กองบรรณาธิการ
บริษัท เนชั่นแนล อินสทรูเมนทส์ หรือ NI (Nasdaq: NATI) ผู้ให้บริการโซลูชั่นที่ช่วยให้วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์แก้ปัญหาท้าทายทางด้านวิศวกรรมที่ยากและซับซ้อน ในงาน NIDay 2016 ทาง NI ได้ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการเข้าถึงเวลาก่อนกำหนดสำหรับ Time Sensitive Networking ที่จะมาช่วยเสริมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะทำให้ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ชาญฉลาดและยืดหยุ่นมากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมผลิตสารกึ่งตัวนำ อากาศยาน และยานยนต์ พร้อมทั้งเปิดตัวซอฟต์แวร์ออกแบบ LabVIEW 2016 พร้อมกันในงานเดียว ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ นำโดย คุณเรียวตะ อิเคดะ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, คุณมาร์ค ฟิลิปส์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดระดับอาวุโส และ คุณเจริญ เพชรมุนี ผู้จัดการบริหารฝ่ายขายในท้องถิ่น ประเทศไทย เข้าร่วมให้ข้อมูลในงาน NIDay 2016
คุณเรียวตะ อิเคดะ
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก NATIONAL INSTRUMENTS (NI)
(Ryota Ikeda Marketing Director, APAC)
คุณเรียวตะ กล่าวว่า “งาน NIDay 2016 ได้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปีนี้เป็นปีที่ 40 ที่ NI ได้ดำเนินกิจการมา ผลิตภัณฑ์ที่เป็นหัวใจสำคัญของเราจะเป็นทางด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งก็คือ LabVIEW ที่จะครบรอบ 30 ปีในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งทางด้านผลิตภัณฑ์ของเราจะเป็นแพลตฟอร์มโซลูชั่นที่เราเสนอให้กับทางลูกค้า”
วิชั่นของเราก็คือ แพลตฟอร์มที่นำเสนอจะช่วยให้ลูกค้ามีการผลิตที่ดี มีนวัตกรรม และมีการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ จากการทำงาน ซึ่งเรารักษาความมุ่งมั่นนี้มาตลอด 40 ปี
“แพลตฟอร์มของเราถ้าพูดง่าย ๆ ก็เปรียบเทียบได้กับ IOS ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มหนึ่ง และก็มีแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ทำงานอยู่บน IOS ซึ่ง IOS ก็จะมีฮาร์ดแวร์อยู่ เช่น IPhone, IPad ที่เป็นเครื่องมือในการใช้งาน ทางด้านของ NI ก็มีรูปแบบคล้าย ๆ กัน เราจะมีซอฟต์แวร์ตัวหนึ่ง ที่ชื่อ LabVIEW และแอปพลิเคชั่นทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ที่เกิดขึ้น ก็จะทำงานอยู่บน LabVIEW ในส่วนของฮาร์ดแวร์ของเราจะเรียกว่า Virtual Instrumentation ตั้งแต่ DC จนถึง RF ที่ให้ลูกค้าได้เลือกฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมได้กับการใช้งานของตนเอง” คุณเจริญ กล่าวเสริม
“จากแพลตฟอร์มที่นำเสนอไปแล้วทำให้เห็นว่า ธุรกิจของ NI ไม่มีธุรกิจไหนที่สร้างรายได้ให้กับเราได้มากกว่า 15% นั่นหมายความว่า ผลิตภัณฑ์ของเราสามารถอยู่ได้ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น Heavy Industry, Automation, Semiconductor, Electronics ซึ่งในทุกอุตสาหกรรม ก็จะต้องเกี่ยวเนื่องกับทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม รวมไปถึงทางด้านสถาบันการศึกษาด้วย และนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้รายได้ของเราเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง” คุณเรียวตะ กล่าว
วัฒนธรรมองค์กรของเราจากผู้ก่อตั้ง NI คือ Dr.James Truchard ที่เรียกว่า 100 Year Plan ซึ่งในนี้ก็จะมีรูปแบบการทำงานที่เรียกว่า NI Way คือ แทนที่เราจะโฟกัสไปที่แต่ละควอเตอร์เราจะโฟกัสไปที่ภาพรวมระยะยาว และเราก็ทำผลิตภัณฑ์ในเชิงระยะยาวแทนที่จะเป็นเชิงระยะสั้น
มาดูในส่วนของ NI ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) เป็นส่วนที่มีการเติบโตรวดเร็วมากที่สุดในขณะนี้ โดย NI จะแบ่งเป็น 3 ทวีป ได้แก่ อเมริกา ยุโรป และเอเชียแปซิฟิก ซึ่ง NI ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของเรานอกจากเติบโตเร็วที่สุดแล้ว NI ในสิงคโปร์ ยังได้รับเลือกให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดอีกด้วย
NI ลงทุนทางด้าน R&D ประมาณ 18% ของรายได้ เรามองว่าถ้าเรามีนวัตกรรมใหม่ ๆ ก็จะเป็นการพัฒนานักวิทยาศาสตร์ วิศวกรด้วย ไม่ใช่แค่ทางเราเพียงอย่างเดียว ซึ่ง R&D เป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญมาก คุณเรียวตะ กล่าวเสริม
มาร์ค ฟิลิปส์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดระดับอาวุโส NATIONAL INSTRUMENTS (NI)
(Mark Phillips Senior Marketing Manager NATIONAL INSTRUMENTS (NI)
คุณมาร์ค ได้กล่าวว่า “ลูกค้าของเราอยู่ในหลาย ๆ กลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน Heavy Industry, Automation, Semiconductor, Electronics ฯลฯ ซึ่งในทุก ๆ อุตสาหกรรมที่เป็นลูกค้าของเราที่ทำงานเกี่ยวเนื่องกับทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม รวมไปถึงลูกค้าทางด้านสถาบันการศึกษาด้วย ทำให้ NI เราอยู่เบื้องหลังของความสำเร็จในหลาย ๆ อุตสาหกรรม รวมไปถึงสิ่งที่เราได้ใช้งานอยู่รอบ ๆ ตัวของเรา NI ก็เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเช่นกัน”
เช่นใน “เซิร์น” (CERN) หรือ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ (European Center for Nuclear Research) ได้ใช้เทคโนโลยีของ NI ในการรักษามะเร็ง เป็นต้น ในด้านการคมนาคมขนส่ง ในเครื่องบินโบอิ้งที่เรารู้จักคุ้นเคยก็ได้ใช้เทคโนโลยีของ NI ในการทดสอบเรื่องเสียง ซึ่ง NI เราเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงในเรื่องของเทคโนโลยี 5G ที่ใช้ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ของทาง NI ในการวิจัยและพัฒนา
การเติบโตของ NI ไม่ได้เติบโตมาจากผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ต้องอาศัยแพลตฟอร์มร่วมกับอีโคซิสเต็ม ซึ่งเป็นกลุ่มของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร ที่ได้แชร์แอพพลิเคชั่นในแพลตฟอร์มของ NI ด้วย
เราเป็นแพลตฟอร์มสำหรับของทั้งวิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งวิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ก็จะอยู่ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ทำให้เรารองรับความต้องการของหลายอุตสาหกรรมที่มีวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ทำงานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านวิจัยพัฒนาด้วยเช่นกัน
คุณเจริญ เพชรมุนี ผู้จัดการบริหารฝ่ายขายในท้องถิ่น ประเทศไทย NATIONAL INSTRUMENTS (NI)
คุณเจริญ ได้กล่าวว่า NI ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นหัวใจสำคัญของเราอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้เราได้เปิดตัว LabVIEW 2016 ใหม่ สิ่งที่เราทำขึ้นจากภารกิจของเราก็คือ เราผลิตระบบเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ตลอดจนวิศวกรทำงานได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็ช่วยให้เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมได้เร็วขึ้น
หากพูดถึงทางด้าน IOT ฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ (อเมริกา) ที่ผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีพลังมาก ๆ ขนาด 64 คอร์ เพื่อที่จะทำ IOT เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับ Big Analog Data เพราะข้อมูลที่เข้ามานั้นมีมหาศาล หากจะไปแชร์ในเน็ตเวิร์กก็จะยุ่งยากมาก จึงจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ซึ่งก็ได้ Integrate Hardware ของ NI เข้าไปด้วยส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทางด้าน IOT ก็คือระบบเน็ตเวิร์กหรืออินเตอร์เน็ตที่ใช้ในโรงงาน เนื่องจากอีเธอร์เน็ตไม่ใช่ Real-time ซึ่งมีการตอบสนองต่อการทำงานที่ช้า ซึ่งถ้าต้องการให้เครื่องจักรทำงานร่วมกัน เชื่อมต่อกันได้จะต้องทำงานร่วมกันได้แบบ Real-time จริง ๆ ซึ่งส่วนของโรงงานและสำนักงานจะใช้เน็ตเวิร์กเดียวกันก็คงจะลำบาก ก็จะแยกออกเป็นสองส่วนคือ IT และ OT ซึ่ง NI ได้ร่วมมือกับซิสโก้ คิดค้นเทคโนโลยีที่เรียกว่า Time Sensitive Networking (TSN) ทำให้เครื่องจักรทำงานได้บนระบบอินเตอร์เน็ตเดียวกันได้โดยไม่โดนขัดจังหวะ ซึ่งในอนาคตหลายโรงงานก็คงได้มีการปรับใช้งานกันมากขึ้น
สำหรับงาน Manufacturing Test หลาย ๆ อุตสาหกรรมในเมืองไทยได้ใช้ซีเควนเซอร์ ทำให้การทดสอบของวิศกรออกแบบทำได้เร็วขึ้น ทำซีเควนซ์ได้เร็วขึ้น มีระยะเวลาการผลิตเพื่อออกสู่ตลาดที่สั้นลง (Time to Market) มีการพัฒนาปรับปรุงได้เร็วขึ้น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
อีกอย่างหนึ่งที่อยากนำเสนอซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่คือ Resolution ในการวัด ที่เรียกว่า Power Consumption จะมี Mobile มากขึ้น Power ที่ใช้ต้องใช้ให้น้อยลง เพราะฉะนั้นจึงต้องมีเครื่องมือวัดที่สามารถวัด Power ที่ต่ำมาก ๆ ได้ ซึ่งเราก็มีผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในส่วนนี้ด้วย
100 MHz vector Rate PXI Digital Pattern Instrument จะเกี่ยวข้องกับ Semiconductor ที่เราใช้งานอยู่ เป็นดิจิทัลแพทเทิร์นที่ใช้งานในการวิเคราะห์ข้อมูลใน Semiconductor เราเข้าไปในส่วนนั้นเพื่อที่จะให้ลูกค้าสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเค้าได้ดียิ่งขึ้น
ส่วน VST ตัวนี้จะเป็นเวอร์ชั่นที่ 2 เรียกว่า Vector Signal Transceiver ปกติในทาง RF จะรับแล้วก็ส่งโดยแยกเครื่องรับเครื่องส่งกัน สังเกตจากเครื่องรับวิทยุรับส่งต้องสลับกับส่ง ซึ่งตัวนี้จะเป็นทั้งรับทั้งส่งในตัวเดียว และยังมีขนาดเล็กที่สุดในโลก ซึ่งมีความสำคัญตรงที่ ในการผลิตอุปกรณ์ Wireless จะมีทั้งรับและส่ง ซึ่งอุปกรณ์สมัยก่อนจะมีราคาแพงมาก ในตอนนี้สามารถทดสอบและได้ผลรวดเร็วกว่าเดิมมาก ทำให้ราคาของอุปกรณ์ทางด้านไวเลสลดต่ำลง เนื่องจากต้นทุนการทดสอบที่ลดลง
อีกเรื่องก็คือผลิตภัณฑ์ทางด้านการศึกษา เรามีเครื่องมืออันหนึ่งที่เราเรียกว่า NI ELVIS ที่เรามีมานานแล้ว มี 12 เครื่องมือวัดในหนึ่งตัว และในเวอร์ชันใหม่ 2016 เราได้เพิ่มในส่วนของ FPGA เข้าไปด้วย เนื่องจากตอนนี้มีการใช้งาน FPGA กันแทบทุกที่แล้ว เพื่อที่จะเตรียมนักศึกษาให้เข้าสู่ตลาด ให้มีความพร้อมที่จะก้าวไปพร้อมกับ เทคโนโลยี ซึ่งความสำคัญในภาพรวมคือ ทาง NI มีมุมมองที่ว่า Ready For Industry ก็คือ สถาบันการศึกษาพร้อมที่จะส่งนักศึกษาเข้าสู่อุตสาหกรรมโดยไม่ต้องมีการฝึกอบรมใหม่ และในตอนนี้มีหลายสถาบันการศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีจากทาง NI ในการเรียนการสอน เพราะฉะนั้นนักศึกษาเมื่อเข้าสู่การทำงานก็สามารถทำงานได้เลยทันที ไม่ต้องมาเรียนรู้ใหม่
อีกส่วนที่เป็นสิ่งใหม่ ๆ จากทาง NI คือ NI Software Technology Preview คือเรากำลังทำ Innovation, R&D ใหม่ ๆ แต่อาจจะมีข้อบกพร่องอยู่ ซึ่งเราอนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร เข้าไปดาวน์โหลดเวอร์ชั่นที่ยังไม่ออกจำหน่าย ไปทดลองใช้งาน ทดสอบเทคโนโลยี ซึ่งทาง NI ได้เปิดให้เฉพาะผู้ที่ซื้อ Software License จากทาง NI เท่านั้น คุณเจริญ กล่าว
ในปีนี้มีผู้เข้ารวมงานเกินกว่าที่คาดไว้มาก สิ่งที่ผู้เข้ามาร่วมงานจะได้รับก็คือได้เข้าถึงเทคโนโลยี, แนวความคิด แอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ จากทาง NI รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ทาง NI นำมาเปิดตัวในงานนี้ และอีกจุดที่สำคัญคือการได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่างผู้ร่วมงาน ทำให้ได้พาร์ทเนอร์ใหม่ ๆ ในงานนี้ และที่สำคัญคือมีการแบ่งปันประสบการณ์จากผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของ NI ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เห็นมุมมองในการทำงานว่าเป็นอย่างไร และเราจะต้องเดินไปในทิศทางไหน นอกจากนี้เรายังนำโปรเจ็กต์ของนักศึกษาที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ NI นำมาแสดงด้วย ข้อดีอย่างน้อยที่สุดคือ นักวิทยาศาสตร์ ตลอดจนวิศวกร ได้ลุกออกมาจากโต๊ะทำงานมาดูเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันครับ คุณเรียวตะ กล่าว
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเติบโตค่อนข้างมาก เรียกได้ว่าเป็น กุญแจสำคัญของ NI ในเอเชียแปซิฟิก ปัจจัยที่ทำให้เติบโตในไทยคือ ตอนนี้เริ่มมีสัญญาณจากทางอุตสาหกรรมกลับเข้ามาแล้ว มีออเดอร์จากต่างประเทศเข้ามา เริ่มมีการลงทุนมากขึ้น รวมถึงหลาย ๆ โรงงานในภาค SME เริ่มมองเห็นว่าทาง NI สามารถนำเค้าไปสู่ Industrial Internet of Thing ได้ ซึ่งในปลายปีนี้ก็น่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องสำหรับ NI ในประเทศไทย คุณเรียวตะ กล่าว
หัวข้อหลัก (พื้นหลังสีฟ้า) *****(ฟอนต์เทา)*****
ในงาน NIDays 2016 ผู้เข้าร่วมงานมีโอกาสได้ทดลอง LabVIEW 2016 รุ่นล่าสุด ซึ่งมีสายช่องใหม่ที่ช่วยลดความซับซ้อนในการสื่อสารระหว่างรหัสในส่วนขนานกันหลายสายให้เป็นสายเดียว ทำให้การอ่านรหัสดีขึ้น และช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนา อีกทั้ง LabVIEW 2016 ยังช่วยเพิ่มความคล่องตัวของการวัดอัตโนมัติ ด้วย Instrument Driver Network ซึ่งสามารถรองรับอุปกรณ์ใหม่ 500 เครื่อง นอกเหนือไปจากอุปกรณ์เดิม 10,000 เครื่องที่รองรับไว้แล้ว
LabVIEW 2016 เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมหลายด้านเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ทำให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพสินค้าที่สูงขึ้น LabVIEW 2016 สามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ NI ล่าสุด สำหรับการออกแบบและทดสอบ RF, ระบบควบคุมตรวจสอบแบบฝังตัว และการศึกษาทารงด้านวิศวกรรม ซึ่งรวมถึงเครื่องรับส่งสัญญาณเวกเตอร์ที่สอง NI PXle-6570 Digital Pattern Instrument, NI PXle-4135 Low-current Source Measure Unit (SMU), Time-Sensitive Networking-enabled CompactRIO controllers และ NI Educational laboratory Victual Instrumentation Suite (NI ELVIS) RIO Control Module
NI ได้ร่วมมือกับ ซิสโก้ คิดค้นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการเข้าถึงเวลาก่อนกำหนดสำหรับ TSN ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างระบบแบบกระจัดกระจายไว้ทำหน้าที่ Synchronized I/O, Code Execution และ Deterministic Communication สำหรับลูปการควบคุมและการวัดแบบกระจาย โดยใช้ Ethernet มาตรฐานทั้งหมด
TSN ได้นำกลไกมาสู่การสร้างระบบตามเวลาจริงหลายระบบสอดคล้องตรงกันและกระจัดกระจายไปทั่ว Ethernet มาตรฐาน ซึ่งระบบเหล่านี้ใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกันเพื่อที่จะให้มีการควบคุมตามเวลาจริง และสื่อสารข้อมูล IT มาตรฐานทั้งหมด ส่งเสริมให้การควบคุม การวัด การกำหนดค่า UI และโครงสร้างพื้นฐานแลกเปลี่ยนไฟล์บรรจบกัน ซึ่งมีการคาดว่าจะเปลี่ยนการออกแบบและการบำรุงรักษาระบบได้ตั้งแต่รากฐาน โดยการนำเสนอ Network Convergence, Secure Control Traffic ประสิทธิภาพสูง
อุปกรณ์กึ่งตัวนำรุ่นใหม่ล่าสุดนั้น มักจะมีความต้องการสูงเหนือกว่า ATE ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะพัฒนาตามทัน ฉะนั้นทาง NI จึงได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ NI Pxle-6570 Digital Pattern Instrument และ NI Digital Pattern Editor ซึ่งนำเสนอ Digital Test Paradigm ที่ก่อตั้งขึ้นในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ให้แก่แพลตฟอร์ม PXI แบบเปิด ที่ใช้ใน Semiconductor Test System (TST) และปรับปรุงโดยใช้ Pattern Editor และ Debugger ที่มีประสิทธิภาพและใช้งานง่าย ซึ่งผู้ใช้จะสามารถใช้ประโยชน์ Cutting-edge PXI Instrumentation เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทดสอบ และเพิ่มปริมาณสำหรับ RF และ Analog-centric ICs
NI PXIe6570 Digital Pattern Instrument ให้ความสามารถการทดสอบที่จำเป็นสำหรับ ICs ที่พบกันทั่วไปในห่วงโซ่อุปทานอุปกรณ์ไร้สายและอุปกรณ์ Internet of Things ในราคาที่ประหยัด โดยมีอัตราการดำเนินรูปแบบ 100 MVector ต่อวินาที มีแหล่งที่มา เครื่องจับภาพ และ Voltage/Current Parametric Function ที่มี Synchronized Digital Pins ถึง 256 ชิ้น ภายในระบบย่อยเดียว โดยซอฟต์แวร์ Digital Pattern Editor นั้นบูรณาการสภาพแวดล้อมแก้ไขสำหรับ Device Pin Maps, Specifications และ Patterns เพื่อพัฒนาแผนการทดสอบให้เร็วขึ้น; เครื่องมือสร้างภายในตัว เช่น Multisite และ Multi-instrument Pattern Bursting สำหรับการขยายการพัฒนาให้เป็นการผลิตต่อเนื่อง และเครื่องมืออย่างเช่น Shmoo Plots และ Interactive Pin View สำหรับแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการทดสอบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบทดสอบ HIL จำเป็นต้องมีการปรับตัวได้ถึงระดับหนึ่งที่พอสมควร เพื่อที่จะตอบรับกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงบ่อย และการทดสอบที่ต้องครอบคลุมได้กว้างมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ใหม่ HIL Simulators ช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาและการทดสอบโดยไม่เสียความยืดหยุ่น ด้วยการสร้างทับบนแพลตฟอร์มเดิมที่มีอยู่แล้ว เมื่อมี HIL Simulator ของ NI แล้ว วิศวกรทดสอบก็สามารถเลือก Turnkey Test System ตามแพลตฟอร์มมาตรฐานอุตสาหกรรมแทนที่การที่จะต้องเลือกระหว่างระบบการทดสอบที่ต้องดัดแปลงยากหรือต้องสร้างระบบใหม่ตั้งแต่ต้น ทีนี้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับระบบให้รวมเทคโนโลยีอื่น เช่น ข้อมูลกล้อง การวัด RF และการสร้างเป้าหมายเรดาร์, Passive Entry/Passive Start ระบบตรวจดูความดันในยางล้อ และ FPGAs สำหรับการทำงานขั้นสูง ทั้งหมดนี้รับรองได้ว่าจะทำให้การทดสอบครอบคลุมได้มากที่สุด
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด