสจากภาพ] ช่วยให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงสมรรถนะการทำงานของพวกเขาได้” เจนด์รอนสรุป การระบุชิ้นส่วนที่แต่ละสถานีงานที่มีความสำคัญของระบบประกอบชิ้นส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามกระบวนการประกอบชิ้นส่วน หลีกเลี่ยงความผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงาน และลดการทิ้งของเสียและการซ่อมของเสียในสายการผลิต วัตถุดิบที่เข้ามาพร้อมกับตัวระบุรหัสที่แตกต่างกันทำให้สามารถควบคุมวัตถุดิบคงคลังแบบเรียลไทม์ได้อีกด้วย
PCB: การอ่านรหัสอัตโนมัติ
เครื่องเล่น MP3 จากโซนี่ (Sony) เป็นผลิตภัณฑ์ที่บริษัทมุ่งมั่นในการตอบสนองความต้องการอย่างล้นหลามของตลาดผู้บริโภคและเน้นคุณภาพสูงเป็นหัวใจสำคัญ ในมาเลเซียบริษัทมองหาโซลูชั่นสำหรับเครื่องอ่านรหัสที่มีความสามารถในการติดตามแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) สำหรับเครื่องเล่น MP3 เหล่านี้ การติดตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากและทำให้บริษัทสามารถปกป้องตัวเองจากการถูกเรียกคืนสินค้าและการปนกันของสินค้า ซึ่งในกรณีที่เกิดปัญหานี้จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงเช่นเดียวกับ “การควบคุมความเสียหาย”
ก่อนหน้านี้พบว่ารหัสที่อ่านได้ไม่ดีพอและอัตราของเสียที่เกิดขึ้นมีผลทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงมากสำหรับบริษัทในแง่ของการนำชิ้นงานที่เสียกลับมาซ่อมใหม่ (ระบบการอ่านรหัสอันเดิมของเขาถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่มีความสามารถในการทำงานตามความต้องการของระบบการผลิต) การปฏิบัติงานของโรงงานในมาเลเซียของบริษัทในตอนนี้มีการใช้ In-Sight 5110 สำหรับการอ่านรหัสบนแผ่น PCB ที่ถูกนำมาประกอบและติดตั้งในเครื่องเล่น MP3
ความน่าเชื่อถือในการอ่านรหัส
PCB แต่ละแผ่นที่ไหลผ่านสายพานลำเลียงในสายการผลิตทั้งหมด 9 สายการผลิตและถูกทำเครื่องหมายโดยใช้รหัส Data Matrix ที่ประกอบด้วยข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวอักษร 10 ตัวโดยมีขนาดของรหัสเพียง 1 มม. x 1 มม. เท่านั้น ปริมาณการผลิตที่โรงงานนี้สูงถึง 40,000 ชิ้นต่อวัน
ซึ่งหมายถึงระบบการอ่านรหัสที่ใช้ต้องแน่ใจได้ว่าต้องมีอัตราการอ่าน 100 เปอร์เซ็นต์เพื่อให้การผลิตทำได้อย่างต่อเนื่องไม่มีการสะดุดและตัดปัญหาเรื่องเวลาการหยุดซ่อมเครื่องจักร ระบบการอ่านรหัสที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถที่จะให้ประสิทธิภาพการทำงานในระดับนี้ได้ ส่งผลให้มีอัตราของเสียเฉลี่ย 10,000 ชิ้นต่อสัปดาห์ และทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและทำให้เสียเวลาในการส่งมอบสินค้าสู่ตลาด
เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่หมายเลขรุ่น (Serial number) ที่ทำเครื่องหมายอยู่ในตำแหน่งส่วนหัวของแผ่น PCB แต่ละแผ่นสำหรับสายการประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ต้องถูกนำมาใช้สำหรับการระบุและติดตาม ถ้าเครื่องอ่านรหัสไม่สามารถที่จะปรับตั้งตามการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์บนสายการผลิต หมายเลขรุ่นก็อาจจะมีตำแหน่งไม่ตรงกับตำแหน่งการอ่านและข้อมูลก็จะสูญหายไป
โดยสองจุดที่อ่านนั้นไม่ได้เป็นค่าเดียวกัน สภาพแวดล้อมแสงสว่าง หรือวิธีการที่ชิ้นงานถูกแสดงให้เห็นต่อเครื่องอ่านรหัสนั้นสามารถที่จะให้ค่าการอ่านที่แตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้นอุปกรณ์การอ่านรหัสที่มีทั้งความทนทานและความยืดหยุ่นสูงสามารถทำงานได้อย่างน่าเชื่อถือภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่จำเป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด
บริษัทได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องอ่านรหัสหลากหลายรุ่นที่มีในท้องตลาด และพบว่าเครื่องอ่านรหัสที่สามารถทำงานได้ตามที่คาดหวังคือเครื่องอ่านรหัส Cognex In-Sight 5110 ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
- อัตราการอ่านที่ดีกว่าในด้านความเร็วและคุณภาพของการถอดรหัส
- เครื่องอ่านมีคุณสมบัติการสนับสนุนการทำงานสำหรับรหัสภาพที่ผิดเพี้ยนจากปกติซึ่งทำให้มั่นใจได้ถึงการอ่านรหัสที่เชื่อถือได้แม้ว่าจะมีมุมการอ่าน PCB ที่แตกต่างกันก็ตามที
- รูปแบบในการอ่านค่าจะถูกเก็บไว้ในเครื่องอ่านในวิธีการที่เหมือนกับการพยายามอ่านหลายครั้งโดยใช้ค่าแสงที่แตกต่างกัน (การปรับตั้งค่าด้วยตัวเองกับพื้นผิวของ PCB) ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการเพิ่มอัตราความสำเร็จในการอ่านรหัส
- ไม่จำเป็นต้องมีการตั้งค่าเครื่องอ่านใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์
- ช่องทางการสื่อสารหลายช่องทางที่มีความยืดหยุ่น
- การเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบฐานข้อมูลในโรงงาน
- เครื่องอ่านยังมีระบบรู้จำตัวอักษร (OCR) ที่เชื่อถือได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
ในตอนนี้เครื่องอ่านรหัสถูกติดตั้งบนสายการผลิตทั้งหมด 9 สายการผลิต เวลาการอ่านรหัสในตอนนี้จะมีค่าเป็น 2 วินาทีต่อการอ่านหนึ่งครั้งเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์คู่แข่งซึ่งใช้เวลามากกว่า 10 วินาทีในการอ่านรหัส อัตราความสำเร็จในการอ่านรหัสเพิ่มขึ้นจาก 95 เปอร์เซ็นต์เป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยอัตราการอ่านรหัสที่ประสบความสำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ สายการผลิตไม่จำเป็นต้องหยุดงานจากผลของการอ่านรหัสที่มีคุณภาพไม่ดีพอ นอกจากนี้ยังไม่จำเป็นต้องมีการหยุดสายการผลิตสำหรับการปรับวางตำแหน่งชิ้นงานใหม่เพื่อปรับตั้งโฟกัส ปัจจัยเหล่านี้ยังทำให้
โซนี่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 5,000 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ (การคำนวณอิงจากอัตราความล้มเหลวในการอ่านรหัส 5 เปอร์เซ็นต์ของชิ้นงาน 200,000 ชิ้นต่อสัปดาห์สำหรับต้นทุนชิ้นงาน 1.5 ริงกิตมาเลเซีย (ประมาณ 15 บาท) ต่อชิ้น
ด้วยประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นมา ส่งผลให้ผู้ผลิตสามารถค้นหาโอกาสอื่นๆ สำหรับการใช้งานการอ่านค่ารหัสจากภาพที่มีคุณภาพสูงกว่าและปรับปรุงกำลังการผลิตให้สูงขึ้น
สอบถามข้อมูลโปรดติดต่อคุณ อนงค์ภัทร เดชกล้า (บริษัท อินวิส จำกัด) โทร: 02-219-1945,
มือถือ086-301-6120 Fax : 02-219-1946 Email : anongpat@gmail.com