เนื้อหาวันที่ : 2017-02-03 18:08:54 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1963 views

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี 

ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิกซ์ 

 

 

สภาพแวดล้อมทางสังคมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ผลักดันให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจต้องปรับตัว ผู้บริโภคเข้าสู่ยุคดิจิทัล ธุรกิจซึ่งแท้จริงสามารถประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าได้ แต่ทำไมธุรกิจบางแห่งยังปรับตัวได้อย่างเชื่องช้า แทนที่จะนำหน้าผู้บริโภค กลับต้องเดินตามหลัง

 

     Internet of Thing (IoT), Digitalization, Big Data, Virtualization, Cloud เทคโนโลยีสื่อสารความเร็วสูงคุณภาพสูง, การเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบทุกที่ทุกเวลา, การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือการประมวลผลต่าง ๆ ก่อให้เกิดการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราเห็นบริษัทหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย

 

          โครงการมากมายที่ภาครัฐผลักดันล้วนมีจุดประสงค์นำพาประเทศทุกภาคส่วนเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ เช่น Industry 4.0 ที่มีจุดหมายในการนำนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด เปลี่ยนการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นสมาร์ทฟาร์มมิ่ง, เปลี่ยน SME ให้เป็นสมาร์ทเอ็นเตอร์ไพรซ์ และเปลี่ยนการให้บริการแบบเดิมเป็นการให้บริการที่มีมูลค่าสูง

แล้วองค์กรธุรกิจจะใช้ไอทีของตนเองให้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนองค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แข่งขันได้ และตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างไร 

               

          จากการสำรวจการใช้ไอซีทีในสถานประกอบการปี 2558 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าธุรกิจขนาดใหญ่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากถึงร้อยละ 99.6 ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและเล็กมีการใช้คอมพิวเตอร์เพียงร้อยละ 22.5 และมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพียงร้อยละ 18.3 เท่านั้น องค์กรขนาดใหญ่ที่มีการใช้ไอทีมากอยู่แล้ว มักเผชิญความท้าทายกับการปรับปรุงระบบเดิมที่ใช้งานมานานให้ทันสมัย ตอบรับกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว ส่วนองค์กรขนาดกลางและเล็ก เผชิญกับความยุ่งยากในการใช้งานไอทีที่ต้องพึ่งพาช่างเทคนิคที่มีความรู้เฉพาะด้าน มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูง ซับซ้อน ในขณะที่มีเงินทุนที่จำกัด เป็นต้น

 

ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมเริ่มไปต่อไม่ได้

 

          เมื่อไอทีขององค์กรจำเป็นต้องก้าวออกมาเป็นกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร ทว่ามีกำแพงสูงที่หลายองค์กรไม่สามารถก้าวข้ามไปได้เนื่องด้วยการยึดโยงและใช้งานมาอย่างยาวนาน คือระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมซึ่งมีการใช้เซิร์ฟเวอร์ และแซนสตอเรจที่แยกกันอยู่ โครงสร้างพื้นฐานแบบนี้จำเป็นจะต้องลงทุนครั้งละมาก ๆ, มีความซับซ้อน, ต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ไอทีขององค์กรไม่สามารถสร้างบริการใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีปัญหาระบบหยุดชะงักและใช้เวลาในการแก้ไขปัญหายาวนาน

 

          พับลิกคลาวด์เป็นทางเลือกหนึ่งของหลาย ๆ องค์กร ด้วยจุดเด่นที่สามารถติดตั้งแอปพลิเคชั่นเพื่อใช้งานได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องสนใจโครงสร้างพื้นฐานเหมือนการซื้อเซิร์ฟเวอร์สตอเรจมาติดตั้งเอง, ซื้อเท่าที่ใช้ และใช้งานง่าย แต่เมื่อมาพิจารณาในแง่มุมลึก ๆ แล้ว ค่าใช้จ่ายเรื่องระบบเครือข่ายอาจเป็นภาระใหญ่ในการนำพับลิกคลาวด์มาใช้เพื่อรองรับผู้ใช้และการใช้งานภายในองค์กร รวมถึงเรื่องของความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลก็เป็นข้อกังวลใจของทุกองค์กร

 

 

 

ก้าวข้ามข้อจำกัดด้วย Hyperconverged และ Enterprise Cloud Platform

 

          โครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จเป็นเทคโนโลยีที่ได้แนวคิดมาจากคลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นนำ เพื่อทดแทนการใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิม โดยรวมเอาเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ สตอเรจเน็ตเวิร์ก และเวอร์ชวลไลเซชั่นไว้ในอุปกรณ์เดียว ใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวควบคุมและขับเคลื่อน จึงสามารถใช้งานได้ทั้งการประมวลผล การจัดเก็บ และระบบเวอร์ชวลไลเซชั่น เสมือนเราสร้างคลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ใช้งานเอง ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับโครงสร้างแบบเก่าที่มีอุปกรณ์แยกจากกันเป็นชิ้นๆ

 

          การ์ทเนอร์และไอดีซีให้การยอมรับว่าไฮเปอร์คอนเวิร์จเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะกับไอทีในยุคปัจจุบันและอนาคต

 

ความได้เปรียบของเทคโนโลยี Hyperconverged

 

  • ประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่าย บริหารจัดการง่าย

          โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จช่วยลดความซับซ้อนในการจัดซื้อ การบริหารจัดการ การใช้งาน ตลอดจนช่วยให้การใช้เวลา ทีมงาน และงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด และควรจะมีระบบการบริหารจัดการง่ายด้วยอินเตอร์เฟซเพียงหน้าจอเดียว เป็นคลาวด์ที่ไอทีสามารถสร้างขึ้นใช้ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง (Enterprise Cloud Platform)

  • รองรับระบบคลาวด์ และเวอร์ชวลไลเซชั่น

          ไฮเปอร์คอนเวิร์จได้รับการพัฒนาขึ้นมาด้วยแนวทางที่อาจจะแตกต่างกัน เช่น แพลตฟอร์มคลาวด์ระดับองค์กร (Enterprise Cloud Platform) แบบครบวงจรของนูทานิกซ์ สามารถสร้างสะพานเชื่อมระหว่างดาต้าเซ็นเตอร์และบริการพับลิกคลาวด์ซึ่งให้อิสระกับผู้ใช้ด้วยการรองรับ VMware, MS Hyper-V รวมถึง Nutanix Hypervisor และเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบคลาวด์ต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวกันโดยไม่มีฮาร์ดแวร์หรือไฮเปอร์ไวเซอร์ ล็อกอินอีกต่อไป อีกทั้งยังรองรับการทำงานร่วมกับคลาวด์ แมเนจเม้นท์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น VMware vRealize, Microsoft Azure Pack หรือ Openstack เป็นต้น

  • มีระบบการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

          ไฮเปอร์คอนเวิร์จต้องมาพร้อมกับโซลูชั่นที่มีสามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลทั้งการ Deduplication การบีบอัดข้อมูลแบบอินไลน์ รวมถึงเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนสตอเรจ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการเขียนข้อมูล มีอินเตอร์เฟซหน้าจอในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เรียบง่าย และเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้ทุกมิติ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกด้านการดำเนินงานต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาได้เพียงไม่กี่คลิกได้จากหน้าจอเดียวผ่านเว็บเบราว์เซอร์

  • ยืดหยุ่น ปรับขยายได้เพื่อรองรับอนาคต

          การเลือกใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่นที่รองรับการขยายตัวในอนาคตนั้นไม่ง่าย และอาจต้องใช้เงินลงทุนสูง นูทานิกซ์ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานแบบ Pay-as-you-Grow โดยองค์กรทุกขนาดสามารถปรับขยายการทำงานได้ตามต้องการ เริ่มต้นใช้งานได้จากเล็ก ๆ หรืองานเฉพาะบางงาน และขยายได้ตามการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรจ่ายเท่าที่ใช้โดยไม่ต้องลงทุนในสิ่งที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้

  • ปกป้องระบบ และข้อมูลที่จัดเก็บ

          ความสามารถในการปกป้องข้อมูล และการทำ Disaster Recovery เป็นเรื่องสำคัญมาก ระบบที่เลือกใช้จึงจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถเหล่านี้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเหตุฉุกเฉินในสถานการณ์หนักหรือเบา ผู้ใช้สามารถเลือกระดับในการปกป้องข้อมูลที่มีความสำคัญให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการทำสำเนาข้อมูลแบบต่าง ๆ และการเชื่อมต่อกับคลาวด์เพื่อสำรองข้อมูล รวมถึงการเข้าถึงคลัสเตอร์ในสถานการณ์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่นศูนย์ข้อมูลของภาครัฐเป็นต้น ระบบไอทีขององค์กรควรได้รับการปกป้องข้อมูลที่สำคัญด้วย

 

          การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และการนำธุรกิจเข้าสู่ยุค Industry 4.0 ย่อมมีความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอที วัฒนธรรมองค์กรที่จะต้องเปลี่ยนไป ต้องเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค การจัดสรรเวลาและงบประมาณ องค์กรจึงควรพิจารณาเลือกโซลูชั่นเบ็ดเสร็จที่เริ่มได้จากเล็ก ๆ ปรับขยายขีดความสามารถในการทำงานได้ตามความต้องการและในเวลาที่ต้องการ ตอบโจทย์ทุกด้านไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ เวลาที่ใช้ ความคุ้มค่าการลงทุนในระยะยาว เร็วและง่าย ปลอดภัย เป็นเวอร์ชวลไลเซชั่น และเชื่อมต่อระบบคลาวด์ และมีความพร้อมรับเทคโนโลยีที่จะมาถึง

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด