แมทธิว กอนซาเลซ
รองประธานบริษัท กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย
IoT กำลังเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมของประเทศไทย และด้วยระบบการดำเนินงาน แบบชาญฉลาดนี้ จะช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากการนำ IoT มาปรับใช้ โดยผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อถึงกันจะยิ่งช่วยให้ขยายฐานโซลูชันและการบริการได้มากยิ่งขึ้น สามารถดำเนินการได้อย่างอัตโนมัติ และยังช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
ทุกวันนี้ เราได้ยินเรื่องต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับ IoT หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) และการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 (Industry 4.0) ซึ่งคำเหล่านี้ล้วนอ้างถึงเมกะเทรนด์อันเดียวกันที่กำลังส่งผลกระทบต่อตลาดและลูกค้าหลายรายในปัจจุบัน รวมไปถึงอนาคตในระยะที่สามารถคาดการณ์ได้ ทั้งนี้ สำหรับอุตสาหกรรม เราขอเรียกเมกะเทรนด์นี้ว่า IIoT (Industrial Internet of Things) หรือถ้าให้เรียกเป็นภาษาไทยก็คือ อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งสำหรับอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมกระบวนการที่ครบถ้วน รวมถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันทั้งหมด เราจะวางจุดยืนของเราในเรื่องนี้อย่างไรให้กลยุทธ์ด้าน IIoT มีความชัดเจนและเกี่ยวข้องกับลูกค้าของเรา
IIoT ที่สอดคล้องกับหน่วยธุรกิจด้านอุตสาหกรรม
คำจำกัดความจะครอบคลุม 3 ประเด็นต่อไปนี้
1. โลกของผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกันได้อย่างชาญฉลาด (เหล่านี้เรียกว่า “สรรพสิ่ง”) ที่ฝังฟังก์ชั่นการทำงานที่ฉลาดไว้ในหลากหลายระดับด้วยกันไม่ว่าจะเป็น
2. ผลิตภัณฑ์ด้านการเชื่อมต่อที่ชาญฉลาดเหล่านี้ ทำงานเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ใหญ่กว่า หรือเป็นระบบย่อยในระบบที่ประกอบไปด้วยสินทรัพย์หลายส่วนที่เชื่อมต่อกันได้อย่างฉลาด ได้แก่ สมาร์ท แมชชีน สมาร์ท แฟคทอรี่ สมาร์ท แพลนท์ สมาร์ท เอ็นเตอร์ไพรซ์ ระบบที่ว่าจะใช้ความเป็นระบบเปิดและใช้อินเทอร์เน็ตเป็นมาตรฐาน รวมถึงเรื่องโมบิลิตี้ ระบบคลาวด์ และเทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้ควบคุมธุรกิจได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. ผลลัพธ์ที่ได้ คือคุณค่าทางธุรกิจที่จับต้องได้ทั้งสำหรับเราและผู้ใช้ รวมถึงลูกค้าโออีเอ็ม ในประเด็นต่อไปนี้
“กลยุทธ์ด้าน IIoT ของเราและการพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวเนื่องนั้นนับได้ว่าเป็นกลยุทธ์แรกและเป็นความล้ำหน้าที่ให้คุณค่าเสริมแก่ลูกค้านอกเหนือเทคโนโลยีที่ใช้กันอยู่ และการสื่อสารของเราต้องเน้นที่จุดนี้เป็นหลัก”
3 เทคโนโลยีหลักที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อน IIoT ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ที่ให้การเชื่อมต่ออย่างฉลาด (Smart Connected Products) ตามที่กล่าวถึงในคำจำกัดความของเรานั้น กำลังได้รับการพัฒนาโดยเป็นผลมาจากตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีประการแรกและประการที่สอง ในทางกลับกัน การย้ายความฉลาดมาใส่ไว้ในอุปกรณ์ที่ใช้งานเฉพาะทางจะส่งผลกระทบถึงสถาปัตยกรรมของระบบควบคุม ซึ่งจะมีการกระจายศูนย์มากขึ้นและรองรับการให้บริการได้มากขึ้น
ส่วนตัวขับเคลื่อนประการที่สาม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้พัฒนาคลังจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Repository) สำหรับบริการบนระบบคลาวด์ นอกจากนี้ ยังมีทีมงานเฉพาะที่เป็น “นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล” ที่ทำงานในส่วนนี้ เพื่อระบุปัญหาทางธุรกิจมากกว่า 150 เรื่องที่ต้องอาศัยโซลูชันด้านการวิเคราะห์มาช่วย พร้อมการทำงานร่วมกับหน่วยธุรกิจ และสายผลิตภัณฑ์ของธุรกิจนั้น ๆ เพื่อขึ้นเป็นต้นแบบในการนำเสนอสิ่งที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ การถกประเด็นเรื่องของ IIoT จะยังไม่จบสิ้น หากไม่มีการพูดถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ โซลูชันรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์นับเป็นปัจจัยหลักสำหรับการนำ IIoT มาใช้ และเราก็กำลังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองเรื่องความปลอดภัย รวมถึงพัฒนาการของโปรโตคอลในอุตสาหกรรม พร้อมรักษาความความปลอดภัยระบบที่ขยายครอบคลุมไปถึงการให้บริการทางไกลและเรื่องของคลาวด์
พัฒนาการสู่ IIoT
ในการถกประเด็นกับลูกค้าเกี่ยวกับเรื่อง IIoT จะมีข้อความหลักอยู่ 8 ประการที่คุณสามารถใช้เน้นย้ำเรื่องของกลยุทธ์ได้ ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะมีการขยายรายละเอียดในแพลตฟอร์มข้อความที่ควรจะนำมาใช้เป็นพื้นฐานของการสื่อสารทั้งหมด
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด