เนื้อหาวันที่ : 2015-10-21 16:38:16 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5281 views

ดร.วิทยา อินทร์สอน

สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์

นางสาวปัทมาพร ท่อชู

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ดร.สุรพงศ์ บางพาน

สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงใหม่

 

 

 

 

ปัจจุบันรูปแบบการดำเนินชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต คือ มุ่งเน้นการบริโภคมากขึ้น และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก ก็ยิ่งก่อให้เกิดการบริโภคสินค้าสิ้นเปลืองมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดในปริมาณที่มาก โดยผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการผลิต ดังนั้นหากการผลิตเกิดขึ้นโดยไม่คำนึงถึงปริมาณที่จำกัดของทรัพยากรก็จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน

 

 

               ดังนั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการบริโภคให้ยั่งยืน จึงน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการสร้างกลไกส่งเสริมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นั่นคือการใช้สินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในขณะที่มีการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดการปล่อยมลพิษตลอดวัฏจักรชีวิตให้เหลือน้อยที่สุดจนไม่ส่งผลกระทบต่อคนรุ่นหลัง

               นอกจากนี้จะรู้ได้อย่างไรว่า สินค้าและบริการใดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคสามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์บนกล่องหรือหีบห่อหรือบนตัวสินค้า ได้แก่ สัญลักษณ์ฉลากเขียว, สัญลักษณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5, สัญลักษณ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพ หากเป็นบริการต่าง ๆ ผู้บริโภคเพียงมองหาสัญลักษณ์การรับรองได้แก่ สัญลักษณ์รูปใบไม้เขียวสำหรับบริการโรงแรม เป็นต้น ดังนั้นทุกครั้งที่ต้องการซื้อ หรือใช้บริการต่าง ๆ จงเตือนตัวเองเสมอว่าให้มองหาสัญลักษณ์ของสินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากจะได้ใช้สินค้าและบริการที่เป็นไปตามความต้องการของตนเองแล้ว ยังจะได้มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

 

รูปที่ 1 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

 

ความเป็นมาและสถานการณ์การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

             พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้จัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Conference on Sustainable Development) ณ กรุงสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน การประชุมระหว่างประเทศเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ส่งผลให้ชาติต่าง ๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

                .ศ.2548 (ค.ศ.2002) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจัดทำโครงการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในโรงเรียน (ระหว่าง ปี 2548-2554 ซึ่งได้มีวัตถุดิบหรือวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหลายชนิด เช่น กระดาษสา ที่ไม่ใช้สารฟอกขาว และผ้าย้อมสีธรรมชาติ การออกแบบผลิตภัณฑ์จากบรรจุภัณฑ์ที่เหลือทิ้งจากครัวเรือนหรือชุมชน (เช่น ถุงนม กล่องนม กล่องเครื่องดื่ม) การออกแบบผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอพื้นเมือง เป็นต้น

              พ.ศ.2554 (ค.ศ.2011) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์ต้นแบบของชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้า การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และมีการใช้เครื่องหมายการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และการจัดการสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมฯ ดำเนินโครงการพัฒนาเกณฑ์การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเภทการผลิตกระดาษสา สุรากลั่น สิ่งทอขนาดเล็ก เฟอร์นิเจอร์ไม้ และผลิตผักและผลไม้แช่เย็น/แช่แข็ง

             พ.ศ.2555 (ค.ศ.2012) ประเทศไทยเริ่มแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555-2559 มีมาตรการที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน การปรับฐานการผลิตภาคเกษตรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การปรับฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การพัฒนามาตรฐานสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

                .ศ.2557 (ค.ศ.2014) มีการประชุม UNEA สมัยที่ 1 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (The First UN Environment Assembly of the UN Environment Program) ที่สำนักงานใหญ่ UNEP (United Nations Environment Programme) ณ เมืองไนโรบี ประเทศเคนย่า โดยมีหัวข้อการประชุม คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและวาระการพัฒนาหลังปี 2015 รวมทั้งการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะมุ่งเน้นว่าการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนที่เชื่อมโยงกับขอบข่ายทั้งโลก รวมทั้งเสริมสร้างให้ประเทศกำลังพัฒนาเกิดการการพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่เกิดขึ้น

 

 

ความหมายของผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

               ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ สินค้าที่ผลิตจากกระบวนการและเทคโนโลยีที่ใส่ใจกับผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบในการผลิต จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ รอการบรรจุลงในหีบห่อและบรรจุภัณฑ์สำหรับเตรียมการขนส่งและจัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคต่อไป รวมถึงการจัดการซากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อย่างถูกวิธี

               ส่วนบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือบริการต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร เป็นต้น ธุรกิจเหล่านี้ให้ความสำคัญใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมได้โดยการเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ และมีการจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมทั้งมีการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวที่เลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้มีการรณรงค์สื่อสารให้บุคลากรในหน่วยงานเห็นคุณค่าความสำคัญ และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่เลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

สังเกตได้อย่างไรว่าสินค้าหรือบริการใดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

                สินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับการตรวจสอบประเมินผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการผลิตตลอดทั้งวัฎจักรผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญการด้านสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์หรือข้อกำหนดของสินค้าผลิตภัณฑ์หรือบริการแต่ละประเภท จึงจะได้รับ "ฉลาก" หรือ "ตราสัญลักษณ์" ซึ่งฉลากที่มีออกโดยหน่วยงานในประเทศไทย แสดงว่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ จัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตสามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ว่ากว่าที่จะได้มาซึ่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อใช้สินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดหากเปรียบเทียบกับสินค้าตามท้องตลาดในประเภทเดียวกัน

                สินค้าอุปโภคบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคสามารถสังเกตสัญลักษณ์บนกล่อง หีบห่อ บรรจุภัณฑ์หรือบนตัวสินค้านั้น ๆ ได้แก่


                1. สัญลักษณ์ฉลากเขียว
                2. สัญลักษณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5
                3. สัญลักษณ์ผลิตมาจากวัสดุแปรใช้ใหม่
                4. สัญลักษณ์ที่ผลิตมาจากป่าที่ปลูก
                5. สัญลักษณ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพ 
                 

               สินค้าจำพวกอาหารทั้งสด และแห้ง ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นสินค้าที่ผลิตมาจากกระบวนการผลิตปลอดสารเคมีหรือไม่โดยสังเกตสัญลักษณ์ ได้แก่ สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์         

                บริการต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้านซักแห้ง หรือสถานีบริการน้ำมัน ฯลฯ ผู้บริโภคเพียงมองหาสัญลักษณ์การรับรอง ได้แก่ สัญลักษณ์รูปใบไม้เขียว สำหรับบริการโรงแรม

                ดังนั้นทุกครั้งที่ต้องการซื้อของหรือใช้บริการต่าง ๆ ต้องทำให้เป็นนิสัย หมั่นมองหาตราสัญลักษณ์ดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้นก็จะทำให้ผู้บริโภคทราบได้ว่าสินค้าหรือบริการใดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้เลือกใช้ตามความต้องการ และมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย

 

 

รูปที่ 2 ตัวอย่างฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ 

 

 

ประโยชน์การเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

            ในปัจจุบันหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ สามารถมีส่วนร่วมในการเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (สินค้าที่ได้รับฉลากสีเขียว) และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประโยชน์ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีดังนี้

 

  1. ประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผู้บริโภคจะได้ใช้สินค้าที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ในกระบวนการผลิต เป็นการลดการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองและสารที่เป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทําให้มีผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยรวมรวมทั้งช่วยปลูกฝังค่านิยมให้สังคมร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วย
  2. ประโยชน์ต่อผู้ผลิต เมื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้รับความนิยมมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ปริมาณการจําหน่ายสูงขึ้นด้วย อีกทั้งในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ยังเน้นให้ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีอย่างคุ้มค่าและปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระยะยาว ทั้งในการประหยัดต้นทุนการผลิตและเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อผลิตภัณฑ์
  3. ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างร่วมมือร่วมใจกันผลิตและบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว ก็จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม คือ ช่วยลดผลกระทบต่าง ๆ ในการผลิตที่อาจเกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งช่วยลดการปล่อยมลพิษที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย

 

 

ประเภทสินคาและบริการที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมที่ไดรับการคัดเลือก

 

                สินคาและบริการที่ไดรับการพิจารณาคัดเลือกและจัดทําเกณฑขอกําหนดสินคา และบริการที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมไว ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 17 ประเภท แบ่งเป็น 3 หมวด ดังนี้

 

              หมวดวัสดุและเครื่องใช้ในสํานักงาน

                1.กระดาษคอมพิวเตอร/กระดาษสีทําปก 2.กระดาษชําระ 3.กลองใสเอกสาร 4.แฟมเอกสาร 5.ซองบรรจุภัณฑ์ 6.ปากกาไวตบอรด 7.ผลิตภัณฑลบคําผิด 8.ตลับหมึก 9.เครื่องถายเอกสาร 10.เครื่องพิมพ          

 

             หมวดครุภัณฑ์และอื่นๆ

                 11.เครื่องเรือนเหล็ก 12.สีทาอาคาร 13.หลอดฟลูออเรสเซนต 14.แบตเตอรี่ปฐมภูมิ

 

             หมวดบริการ

                 15.บริการทําความสะอาด 16.บริการโรงแรม 17.บริการถ่ายเอกสาร

 

                ดังนั้นผู้เขียนขอยกตัวอย่างสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางรายการ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ประกอบในการตัดสินใจการจัดซื้อ ได้ดังนี้

 

1. กระดาษคอมพิวเตอรและกระดาษสีทําปกที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม กระดาษในที่นี้ครอบคลุมเฉพาะกระดาษคอมพิวเตอรที่ใชกับเครื่องพิมพระบบหมึกผงแหง (Dry Toner) และกระดาษสีทําปก

 

 

รูปที่ 3 ตัวอยางกระดาษคอมพิวเตอรตาง ๆ

 

          คำอธิบาย

 

  1. กระดาษคอมพิวเตอร เป็นกระดาษที่ทําขึ้นเพื่อใหเหมาะกับการพิมพระบบหมึกผงแหง
  2. กระดาษสีทําปก เป็นกระดาษทําขึ้นเพื่อใหเหมะสำหรับการทําปกเอกสาร
  3. กระดาษรีไซเคิล หรือกระดาษที่ผลิตจากเยื่อเวียนทําใหม่ เป็นกระดาษที่มีสวนผสมของเยื่อเวียนทำใหม หรือเยื่อรีไซเคิล โดยมีจุดดําขนาดตั้งแต 0.25 ตร.มม. ขึ้นไปไดไมเกิน 5 จุด ตอ 1 หนากระดาษขนาด A4

 

           ผลกระทบตอสิ่งแวดล้อมจากกระดาษ

 

               กระบวนการการผลิตกระดาษ 1 ตัน ตองใชตนไม 17 ตน น้ำ 20 ลูกบาศกเมตร น้ำมัน 300 ลิตร กระแสไฟฟา 1,000 กิโลวัตต-ชั่วโมง และมีการปลอยมลพิษออกมาในปริมาณมาก โดยเฉพาะมลพิษทางน้ำที่สารพิษที่เกิดขึ้นกระบวนการผลิต ในขั้นตอนตาง ๆ จะกอใหเกิดอันตรายตอสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยูในแหลงน้ำ จากคาความเปนกรดดางในน้ำเปลี่ยนแปลง คาออกซิเจนในน้ำลดลง เกิดไดออกซิน ซึ่งเปนสารพิษเหลือคางในอากาศ และน้ำจากการใชกาซคลอรีนสําหรับฟอกเยื่อ และเกิดการสะสมของสารพิษตาง ๆ ในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดลอม

 

           เกณฑอกําหนดกระดาษคอมพิวเตอรและกระดาษสีทำปกที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

 

                การพิจารณาเลือกซื้อกระดาษคอมพิวเตอร และกระดาษสีทําปกที่ไดรับเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอม เชน ฉลากเขียว หากไมไดรับเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอมใหพิจารณาตามเกณฑ์ขอกําหนด ดังนี้

 

  1. ผลิตภัณฑทําจากเยื่อเวียนทําใหม ไมนอยกวารอยละ 30
  2. สีที่เปนส่วนประกอบของผลิตภัณฑ จะต้องไม่มีโลหะหนักจําพวก ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม โครเมียมเฮ็กซาวาเลนท เปนสวนประกอบ หรือไดรับการรับรอง หรือเปนไปตามกฎเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย

 

           หลักฐานเพื่อการตรวจรับกระดาษคอมพิวเตอรและกระดาษสีทําปกที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

 

  1. เครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอม เชน ฉลากเขียว หรือใบรับรอง หรือสัญญาอนุญาตใหใชเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอม
  2. เอกสารลงนามรับรองโดยกรรมการผูจัดการของบริษัทผูผลิต หรือผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทผูผลิต เพื่อแสดงวาผลิตภัณฑ์เป็นไปตามเกณฑ์ข้อกําหนดสําหรับกระดาษคอมพิวเตอรและกระดาษสีทำปกที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม ในขอ 1
  3. ผลการทดสอบวาคุณสมบัติเปนไปตามขอ 2 ของเกณฑข้อกําหนดสําหรับกระดาษคอมพิวเตอร และกระดาษสีทําปกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดลอม จากสถาบันทดสอบหรือหองปฏิบัติการ ที่ไดรับการรับรองตามมาตรฐาน มอก./ISO/IEC17025 หรือหองปฏิบัติการของราชการ หรือสถาบันการศึกษา

 

 

2. เครื่องเรือนเหล็กที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เครื่องเรือนเหล็กในที่นี้ครอบคลุมเฉพาะเครื่องเรือนที่ทําดวยเหล็กกลาไมนอยกวา รอยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดของผลิตภัณฑ

 

            คําอธิบาย

 

               1. เครื่องเรือนเหล็ก หมายถึง ตู โตะ เกาอี้ เตียง ชั้นวางของ และฉากกั้นหองที่ทําดวยเหล็กกลา หรือโครงสรางหลักทําดวยเหล็กกลา และมีสวนประกอบอื่นทำด้วยวัสดุประเภทตาง ๆ

               2. อุปกรณเสริม หมายถึง อุปกรณที่ใชตกแตงผลิตภัณฑ เพื่อความสวยงาม และความสะดวกสบายในการใชงาน เชน มือจับ ชองใสปายชื่อ ราวแขวนเสื้อผา กระจก ยกเวนกุญแจ คืออุปกรณ์ที่ใชตกแตงผลิตภัณฑเพื่อความสวยงามและความสะดวกสบายในการใชงาน เชน มือจับ ชองใสปายชื่อ ราวแขวนเสื้อผา กระจก ยกเวนกุญแจ

 

 

รูปที่ 4 ตัวอย่างเครื่องเรือนเหล็ก

 

 

           ผลกระทบตอสิ่งแวดลอมจากเครื่องเรือนเหล็ก

 

                เริ่มจากกระบวนการผลิตตองใชทรัพยากรเหล็กกลา และพลังงานไฟฟาเปนจํานวนมาก เริ่มจากการตัด ปม เชื่อม ประกอบพนสี การใชสีเคลือบกันสนิม สีที่ใชอาจกอใหเกิดมลพิษ การระเหยของสารเคมี นอกจากนี้การใชสีเคลือบที่มีสารประกอบอินทรียที่ระเหยได้ และโลหะหนักเปนองคประกอบ อาจเปนอันตรายตอสุขภาพ เมื่อรางกายไดรับสารเหลานี้

 

            เกณฑอกําหนดเครื่องเรือนเหล็กที่เปนมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

                การพิจารณาเลือกซื้อเครื่องเรือนเหล็กที่ไดรับเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอม เชน ฉลากเขียวหากไมไดรับเครื่องหมายฉลาก สิ่งแวดลอม ใหพิจารณาดังนี้

          1. ไดรับการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม (มอก.)

          2. สีที่ใชเคลือบผลิตภัณฑตองมีสมบัติดังนี้

                2.1 ไมมีสารฟอรมัลดีไฮด (Formaldehyde)

                2.2 ไมมีตัวทําละลายสารละลายฮาโลเจน (Halogenated Solvent)

                2.3 ไมมีอนุภาคของโลหะหนัก เชน ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม โครเมียมเฮกซาวาเลนท และออกไซดของธาตุเหลานี้

                2.4 ไมมีสารประกอบแอโรแมติกไฮโดรคารบอน เชน ทินเนอร โทลูอิน ไซลีนเปนตัวทําละลาย แตไมรวมถึงวัสดุที่มีปฏิกิริยาเคมีดีกวาหรือเทียบเทาสารประกอบแอโรแมติกไฮโดรคารบอนเหลานี้

                2.5 ไมมีสารประกอบอินทรียที่ระเหยได เกิน 250 กรัม/ลิตร
           3. ไมเคลือบผิวอุปกรณเสริมดวยโครเมียม นิกเกิล สังกะสี และปรอท

           4. บรรจุภัณฑ

                4.1 กรณีที่ใชบรรจุภัณฑกระดาษ ตองทํามาจากเยื่อเวียนทำใหม ไมนอยกวารอยละ 70

                4.2 วัสดุกันกระแทกตองไมใชสารซีเอฟซี (CFCs) เปนสารเปาโฟม

 

            หลักฐานเพื่อการตรวจรับเครื่องเรือนเหล็กที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

 

  1. เครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอม เชน ฉลากเขียว หรือใบรับรอง หรือสัญญาอนุญาตใหใชเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอม
  2. เครื่องหมายรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
  3. ผลการทดสอบวาคุณสมบัติเปนไปตามขอ 2 ของเกณฑ์ ขอกําหนดสําหรับเครื่องเรือนเหล็กที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมจากสถาบันทดสอบหรือหองปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน มอก./ISO/IEC 17025 หรือหองปฏิบัติการของราชการ หรือ สถาบันการศึกษา
  4. เอกสารลงนามรับรองโดยกรรมการผูจัดการของบริษัท ผู้ผลิตหรือผูมีอำนาจลงนามของบริษัทผู้ผลิต เพื่อแสดงวาผลิต ภัณฑ์เป็นไปตามเกณฑ์ข้อกําหนดสําหรับเครื่องเรือนเหล็กที่เปน มิตรกับสิ่งแวดล้อม ในขอ 3 ถึง 4

 

  

3. สีทาอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑสีในที่นี้ครอบคลุมเฉพาะ

 

           1. สีและผลิตภัณฑ์เคลือบเงาที่มีตัวทําละลายเปนนํ้า

                1.1 สีอิมัลชัน (Emulsion Paints) ที่แหงเองไดในอากาศ ใชสําหรับเคลือบ (ทา พน ฯลฯ) ภายนอกและภายในอาคารรวม ถังสีที่ใชรองพื้นสําหรับงานปูน

                1.2 สีในกลุ่มอื่น ไดแก่

                     1.2.1 สีที่ละลายในนํ้า

                     1.2.2 สีที่กระจายตัวในนํ้า

                     1.2.3 สีนํ้าเขมขน

 

            2. สีและผลิตภัณฑเคลือบเงาที่มีตัวทําละลายเปนสารอินทรีย (Solvent-Based Paints and Varnishes)

 

            คําอธิบาย

 

                1. สีที่ละลายในนํ้า (Water-Soluble Paints) เป็นสีที่ใชเรซิน (Resin) ที่สามารถละลายไดในนํ้า หรือใชสารยึดที่มีกลุ่มหน้าที่ยึดนํ้า (Hydrophilic Functional Group)

                2. สีที่กระจายตัวในนํ้า (Water-Dispersing Paints) เป็นสีที่ใชเรซินที่สามารถกระจายตัวในนํ้าได้หรือใชสารยึดที่สามารถ กระจายตัวไดในวัสดุเคลือบ

                3. สีน้ำเงินเข้ม (Water-Slurry Paints) เป็นสีที่มีปริมาณผงสีมาก และมีสารยึดเป็นสารอินทรีย์และอนินทรีย์ ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1.0 ไมครอน (µm) เช่น สีเท็กเจอร์ (Texture Paints)

                4. สีที่มีตัวกลางเป็นตัวทำละลาย (Solvent-Based Paints) เป็นสีที่ใช้สารประกอบ

                5. สารประกอบอินทรียที่ระเหยได (Volatile Organic Compounds) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีจุดเดือดไม่เกิน 250oC ที่ความดันปกติตามวิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ISO 11890-1 หรือ ISO 11890-2

 

รูปที่ 5 ตัวอย่างสีทาอาคาร

 

 

           ผลกระทบตอสิ่งแวดล้อมจากสีทาอาคาร

 

                สีมีสวนผสมของโลหะหนัก เชน ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม โครเมียม โลหะหนัก เหล่านี้จะฟุงกระจายและตกคางอยูในบรรยากาศเป็นเวลานาน เมื่อสัมผัสหรือหายใจแลวจะเกิดการสะสมในรางกาย เป็นอันตรายตอสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สวนประกอบอินทรียที่ระเหยไดที่ใช้ในสวนผสมของสารเติมแต่งนั้นอาจเปนอันตรายตอระบบประสาท เลือด และไต นอกจากนี้ยังทําปฏิกิริยากับแสงแดดเปลี่ยนแปลงเปนโอโซนและมลสารอื่น ๆ เกิดเปนหมอกในบรรยากาศชั้นลางได มลสารเหลานี้สามารถทําให้ ตา จมูก และคอเกิดอาการระคายเคืองอยางรุนแรงตอเยี่อจมูก เยี่อในระบบทางเดินหายใจ และอาจทําใหเกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ และผิวหนัง และเป็นสารกอมะเร็ง

 

            เกณฑอกําหนดสีทาอาคารที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

 

                การพิจารณาเลือกซื้อสีทาอาคารที่ไดรับเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอม เชน ฉลากเขียวหากไมไดรับเครื่องหมายฉลากสิ่งแวด ลอม ใหพิจารณาตามเกณฑดังนี้

  1. สารประกอบอินทรียที่ระเหยไดมีปริมาณไมเกินที่กำหนดคือ

                1.1 สีอิมัลชัน หากมีปริมาณสารประกอบอินทรียที่ระเหยได้ตองไมเกิน 50 กรัม/ลิตร

                1.2 สีและผลิตภัณฑเคลือบเงาที่มีตัวทําละลายเปนนํ้าชนิดอื่น ๆ หากมีปริมาณสารประกอบอินทรียที่ระเหยไดตองไมเกิน 100 กรัม/ลิตร

                1.3 สีและผลิตภัณฑเคลือบเงาที่มีตัวทําละลาย เปนสารอินทรีย หากมีปริมาณสารประกอบอินทรียที่ระเหยไดตองไมเกิน 380 กรัม/ลิตร

  1. สารประกอบ (วัตถุดิบหรือการเตรียมการ) ที่ใชในผลิตภัณฑ สีตองไมมีโลหะหนัก หรือสารประกอบของโลหะหนัก ไดแก ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม โครเมียม เฮ็กซาวาเลนท สารหนู พลวง สารประกอบไตรเฟนิลทินส (Triphenyl Tins: TPT) และสารประกอบไตรบิวทิลทินส (Tributyl Tins: TBT)
  2. ไมใชสารแอโรแมติกไฮโดรคารบอนเปนตัวทําละลาย และเมื่อตรวจสอบอนุญาตใหมีสารปนเปอนไดไมเกินเกณฑดังนี้

                3.1 สีอิมัลชัน มีการปนเปอนของสารแอโรแมติกไฮโดรคารบอน ไดไมเกินรอยละ 0.1 โดยนํ้าหนัก

                3.2 สีและผลิตภัณฑเคลือบเงาที่มีตัวทําละลายเปนนํ้าชนิดอื่น ๆ มีการปนเปอนของสารแอโรแมติกไฮโดรคารบอนได ไมเกินรอยละ 1 โดยนํ้าหนัก

                3.3 สีและผลิตภัณฑเคลือบเงาที่มีตัวทําละลายเปนสารอินทรีย มีการปนเปอนของสารแอโรแมติกไฮโดรคารบอนได ไมเกินรอยละ 5 โดยนํ้าหนัก

  1. ไมผสมตัวทําละลาย สารละลายฮาโลเจน (Halogenated Solvents) ในกระบวนการผลิต
  2. ไมผสมสารฟอรมัลดีไฮดในกระบวนการผลิต
  3. บรรจุภัณฑที่เปนโลหะตองไมมีสวนผสมของตะกั่ว บรรจุภัณฑที่เปนพลาสติก ตองแสดงสัญลักษณ บงบอกประเภทของ พลาสติก เพื่อสนับสนุนการแปรรูปใชใหม่

 

            หลักฐานเพื่อการตรวจรับสีทาอาคารที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

 

  1. มีเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอมรับรองผลิตภัณฑ เชน ฉลากเขียว ใบรับรอง หรือสัญญาอนุญาตใหใชเครื่องหมาย
  2. เอกสารลงนามรับรองโดยกรรมการผูจัดการของบริษัทผูผลิต หรือผูมีอํานาจลงนามของบริษัทผูผลิต เพื่อแสดงวาผลิตภัณฑเปนไปตามเกณฑ์ขอกำหนดสีทาอาคารที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
  3. ผลการทดสอบวาคุณสมบัติเปนไปตามขอ 1 ของเกณฑ์ขอกําหนดสําหรับสีทาอาคารที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม จากสถาบัน ทดสอบ หรือหองปฏิบัติการ ที่ไดรับการรับรองตามมาตรฐานมอก./ISO/IEC 17025 หรือหองปฏิบัติการของราชการ หรือ สถาบันการศึกษา

 

  

4. หลอดฟลูออเรสเซนตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลอดฟลูออเรสเซนต ในที่นี้ครอบคลุมหลอดฟลูออเรสเซนต (Fluorescent Lamp) และหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต (Compact Fluorescent Lamp)

 

            คําอธิบาย

 

  1. หลอดฟลูออเรสเซนต (Fluorescent Lamp) เป็นหลอดแกวรูปทรงกระบอก เปลงแสงออกมาจากสารฟลูออเรสเซนตที่เคลือบอยูบนผิวภายในของหลอด เนื่องจากถูกกระตุนโดยรังสีอัลตราไวโอเลต
  2. หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต (Compact Fluorescent Lamp) หมายถึง หลอดฟลูออเรสเซนตที่มีขนาดเล็ก แบง เป็น 2 กลุม คือ หลอดที่มีอุปกรณควบคุมการทํางานติดรวมอยูกับหลอด และหลอดที่มีอุปกรณควบคุมการทํางานแยกจากกันอิสระ

 

 

รูปที่ 6 ตัวอย่างหลอดฟลูออเรสเซนต์

 

 

           ผลกระทบตอสิ่งแวดลอมจากหลอดฟลูออเรสเซนต

 

           ผลกระทบตอสิ่งแวดลอมเริ่มจากกระบวนการผลิตกอใหเกิดสารพิษตาง ๆ เชน ไอปรอท ไอของตัวทําละลาย ขณะใชงานเกิด ผลกระทบจากการใชพลังงานไฟฟาตลอดจนการเกิดกากของเสียอันตราย เชน ปรอท ปนเปอนในสิ่งแวดลอมและขยะมูลฝอยหากไมมีการกําจัดที่ถูกตอง

 

            เกณฑอกําหนดหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

 

            การพิจารณาเลือกซื้อหลอดฟลูออเรสเซนตที่ไดรับเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอม เชน ฉลากเขียว และหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนตที่ไดรับเครื่องหมายฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพอุปกรณ์ฉลากเขียว และหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนตที่ไดรับเครื่องหมายฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพอุปกรณ์ไฟฟา เชน ฉลากเบอร 5 หากไมไดรับเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอมหรือฉลากเบอร 5 ใหพิจารณาตามเกณฑดังนี้

  1. ไดรับการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หลอดฟลูออเรสเซนต และมาตรฐานที่เกี่ยวของ หรือ มาตรฐานระหวางประเทศที่เปนที่ยอมรับ
  2. มีคาประสิทธิภาพในการใหพลังงานของหลอดฟลูออเรสเซนต (Luminous Efficacy)
  3. มีอายุการใชงานไมต่ำกวา 10,000 ชั่วโมง
  4. มีปรอทบรรจุอยูไมเกินกวา 10 มิลลิกรัมตอหลอด
  5. บรรจุภัณฑที่บรรจุฟลูออเรสเซนตตองทําจากกระดาษรีไซเคิล หรือกระดาษลูกฟูกที่ผลิตจากเยื่อเวียนใหมรอยละ 100
  6. ไมใชสารเปาโฟม (Foaming Material) ลามิเนต (Laminates) หรือวัตถุดิบที่มีพลาสติกเปนสวนประกอบในบรรจุภัณฑ
  7. มีคูมือการใชงานที่ระบุประเด็นตาง ๆ เชน คําเตือน และ/หรือคําแนะนําในการใชงานที่เหมาะสมรวมกับอุปกรณชนิดอื่น วิธีการหรือเงื่อนไขในการเก็บกักกําจัดที่เหมาะสม ตองแสดงชื่อและที่อยู่ของผูผลิตอยางชัดเจนติดไวที่บรรจุภัณฑผูผลิตอยางชัดเจนติดไวที่บรรจุภัณฑ
  8. มีมาตรการในการรับคืนซากผลิตภัณฑ และนํากลับมาจัดการอยางถูกตองตามหลักวิชาการ
  9. หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ ประเภทมีบัลลาสตรวมบรรจุอยูภายใน ตองมีคาตัวประกอบกําลัง (Power Factor) ไมต่ำกวา 0.55

 

            หลักฐานเพื่อการตรวจรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

 

     1.เครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอม เชน หลอดฟลูออเรสเซนต มีฉลากเขียว หรือใบรับรองหรือสัญญาอนุญาตใหใชเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดลอม และหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต มีฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

     2.สามารถตรวจสอบรุนผลิตภัณฑที่ไดรับการรับรองฉลากสิ่งแวดลอมและฉลากประหยัดไฟฟาเบอร 5

 

           แนวทางการเลือกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

           ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค มีแนวทางการเลือกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาคุณสมบัติสินค้า ได้ดังนี้

 

     1. ใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เช่น วัสดุที่ไม่มีพิษ วัสดุหมุนเวียนทดแทนได้ วัสดุรีไซเคิล และวัสดุที่ใช้พลังงานต่ำในการจัดหามา

     2. ใช้วัสดุน้อย เช่น น้ำหนักเบา ขนาดเล็ก มีจำนวนประเภทของวัสดุน้อย เช่น มีวัสดุหีบห่อน้อย มีการเสริมความแข็งแรง เพื่อให้ลดขนาดลงได้

     3. มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในการผลิต ใช้พลังงานที่สะอาด ลดการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิต และลดขั้นตอนของกระบวนการผลิต

     4. มีระบบขนส่งและจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ เช่น ลดการใช้หีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่ฟุ่มเฟือย ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่ใช้ซ้ำหรือหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ ใช้รูปแบบการขนส่งที่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ และเลือกใช้เส้นทางการขนส่งที่ประหยัดพลังงานที่สุด

     5. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดในช่วงการใช้งาน เช่นใช้พลังงานต่ำ มีการปล่อยมลพิษต่ำในระหว่างใช้งาน ลดการใช้วัสดุสิ้นเปลือง และลดการใช้ชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็น

     6. มีความคุ้มค่าตลอดชีวิตการใช้งาน เช่น ทนทาน ซ่อมแซมและดูแลรักษาง่าย ปรับปรุงต่อเติมได้ ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย

     7 .มีระบบการจัดการหลังหมดอายุการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การเก็บรวบรวมที่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ มีการออกแบบให้นำสินค้าหรือชิ้นส่วนกลับมาใช้ซ้ำหรือหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ง่าย หรือหากต้องกำจัดทิ้งสามารถนำพลังงานกลับคืนมาใช้ได้ และมีความปลอดภัยสำหรับการฝังกลบ

     8 .การพิจารณาว่าสินค้าใดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมควรพิจารณาว่าสินค้านั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากในช่วงใดของวัฏจักรชีวิต เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า จะก่อผลกระทบมากในช่วงใช้งานมากกว่าในช่วงการผลิต และหากมีการลดผลกระทบใน ช่วงดังกล่าวให้น้อยกว่าสินค้าอื่นที่มีลักษณะการทำงานเหมือน กัน รวมทั้งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ซึ่งจะถือได้ว่าเป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

 

เอกสารอ้างอิง

(1) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร.

(2) กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2551). คูมือการจัดซื้อจัดจ้างสินคาและบริการที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม. กรุงเทพฯ.

(3) ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ และคณะ. (2556). คู่มือการจัด ซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในภาคเอกชน. องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. นนทบุรี.

(4) เจนจบ สุขสด และคณะ (2557). คู่มือการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2557. กรมควบคุมมลพิษ กรุงเทพฯ.

 (5) วรรณภา ทองสีแก้ว. (2557). สินค้าและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. ส่วนส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12 อุบลราชธานี.

(6) วิฑูรย์ สิมะโชคดี. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม.(2555). วารสารโรงงานสีเขียว. กระทรวงอุตสาหกรรม.

(7) http://bangkokgreencity.bangkok.go.th/ Knowledge-Based/Article/InterestingArticles/

(8) http://www.onep.go.th/

(9) http://www.deqp.go.th

(10) http://ptech.pcd.go.th/gp

(11) http://www.environnet.in.th/

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด